Custom Search

MBA Holiday

วันจันทร์ที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2556

การวิเคราะห์งานในโลกของการไม่มีงาน (Job analysis in a “ Jobless” world)
ประเด็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับการสร้างงานหรือการขยายงาน
(1) ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านทำให้เกิดการขยายปริมาณงาน (From specialized
to enlarged jobs) เป็นการขยายงานเพื่อรวมงานที่หลากหลายของแรงงานคนอื่นเข้าด้วยกัน
เป็นทางเลือกหนึ่งที่จะกำหนดความชำนาญเฉพาะด้าน ทำให้พนักงานได้รับโอกาสหา
ประสบการณ์ มีความรู้สึกร่วมในความสำเร็จด้วยความรับผิดชอบ ซึ่งมี 5 วิธีการเพื่อเพิ่ม
ความรับผิดชอบคือ


(a) การสร้างกลุ่มงานโดยธรรมชาติ (Forms natural work groups)
(b) การรวมงาน (Combine tasks)
(c) สร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า (Establish client relationships)
(d) การดำเนินการในแนวดิ่ง (vertical Loading) พนักงานจะวางแผนและ
ควบคุมงานของตนเอง แทนที่จะถูกควบคุมจากผู้อื่น
(e) มีช่องทางการป้อนกลับข้อมูลอย่างเปิดเผย (Open feedback channels)
(2) เหตุผลที่บริษัทต่างๆ ย้อนกลับไปสู่ลักษณะการไม่ระบุงาน (Why companies are
becoming de-jobbed) ความจำเป็นของการโต้ตอบ (the need for responsiveness)
เนื่องจากองค์กรต้องเผชิญแรงผลักดันที่เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยได้รับอิทธิพล
จากปัจจัยต่างๆ เช่น การเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยี การแข่งขันระดับโลก จึงมีการ
เปลี่ยนแปลงรูปแบบขององค์กรดังนี้
(2.1) องค์กรแบบแบน (Flatter_Organizations) มีขั้นการบริหารเพียง 3-4
ขั้น มีการตัดขั้นการบริหารให้น้อยลง โดยจำนวนผู้บริหาร 1 คน มีหน้าที่ในการดูแล
ผู้ใต้บังคับบัญชาจำนวนมากขึ้น ผู้ใต้บังคับบัญชาต้องมีความรับผิดชอบในขอบข่ายงานทั้ง
ทางกว้างและลึกมากขึ้น
(2.2) การทำงานเป็นทีม (Work_Team)
(2.3) องค์กรแบบไร้พรมแดน(The_Boundaryless Organization)
(2.4) การรื้อปรับระบบ(Reengineering)


(1) การวางแผนทรัพยากรมนุษย์ (Strategic Planning) :การออกแบบงาน
(Job Design),การวิเคราะห์งาน (Job Analysis)
(2) การสรรหาบุคลากร (Recruitment)


(3) การคัดเลือก (Selection)
(4) การฝึกอบรมและการพัฒนา (Training & Development)
(5) ผลตอบแทนและผลประโยชน์อื่น (Compensation & Benefit)
(6) ความปลอดภัยและสุขภาพ (Safety & Health)
(7) พนักงานและแรงงานสัมพันธ์ ( Employee & Labor Relation)
(8) การประเมินผลการปฏิบัติงาน (Performance Appraisal)
นอกจากนั้นผู้บริหารต้องรู้เกี่ยวกับสิ่งอื่นที่เกี่ยวข้องกับการบริหารทรัพยากรมนุษย์
เช่น การให้โอกาสที่เท่าเทียมกันกับพนักงาน, การกระทำที่ยุติธรรม การเน้นด้านมนุษย์
สัมพันธ์ที่ดีกับพนักงาน และการสร้างบรรยากาศที่ดีในการทำงาน


Management Process : กระบวนการบริหารประกอบด้วย 5 หน้าที่พื้นฐาน คือ
Planning , Organizing , staffing, Leading, and Controlling

Human Resource Management การบริหารทรัพยากรมนุษย์คือเป็นการปฏิบัติ
และเป็นนโยบายในการใช้ทรัพยากรมนุษย์ ของธุรกิจเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การ
รวมถึงการสรรหาบุคลากร,การคัดเลือก, การฝึกอบรมและพัฒนา, การให้รางวัลและ
ประเมินผลการปฏิบัติงานเป็นสิ่งสำคัญและมีความจำเป็นที่ต้องกระทำเพื่อให้ทรัพยากรมนุษย์
ที่มีอยู่ในองค์การสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลตลอดจนเพื่อความอยู่
รอดและความเจริญก้าวหน้าขององค์การ การบริหารทรัพยากรมนุษย์มีความสำคัญต่อ
ผู้บริหารทุกคน เพราะผู้บริหารทุกคนไม่ต้องการให้มีความผิดพลาดเกิดขึ้นในการบริหารงาน
ซึ่งความผิดพลาดที่ผู้บริหารไม่ต้องการมีดังนี้
(1) การจ้างคนไม่เหมาะสมกับงาน
(2) อัตราการออกจากงานสูง
(3) การพบว่าพนักงานไม่ตั้งใจที่จะทำงานให้ดีที่สุด
(4) การเสียเวลากับการสัมภาษณ์ที่ไม่ไห้ประโยชน์
(5) ทำให้บริษัทต้องขึ้นศาลเนื่องจากความไม่เป็นธรรมของผู้บริหาร
(6) ทำให้บริษัทถูกฟ้องจากการจัดสภาวะแวดล้อมการทำงานที่ไม่ปลอดภัย
(7 ) การทำให้พนักงานคิดว่าเงินเดือนที่เขาได้รับไม่ยุติธรรม
(8) ไม่ยอมให้มีการฝึกอบรมและการพัฒนา ซึ่งเป็นการทำลายประสิทธิภาพ
และประสิทธิผลของหน่วยงาน
(9) การกระทำที่ไม่ยุติธรรม และความสัมพันธ์ที่ตึงเครียดกับพนักงาน ความรู้
ที่ศึกษาจากการบริหารทรัพยากรมนุษย์ จะช่วยให้สามารถหลีกเลี่ยงข้อผิดพลาดดังกล่าวได้
สิ่งสำคัญยิ่งไปกว่านั้นคือ ผู้บริหารควรจะมีเหตุผลและกระทำในสิ่งที่ถูกต้องได้แก่การ
วางแผนที่เหมาะสม การจัดแผนภูมิองค์กรและการกำหนดสายการทำงานให้ชัดเจน รวมถึง
การใช้การควบคุมด้วยความชำนาญแต่อย่างไรก็ตาม ผู้บริหารก็อาจล้มเหลวได้ในทาง
กลับกันก็มีผู้บริหารบางคนที่ประสบความสำเร็จถึงแม้จะไม่ได้มีการวางแผนที่เหมาะสม เพราะ
พวกเขามีความชำนาญในการจ้างคนได้ถูกต้องเหมาะสมกับงาน มีการจูงใจการประเมิน การ
ฝึกอบรมและการพัฒนาที่เหมาะสม


วันเสาร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

๑.     การวิเคราะห์สถานการแข่งขันทางการตลาดว่าอยู่ในตลาดใด ซึ่งประกอบไปด้วย ตลาดผู้นำ ผู้ท้าชิง ผู้ตาม และตลาดรายย่อย : :leader , challenger, follower, niche market
๒.     การวิเคราะห์ กลยุทธ์การขยายสายผลิตภัณฑ์หรือตัดลดสายผลิตภัณฑ์ โดยใช้ BCG Model เป็นแนวในการวิเคราะห์ ความสำคัญในการวิเคราะห์คือ สถานของกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ตกอยู่ในแต่ละ Matrix ที่แตกต่างกันจะส่งผลต่อกลยุทธ์การตลาดที่แตกต่างกัน: Question Mark, Star, Cash cow and Dog.
๓.     กลยุทธ์การตลาดตามวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ (Product life cycle: PLC) ในแต่ละช่วงการนำสินค้าเข้าสู่ตลาดที่แตกต่างกันไปตามระยะเวลาจะทำให้กลยุทธ์ของสินค้าในแต่ละระดับแตกต่างกัน : Introduction, Growth, Maturity and Decline stage
๔.     กลยุทธ์ของสินค้าหากแบ่งตามการมองเห็นสามารถแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มได้แก่ Tangible product (goods) สินค้าที่มีตัวตนและสินค้าไม่มีตัวตน Intangible product (goods) ซึ่งสินค้าประเภทมีตัวตนจะเน้นหนักไปที่กลยุทธ์ 4Ps ส่วนสินค้าไม่มีตัวตนจะเน้นหนักไปที่กลยุทธ์ 7Ps (+ people, process, physical evidence) ปัจจุบันหนังสือบางเล่มเพิ่มเป็น 8Ps (+ Productivity)
๕.     หากแบ่งกลยุทธ์ตามพฤติกรรมของผู้บริโภคสามารถแบ่งกลยุทธ์การตลาดได้เป็น 4 กลุ่มได้แก่ กลุ่มของสินค้าประเภท สะดวกซื้อ (convenient goods) สินค้าเปรียบเทียบซื้อ (Shopping goods) สินค้าเจาะจงซื้อ (Specialty goods) สินค้าไม่แสวงซื้อ (Unsought goods) ซึ่งจะมีลักษณะของกลยุทธ์ในแต่ละ PLC แตกต่างกันไป
๑.     (Maintain) ส่วนสินค้าประเภทไม่คงทนจะเป็นสินค้าที่มีการใช้แล้วหมดไป อาจเป็นสินค้าในกลุ่มของสินค้าสะดวกซื้อ สินค้าเปรียบเทียบซื้อ สินค้าเจาะจงซื้อหรือสินค้าไม่แสวงซื้อก็ได้

