Custom Search

MBA Holiday

วันอังคารที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2556

2.1 AR - Account Receivable หรือลูกหนี้การค้า  ตัวชี้วัดคือ Collection Periods
       ระยะเวลาการเก็บเงินจากลูกหนี้การค้า ดูว่าจะเก็บเงินได้เร็วแค่ไหน
                AR
                                  X  365  วัน      หน่วยเป็น วัน
            ยอดขาย


                                จำนวนวันจากการคำนวณตามสมการนี้ควรจะออกมาน้อยวันที่สุด ซึ่งแสดงว่าบริษัทสามารถบริหารลูกหนี้การค้า (หรือยอดขายแบบเชื่อ) ได้รวดเร็ว หรือเราสามารถเรียกเก็บหนี้จากลูกหนี้ได้เร็วนั้นเอง   (ถ้ายิ่งต่ำ  ยิ่งดี  แสดงว่าเก็บเงินลูกค้าได้เร็ว
2.2 การบริหารสินค้าคงเหลือ  Inventory  Days
ดูระยะเวลาที่สินค้าคงค้างในคลัง ยาวนานเพียงใด
                              Inventory
                                                                X  365  วัน   (หน่วยนับเป็น วัน)
                                     ขาย

                ยิ่งน้อยวันยิ่งดี  (ญี่ปุ่นใช้ระบบนี้มานานแล้ว เรียกว่า Just in Time)

3.  ความสามารถในการก่อหนี้   (Leverage Ratio)   ตัวชี้วัด  3  ตัว
                3.1  หนี้เมื่อเทียบกับทุน   Debt to Equity
                                TL          =             <   1
                            E
ยิ่งน้อย  ยิ่งดี  ไม่ควรเกิน  1  เช่น  มีทุนใส่เข้าไป  1 ล้าน หนี้ไม่ควรเกิน 1 ล้าน เพราะจะมีภาระดอกเบี้ย
                                      2  =   A                          L  =  1
                                                                            E  =  1
 

                3.2  หนี้สินต่อสินทรัพย์     Debt  to Total Asset
TL                 หนี้             
                                                TA               สินทรัพย์                                                                                                                    ถ้าหนี้มากกว่าสินทรัพย์ = ล้มละลาย  เพราะฉะนั้น  ตัวเลขไม่ควรเกิน 1  หรือน้อยกว่า 1 ยิ่งดี

                3.3  ความสามารถในการชำระดอกเบี้ย  Time Interest – Earned  TIE
EBIT                     กำหรก่อนหักดอกเบี้ยและภาษี
                                               Interest                 ภาระดอกเบี้ย                                      
ถ้ายิ่งมากยิ่งดี เพราะหากกำไรก่อนหักดอกเบี้ยภาษีมากกว่าดอกเบี้ย แสดงว่าความสามารถในการจ่ายดอกเบี้ยของเรามีสูง

4.  ความสามารถในการบริหารสภาพคล่อง  Liquidity Ratio   ตัวชี้วัด  2  ตัว
                4.1  อัตราส่วนหมุนเวียน  Current Ratio    
CA        สินทรัพย์หมุนเวียน
CL          หนี้สินรายวัน
               CA  = Cash  +  AR  +  Inventory               ส่วน  CL  คือ  หนี้สินหมุนเวียน

1.  ความสามารถในการทำกำไร Profitable Ratio  มี4  ตัวย่อย (ROTA /ROE/ EPS/ DPS)
                1.1  Return on Total Asset  (ROTA) : อัตราผลตอบแทน หรือกำไรเมื่อเทียบกับสินทรัพย์ทั้งหมด หมายถึง ความสามารถในการบริหารสินทรัพย์ว่า นำเงินไปลงทุนได้ถูกทาง หรือก่อให้เกิดรายได้หรือไม่
                                            EBIT
                               Total Asset
                                EBIT =  Earning before Interest and Tax (กำไรก่อนหักดอกเบี้ยและภาษี)
                                TA =Total Asset (สินทรัพย์)

