Custom Search

MBA Holiday

วันเสาร์ที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2555

แผนที่ยุทธศาสตร์ คือ แผนภาพที่แสดงให้เห็นถึงยุทธศาสตร์ขององค์กร ในรูปแบบของ
ความสัมพันธ์ในเชิงของเหตุและผล เป็นความสัมพันธ์ระหว่างผลลัพธ์ที่องค์กรปรารถนา
ใน  4  มิติหรือมุมมอง  ของ BSC ประกอบด้วย
1. มุมุมองด้านการเงิน (Financial Perspective)
2. มุมมองด้านลูกค้า (Customer Perspective)
3. มุมมองด้านกระบวนการภายใน (Internal Process Perspective)
4. มุมุมองด้านการเรียนรู้และการพัฒนา (Learning and Growth Perspective)
โดยภายใต้แต่ละมุมมอง ประกอบด้วย
1. วัตถุประสงค์(Objective)คือสิ่งที่องค์กรมุ่งหวังหรือต้องการที่จะบรรลุในแต่ละด้าน
2. ตัวชี้วัด (Measures หรือ Key Performance Indicators:KPIs) คือ ตัวชี้วัดของวัตถุ
ประสงค์ในแต่ละด้านและตัวชี้วัดเหล่านี้จะเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวัดว่าองค์กรบรรลุวัตถุ
ประสงค์ในแต่ละด้านหรือไม่
3. เป้าหมาย (Target) คือเป้าหมายหรือตัวเลขที่องค์กรต้องการจะบรรลุในตัวชี้วัดแต่ละ
ประการ
4. ความคิดริเริ่มหรือสิ่งที่จะทำ (Initiatives) คือแผนงาน โครงการ หรือ กิจกรรมที่องค์กร
จะจัดทำเพื่อบรรลุเป้าหมายที่ต้องการ
นอกจากองค์ประกอบทั้ง 4 แล้ว ในทางปฏิบัติมักจะเพิ่มอีก 1 องค์ประกอบ คือ ข้อมูลใน
ปัจจุบันของตัวชี้วัดแต่ละตัว การหาข้อมูลในปัจจุบันจะเป็นตัวช่วยในการกำหนดเป้าหมาย
ของตัวชี้วัดแต่ละตัวให้มีความชัดเจนมากขึ้น
โดยทั่วไปการกำหนดมุมมองมักจะประกอบด้วยมุมมอง 4 มุมมองและแต่ละมุมมองมักจะ
เรียงกันจาก การเงิน ลูกค้า กระบวนการภายใน และ การเรียนรู้ แต่ในทางปฏิบัติจริงไม่
จำเป็นเสมอไปที่การจัดทำ BSC จะต้องเรียงตามลำดับดังกล่าวหรืออาจจะมีมากกว่า 4 มุม
มองก็ได้เนื่องจากองค์กรแต่ละแห่งมีวัฒนธรรมขององค์การและพื้นฐานการดำเนินงานที่
ต่างกัน
การบริหารยุทธศาสตร์ คือ การทำความเข้าใจกับ
1. เราอยู่ที่ไหน (Where are we now ?) โดยวิเคราะห์ SWOT
2. เราจะไปไหน (Where do we want to be ?) ซึ่งก็คือ การกำหนดVision / Mission
3. เราจะไปอย่างไร (How do we get there ?) หรือ การกำหนดยุทธศาสตร์
4. เราต้องปรับเปลี่ยนอะไรเพื่อไปถึงจุดหมาย (What do we have to do or change in
 order to get there?)  กระบวนการในการเปลี่ยนแปลง   การแปลงยุทธศาสตร์ไปสู่
การปฏิบัติ
กระบวนการจัดทำแผนที่ยุทธศาสตร์
1.การยืนยันยุทธศาสตร์
2.การกำหนดประเด็นยุทธศาสตร์
3.การกำหนดเป้าประสงค์ที่ต้องการบรรลุภายใต้แต่ละประเด็นยุทธศาสตร์
4.การกำหนดตัวชี้วัดในแต่ละเป้าประสงค์
แผนที่ยุทธศาสตร์จึงเป็นโครงสร้างและองค์ประกอบต่าง ๆ ที่เชื่อมโยงกันอย่างมีเหตุและผล
 (เริ่มต้นจากผลลงไปหาเหตุ) ทำให้ทราบว่าอะไรคือสิ่งที่จะต้องทำ แต่ถ้าหากองค์ประกอบ
ใดองค์ประกอบหนึ่งไม่มีความสัมพันธ์กันแล้วล่ะก็ แสดงว่าแผนที่ยุทธศาสตร์นั้น มีความ
บกพร่องหรือเกิดความผิดพลาด

Balance Scorecard (BSC) คืออะไร
Balance Scorecard (BSC) นั้นได้รับการพัฒนามาโดยตลอด ทำให้ภาพของ BSC จากเพียงเครื่องมือที่ถูกใช้เพื่อวัดและประเมินผลองค์กร ไปสู่การเป็นเครื่องมือเชิงระบบสำหรับการวางแผนและบริหารกลยุทธ์ (Strategic Planning) โดยผู้พัฒนาเครื่องมือนี้ (Norton และ Kaplan) ยืนยันหนักแน่นเป็นหนักหนาว่า ความสมดุล (Balance) ในการพัฒนาองค์กรนั้น สามารถวัด และประเมินได้จากการมองผ่านมุมมองของระบบการวัดและประเมินผลใน 4 ด้านหลัก คือ