๒.     กลยุทธ์การสร้างตราสินค้า ซึ่งตราสินค้าไม่ได้ประกอบไปด้วย Brand name, Logo, Slogan เท่านั้น ตราสินค้ายังแสดงให้เห็นถึงคุณลักษณะหรือเอกลักษณ์เฉพาะของสินค้าหรือบริการที่ลูกค้าประทับใจและมีการซื้อซ้ำ (Loyalty) ค่อนข้างสูง

ส่วนตลาด (Segmentation) นักการตลาดมักจะกำหนดแนวทางในการเพิ่มยอดขายหรือรายได้ด้วยวิธีการนำเสนอความพึงพอใจสูงสุดให้กับลูกค้าแต่ละกลุ่ม ซึ่งมีความต้องการแตกต่างกัน ไม่ว่าแต่ละกลุ่มจะมีคุณลักษณะพื้นฐานความต้องการแตกต่างกันเช่นไร นักการตลาดต้องสามารถบริหารความพึงพอใจได้ทุกกลุ่มโดยมีวิธีการในการจัดการความต้องการของแต่ละกลุ่มดังนี้
1.      จะทำการวิเคราะห์แยกลูกค้าออกเป็น กลุ่มเป้าหมายหลักและกลุ่มเป้าหมายรอง
a.      กลุ่มเป้าหมายหลัก (Majority/Primary target) คือกลุ่มเป้าหมายที่นักการตลาดต้องรักษาความพึงพอใจให้อยู่กับเราให้ได้ทั้งหมด เพราะกลุ่มเป้าหมายกลุ่มนี้ส่วนใหญ่ เมื่อวิเคราะห์แล้วจัดกลุ่มแล้วจะมีประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ของมูลค่าตลาดตามเป้าหมาย (Market Potential)
b.      กลุ่มเป้าหมายรอง (Minority/Secondary target) จะเป็นกลุ่มลูกค้าที่เหลืออีกประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ที่ มีอิทธิพลต่อความยั่งยืนและความอยู่รอดของเราในอนาคต
2.      วิเคราะห์พฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมายหลักที่บริษัทควรจะรักษาไว้ให้อยู่กับบริษัทในระยะยาว โดยลูกค้ากลุ่มเป้าหมายนี้ต้องมีความต้องการที่ยังไม่ได้รับการตอบสนองจากตลาด(ยังไม่มีสินค้าใดตอบโจทย์ความต้องการได้ดีที่สุด)  โดยใช้เกณฑ์ในการแบ่งส่วนตลาดออกเป็น 4 เกณฑ์ ได้แก่
2.1.                        Demographic เกณฑ์ประชากรศาสตร์ เป็นเกณฑ์ที่ใช้กำหนดคุณลักษณะตาม เพศ อายุ รายได้ การศึกษา อาชีพ สถานภาพ เป็นต้น เกณฑ์นี้จะทำให้เราเห็นโอกาสในการกำหนดส่วนตลาดชัดเจนมากขึ้น เช่น สินค้าแยกเพศ แต่ก่อนยาสระผมยี่ห้อในท้องตลาด ญ หรือ ช ก็สามารถใช้รวมกันได้ (Unisex) แต่ปัจจุบันเนื่องจากแนวโน้ม ช ญ จะอยู่เป็นโสดมากยิ่งขึ้นจึงทำให้เกิด segment ใหม่ ในตลาดคือ แชมพูสำหรับผู้ชาย (For Men) ซึ่งจะทำให้ผู้ริเริ่มมีโอกาสในการสร้างความมังคั่งในอนาคตได้มากกว่าคู่แข่งรายอื่นที่เข้ามาทีหลัง
2.2.                        เกณฑ์ภูมิศาสตร์ (Geography) เป็นเกณฑ์ที่แยกพฤติกรรมตามภูมิศาสตร์ วัฒนธรรมที่แตกต่างกัน อาจส่งผลต่อความต้องการของสินค้าที่ไม่เหมือนกัน เช่น หากจะเป็นผู้ประกอบการแฟชั่นฤดูหนาว นำสินค้าไปขายที่ภาคใต้ สินค้าจะเป็นเช่นไร? หากจะนำเสื้อผ้ากันหนาว มาขายที่ กทม. ตลาดต้องเป็นเช่นไร หากจะนำแกงไตปลาก้อนไปขายที่สุราษฯ ตลาดจะเป็นเช่นไร และหากเอาไตปลาก้อนสำเร็จรูปไปวางขายในห้าง MT ที่เชียงใหม่ยอดขายจะเป็นเช่นไร

2.3.                        เกณฑ์จิตวิทยา (Psychographic) รูปแบบการดำรงชีวิต (Lifestyle) ของกลุ่มเป้าหมายรวมทั้ง AIO ทัศนคติ ความสนใจและความคิดเห็น

วันอังคารที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2556

2.1 AR - Account Receivable หรือลูกหนี้การค้า  ตัวชี้วัดคือ Collection Periods
       ระยะเวลาการเก็บเงินจากลูกหนี้การค้า ดูว่าจะเก็บเงินได้เร็วแค่ไหน
                AR
                                  X  365  วัน      หน่วยเป็น วัน
            ยอดขาย


                                จำนวนวันจากการคำนวณตามสมการนี้ควรจะออกมาน้อยวันที่สุด ซึ่งแสดงว่าบริษัทสามารถบริหารลูกหนี้การค้า (หรือยอดขายแบบเชื่อ) ได้รวดเร็ว หรือเราสามารถเรียกเก็บหนี้จากลูกหนี้ได้เร็วนั้นเอง   (ถ้ายิ่งต่ำ  ยิ่งดี  แสดงว่าเก็บเงินลูกค้าได้เร็ว
2.2 การบริหารสินค้าคงเหลือ  Inventory  Days
ดูระยะเวลาที่สินค้าคงค้างในคลัง ยาวนานเพียงใด
                              Inventory
                                                                X  365  วัน   (หน่วยนับเป็น วัน)
                                     ขาย

                ยิ่งน้อยวันยิ่งดี  (ญี่ปุ่นใช้ระบบนี้มานานแล้ว เรียกว่า Just in Time)

3.  ความสามารถในการก่อหนี้   (Leverage Ratio)   ตัวชี้วัด  3  ตัว
                3.1  หนี้เมื่อเทียบกับทุน   Debt to Equity
                                TL          =             <   1
                            E
ยิ่งน้อย  ยิ่งดี  ไม่ควรเกิน  1  เช่น  มีทุนใส่เข้าไป  1 ล้าน หนี้ไม่ควรเกิน 1 ล้าน เพราะจะมีภาระดอกเบี้ย
                                      2  =   A                          L  =  1
                                                                            E  =  1
 

                3.2  หนี้สินต่อสินทรัพย์     Debt  to Total Asset
TL                 หนี้             
                                                TA               สินทรัพย์                                                                                                                    ถ้าหนี้มากกว่าสินทรัพย์ = ล้มละลาย  เพราะฉะนั้น  ตัวเลขไม่ควรเกิน 1  หรือน้อยกว่า 1 ยิ่งดี

                3.3  ความสามารถในการชำระดอกเบี้ย  Time Interest – Earned  TIE
EBIT                     กำหรก่อนหักดอกเบี้ยและภาษี
                                               Interest                 ภาระดอกเบี้ย                                      
ถ้ายิ่งมากยิ่งดี เพราะหากกำไรก่อนหักดอกเบี้ยภาษีมากกว่าดอกเบี้ย แสดงว่าความสามารถในการจ่ายดอกเบี้ยของเรามีสูง

4.  ความสามารถในการบริหารสภาพคล่อง  Liquidity Ratio   ตัวชี้วัด  2  ตัว
                4.1  อัตราส่วนหมุนเวียน  Current Ratio    
CA        สินทรัพย์หมุนเวียน
CL          หนี้สินรายวัน
               CA  = Cash  +  AR  +  Inventory               ส่วน  CL  คือ  หนี้สินหมุนเวียน

