Custom Search

MBA Holiday

วันจันทร์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

การบริหารใยุคนี้ค่อนข้างเป็นปัจจุบัน ปรัชญาของการบริหารเริ่มเปลี่ยนแปลงไปจากการมองการบริหารในเชิงปรัชญา ไปสู่การมอง การบริหารในเชิงสภาพข้อเท็จจริง เนื่องจากในปัจจุบันมนุษย์ต้องประสบกับปัญหาอยู่เสมอ
แนวความคิด
เนื่องจากปัจจุบันมนุษย์ต้องประสบกับปัญหาอยู่เสมอ การเลือกทางออกที่จะไปสู่การแก้ปัญหาทางการบริหารถือว่าไม่มีวิธีใดที่ดีที่สุด There is one best way สถานการณ์ต่างหากที่จะเป็นตัวกำหนดว่าควรจะใช้การบริการบริหารแบบใด การบริหารในยุคนี้มุ่งเน้น ความสัมพันธ์ระหว่าง องค์การกับสภาพแวดล้อมขององค์การ และเป็นส่วนขยายของทฤษฎีระบบว่า ทุก ๆ ส่วนจะต้องสัมพันธ์กัน สถาการณ์บางครั้งจะต้องใช้การตัดสินใจอย่างเฉียบขาด บางสถานการณ์ต้องอาศัยการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ บางครั้งก็ต้องคำนึงถึง หลักมนุษย์และแรงจูงใจ บางครั้งก็ต้องคำนึงถึงเป้าหมายหรือผลผลิตขององค์กรเป็นหลัก การบริหารจึงต้องอาศัยสถานการณ์เป็นตัวกำหนดในการตัดสินใจ
บริหารโดยสถานการณ์
1. ถือว่าการบริหารจะดีหรือไม่ขึ้นอยู่กับสถานการณ์
2. ผู้บริหารจะต้องพยายามวิเคราะห์สถานการณ์ให้ดีที่สุด
3. เป็นการผสมผสานแนวคิดระหว่างระะบบปิดและระบบเปิด และยอมรับหลักการของทฤษฎีระหว่างทุกส่วนของระบบจะต้อง สัมพันธ์ และมีผลกระทบซึ่งกันและกัน
4. สถานการณ์จะเป็นตัวกำหนดการตัดสินใจ และรูปแบบการบริหารที่เหมาะสม
5. คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมและความต้องการของบุคคลในหน่วยงานเป็นหลักมากกว่าที่จะแสวงหาวิธีการอันดีเลิศมาใช้ในการทำงาน โดยใช้ปัจจัยทางด้านจิตวิทยาในการพิจารณาด้วย
6. เน้นให้ผู้บริหารรู้จักใช้การพิจารณาความแตกต่างที่มีอยู่ในหน่วยงาน เช่น
- ความแตกต่างระหว่างบุคคล
- ความแตกต่างระหว่างระเบียบกฎเกณฑ์ วิธีการ กระบวนการ และการควบคุมงาน เป็นต้น
- ความแตกต่างระหว่างความสัมพันธ์ของบุคคลในองค์กร
- ความแตกต่างระหว่างเป้าหมายการดำเนินงานขององค์การ เป็นต้น นักบริหารที่เป็นผู้เสนอแนวความคิดทางการบริหารนี้ คือ Fred E.Fiedler (1967)