                สินทรัพย์ที่มีทั้งหมด หารด้วยรายได้  โดยทางการเงิน ROTA ตัวเลขยิ่งมากยิ่งดี หรือความสามารถในการทำกำไรของกิจการจะสูง การจะรู้ว่า ROTA มากแค่ไหนจะต้องใช้หลักBenchmark เป็นตัวเทียบ โดยดูจากธุรกิจประเภทเดียวกัน ใช้ค่าเฉลี่ยของ ROTA

ถ้าบริษัทมีค่าเฉลี่ยสูงกว่า ก็แสดงว่ามีการบริหารสินทรัพย์อย่างมีประสิทธิภาพ

                                1.2 Return on Equity (ROE)  ความสามารถในการทำกำไร เมื่อเทียบกับทุนที่ลงไป
                                                EAT
                                                E                            
                                EAT = Earning After Tax กำไรหลังหักดอกเบี้ยและภาษี หรือกำไรสุทธิหลังหักภาษี
                                E      = Equity  เงินทุน ทุน หรือเงินที่ใส่เข้าไปในการลงทุน

                ในทางการเงินถ้า ROE มากแสดงว่าความสามารถในการทำกำไรของกิจการจะสูง การจะบอกว่า ROE ของกิจการดีหรือไม่ทำได้ 2 แบบคือ
·       เปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยของ ROE ในอุตสาหกรรมประเภทเดียวกัน     
·    เปรียบเทียบกับอัตราดอกเบี้ยที่ปราศจากความเสี่ยง (Risk Free Rate) ซึ่งในที่นี้คืออัตราดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาล นั่นคือต้องเปรียบเทียบว่าหากเอาเงินไปซื่อพันธบัตรรัฐบาลกับมาลงทุนแล้วอะไรจะได้ผลตอบแทนมากกว่า

EX:   ถ้าเอาเงินซื้อพันธบัตรรัฐบาลได้ผลตอบแทน 7 % แต่ถ้าลงทุนได้ผลตอบแทนแค่ 5 % แสดงว่าไม่สมควรลงทุนเพราะไม่คุ้มค่า เพราะการลงทุนมีความเสี่ยงมากกว่าการซื้อพันธบัตร  
                การที่ใช้วิธีการนี้เนื่องจากเงินที่จะเอาไปลงทุนนั้นจะมีค่าเสียโอกาส ดังนั้นต้องเอาค่าเสียโอกาสของเงินมาคิดคำนวณด้วย
                                1.3  EPS - Earning Per Share   กำไรต่อหุ้น         (หน่วยเป็นบาท)
                                                EAT
                                                Share
                                EAT= Earning After Tax (รายได้สุทธิหลังหักภาษี)
                                Share = จำนวนหุ้นทั้งหมด
                บริษัทที่มีความสามารถในการทำกำไรสูง จะมีกำไรต่อหุ้นหรือ EPS ต้องสูง ดังเราจะพบว่าบางบริษัท EPS สูงมาก เนื่องจากมี EAT มาก เนื่องจากยอดขายมาก เนื่องจาก Asset มีคุณภาพ มีความสามารถในการจัดการ ต้นทุนต่ำ  มีค่าใช้จ่ายน้อย และยังมี Share น้อย (จำนวนหุ้นน้อย) เมื่อหารแล้ว EPS ก็จะสูง

                                1.4  DPS –Dividend Per Share     เงินปันผลต่อหุ้น     (หน่วยเป็นบาท)
                                                Dividend
                                                 Share  
                บริษัทที่มีกำไรต่อหุ้นสูงแสดงว่ามีความสามารถในการทำกำไรสูง เพราะกำไรต่อหุ้นจะเป็นส่วนที่ทำให้ผู้ถือหุ้นได้ผลตอบแทนกลับ
                อย่างไรก็ตามบางบริษัทอาจจะจ่ายกำไรต่อหุ้นไม่สูงนักหากมีนโยบายกันเอากำไรไว้สำหรับการลงทุน  เช่นกรณีของ ปตท. จะกำหนดว่าจะจ่ายเงินปันผลไม่น้อยกว่า 25 % ของกำไร  เช่นถ้าได้กำไร 10,000 ล้าน จะเอามาปันผล 750 ล้านที่เหลือเอาไว้ลงทุน และปี 2549 เงินปันผลกำไรต่อหุ้นของปตท. คือ 7.50 บาท จากกำไรต่อหุ้น 30 กว่าบาท