1.  ความสามารถในการทำกำไร Profitable Ratio  มี4  ตัวย่อย (ROTA /ROE/ EPS/ DPS)
                1.1  Return on Total Asset  (ROTA) : อัตราผลตอบแทน หรือกำไรเมื่อเทียบกับสินทรัพย์ทั้งหมด หมายถึง ความสามารถในการบริหารสินทรัพย์ว่า นำเงินไปลงทุนได้ถูกทาง หรือก่อให้เกิดรายได้หรือไม่
                                            EBIT
                               Total Asset
                                EBIT =  Earning before Interest and Tax (กำไรก่อนหักดอกเบี้ยและภาษี)
                                TA =Total Asset (สินทรัพย์)

                สินทรัพย์ที่มีทั้งหมด หารด้วยรายได้  โดยทางการเงิน ROTA ตัวเลขยิ่งมากยิ่งดี หรือความสามารถในการทำกำไรของกิจการจะสูง การจะรู้ว่า ROTA มากแค่ไหนจะต้องใช้หลักBenchmark เป็นตัวเทียบ โดยดูจากธุรกิจประเภทเดียวกัน ใช้ค่าเฉลี่ยของ ROTA

ถ้าบริษัทมีค่าเฉลี่ยสูงกว่า ก็แสดงว่ามีการบริหารสินทรัพย์อย่างมีประสิทธิภาพ

                                1.2 Return on Equity (ROE)  ความสามารถในการทำกำไร เมื่อเทียบกับทุนที่ลงไป
                                                EAT
                                                E                            
                                EAT = Earning After Tax กำไรหลังหักดอกเบี้ยและภาษี หรือกำไรสุทธิหลังหักภาษี
                                E      = Equity  เงินทุน ทุน หรือเงินที่ใส่เข้าไปในการลงทุน

                ในทางการเงินถ้า ROE มากแสดงว่าความสามารถในการทำกำไรของกิจการจะสูง การจะบอกว่า ROE ของกิจการดีหรือไม่ทำได้ 2 แบบคือ
·       เปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยของ ROE ในอุตสาหกรรมประเภทเดียวกัน     
·    เปรียบเทียบกับอัตราดอกเบี้ยที่ปราศจากความเสี่ยง (Risk Free Rate) ซึ่งในที่นี้คืออัตราดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาล นั่นคือต้องเปรียบเทียบว่าหากเอาเงินไปซื่อพันธบัตรรัฐบาลกับมาลงทุนแล้วอะไรจะได้ผลตอบแทนมากกว่า

EX:   ถ้าเอาเงินซื้อพันธบัตรรัฐบาลได้ผลตอบแทน 7 % แต่ถ้าลงทุนได้ผลตอบแทนแค่ 5 % แสดงว่าไม่สมควรลงทุนเพราะไม่คุ้มค่า เพราะการลงทุนมีความเสี่ยงมากกว่าการซื้อพันธบัตร  
                การที่ใช้วิธีการนี้เนื่องจากเงินที่จะเอาไปลงทุนนั้นจะมีค่าเสียโอกาส ดังนั้นต้องเอาค่าเสียโอกาสของเงินมาคิดคำนวณด้วย
                                1.3  EPS - Earning Per Share   กำไรต่อหุ้น         (หน่วยเป็นบาท)
                                                EAT
                                                Share
                                EAT= Earning After Tax (รายได้สุทธิหลังหักภาษี)
                                Share = จำนวนหุ้นทั้งหมด
                บริษัทที่มีความสามารถในการทำกำไรสูง จะมีกำไรต่อหุ้นหรือ EPS ต้องสูง ดังเราจะพบว่าบางบริษัท EPS สูงมาก เนื่องจากมี EAT มาก เนื่องจากยอดขายมาก เนื่องจาก Asset มีคุณภาพ มีความสามารถในการจัดการ ต้นทุนต่ำ  มีค่าใช้จ่ายน้อย และยังมี Share น้อย (จำนวนหุ้นน้อย) เมื่อหารแล้ว EPS ก็จะสูง

                                1.4  DPS –Dividend Per Share     เงินปันผลต่อหุ้น     (หน่วยเป็นบาท)
                                                Dividend
                                                 Share  
                บริษัทที่มีกำไรต่อหุ้นสูงแสดงว่ามีความสามารถในการทำกำไรสูง เพราะกำไรต่อหุ้นจะเป็นส่วนที่ทำให้ผู้ถือหุ้นได้ผลตอบแทนกลับ
                อย่างไรก็ตามบางบริษัทอาจจะจ่ายกำไรต่อหุ้นไม่สูงนักหากมีนโยบายกันเอากำไรไว้สำหรับการลงทุน  เช่นกรณีของ ปตท. จะกำหนดว่าจะจ่ายเงินปันผลไม่น้อยกว่า 25 % ของกำไร  เช่นถ้าได้กำไร 10,000 ล้าน จะเอามาปันผล 750 ล้านที่เหลือเอาไว้ลงทุน และปี 2549 เงินปันผลกำไรต่อหุ้นของปตท. คือ 7.50 บาท จากกำไรต่อหุ้น 30 กว่าบาท

เพื่อก่อให้เกิดกำไร ถ้าจะจัดเงินทุนให้อยู่ในรูปสินทรัพย์ถาวร การลงทุนในสินทรัพย์ถาวรเป็นการลงทุนที่ใช้เงินจำนวนมาก ระยะเวลาคืนทุนยาวนาน การลงทุนในสินทรัพย์ถาวรต้องทำงบประมาณจ่ายลงทุน การตัดสินใจในงบประมาณจ่ายลงทุน ประกอบด้วยการวิเคราะห์ 2 ด้าน
1. การวิเคราะห์ผลตอบแทนที่คาดหวัง โดยการคำนวณ NPV IRR
2. การวิเคราะห์ผลตอบแทนที่ต้องการ โดยการคำนวณ WACC
การพิจารณางบการลงทุนในโครงการ จะทำได้โดยการคำนวณ cash flow แล้วนำมาประเมินการตัดสิน เวลาจะคำนวณเรื่องงบประมาณจ่ายลงทุน จะต้องคำนวณต้นทุนของเงินทุนก่อนและคำนวณผลตอบแทนที่ต้องการก่อน โดยคำนวณ WACC ออกมาก่อนว่าต้นทุนของเงินทุนเป็นเท่าไร แล้วเอาเงินนี้ไปลงทุนเสร็จแล้วได้รับผลตอบแทนที่คาดหวัง (expected rate) เป็นเท่าไร ผลตอบแทนที่คาดหวังนี้น่าจะมากกว่าผลตอบแทนที่ได้จากการคำนวณ WACC คือผลตอบแทนที่ได้สูงกว่าต้นทุนทางการเงินของเรา เราจึงยอมรับโครงการนั้น การคำนวณจะประกอบไปด้วยการทำ 3 ขั้นตอน
1. Initial Investment Outlay เป็นการคำนวณเงินลงทุนเริ่มต้นโครงการ เช่น เงินลงทุนซื้อสินทรัพย์ถาวรที่เป็นอาคาร ที่ดิน อุปกรณ์หรือเครืองจักร และเงินลงทุนหมุนเวียนสุทธิ NWC--Net Working Capital
2. Operating Cash flow เป็นการคำนวณกระแสเงินสดที่ได้จากการดำเนินงานตลอดอายุโครงการ โดยการคำนวณตามหลักบัญชี
3. Terminal Year Cash flows เป็นขั้นตอนปิดอายุโครงการ จะมีอยู่ในปีสุดท้ายปีเดียว โดยการคำนวณมูลค่าซากของโครงการ แล้วบวกกลับด้วย NWC ที่หักไว้ตั้งแต่ต้นในปีเริ่มโครงการแล้วเอา cash flow 5 ปีที่ได้ไปคำนวณหาวิธีการประเมินโครงการว่าจะยอมรับโครงการนี้หรือไม่ โดยการคำนวณ
PB--Payback Period เป็นการคำนวณระยะเวลาที่ธุรกิจลงทุนในสินทัพย์ถาวรแล้วได้รับผลตอบแทนกลับคืนมาเป็นจำนวนกี่ปี จึงจะเท่ากับเงินลงทุนที่จ่ายเริ่มแรก (เป็นวิธีการคำนวณที่ง่าย แต่มีข้อเสีย คือ ไม่ได้คำนึงถึงว่าหลังจากระยะเวลาคืนทุนแล้ว โครงการนั้นจะมีเงินสดเท่าไร) ส่วนใหญ่จะไม่ได้ใช้
NPV--Net Present Value คือมูลค่าปัจจุบันสุทธิ เป็นวิธีการประเมินโครงการโดยพิจารณาผลต่างระหว่างกระแสเงินสดที่ได้มาตลอดอายุโครงการ เมื่อคิดเป็นมูลค่าปัจจุบันกับเงินลงทุนเมื่อเริ่มโครงการ
NPV คือผลต่างของกระแสเงินสดที่ได้รับตลอดอายุโครงการ คือปีที่ 1 2 3 4 เมื่อคิดเป็นมูลค่าปัจจุบันแล้วเอามาลบกับปีที่ 0 ที่เราลงทุนเมื่อเริ่มโครงการไป คือผลต่างของกระแสเงินสดที่ได้รับตลอดอายุโครงการเมื่อคิดเป็นมูลค่าปัจจุบันแล้ว กระแสเงินสดที่จ่ายเมื่อเริ่มต้นโครงการ โดยเราจะพิจารณายอมรับโครงการที่ NPV มีค่าเป็นบวกและปฏิเสธโครงการที่ NPV ที่มีค่าเป็นลบ
ถ้าโครงการที่มีวัตถุประสงค์เหมือนกันจำเป็นจะต้องเลือกเพียงโครงการเดียว ให้พิจารณาโครงการที่ NPV ที่มีค่าเป็นบวกสูงที่สุด
ถ้าโครงการที่มีวัตถุประสงค์ต่างกัน สามารถเลือกได้หลายโครงการ ให้พิจารณาโครงการที่ NPV มีค่าเป็นบวกทุกโครงการ แต่มีข้อแม้ว่าองค์กรจะต้องมีเงินลงทุนในแต่ละโครงการที่เพียงพอด้วย เช่น มี 10 โครงการที่ NPV มีค่าเป็นบวกแต่ต้องใช้เงินลงทุน 1000 ล้าน แต่มีเงินแค่ 100 ล้าน จะต้องหาโครงการที่เหมาะสมกับองค์กรใน 100 ล้านให้มากที่สุด
IRR--Internal Rate of Return คือผลตอบแทนภายในเป็นการประเมินโครงการโดยการพิจารณาอัตราดอกเบี้ยหรือผลตอบแทน ที่ทำให้กระแสเงินสดที่ได้รับในแต่ละปี ตลอดอายุโครงการเมื่อคิดเป็นมูลค่าปัจจุบันแล้ว เท่ากับเงินสดเมื่อเริ่มต้นโครงการ จะยอมรับโครงการที่มีวัตถุประสงค์เหมือนกัน ให้เลือกโครงการที่มี IRR สูงที่สุด
ถ้าเป็นโครงการที่มีวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน ให้เลือกทุกโครงการที่ IRR มากกว่า WACC แต่ต้องมีเงินลงทุนเพียงพอด้วย
MIRR--Modified Internal Rate of Return อัตราผลตอบแทนที่ปรับปรุงแล้ว เป็นวิธีการคำนวณเช่นเดียวกับ IRR คือการคำนวณดอกเบี้ยหรือผลตอบแทนที่ทำให้กระแสเงินสดที่ได้รับตลอดอายุโครงการ เมื่อคิดเป็นมูลค่าปัจจุบันแล้วเท่ากับเงินลงทุนเมื่อเริ่มโครงการ แต่กระแสเงินสดที่ได้รับในแต่ละปีนำไปลงทุนต่อ โดยได้รับผลตอบแทนเท่ากับ WACC