ทฤษฎีระบบ
การเอาแนวความคิดเชิงระบบเข้ามาใช้ในการบริหา ก็ด้วยเหตุผลที่ว่าในปัจจับันองค์กรการขยายตัวสลับซับซ้อนมากขึ้น จึงเป็นการยากที่พิจารณาถึงพฤติกรรมขององค์กรได้หมดทุกแง่ทุกมุม นักทฤษฎีบริหารสมัยใหม่ จึงหันมาสนใจการศึกษาพฤติกรรมขององค์การ เพราะคนเป็นส่วนหนึ่งของระบบองค์การ องค์การเป็นส่วนหนึ่งของระบบสังคม
ความหมาย
ระบบในเชิงบริหารหมายถึงองค์กรประกอบหรือปัจจัยต่าง ๆ ที่มีความสัมพันธ์กันและมีส่วนกระทบต่อปัจจัยระหว่างกันในการดำเนินงานเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การ
องค์ประกอบพื้นฐานของทฤษฎีระบบ ได้แก่
- ปัจจัยการนำเข้า Input
- กระบวนการ Process
- ผลผลิต Output
- ผลกระทบ Impact
วิธีการระบบเป็นวิธีการที่ใช้หลักตรรกศาสตร์วิทยาศาสตร์อย่างมีเหตุผล และมีความสัมพันธ์กันไปตามขั้นตอนช่วยให้กระบวนการทั้งหลายดำเนินไปอย่างต่อเนื่องและสามารถช่วยให้การบริหารบรรลุวัตถประสงค์ไปด้วยวิธีทางวิทยาศาสตร์อย่างถูกต้องและไม่ลำเอียง
ทฤษฎีบริหารของ McGreger ทฤษฎี X(The Traditioal View of Direction and Control) ทฤษฎีนี้เกิดข้อสมติฐานที่ว่า
- คนไม่อยากทำงาน และหสลีกเลี่ยงความรับผิดชอบ
- คนไม่ทะเยอทะยาน และไม่คิดริเริ่ม ชอบให้การสั่ง
- คนเห็นแก่ตนเองมากว่าองค์การ
- คนมักต่อต้านการเปลึ่ยนแปลง
- คนมักโง่ และหลอกง่าย ทฤษฎีThe integration of Individual and Organization Goal)
ทฤษฎีข้อนี้เกิดจากข้อสมติฐานที่ว่า
- คนจะไม่ให้ความร่วมมือ สนับสนุน รับผิดชอบ ขยัน
- คนไม่เกียจคร้านและไว้วางใจได้
- คนมีความคิดริเริ่มทำงานถ้าได้รับการจูงใจอย่างถูกต้อง
- คนมักจะพัฒนาวิธีการทำงาน และพัฒนาตนเองอยู่เสมอ
ผู้บังคับบัญชาจะไม่ควบคุมผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างเข้มงวด แต่จะส่งเสริมให้รู้จักควบคุมตนเองมากขึ้น วิธีการบริหารตามแนวนึ้ จะเป็นการรวบรวมบุคคลและเป้าหมายโครงการเข้าไว้ด้วยกัน การจูงใจต้องใช้วิธีการจูงใจในระดับสูง
ทฤษฎี Z (Z Theory) (William G. Ouchl) ศาสตราจารย์แห่งมหาวิทยาลัย UXLA (Iof California t Los Angeles)
ทฤษฎีนี้รวมเอาหลักการของทฤษฎี X , Y เข้าด้วยกัน แนวความคิดก็คือ องค์การต้องมีหลักเกณฑ์ที่ควบคุมมนุษย์ แต่มนุษย์ก็รักความเป็นอิสระ และมีความต้องการหน้าที่ของผู้บริหารจึงต้องปรับเป้าหมายขององค์การให้สอดคล้องกับเป้าหมายของบุคคลในองค์การ ทฤษฎี มีองค์ประกอบที่สำคัญ 4 ประการคือ
- การทำให้ปรัชญาที่กหนดไว้บรรลุ
- การพัฒนาผู้ใต้บังคับบัญชาให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
- การให้ความไว้วางใจแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา
- การให้ผู้ใต้บังคับบัญชามีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ทฤษฎีนี้ใช้หลักการ 3 ประการ คือ
1. คนในองค์กรต้องซื่อสัตย์ต่อกัน
2. คนในองค์การต้องมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
3. คนในองค์การต้องมีความใกล้ชิดเป็นกันเอง

ทฤษฎี หมายถึง แนวความคิดหรือความเชื่อที่เกิดขึ้นอย่างมีหลักเกณฑ์ มีการทดสอบและการสังเกตจนเป็นที่แน่ใจ ทฤษฎีเป็น เซทของมโนทัศน์ที่เชื่อมโยงซึ่งกันและกัน เป็นข้อสรุปอย่างกว้างที่พรรณาและอธิบายพฤติกรรมการบริหารองค์กรการทางศึกษา อย่างเป็นระบบ ถ้าทฤษฎีได้รับการพิสูจน์บ่อย ๆ ก็จะกลายเป็นกฎเกณฑ์ ทฤษฎีเป็นแนวความคิดที่มีเหตุผลและสามารถนำไปประยุกต์ และปฏิบัติได้ ทฤษฎีมีบทบาทในการให้คำอธิบายเกี่ยวกับปรากฎทั่วไปและชี้แนะการวิจัย