เพื่อก่อให้เกิดกำไร ถ้าจะจัดเงินทุนให้อยู่ในรูปสินทรัพย์ถาวร การลงทุนในสินทรัพย์ถาวรเป็นการลงทุนที่ใช้เงินจำนวนมาก ระยะเวลาคืนทุนยาวนาน การลงทุนในสินทรัพย์ถาวรต้องทำงบประมาณจ่ายลงทุน การตัดสินใจในงบประมาณจ่ายลงทุน ประกอบด้วยการวิเคราะห์ 2 ด้าน
1. การวิเคราะห์ผลตอบแทนที่คาดหวัง โดยการคำนวณ NPV IRR
2. การวิเคราะห์ผลตอบแทนที่ต้องการ โดยการคำนวณ WACC
การพิจารณางบการลงทุนในโครงการ จะทำได้โดยการคำนวณ cash flow แล้วนำมาประเมินการตัดสิน เวลาจะคำนวณเรื่องงบประมาณจ่ายลงทุน จะต้องคำนวณต้นทุนของเงินทุนก่อนและคำนวณผลตอบแทนที่ต้องการก่อน โดยคำนวณ WACC ออกมาก่อนว่าต้นทุนของเงินทุนเป็นเท่าไร แล้วเอาเงินนี้ไปลงทุนเสร็จแล้วได้รับผลตอบแทนที่คาดหวัง (expected rate) เป็นเท่าไร ผลตอบแทนที่คาดหวังนี้น่าจะมากกว่าผลตอบแทนที่ได้จากการคำนวณ WACC คือผลตอบแทนที่ได้สูงกว่าต้นทุนทางการเงินของเรา เราจึงยอมรับโครงการนั้น การคำนวณจะประกอบไปด้วยการทำ 3 ขั้นตอน
1. Initial Investment Outlay เป็นการคำนวณเงินลงทุนเริ่มต้นโครงการ เช่น เงินลงทุนซื้อสินทรัพย์ถาวรที่เป็นอาคาร ที่ดิน อุปกรณ์หรือเครืองจักร และเงินลงทุนหมุนเวียนสุทธิ NWC--Net Working Capital
2. Operating Cash flow เป็นการคำนวณกระแสเงินสดที่ได้จากการดำเนินงานตลอดอายุโครงการ โดยการคำนวณตามหลักบัญชี
3. Terminal Year Cash flows เป็นขั้นตอนปิดอายุโครงการ จะมีอยู่ในปีสุดท้ายปีเดียว โดยการคำนวณมูลค่าซากของโครงการ แล้วบวกกลับด้วย NWC ที่หักไว้ตั้งแต่ต้นในปีเริ่มโครงการแล้วเอา cash flow 5 ปีที่ได้ไปคำนวณหาวิธีการประเมินโครงการว่าจะยอมรับโครงการนี้หรือไม่ โดยการคำนวณ
PB--Payback Period เป็นการคำนวณระยะเวลาที่ธุรกิจลงทุนในสินทัพย์ถาวรแล้วได้รับผลตอบแทนกลับคืนมาเป็นจำนวนกี่ปี จึงจะเท่ากับเงินลงทุนที่จ่ายเริ่มแรก (เป็นวิธีการคำนวณที่ง่าย แต่มีข้อเสีย คือ ไม่ได้คำนึงถึงว่าหลังจากระยะเวลาคืนทุนแล้ว โครงการนั้นจะมีเงินสดเท่าไร) ส่วนใหญ่จะไม่ได้ใช้