MIRR จะมีอยู่ 2 ตัว ที่คิดเหมือนกัน คือจะหาอัตราผลตอบแทนที่ทำให้กระแสเงินสดที่ได้รับในแต่ละปี เท่ากับกระแสเงินสดที่ลงทุนเมื่อเริ่มโครงการแต่ว่ากระแสเงินสดที่ได้รับในแต่ละปี จะเอาไปลงทุนต่อ โดยได้รับผลตอบแทนเท่ากับ WACC เวลาจะตัดสินใจยอมรับโครงการให้เลือกโครงการที่ MIRR มีค่ามากกว่า WACC และมีค่าสูงสุด

วิธีการแก้ไข ที่จะทำให้ ROI และ ROE สูงขึ้นได้โดย
1. ทำให้ยอดขายเพิ่มขึ้น
2. ทำให้กำไรสุทธิเพิ่มขึ้น
3. ลดสินทรัพย์ลง
4. ใช้การกู้ยืมให้มากขึ้น
หน้าที่ของผู้จัดการทางการเงิน

หน้าที่ของผู้จัดการทางการเงินที่จะบรรลุวัตถุประสงค์ทางการเงินได้ (สร้างความมั่งคั่งสูงสุดให้กับผู้ถือหุ้น โดยการทำให้มูลค่าของธุรกิจสูงสุด โดยพิจารณาที่หุ้นสามัญที่สูงสุด) ผู้จัดการการเงินจะต้องทำ 3 หน้าที่ คือ
1. หน้าที่ในการจัดหาเงินทุน
1.1 แหล่งเงินทุน จะแบ่งออกเป็น 2 แหล่ง (ทางขวามือของงบดุล)
- แหล่งเงินทุนระยะสั้น
- แหล่งเงินทุนระยะยาว
1.2 ต้นทุนของเงินทุน ต้องเฉลี่ยและถ่วงน้ำหนักเพราะมาจากแห่งไม่เท่ากัน WACC ต้องรู้ต้นทุนของเงินทุนก่อน ว่าใช้จากหนี้สินเป็นเท่าไร จากส่วนผู้ถือหุ้นเป็นเท่าไร
1.3 โครงสร้างเงินทุน (capital structure) หมายถึงโครงสร้างเงินทุนที่เหมาะสมที่สุดสำหรับองค์กร คือเรื่องการใช้หนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น
โครงสร้างทางการเงิน คือการใช้สัดส่วนของหนี้สินและใช้สัดส่วนของผู้ถือหุ้นที่เหมาะสมที่จะทำให้ต้นทุนของเงินทุน (WACC) ต่ำที่สุด
2. หน้าที่ในการจัดการเงินทุน
2.1 จัดสรรให้อยู่ในรูปสินทรัพย์หมุนเวียน โดยการใช้ ทฤษฎีการจับคู่ (หนี้สินระยะสั้นใช้กับสินทรัพย์หมุนเวียน / หนี้สินระยะยาวใช้กับสินทรัพย์ถาวร)
2.2 จัดสรรให้อยู่ในรูปสินทรัพย์ถาวร (fix asset) โดยพิจารณางบประมาณการลงทุนซึ่งงบลงทุนจะพิจารณาเรื่อง NPV IRR MIRR PB
3. นโยบายเงินปันผล คือจะเอากำไรสะสมไปลงทุน หรือจะเอากำไรสะสมไปจ่ายเป็นเงินปันผล