ความสัมพันธ์ระหว่างทฤษฎีกับการปฏิบัติ
ในการบริหารการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างทฤษฎีและปฏิบัติ ยังไม่เป็นที่ยอมรับกันเท่าใดนัก ถึงแม้ว่าทฤษฎีจะเป็นตัวกำหนดกรอบ สำหรับผู้ปฏิบัติ และเป็นตัวกำหนดความรู้เพื่อช่วยให้การตัดสินใจกระทำไปอย่างมีเหตุผลและสามารถปฏิบัติได้จริงก็ตาม การปฏิบัติที่อยู่บนพื้นฐานของวิธีการได้ไตร่ตรองแล้วเท่านั้นจึงจะเป็นการปฏิบัติที่คล้ายคลึงกับทฤษฎีและวิจัยไม่ใช่เป็นการปฏิบัติที่เกิด จากการหยั่งรู้อคติ ความศรัทธาหรืออำนาจหน้าที่ นักทฤษฎีและนักวิจัย จะใช้วิธีการเชิงวิจัย จะใช้วิธีการเชิงวิทยาศาตร์ที่เข้มงวดกว่า นักปฏิบัติ เพื่อความมีหตุผล ส่วนนักปฏิบัติจะถูกบังคับโดยตำแหน่ง ความรับผิดชอบและอำนาจหน้าที่ถึงแม้จะไม่ใช่วิธีการเชิง วิทยาศาตร์ ครบทุกขั้นตอน แต่ก็ยังถูกบังคับให้ปรับรับวิธีการให้เหมาะสม โดยมีการยืดหยุ่นได้มากขึ้น
ทฤษฎีจะเป็นตัวกำหนดทิศทางสำหรับการวิจัย และการชี้แนะที่มีเหตุผลต่อการปฏิบัติ ทฤษฎีจะถูกทดสอบขัดเกลาโดยการวิจัย เมื่อทฤษฎีหหผ่านการวิจัยแล้ว จึงนำมาประยุกตืใช้กับการปฏิบัติ ไม่มีการปฎิบัติใด ๆ ที่ไม่ได้อยู่บนพื้นฐานของทฤษฎี ในเมื่อทฤษฎี อยู่บนพื้นฐานของตรรกวิทยามีเหตุผลมแม่นยำถูกต้องแล้ว การปฏิบัติก็จะมีเหตุผลและถูกต้องเช่นเดียวกัน การปฏิบัติจึงสร้างมาให้เห็น ทฤษฎีเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมต้องศึกษาทฤษฎี การศึกษาทฤษฎีก็เพราะจะให้การปฏิบัติได้ผลจริง

การลดความไม่เป็นธรรมอาจทำได้จากการวิเคราะห์ข้อมูลจากการวิจัยดังที่ได้กล่าวแล้วข้างต้น ซึ่งสามารถนำมาใช้ในการปรับปรุงงานการบริหารทรัพยากรมนุษย์ได้ดังนี้