NPV--Net Present Value คือมูลค่าปัจจุบันสุทธิ เป็นวิธีการประเมินโครงการโดยพิจารณาผลต่างระหว่างกระแสเงินสดที่ได้มาตลอดอายุโครงการ เมื่อคิดเป็นมูลค่าปัจจุบันกับเงินลงทุนเมื่อเริ่มโครงการ
NPV คือผลต่างของกระแสเงินสดที่ได้รับตลอดอายุโครงการ คือปีที่ 1 2 3 4 เมื่อคิดเป็นมูลค่าปัจจุบันแล้วเอามาลบกับปีที่ 0 ที่เราลงทุนเมื่อเริ่มโครงการไป คือผลต่างของกระแสเงินสดที่ได้รับตลอดอายุโครงการเมื่อคิดเป็นมูลค่าปัจจุบันแล้ว กระแสเงินสดที่จ่ายเมื่อเริ่มต้นโครงการ โดยเราจะพิจารณายอมรับโครงการที่ NPV มีค่าเป็นบวกและปฏิเสธโครงการที่ NPV ที่มีค่าเป็นลบ
ถ้าโครงการที่มีวัตถุประสงค์เหมือนกันจำเป็นจะต้องเลือกเพียงโครงการเดียว ให้พิจารณาโครงการที่ NPV ที่มีค่าเป็นบวกสูงที่สุด
ถ้าโครงการที่มีวัตถุประสงค์ต่างกัน สามารถเลือกได้หลายโครงการ ให้พิจารณาโครงการที่ NPV มีค่าเป็นบวกทุกโครงการ แต่มีข้อแม้ว่าองค์กรจะต้องมีเงินลงทุนในแต่ละโครงการที่เพียงพอด้วย เช่น มี 10 โครงการที่ NPV มีค่าเป็นบวกแต่ต้องใช้เงินลงทุน 1000 ล้าน แต่มีเงินแค่ 100 ล้าน จะต้องหาโครงการที่เหมาะสมกับองค์กรใน 100 ล้านให้มากที่สุด
IRR--Internal Rate of Return คือผลตอบแทนภายในเป็นการประเมินโครงการโดยการพิจารณาอัตราดอกเบี้ยหรือผลตอบแทน ที่ทำให้กระแสเงินสดที่ได้รับในแต่ละปี ตลอดอายุโครงการเมื่อคิดเป็นมูลค่าปัจจุบันแล้ว เท่ากับเงินสดเมื่อเริ่มต้นโครงการ จะยอมรับโครงการที่มีวัตถุประสงค์เหมือนกัน ให้เลือกโครงการที่มี IRR สูงที่สุด
ถ้าเป็นโครงการที่มีวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน ให้เลือกทุกโครงการที่ IRR มากกว่า WACC แต่ต้องมีเงินลงทุนเพียงพอด้วย
MIRR--Modified Internal Rate of Return อัตราผลตอบแทนที่ปรับปรุงแล้ว เป็นวิธีการคำนวณเช่นเดียวกับ IRR คือการคำนวณดอกเบี้ยหรือผลตอบแทนที่ทำให้กระแสเงินสดที่ได้รับตลอดอายุโครงการ เมื่อคิดเป็นมูลค่าปัจจุบันแล้วเท่ากับเงินลงทุนเมื่อเริ่มโครงการ แต่กระแสเงินสดที่ได้รับในแต่ละปีนำไปลงทุนต่อ โดยได้รับผลตอบแทนเท่ากับ WACC