มุมมองด้านการเงิน (Financial Perspective; F)

มุมมองด้านลูกค้า (Customer Perspective; C)

มุมมองด้านการดำเนินการภายใน (Internal Perspective; I)

มุมมองด้านการเรียนรู้และพัฒนาการ (Learning and Growth; L)
ดังนั้น BSC จึงเป็นเสมือนเครื่องมือหรือกลไกในการวางแผนและบริหารกลยุทธ์ที่มีการกำหนดมุมมองทั้ง 4 ด้าน เพื่อให้เกิดความสมดุลในการพัฒนาองค์กร จนบรรลุแผนกลยุทธ์ที่ได้วางไว้ในที่สุด
องค์กรนี้ควรใช้ BSC หรือยัง?
ถาม: ในฐานะที่ BSC เป็นเครื่องมือ / กลไกในการวางแผนกลยุทธ์ ดังนั้น หากองค์กรใดดำเนินการด้านการวางแผนและบริหารกลยุทธ์อยู่เดิม ก็ไม่จำเป็นต้องใช้ BSC ใช่หรือไม่?
ตอบ: คำถามนี้คงต้องตอบว่าทั้ง "ใช่" และ "ไม่ใช่" เพราะการวางแผนและบริหารกลยุทธ์สามารถทำได้จากเครื่องมืออื่นอีกเป็นจำนวนไม่น้อย หากแต่ถ้าองค์กรประสงค์จะเติมเต็มช่องว่างในเรื่อง

- ความสมดุลและมุมที่ควรมองสำหรับองค์กร

- กลไกการผลักดัน การบรรลุกลยุทธ์อย่างเป็นรูปธรรม

- การวัด ติดตาม และประเมินผลอย่างเป็นระบบ

BSC ถือได้ว่าเป็นฐานที่ดีและง่ายต่อการนำไปใช้เพื่อลดช่องโหว่เหล่านั้นให้น้อยลง มีความชัดเจนและเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น
ถาม: ถ้าเช่นนั้นองค์กรที่ไม่เคยดำเนินการใดๆ ในเรื่องการวางแผนกลยุทธ์ ควรทำอย่างไร?
ตอบ: องค์กรในลักษณะนี้ตัดสินใจไม่ยาก โดยการเริ่มจากการตอบคำถาม 3 คำถามนี้ คือ

คำถามที่ 1: ท่านไม่แน่ใจว่า สถานะองค์กรอยู่ตรงไหน?
คำถามที่ 2: ท่านปรารถนาจะพัฒนาองค์กรอย่างเป็นรูปธรรม?
คำถามที่ 3: ท่านปรารถนาจะทราบสถานะการพัฒนาขององค์กรอย่างต่อเนื่อง?
ถ้าคำตอบคือ "ใช่" องค์กรของท่านถึงเวลาที่ควรใช้ BSC ในการช่วยตอบโจทย์เหล่านี้ได้แล้ว
ด้วยเหตุนี้จะพบว่า ไม่ว่าองค์กรแบบใด เคยหรือไม่เคยทำการวางแผนกลยุทธ์ ก็สามารถนำ BSC ไปใช้ได้ทั้งสิ้น หากจะแตกต่างกันในจุดการทำความเข้าใจและการพัฒนาติดตั้ง BSC ให้เหมาะสม เข้ากันได้กับองค์กรเสียมากกว่า
คำว่าสมดุล (Balance) ใน BSC หมายถึงอะไร

ด้วยเหตุที่หลายครั้งผู้พัฒนาและติดตั้ง BSC ในแต่ละองค์กรนั้น มุ่งแต่จะพยายามเติมเต็มมุมมองการพัฒนาทั้ง 4 ด้าน (C-L-I-F) เท่านั้น โดยละเลยประเด็นที่ว่า แม้ว่าจะทำให้ทั้ง4 มุมมองนั้นครบถ้วน แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า ความสมดุลตามความมุ่งหมายของ BSC จะเกิดขึ้นได้
ความสมดุลนี้พึงต้องระลึกไว้อยู่เสมอในขณะพัฒนาและติดตั้ง BSC ว่า ความสมดุลตามความมุ่งมาดคาดหมายของ BSC คือ ความสมดุล (Balance) ระหว่าง
  • จุดมุ่งหมาย (Objective) : ระยะสั้นและระยะยาว (Short - and Long - Term)
  • การวัดผล (Measure) : ทางด้านการเงินและไม่ใช่การเงิน (Financial and Non-Financial)
  • ดัชนีชี้วัด (Indicator) : เพื่อการติดตามและการผลักดัน (lagging and Leading)
  • มุมมอง (Perspective) : ภายในและภายนอก (Internal and External)

ซึ่งแน่นอนว่า หาก BSC ที่ทำการพัฒนาขึ้นและใช้ในองค์กร ไม่ได้พยายามทำให้เกิดความสมดุลดังกล่าวข้างต้น ก็ย่อมคาดหวังผลประโยชน์จากการทำ BSC ไม่ได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย

;;

บทความที่ได้รับความนิยม