อัตราส่วนหนี้สินแบ่งเป็น 2 ตัว คือ
3.1 หนี้สินต่อทรัพย์สิน (debt ratio)
ถ้าอัตราส่วนหนี้สินต่อทรัพย์สินสูงแสดงว่า องค์กรมีภาระผูกพันธ์ทางการเงินมากองค์กรจะระดมทุนจากการก่อหนี้ได้ยาก หรือเจ้าหนี้อาจไม่พิจารณาให้เงินกู้กับองค์กร ดังนั้นองค์กรจะต้องระดมทุนด้วยวิธีการอย่างอื่นแทนการกู้ เช่น การระดมทุนจากผู้ถือหุ้นหรือการให้เช่า
ถ้าอัตราส่วนหนี้สินต่ำ แสดงว่าองค์กรมีภาระผูกพันธ์ทางการเงินต่ำ จึงมีความเสี่ยงต่ำ แต่ต้องพิจารณาว่าโครงสร้างเงินทุนขององค์กรมีความเหมาะสมหรือไม่ ซึ่งถ้าใช้หนี้สินน้อยอาจจะไม่มีความเหมาะสมก็ได้ ถ้าหนี้สินน้อยอยู่ต้นทุนทางการเงิน (WACC) จะสูงขึ้น ดังนั้นต้องพิจารณาความเหมาะสมของต้นทุนทางการเงินด้วย
อัตราส่วนหนี้สินต่อทรัพย์สินควรมีค่าอยู่ในระดับต่ำ เพราะจะทำให้องค์กรระดมเงินทุนด้วยการกู้ได้
3.2 ความสามารถในการชำระดอกเบี้ย Time Interest Earned--TIE
เป็นอัตราส่วนที่ใช้พิจารณาว่า องค์กรมีกำไรเป็นกี่เท่าของดอกเบี้ยจ่าย TIE ควรมีค่าสูง จะแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพขององค์กรในการหากำไขเพื่อชำระดอกเบี้ย
อัตราส่วนหนี้สินต่อสินทรัพย์ต้องใช้คู่กับ TIE หากอัตราส่วนหนี้สินสูงและ TIE สูงด้วย แสดงว่าองค์กรมีโอกาสในการระดมเงินทุนด้วนวิธีการกู้เงินเพิ่มขึ้น แต่ถ้าอัตราส่วนหนี้สินสูงแต่ TIE ต่ำ แสดงว่าองค์กรจะระดมทุนด้วยการก่อหนี้ด้ยากเจ้าหนี้จะไม่พิจารณาปล่อยเงินกู้ให้กับองค์กร
ถ้าอัตราหนี้สินต่ำและ TIE ต่ำ การระดมทุนด้วยการก่อหนี้ได้หรือไม่แล้วแต่เจ้าหนี้และต้องดูตัวอื่นประกอบด้วย เช่นนำเงินไปทำอะไร หรือดูวิธีการใช้เงิน
ถ้าหนี้ระยะยาวต้องเอาไปใช้กับสินทรัพย์ถาวร ส่วนหนื้ระยะสั้นต้องใช้กับสินทรัพย์หมุนเวียน
4. อัตราส่วนกำไร (profitability ratios) แสดงให้เห็นประสิทธิภาพของผู้บริหารในการควบคุมต้นทุนในด้านต่างๆ เพื่อก่อให้เกิดกำไร
4.1 อัตราส่วนกำไรขั้นต้น (gross profit) แสดงให้เห็นประสิทธิภาพของผู้บริหารในการควบคุมต้นทุนการผลิต
ถ้าอัตราส่วน gross profit เพิ่มมากขึ้น แสดงว่าผู้บริหารมีประสิทธิภาพในการควบคุมต้นทุนการผลิตให้ต่ำลงได้ ต้นทุนการผลิตคือ ต้นตุนที่เกิดจากของเสียระหว่างการผลิต เวลาการผลิต การซ่อมแซมเครื่องจักรและการบำรุงรักษา ซึ่งถ้าควบคุมต้นทุนการผลิตทั้ง 3 ตัวนี้ได้ จะทำให้กำไรขั้นต้นสูงขึ้น
4.2 Net Profit เป็นประสิทธิภาพของผู้บริหารในการควบคุมต้นทุนค่าใช้จ่ายในการขายและในการบริหาร เพื่อทำให้กำไรสุทธิเพิ่มมากขึ้น
ถ้า Net Profit Margin สูง แสดงว่าผู้บริหารสามารถควบคุมต้นทุนค่าใช้จ่ายในการขายและค่าใช้จ่ายในการบริหารให้ต่ำลงได้ ต้นทุนค่าใช้จ่ายในการขาย ต้นทุนส่วนใหญ่อยู่ที่สินค้าคงคลัง
ต้นทุนในการบริหารอยู่ที่ management เรื่องของการติดต่อสื่อสารที่ไม่มีประสิทธิภาพเรื่องของการใช้แรงจูงใจ เรื่องของการมีผู้บริหารระดับกลางมากเกินไป ดังนั้นจะต้องทำให้องค์กรแบนราบลง ซึ่งถ้าองกรแบนราบลงแล้วใช้ Empowerment แล้วจะทำให้สายบังคับบัญชาสั้นลง แต่ span of control (ขนาดของการควบคุม) ก็จะกว้างขึ้น จะทำให้ประหยัดต้นทุนในการบริหารได้
4.3 ROA หรือ ROE (Return on Assets ; Return on Equity) คือการใช้สินทรัพย์ทั้งหมดให้เกิดกำไรสุทธิ จะแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพของผู้บริหารในการใช้สินทรัพย์เพื่อก่อให้เกิดกำไรสุทธิ
ถ้าอัตราส่วน ROA หรือ ROI สูงแสดงว่าผู้บริหารสามารถใช้สินทรัพย์ทั้งหมดให้เกิดกำไรสุทธิได้ดี จะทำให้ ROI กับROA สูงขึ้นได้ จะต้องให้มีกำไรมากๆซึ่งจะมีกำไรได้จะต้องมาก และใช้สินทรัพย์ให้น้อยลง
4.4 ROE--Return on Equity ประสิทธิภาพของผู้บริหารในการใช้ส่วนของผู้ถือหุ้นให้เกิดกำไรมากที่สุด หรือประสิทธิภาพของผู้บริหารในการตอบแทนผู้ถือหุ้นให้ได้มากที่สุด