แยกแยะงานที่มีค่าตอบแทนแตกต่างกัน
ใช้เกณฑ์ที่ชัดเจนในการเลื่อนขั้นเลื่อนเงินเดือน
ฝึกอบรมหัวหน้างานให้จ่ายงานอย่างเป็นธรรม
ศึกษา วิจัย สำรวจ โครงสร้างเงินเดือนของตลาด
เปิดโอกาสให้บุคลากรได้มีส่วนร่วมในการบริหารงาน เช่น การวางแผน การควบคุมงานของตนเอง เป็นต้น
สอดส่องดูแลให้การบังคับใช้กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ เป็นไปอย่างทั่วถึง และเป็นธรรม
หัวข้อแนะนำทางการวิจัย (Suggested Research Topics)
ในการศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาความรู้ทางด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ในเบื้องต้น ผู้ศึกษาวิจัยจะต้องสามารถกำหนดหัวข้อการวิจัยที่น่าสนใจเป็นเบื้องแรก อาจกล่าวได้ว่า ระเบียบวิธีวิจัย (Research Methodology) หรือเทคนิคการวิจัยเป็นเรื่องของศาสตร์และเครื่องมือ ส่วนการตั้งหัวข้อการวิจัยเป็นเรื่องของความสามารถของผู้วิจัย (ศิลป์) ซึ่งต้องอาศัยความเป็นผู้ชอบสังเกตการณ์ มีความอยากรู้อยากเห็นในเรื่องการบริหารทรัพยากรมนุษย์ อีกทั้งมีความสามารถที่จะกำหนดประเด็นที่สำคัญต่างๆ เพื่อพัฒนาเป็นหัวข้อวิจัยได้ ในการแนะนำหัวข้อการวิจัยทางการบริหารทรัพยากรมนุษย์นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้แนวทางแก่นักวิจัยหรือผู้ศึกษาทางด้านนี้ที่ยังมีประสบการณ์ในการวิจัยไม่มากนัก เพื่ออาศัยเป็นข้อมูลเบื้องต้นสำหรับนำไปคิดปรับปรุงเป็นหัวข้อวิจัยของตนเอง ทั้งนี้ผู้วิจัยจะต้องมีความสนใจในหัวข้อวิจัยนั้นๆ อย่างแท้จริง หัวข้อการวิจัยทางการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่เสนอแนะมีดังนี้
- การเปลี่ยนแปลงทางด้านลักษณะบุคคลที่มีผลกระทบต่อทรัพยากรมนุษย์ในอีกสามสิบปีข้างหน้า (Demographic Changes Impacting HR in the Next 30 Years)
- ปัญหาไอคิว: ไอคิวกับผลการปฏิบัติงาน หรือ การใช้ไอคิวเป็นปัจจัยในการเลือกบุคคล (The IQ Controversy: IQ and Performance or IQ as a Valid Selection Variable)
- แนวทางใหม่สำหรับการจ้าง/การฝึกอบรมและพัฒนาผู้บริหาร (New Approaches to Employment/Management Training/Development )
- การพัฒนาองค์การที่มีความสร้างสรรค์ (Developing a Creative Organization)
- การเกิดและรูปแบบใหม่ของกิจกรรมสหภาพแรงงาน (ทั้งบุคลากรในสำนักงานและบุคลากรวิชาชีพต่างๆ ในอนาคต) (Reemergence and New Forms of Union Activity White Collar and Professional Unions in Our Future?)
- จุดจบของระบบการจำแนกตำแหน่ง (The End of PC?)
- ปฏิสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีและคนในที่ทำงาน (Interaction of Technology and People in the Workplace )
- โครงสร้างและไหลเวียนของการติดต่อสื่อสารในสำนักงาน (Office Communication Structure and Flow )
- การพัฒนาวัฒนธรรมองค์การที่ก่อให้เกิดผลิตผล (Developing a Productive Organizational Culture)
- คุณภาพของชีวิตการทำงาน (Quality of Work Life)
- ความต้องการของบุคลากรทางด้านความช่วยเหลือในทศวรรษหน้า (Employee Assistance Needs for the Next Decade)
- ผลของการลดขนาดองค์การ (Implications of the Downsizing)
- การบริหารความเครียดในสถานที่ทำงานที่มีผลิตผลสูง (Stress Management in the High Performance Workplace )
- การจัดคนข้ามระหว่างองค์การ (Inter-organizational Staffing)
- การจ้างงานที่อาศัยหน่วยงานภายนอก (Outsourcing Employment)
- ทรัพยากรมนุษย์และตัวแบบขององค์การหลัก (HR and the Core Organizational Model)
- การบริหารทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ (International Management of Human Resources)
- การบริหารองค์การที่มีวัฒนธรรมหลากหลาย (Managing the Multicultural Organization)
- การบริหารบุคลากรอาวุโส (Managing Older Professionals) ฯลฯ

;;

บทความที่ได้รับความนิยม