MIRR จะมีอยู่ 2 ตัว ที่คิดเหมือนกัน คือจะหาอัตราผลตอบแทนที่ทำให้กระแสเงินสดที่ได้รับในแต่ละปี เท่ากับกระแสเงินสดที่ลงทุนเมื่อเริ่มโครงการแต่ว่ากระแสเงินสดที่ได้รับในแต่ละปี จะเอาไปลงทุนต่อ โดยได้รับผลตอบแทนเท่ากับ WACC เวลาจะตัดสินใจยอมรับโครงการให้เลือกโครงการที่ MIRR มีค่ามากกว่า WACC และมีค่าสูงสุด

วิธีการแก้ไข ที่จะทำให้ ROI และ ROE สูงขึ้นได้โดย
1. ทำให้ยอดขายเพิ่มขึ้น
2. ทำให้กำไรสุทธิเพิ่มขึ้น
3. ลดสินทรัพย์ลง
4. ใช้การกู้ยืมให้มากขึ้น
หน้าที่ของผู้จัดการทางการเงิน

หน้าที่ของผู้จัดการทางการเงินที่จะบรรลุวัตถุประสงค์ทางการเงินได้ (สร้างความมั่งคั่งสูงสุดให้กับผู้ถือหุ้น โดยการทำให้มูลค่าของธุรกิจสูงสุด โดยพิจารณาที่หุ้นสามัญที่สูงสุด) ผู้จัดการการเงินจะต้องทำ 3 หน้าที่ คือ
1. หน้าที่ในการจัดหาเงินทุน
1.1 แหล่งเงินทุน จะแบ่งออกเป็น 2 แหล่ง (ทางขวามือของงบดุล)
- แหล่งเงินทุนระยะสั้น
- แหล่งเงินทุนระยะยาว
1.2 ต้นทุนของเงินทุน ต้องเฉลี่ยและถ่วงน้ำหนักเพราะมาจากแห่งไม่เท่ากัน WACC ต้องรู้ต้นทุนของเงินทุนก่อน ว่าใช้จากหนี้สินเป็นเท่าไร จากส่วนผู้ถือหุ้นเป็นเท่าไร
1.3 โครงสร้างเงินทุน (capital structure) หมายถึงโครงสร้างเงินทุนที่เหมาะสมที่สุดสำหรับองค์กร คือเรื่องการใช้หนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น
โครงสร้างทางการเงิน คือการใช้สัดส่วนของหนี้สินและใช้สัดส่วนของผู้ถือหุ้นที่เหมาะสมที่จะทำให้ต้นทุนของเงินทุน (WACC) ต่ำที่สุด
2. หน้าที่ในการจัดการเงินทุน
2.1 จัดสรรให้อยู่ในรูปสินทรัพย์หมุนเวียน โดยการใช้ ทฤษฎีการจับคู่ (หนี้สินระยะสั้นใช้กับสินทรัพย์หมุนเวียน / หนี้สินระยะยาวใช้กับสินทรัพย์ถาวร)
2.2 จัดสรรให้อยู่ในรูปสินทรัพย์ถาวร (fix asset) โดยพิจารณางบประมาณการลงทุนซึ่งงบลงทุนจะพิจารณาเรื่อง NPV IRR MIRR PB
3. นโยบายเงินปันผล คือจะเอากำไรสะสมไปลงทุน หรือจะเอากำไรสะสมไปจ่ายเป็นเงินปันผล