วันอังคารที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

มีความเชื่อมั่นและศรัทธาในศักยภาพของตัวเอง (Belief)
คนที่ประสบความสำเร็จจะต้องมีความเชื่อมั่นว่า ตนเองมีความสามารถที่จะทำสิ่งเหล่านั้นได้อย่างแน่นอน
มีความมุ่งมั่นอย่างแรงกล้า (Passion)
พลังแห่งความมุ่งมั่นในที่นี้แห่งคือ การที่เรามุ่งมั่นว่า เราจะต้องทำในสิ่งที่เราปรารถนาให้ประสบความสำเร็จให้จงได้ และเชื่อมั่นว่า สิ่งที่เราทำนั้นเป็นสิ่งที่ถูกต้อง และแม้ว่าจะเจออุปสรรคขวางกั้นสักแค่ไหน ก็ไม่ยอมแพ้โดยเด็ดขาด ผู้แต่งเชื่อว่า คนที่มีสติปัญญาไม่สูงมากนัก แต่มีความมุ่งมั่นอย่างแรงกล้า ย่อมสามารถเอาชนะคนที่มีสติปัญญาสูงแต่เหงาหงอยหรือเบื่อหน่าย (A passionate person with limited talent will outperform a passive person who possesses a greatest talent.) เมื่อเรามีความมุ่งมั่นมาจากข้างใน จะทำให้กิริยาท่าทาง คำพูด และการกระทำเต็มไปด้วยพลัง คำพูดจะน่าเชื่อถือ ผู้ฟังจะเกิดกำลังใจ มีความกระตือรือร้น และเต็มใจให้ความ ช่วยเหลืออย่างเต็มที่ อย่างไรก็ตาม คนที่มีความมุ่งมั่นจะต้องรู้จักจัดลำดับความสำคัญก่อนหลังในสิ่งที่ตนเองจะลงมือกระทำด้วย เพื่อช่วยให้ไม่หลงทางและเสียเวลาไปโดยใช้เหตุ
มีจินตนาการและความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ (Initiative)
การสร้างจินตนาการนั้นแตกต่างจากการฝันกลางวันตรงที่ว่า การจินตนาการจะต้องมีการลงมือกระทำด้วยเสมอ แต่การฝันกลางวันคือ การวาดภาพในอากาศ แต่ไม่เคยมีการลงมือกระทำ ใด ๆ เลย ผู้แต่งเชื่อว่าสิ่งนี้เป็นเพียงการรอคอยปัจจัยภายนอก ซึ่งอาจจะต้องใช้เวลาชั่วชีวิต ก็เป็นได้ในการรอคอยให้สิ่งต่าง ๆ เกิดขึ้น ในทางกลับกัน การพยายามริเริ่มความคิดที่สร้างสรรค์จะช่วยพัฒนาสติปัญญาและช่วยให้สิ่งต่าง ๆ ที่เราวาดฝันไว้เป็นรูปธรรมมากขึ้น
มีสมาธิ
สมาธิคือ การจดจ่อกับการทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งจนเสร็จแล้วจึงค่อยเปลี่ยนไปทำสิ่งอื่น โดยในระหว่างที่ลงมือกระทำจะต้องไม่คิดเรื่องอื่น ไม่คิดถึงเรื่องอดีต และต้องไม่กังวลกับอนาคตที่ยังมาไม่ถึง ผู้แต่งกล่าวว่า สมาธิจะเป็นสิ่งที่ช่วยให้เราเกิดความกระตือรือร้น และมุ่งมั่นใน การทำสิ่งต่าง ๆ ให้ประสบความสำเร็จ เพราะคนที่มีสมาธิจะไม่หัวเสียไปกลับเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ แต่จิตจะพุ่งไปสู่การเป้าหมายที่วางไว้เท่านั้น อย่างไรก็ตาม การมีสมาธิเพียงอย่างเดียวบางครั้งอาจจะเป็นการพยายามที่ผิดทางก็เป็นได้ จึงจำเป็นจะต้องมีสติอยู่ตลอดเวลา โดยการหมั่นถามตนเองว่า ขณะนี้เรากำลังทำสิ่งใด ทำไปเพื่ออะไร ตรงประเด็นหรือไม่ เราอยู่ห่างจากเป้าหมายมากน้อยเพียงใด และเราจะต้องทำสิ่งใดอีกบ้างเพื่อให้ไปถึงเป้าหมายดังกล่าว
มีการเตรียมตัว (Preparation)
การเตรียมตัวนั้นถือว่า เป็นการให้เกียรติคนฟัง เช่น ในกรณีที่เราจะต้องนำเสนอโครงงานให้เพื่อนร่วมงานฟัง เราควรเตรียมตัวไปล่วงหน้า ถึงแม้ว่าเราจะเคยนำเสนอโครงงานนี้มาแล้วก็ตามที เพราะในการนำเสนอแต่ละครั้งสถานการณ์ย่อมเปลี่ยนแปลงไป ทั้งในแง่ของกลุ่มผู้ฟัง ตัวผู้พูดเอง และสถานการณ์รอบข้างที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ฉะนั้น เราจึงไม่ควรประมาท ควรเตรียมตัวก่อนล่วงหน้าทุกครั้ง ทั้งในเรื่องการนำเสนอและการเจรจาทางธุรกิจ เป็นต้น
มีการฝึกฝน (Practice)
การฝึกฝนจะช่วยให้เรามีสติปัญญาที่ลุ่มลึกมากขึ้น และรู้จักตัวเองมากขึ้น เช่น เราถนัดทำงานในช่วงใดของวัน ในสภาพแวดล้อมแบบใด หรือเราชอบมอบหมายงานให้ลูกน้องแบบใด เป็นต้น
มีความมานะบากบั่นพากเพียร (Perseverance)
ผู้แต่งได้ยกตัวอย่างของวอลท์ ดิสนีย์ เพราะถึงแม้ว่าเขาจะต้องเพียรพยายามในการขอเงินกู้มากกว่าสามร้อยครั้งเพื่อใช้เป็นเงินทุนในการสร้างดิสนีย์แลนด์แห่งแรกในลอสแองเจลลิส แต่เขาก็ไม่ย่อท้อเพราะเขาเชื่อว่า สิ่งที่เขาทำเป็นสิ่งที่ถูกต้อง และสิ่งเดียวเท่านั้นที่จะทำให้เขาล้มเลิกความพยายามได้ก็คือ ความสำเร็จจาก การที่เขาพยายามทำสิ่งเหล่านั้นนั่นเอง
มีจิตใจเข้มแข็งและกล้าหาญ (Courage)
ความกล้าหาญในที่นี้คือ ความกล้าที่จะยอมรับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทั้งในแง่บวกและแง่ลบ ทั้งความสมหวังและความผิดหวัง เป็นต้น
มีความสามารถในการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ อยู่ตลอดเวลา (Teachability)
คนที่ประสบความสำเร็จจะมีจิตใจที่เปิดกว้างและคิดอยู่เสมอว่าตนเองนั้นมีความรู้เพียงน้อยนิด จำเป็นจะต้องค้นคว้าและเปิดใจยอมรับ ความรู้ใหม่ ๆ อยู่ตลอดเวลา ถึงแม้ว่าที่ผ่านมาเขาเหล่านั้นจะประสบความสำเร็จมากมายแค่ไหนก็ตาม
มีลักษณะนิสัยที่ดี (Character)
บุคลิกลักษณะในที่นี้คือ ในสายตาของผู้บังคับบัญชา เพื่อนร่วมงาน และลูกน้อง เราเป็นคนอย่างไร ฉะนั้น หากอยากจะประสบความสำเร็จ เราจะต้องพยายามปรับตัวและทำตัวเป็นคนดี นิสัยเดิมของเราจะเป็นอย่างไรก็ตาม หากเป็นนิสัยที่ไม่ดี ขัดต่อศีลธรรมจรรยา เราก็ต้องพยายามแก้ไขเพราะไม่มีคนใดที่อยากจะทำงานกับคนที่มีนิสัยที่ไม่ดี เช่น นิสัยพูดจาขวานผ่าซาก พูดจาเสียดสีนินทาว่าร้ายผู้อื่น หรือทำอะไรไม่รู้จักกาลเทศะ เป็นต้น นอกจากนั้น โดยทั่วไปแล้วมนุษย์มักเลือกที่จะจดจำนิสัยที่ไม่ดีของผู้อื่นมากกว่านิสัยที่ดี ฉะนั้น ผู้แต่งจึงแนะนำว่า ภาพพจน์และชื่อเสียงนั้นเป็นสิ่งที่จะต้องรักษาไว้ดั่งชีวิต เพราะพลาดครั้งเดียวเท่ากับทำลายภาพพจน์ที่ดีที่เคยสั่งสมมา ให้หายไปได้ภายในพริบตาเดียว
มีความสัมพันธ์ที่ดีกับคนรอบข้าง
การมีความสัมพันธ์ที่ดีกับคนรอบข้างนั้น ตัวเราเองจะต้องเป็นคนพยายามปรับตัวให้เข้ากับผู้อื่น มีน้ำใจ และพยายามอะลุ้มอล่วย ในสิ่งที่พอจะ ทำได้ โดยจะต้องไม่ขัดต่อหลักการความถูกต้อง นอกจากนั้น เราควรเลือกบุคคลที่จะคบหาสมาคมด้วย เพราะอารมณ์ ความคิด คำพูด และการกระทำของคนรอบข้างจะต้องกระทบเราอย่างหลีกเลี่ยงเสียไม่ได้ ฉะนั้น การเลือกคบคนไม่ควรตัดสินจากคำพูด รูปลักษณ์ภายนอก หรือการกระทำเพียงผิวเผินของฝ่ายตรงข้าม แต่วิธีที่ง่ายที่สุดคือ การสังเกตดูจากคนรอบข้างของคน ๆ นั้น เพราะสิ่งที่เหมือนกันย่อมดึงดูดกัน เช่น คนที่ซื่อสัตย์ย่อมทนไม่ได้ที่จะอยู่ร่วมกับคนที่โกง หลังจากใช้เวลาในการสังเกตในระดับหนึ่งแล้ว เมื่อจะต้องมีการปฏิสัมพันธ์โดยตรง กับคน ๆ นั้น ให้ใช้ความรู้สึกไปทาบว่า เรารู้สึกอย่างไรเมื่ออยู่ใกล้คน ๆ นี้ อึดอัดหรือสบายใจ และที่สำคัญคือ ความรู้สึกจะไม่มีเหตุผลจาก ปัจจัยภายนอกเข้าไปเกี่ยวข้องเช่น เพราะเขาหน้าตาดี มีฐานะดี หรือมีความสามารถเราจึงอยู่ด้วยแล้วสบายใจ เหล่านี้มิใช่ความรู้สึกแต่เป็น ความคิดที่ไม่สามารถเชื่อถือได้
มีความรับผิดชอบ (Responsibility)
เมื่อเกิดปัญหาจะต้องไม่โยนความผิดให้ผู้อื่นไม่ว่าในกรณีใด ๆ ก็ตาม
มีทักษะในการทำงานร่วมกับผู้อื่น (Teamwork)
การทำงานให้ประสบความสำเร็จจำเป็นต้องอาศัยบุคคลที่มีความสามารถในหลาย ๆ ด้านเข้ามาช่วยกันระดมสมอง เพื่อขยายขอบเขตของ จินตนาการออกไปให้กว้างไกลมากขึ้น ฉะนั้น คนที่จะประสบความสำเร็จได้จะต้องสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ และจะต้องเน้นเรื่องงาน เป็นหลักมากกว่าเรื่องส่วนตัว

กลยุทธ์ (Strategy) ในทางเศรษฐกิจ หมายถึง วิถีทางหรือแนวทางที่ถุกกำหนดขึ้นเพื่อ การระดมและจัดสรรการใช้ทรัพยากร ของประเทศ ในอันที่จะช่วยให้บรรลุถึงซึ่งเป้าหมายทางเศรษฐกิจ
 ในทางธุรกิจปัจจุบัน หมายถึง กระบวนการในการกำหนดเป้าหมายที่แน่ชัดของธุรกิจทั้งในระยะสั้นและระยะยาว การสร้างหรือพัฒนา วิถีทางในทางปฏิบัติ ตลอดจนการระดมแลจัดสรรทรัพยากรขององค์การธุรกิจ เพื่อให้สามารถบรรลุถึงซึ่งเป้าหมาย ที่ได้ถูกกำหนดไว้ อย่างมีประสิทธิผล
 โดยทั่วไปความหมายของกลยุทธ์ประกอบด้วยปัจจัย 2 ประการ คือ เป้าหมายหรือ วัตถุประสงค์ที่ต้องการจะบรรลุถึง และการกำหนดแนวทาง หรือวิธีการในทางปฎิบัติ
 การพัฒนากลยุทธ์ในองค์กร ประกอบด้วย 2 ขั้นตอนใหญ่ คือ การสร้างกลยุทธ์ (strategy formation) และการนำกลยุทธ์ไปใช้ในทางปฏิบัติ (strategy implementation)
 การสร้างกลยุทธ์ (strategy formation) เป็นกระบวนการต่อเนื่องประกอบด้วย
(1) การประเมินจุดอ่อน-จุดแข็งขององค์กร (2) การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมเพื่อกำหนดโอกาสธุรกิจ-ความเสี่ยง (3) การประเมินทัศนคติ ค่านิยมและความเชื่อมั่นของผู้นำในองค์กร และ(4) การตระหนักถึงข้อจำกัดทางสังคมและกฎหมาย ซึ่งจะเห็นได้ว่าการประเมินวิเคราะห์ในองค์ประกอบ (1) และ (3) เป็นการวิเคราะห์ปัจจัยภายในองค์กร ในขณะที่ (2) และ (4) เป็นการวิเคราะห์ปัจจัยภายนอกองค์กร
 การนำกลยุทธ์ไปใช้ในทางปฏิบัติ (strategy implementation) จะขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพการบริหารขององค์กร เช่น การจัดสรรและระดมทรัพยากรไปใช้ให้สอดคล้องกับกลยุทธ์ที่วางไว้ การแบ่งและจัดสรรงาน โครงสร้างองค์กรภายในการควบคุม และวัดประสิทธิผลของการดำเนินงานอย่างเป็นระบบ
 การประเมินว่ากลยุทธ์ที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสมต่อองค์กรหรือไม่มีหลักเกณฑ์กว้างๆ 10 ประการดังนี้
    1. ความเป็นไปได้ในการบรรลุเป้าหมายที่ตั้ง
    2. แผนปฏิบัติการครอบคลุม สอดคล้องกับเป้าหมายที่ตั้ง และสนับสนุนซึ่งกันและกัน
    3. กลยุทธ์เหมาะสมกับโอกาส (opportunity) ที่มี
    4. กลยุทธ์เหมาะสมกับความเสี่ยง (threat) ที่มี หรือคุ้มกับโอกาสการทำกำไร
    5. เป้าหมายและแผนปฏิบัติงาน เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมในขณะนั้น
    6. เป้าหมายและแผนปฏิบัติงาน เหมาะสมกับกำลังและความสามารถ
    7. เป้าหมายและแผนปฏิบัติงาน สอดคล้องกับจุดเด่นขององค์กร
    8. เป้าหมายและแผนปฏิบัติงาน สอดคล้องกับทัศนคติ ค่านิยม ความเชื่อของผู้นำองค์กร
    9. ผู้นำกลยุทธ์ไปปฏิบัติมีความเข้าใจเป้าหมายและแผนปฏิบัติงานอย่างถ่องแท้
    10. ความสามารถขององค์กรในการบริหารจัดการที่จะนำกลยุทธ์ไปใช้อย่าง มีประสิทธิภาพ

1. การตกหลุมพรางกับการสร้างภาพให้ตัวเอง (Identity trap)
การสร้างภาพในที่นี้คือ การทำตัวยุ่งอยู่ตลอดเวลา ขยันขันแข็ง ทุ่มเทให้กับการทำงานทุกวินาทีจนแทบจะไม่มีเวลาว่าง แม้แต่เวลาทานอาหาร ก็ต้องคุยเรื่องงาน กลับบ้านก็เอางานกลับไปทำ พฤติกรรมดังกล่าวดูผิวเผินอาจจะเป็นเรื่องดี แต่ผู้แต่งกล่าวว่า สิ่งเหล่านี้จะเป็นการสร้าง ความ อึดอัด ความกระวนกระวายใจ ความเร่งรีบ และความตึงเครียดให้สั่งสมอยู่ในจิตใจโดยไม่รู้ตัว เหมือนลากโซ่ตรวนติดตามตัว ไปตลอดเวลา สุดท้ายมักจบลงที่คำว่า ทำงานไม่ทัน ทำงานไม่เสร็จ ทำงานไม่ดี เพราะความกังวลที่สะสมในจิตใจเป็นตัวบั่นทอนประสิทธิภาพในการทำงาน เมื่อไม่มีผลงาน ก็เกิดความเครียด ความกังวลใจวนเวียนเป็นวัฏจักรไม่มีที่สิ้นสุด และนอกจากนั้น ผู้แต่งยังเชื่อว่า การสร้างภาพเป็น คนที่มีงาน รัดตัวนั้น อาจจะเป็นการโกหกตัวเอง เพื่อหนีความจริง เพราะรู้ตัวดีว่า ตนเองไม่มีผลงาน
วิธีทางแก้ไขมีดังนี้
รู้ว่าจุดไหนคือเพียงพอแล้ว และเลือกทำแต่สิ่งที่สำคัญ และสร้างผลประโยชน์แก่องค์กรมากที่สุด บอกตัวเองว่า ชีวิตนี้ไม่ได้เกิดมาเพื่อทำงานอย่างเดียว บอกตัวเองว่า การใช้เวลาในแต่ละวันจะต้องช่วยให้คุณภาพชีวิตดีขึ้นอย่าแคร์สายตาของผู้อื่นมากนัก แต่ให้รู้ตัวว่าขณะนี้ตนเองกำลังทำอะไรและทำเพื่ออะไร
2. การตกหลุมพรางกับระบบงานในองค์กร (Organization trap)
ในที่นี้คือการตอบอีเมลล์ ตอบจดหมาย หรือรับโทรศัพท์ เป็นต้น งานดังกล่าวเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ผู้แต่งเปรียบเหมือน การพายเรือใน กระแสน้ำ อันเชี่ยวกราก และถึงแม้ว่าจะหยุดกระแสน้ำไม่ได้ แต่ผู้แต่งมีวิธีชะลอความแรงของกระแสน้ำได้โดยการสร้างเขื่อน มีด้วยกัน 4 วิธี ดังนี้
1.หยุดทุกกิจกรรมที่ไม่จำเป็นเช่น คุยโทรศัพท์ในเรื่องสัพเพเหระกับเพื่อนฝูงตอบอีเมลล์ที่ไม่เร่งด่วน หรือเล่นอินเตอร์เน็ต เป็นต้น
2.ลงมือทำในสิ่งที่สร้างประโยชน์ให้กับองค์กร
3.ประเมินตัวเองว่าสามารถหยุดกิจกรรมที่ไร้ประโยชน์ได้จริงหรือไม่
4.ประเมินตัวเองว่าได้ลงมือทำสิ่งที่มีประโยชน์ต่อองค์กรตามที่คิดไว้บ้างหรือยัง หรือทำแล้วมีความคืบหน้าอย่างไรบ้าง
3. การตกหลุมพรางกับการชอบทำงานทุกอย่างด้วยตนเอง (Control trap)
ผู้แต่งเชื่อว่าคนที่เลือกทำงานเองทั้งหมด มีเหตุผลอยู่ 4 แบบคือ
1.Ego สูงไม่ไว้ใจใคร คิดว่าตัวเองเก่งที่สุด
2.ไม่มั่นใจในความสามารถของตนเองกลัวคนอื่น จะดูถูกดูแคลน จึงเลือกที่จะทำเองทั้งหมด
3.คิดแบบตื้น ๆ ว่าทำเองก็ได้ ไม่ต้องไปพึ่งใคร
4.เป็นนิสัยส่วนตัว
การทำงานด้วยตัวเองทั้งหมดเป็น การใช้เวลาไปโดยเปล่าประโยชน์แทนที่จะเอาเวลาไปสร้างผลงานอย่างอื่นที่สำคัญมากกว่า และยังเป็นการแสดงถึง การขาดความสามารถในการทำงานเป็นทีมด้วย สิ่งเหล่านี้สามารถแก้ไขได้โดย การรู้จักกระจายงานไปให้ผู้ร่วมงานหรือลูกน้องทำบ้าง และควรหมั่นเข้าหาหัวหน้าให้ท่านชี้นำแนวทางที่ถูกต้อง ในการสร้างผลงาน แก่องค์กร เพื่อประหยัดเวลาในการลองผิดลองถูก
4. การตกหลุมพรางกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ (Technology trap)
ในที่นี้คือการเสียเวลากับการรับโทรศัพท์ เล่นอินเตอร์เน็ต และโดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้อุปกรณ์อิเลคทรอนิก รุ่นใหม่ ๆ ที่จะต้องเสียเวลากับการ ทดลองใช้เสียเวลาอ่านคู่มือ ดังนั้น ผู้แต่งจึงแนะนำว่า การให้ผู้ที่เคยใช้เครื่องดังกล่าว มาสาธิตวิธีการใช้จะเป็นการประหยัดเวลา และสะดวก กว่าการศึกษาด้วยตนเอง นอกจากนั้น ผู้แต่งยังให้ข้อคิดว่า การใช้อุปกรณ์ที่ธรรมดาไม่ต้องไฮเทคมากนัก จะประหยัดเวลามากกว่า และได้ประโยชน์เหมือน ๆ กัน เช่นการจดบันทึกข้อมูลในสมุดย่อมรวดเร็วกว่าการคีย์ข้อมูลลงในอิเลคโทรนิคไดอารี่หรือPalm เป็นต้น
5. การตกหลุมพรางกับการพยายามสร้างผลงานที่มากเกินไป (Quota trap)
ในที่นี้คือการพยายามสร้างฐานลูกค้าให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ โดยผู้แต่งได้จำแนกประเภทของลูกค้าที่ควรหลีกเลี่ยงและที่ควรรักษาไว้ ดังนี้
กลุ่มลูกค้าที่ควรหลีกเลี่ยง
-จุกจิกและซื้อสินค้าน้อย
-จุกจิกแต่ก็ซื้อสินค้ามาก ประเภทนี้ต้องหลีกเลี่ยงเพราะทำให้เราเสียเวลามากจนเกินไป
กลุ่มลูกค้าที่ควรรักษาไว้
-ซื้อมาก ไม่เรื่องมากและช่วยแนะนำคนอื่นมาซื้อสินค้าเรา
-ซื้อน้อย แต่ไม่เรื่องมากและชอบสินค้าของเรา กลุ่มนี้ควรรักษาไว้เพราะเมื่อมีโอกาสลูกค้ากลุ่มนี้จะซื้อสินค้าของเราอีกอย่างแน่นอน
6. การตกหลุมพรางกับการกลัวความผิดพลาด (Failure trap)
คือการไม่กล้าเสนอผลงานมากนักเพราะกลัวจะผิดพลาด ส่งผลให้เวลาเสนอผลงานในที่ประชุม จะไม่มั่นใจและเสียเวลามาก เพราะมีแต่ความ หวาดวิตกอยู่ตลอดเวลา ผู้แต่งเสนอทางแก้คือให้ตั้งเป้าหมายให้สูงไว้ก่อนและต้องรู้จักเลือกทำงานที่สำคัญและสร้างประโยชน์ให้องค์กร
7. การตกหลุมพรางกับค่านิยมของสังคม (Party trap)
หลุมพรางสุดท้ายในที่นี้คือ การเห่อเหิมไปตามค่านิยมของสังคม เช่นทำงานหนักเพื่อเก็บเงินซื้อรถรุ่นใหม่ มือถือรุ่นล่าสุด หรือบ้านราคา หลายสิบล้าน เป็นต้น เหล่านี้เป็นความคิดที่ผิดเ พราะชีวิตที่แท้จริงมีหลายมิติเกินกว่าเรื่องวัตถุ คุณภาพชีวิตที่ดีจะต้องประกอบด้วย การมีสุขภาพที่ดี การมีความสัมพันธ์ที่ดีกับคนรอบข้าง การมีโลกทัศน์ที่กว้างไกล การสร้างประโยชน์กลับคืนสู่สังคม และมีเวลาเหลือพอ ที่จะไปทำสิ่งต่าง ๆ 