อัตราส่วนหนี้สินแบ่งเป็น 2 ตัว คือ
3.1 หนี้สินต่อทรัพย์สิน (debt ratio)
ถ้าอัตราส่วนหนี้สินต่อทรัพย์สินสูงแสดงว่า องค์กรมีภาระผูกพันธ์ทางการเงินมากองค์กรจะระดมทุนจากการก่อหนี้ได้ยาก หรือเจ้าหนี้อาจไม่พิจารณาให้เงินกู้กับองค์กร ดังนั้นองค์กรจะต้องระดมทุนด้วยวิธีการอย่างอื่นแทนการกู้ เช่น การระดมทุนจากผู้ถือหุ้นหรือการให้เช่า
ถ้าอัตราส่วนหนี้สินต่ำ แสดงว่าองค์กรมีภาระผูกพันธ์ทางการเงินต่ำ จึงมีความเสี่ยงต่ำ แต่ต้องพิจารณาว่าโครงสร้างเงินทุนขององค์กรมีความเหมาะสมหรือไม่ ซึ่งถ้าใช้หนี้สินน้อยอาจจะไม่มีความเหมาะสมก็ได้ ถ้าหนี้สินน้อยอยู่ต้นทุนทางการเงิน (WACC) จะสูงขึ้น ดังนั้นต้องพิจารณาความเหมาะสมของต้นทุนทางการเงินด้วย
อัตราส่วนหนี้สินต่อทรัพย์สินควรมีค่าอยู่ในระดับต่ำ เพราะจะทำให้องค์กรระดมเงินทุนด้วยการกู้ได้
3.2 ความสามารถในการชำระดอกเบี้ย Time Interest Earned--TIE
เป็นอัตราส่วนที่ใช้พิจารณาว่า องค์กรมีกำไรเป็นกี่เท่าของดอกเบี้ยจ่าย TIE ควรมีค่าสูง จะแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพขององค์กรในการหากำไขเพื่อชำระดอกเบี้ย
อัตราส่วนหนี้สินต่อสินทรัพย์ต้องใช้คู่กับ TIE หากอัตราส่วนหนี้สินสูงและ TIE สูงด้วย แสดงว่าองค์กรมีโอกาสในการระดมเงินทุนด้วนวิธีการกู้เงินเพิ่มขึ้น แต่ถ้าอัตราส่วนหนี้สินสูงแต่ TIE ต่ำ แสดงว่าองค์กรจะระดมทุนด้วยการก่อหนี้ด้ยากเจ้าหนี้จะไม่พิจารณาปล่อยเงินกู้ให้กับองค์กร
ถ้าอัตราหนี้สินต่ำและ TIE ต่ำ การระดมทุนด้วยการก่อหนี้ได้หรือไม่แล้วแต่เจ้าหนี้และต้องดูตัวอื่นประกอบด้วย เช่นนำเงินไปทำอะไร หรือดูวิธีการใช้เงิน
ถ้าหนี้ระยะยาวต้องเอาไปใช้กับสินทรัพย์ถาวร ส่วนหนื้ระยะสั้นต้องใช้กับสินทรัพย์หมุนเวียน
4. อัตราส่วนกำไร (profitability ratios) แสดงให้เห็นประสิทธิภาพของผู้บริหารในการควบคุมต้นทุนในด้านต่างๆ เพื่อก่อให้เกิดกำไร
4.1 อัตราส่วนกำไรขั้นต้น (gross profit) แสดงให้เห็นประสิทธิภาพของผู้บริหารในการควบคุมต้นทุนการผลิต
ถ้าอัตราส่วน gross profit เพิ่มมากขึ้น แสดงว่าผู้บริหารมีประสิทธิภาพในการควบคุมต้นทุนการผลิตให้ต่ำลงได้ ต้นทุนการผลิตคือ ต้นตุนที่เกิดจากของเสียระหว่างการผลิต เวลาการผลิต การซ่อมแซมเครื่องจักรและการบำรุงรักษา ซึ่งถ้าควบคุมต้นทุนการผลิตทั้ง 3 ตัวนี้ได้ จะทำให้กำไรขั้นต้นสูงขึ้น
4.2 Net Profit เป็นประสิทธิภาพของผู้บริหารในการควบคุมต้นทุนค่าใช้จ่ายในการขายและในการบริหาร เพื่อทำให้กำไรสุทธิเพิ่มมากขึ้น
ถ้า Net Profit Margin สูง แสดงว่าผู้บริหารสามารถควบคุมต้นทุนค่าใช้จ่ายในการขายและค่าใช้จ่ายในการบริหารให้ต่ำลงได้ ต้นทุนค่าใช้จ่ายในการขาย ต้นทุนส่วนใหญ่อยู่ที่สินค้าคงคลัง
ต้นทุนในการบริหารอยู่ที่ management เรื่องของการติดต่อสื่อสารที่ไม่มีประสิทธิภาพเรื่องของการใช้แรงจูงใจ เรื่องของการมีผู้บริหารระดับกลางมากเกินไป ดังนั้นจะต้องทำให้องค์กรแบนราบลง ซึ่งถ้าองกรแบนราบลงแล้วใช้ Empowerment แล้วจะทำให้สายบังคับบัญชาสั้นลง แต่ span of control (ขนาดของการควบคุม) ก็จะกว้างขึ้น จะทำให้ประหยัดต้นทุนในการบริหารได้
4.3 ROA หรือ ROE (Return on Assets ; Return on Equity) คือการใช้สินทรัพย์ทั้งหมดให้เกิดกำไรสุทธิ จะแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพของผู้บริหารในการใช้สินทรัพย์เพื่อก่อให้เกิดกำไรสุทธิ
ถ้าอัตราส่วน ROA หรือ ROI สูงแสดงว่าผู้บริหารสามารถใช้สินทรัพย์ทั้งหมดให้เกิดกำไรสุทธิได้ดี จะทำให้ ROI กับROA สูงขึ้นได้ จะต้องให้มีกำไรมากๆซึ่งจะมีกำไรได้จะต้องมาก และใช้สินทรัพย์ให้น้อยลง
4.4 ROE--Return on Equity ประสิทธิภาพของผู้บริหารในการใช้ส่วนของผู้ถือหุ้นให้เกิดกำไรมากที่สุด หรือประสิทธิภาพของผู้บริหารในการตอบแทนผู้ถือหุ้นให้ได้มากที่สุด

;;

บทความที่ได้รับความนิยม