กฎธรรมชาติเกี่ยวกับมนุษย์
  • มนุษย์ทั้งโลกกลัวการถูกปฏิเสธ ถ้าเราสามารถทำอะไรให้ใครได้โดยไม่เดือดร้อนหรือไม่ผิดศีลธรรมเราก็ควรทำ
  • มนุษย์ทุกคนต้องการการยอมรับ ดังนั้นการสร้างความพันธ์กับคนอื่นจึงต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของการให้เกียรติกัน
  • มนุษย์มองสถานการณ์ต่างๆ จากหลักการของผลประโยชน์ ทั้งนี้ไม่ได้หมายความถึงในรูปของตัวเงินเพียงอย่างเดียว หากแต่หมายถึงประโยชน์ในด้านอื่นๆ ด้วย เช่นประโยชน์ด้านความพึงพอใจ เป็นต้น ดังนั้นในการทำกิจการใดๆ ให้ยึดหลัก Win Win Situation คือการได้รับประโยชน์ด้วยกันทั้ง 2 ฝ่าย
  • มนุษย์ชอบคุยแต่เรื่องของตัวเอง ไม่ชอบฟังเรื่องของคนอื่น ดังนั้นให้ฝึกการเป็นนักฟัง
  • มนุษย์นั้นก่อนจะรับฟังและให้ความร่วมมือกับสิ่งใดๆ เขาจะต้องเข้าใจในสิ่งนั้นๆก่อน ดังนั้นเราจะต้องมีความสามารถใน การสื่อความให้อีกฝ่ายเข้าใจเราได้
  • มนุษย์มักจะไว้วางใจเฉพาะคนที่เขาชอบหน้าเรา ดังนั้นเราควรมีทัศนคติที่ดีต่อโลกและต่อมนุษย์ ไม่ตั้งจิตเป็นศัตรูแล้ว เขาก็ไว้เนื้อเชื่อใจเราเอง
  • มนุษย์ทุกคนมีการสวมหน้ากาก หรือSocial Mask คือทุกคนจะต้องมีบทบาทหน้าที่หรือสวมหัวโขนอยู่ สิ่งที่เราเห็นอาจ ไม่ใช่สิ่งที่เป็นจริง ดังนั้นให้มองเข้าไปถึงตัวตนที่แท้จริงของเขาอย่าไปติดอยู่กับภาพที่เห็นแค่ภายนอก
2. You create your own experience ตัวเราเองเป็นคนกำหนดประสบการณ์ชีวิตของเรา และกำหนดได้ด้วยความคิด ดังนั้นอย่าโทษ ปัจจัยภายนอกว่าเป็นสิ่งที่มาทำให้เราผิดหวัง ผู้ที่เป็นนักปราชญ์จะต้องรู้ว่าควรหยิบเรื่องไหนมาคิด และจะหยิบเรื่องนั้นมาคิดในเวลาไหน ตัวเราเองมีส่วนอย่างมากในการกำหนดผลลัพธ์ของชีวิตเรา
3. Reciprocity หลักต่างตอบแทนหรือต่างปฏิบัติ นั่นคืออะไรกับใครเอาไว้ก็จะได้อย่างนั้น เช่นถ้าเราพูดจาสุภาพกับเขา เขาก็จะใช้คำสุภาพ กับเราดังนั้นถ้าเราอยากได้สิ่งใดจากผู้อื่นจงให้สิ่งนั้นกับผู้อื่นก่อน
4. You can’t change what you don’t acknowledge ปัญหานั้นๆ ได้ก่อน เช่น ต้องเกิดการยอมรับก่อนว่า เราเป็นคนที่ไม่มีความเชื่อมั่นในตนเอง เราจึงจะสามารถเปลี่ยนแปลงตัวเองได้
5. Life Rewards Action ชีวิตจะให้รางวัลกับคนที่ลงมือกระทำ สำหรับคนที่มีความคิดแต่ยังไม่เคยลงมือปฏิบัติ ให้ใช้วิธีการ มรณานุสติ คือหมั่นถามตนเองว่าตอนนี้อายุเท่าไร และจะเหลือเวลาใช้ชีวิตอยู่บนโลกนี้อีกกี่ปี ถ้าไม่ทำตอนนี้จะไปทำตอนไหน เป็นต้น
6. ตัวเราเองที่เป็นคนให้ความหมายกับชีวิต บางคนเกิดมาในครอบครัวที่ลำบาก แต่มีความอดทนใฝ่หาความรู้ จนชีวิตประสบความสำเร็จได้ แสดงให้เห็นว่าตัวเราเองที่เป็นคนให้ความหมายกับชีวิต
7. Life is manage not cure ชีวิตต้องมีการบริหารจัดการ มิใช่การหาทางแก้ไขเมื่อเกิดปัญหา เราต้องเป็นผู้จัดการชีวิตของตนเอง และถามผู้จัดการชีวิตคนนี้ว่า ได้ใช้ประโยชน์จากศักยภาพที่มีอยู่ในตัวเรานี้ถึงที่สุดหรือยัง, ได้เคยช่วยสร้างโอกาสต่างๆ ให้ชีวิตบรรลุถึง วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้หรือยัง, เคยได้ดูแลให้เกิดดุลยภาพระหว่างสุขภาพกาย จิต และอารมณ์หรือไม่ และสุดท้ายเมื่อเกิดปัญหา ผู้จัดการชีวิตคนนี้ใช้วิธีการแก้ปัญหาหรือหนีปัญหา คนส่วนใหญ่มักทำตัวเป็น Passenger หรือผู้โดยสารชีวิต คือปล่อยชีวิตไปเรื่อยๆ โดยไม่ Manage ชีวิต เพราะไม่ชอบการตัดสินใจ เนื่องจากในการตัดสินใจนั้นมีความเสี่ยง และต้อง get out of our comfort zone
8. There’s power in forgiveness การให้อภัยมีพลังเหนือ ความขุ่นใจอันเกิดจากความอาฆาตพยาบาท ความโกรธแค้น เป็นสาเหตุหนึ่งของอาการเจ็บป่วย แต่การให้อภัยมีพลังอำนาจที่สูงกว่า สามารถทำให้โรคภัยและความทุกข์ต่างๆ ได้ และยังสามารถพลิก ความสัมพันธ์ของเรากับคนที่เราโกรธจากสภาพร้ายสุดมาเป็นสภาพดีสุดได้ด้วย ดังพุทธโอวาทที่ “พึงชนะความโกรธ ด้วยการให้อภัย”
9. You have to name it to claim it การจะได้อะไรมานั้นเราจะต้องรู้จักกับสิ่งนั้นก่อน เช่นถ้าคุณอยากประสบความสำเร็จในชีวิต แล้วคุณรู้หรือไม่ว่าลึกๆ แล้วชีวิตต้องการอะไร รู้หรือไม่ว่าอะไรสำคัญที่สุดในชีวิต เพราะตราบใดที่เรายังบอกไม่ได้ว่า สำหรับตัวเราแล้วอะไรคือ ความสุข อะไรคือความสำเร็จ ก็ไม่ต้องพูดถึงจุดทีเรียกว่า outcome เพราะจะกลายเป็นการเข็นครกขึ้นภูเขาผิดลูก สรุปก็คือ คุณรู้หรือไม่ว่าก่อนจากโลกนี้ไป คุณต้องการจะบรรลุอะไร 

;;

บทความที่ได้รับความนิยม