Custom Search

MBA Holiday

วันพฤหัสบดีที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2556



ความเสี่ยงในการลงทุน หมายถึง การที่ผู้ลงทุนได้รับผลตอบแทนจริงจากการลงทุน เบี่ยงเบนไปจากผลตอบแทนที่คาดหวังไว้ว่าจะได้รับเมื่อแรกเริ่มลงทุน ไม่ว่าผลตอบแทนที่ได้รับจริงจะมากกว่า หรือน้อยกว่าที่คาดหวัง ถือว่าเป็นความเสี่ยงทั้งสิ้น ดังนั้น จึงไม่มีการลงทุนประเภทใดที่ไม่มีความเสี่ยงความเสี่ยงจากการลงทุนในตราสารทุน

ผู้ลงทุนสามารถลดความเสี่ยงในการลงทุนในตราสารทุนได้ในระดับหนึ่ง โดยการกระจายการลงทุนในหลักทรัพย์ของหลายอุตสาหกรรมและหลายภาคธุรกิจ ทั้งยังควรคัดเลือกตราสารที่จะลงทุนอย่างพิถีพิถัน โดยพิจารณาจากปัจจัยทางพื้นฐานของบริษัทผู้ออกตราสารทุนนั้น ๆ เป็นสำคัญ เช่น 
กิจการที่มีฐานะทางการเงินมั่นคง มีผลกำไรในการประกอบการอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอทุกปี และถ้าเป็นกิจการที่จัดตั้งขึ้นใหม่ ก็ต้องมีศักยภาพในการดำเนินธุรกิจสูง
กิจการที่มีแนวโน้มในการเจริญเติบโตที่ชัดเจนมีส่วนแบ่งตลาดสูง มีความสามารถในเชิงแข่งขันสูง 
กิจการที่มีคณะผู้บริหารที่มีคุณภาพ และไม่มีประวัติการปฏิบัติงานที่ด่างพร้อยหรือส่อในทางไม่สุจริต
กิจการที่มีข้อมูลประกอบธุรกิจที่ชัดเจนโปร่งใส เป็นประโยชน์ในการตัดสินใจของผู้ลงทุน
กิจการที่มีงบแสดงฐานะทางการเงินที่ครบถ้วนตามมาตรฐานบัญชีที่มีคุณภาพ 

ความเสี่ยงของตราสารทุน สามารถแยกออกเป็น 3 ประเภทที่สำคัญได้ ดังนี้ คือ
  1. Company Risk หรือ Credit Risk
    • ความเสี่ยงที่เกี่ยวกับบริษัทนั้น อันเกิดจากสาเหตุทั้งภายในและภายนอก ที่ผู้ลงทุนไม่สามารถคาดการณ์ หรือรับรู้มาก่อนได้ เช่น 
    • การเปลี่ยนแปลงคณะจัดการหรือผู้บริหารสำคัญ ซึ่งอาจมีผลให้มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายในการดำเนินงานของกิจการ 
    • ความผิดพลาดในการบริหาร จนทำให้เกิดความเสียหายและความสูญเสียต่อผู้ถือหุ้น 
    • การแข่งขันในเชิงการตลาดของคู่แข่ง ที่มีผลกระทบต่อปริมาณการขาย และรายได้ของกิจการ 
    • ความนิยมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป และมีผลกระทบต่อปริมาณการขายและรายได้ของกิจการ
    • ความเสียหายจากภัยพิบัติ ทำให้ขบวนการผลิตและการจัดการหยุดชะงัก และกระทบต่อกระแสรายได้ของกิจการ
    • การถูกฟ้องร้องดำเนินคดี อันนำมาซึ่งความเสื่อมเสียชื่อเสียง และค่านิยม (goodwill) 
    • การล้มละลาย ความสูญเสียทั้งมวลของผู้ถือหุ้น

  2. Sector Risk หรือ Industry Risk
    ความเสี่ยงที่เกิดจากคุณสมบัติเฉพาะของภาคธุรกิจหรืออุตสาหกรรมนั้น ๆ เอง เช่น ธุรกิจ หรือ อุตสาหกรรมที่มีการผลิตหรือเสนอขายสินค้าหรือบริการเฉพาะเจาะจงเพียงไม่กี่ประเภท เช่น บริษัทสายการบิน บริษัททำเหมืองแร่ บริษัทคอมพิวเตอร์และ softwares เป็นต้น ธุรกิจหรืออุตสาหกรรมประเภทนี้ ตลอดจนราคาหุ้นของบริษัทเหล่านี้สามารถพุ่งสูงขึ้น และสามารถตกต่ำได้ในชั่วพริบตา หากมีเหตุการณ์อันไม่คาดฝันเกิดขึ้น
  3. Market Risk
    ความเสี่ยงที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสภาวการณ์ลงทุนในตลาดหุ้น ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของราคาหุ้น โดยที่ปัจจัยทางพื้นฐานของหุ้นนั้นไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปเลย กรณีเช่นนี้ มักจะเกิดขึ้นในขณะที่ ตลาดหุ้นอยู่ในสภาพร้อนแรง (bull market) หรือ ซบเซา (bear market) อันมีผลมาจากกระแสความรู้สึกโดยรวมของผู้ลงทุน (market sentiment) ในขณะนั้น ๆ สภาพเศรษฐกิจ การเมือง และ การเงิน ทั้งภายในและภายนอกประเทศ จะมีส่วนกำหนด market sentiment ของผู้ลงทุนด้วย

การวิเคราะห์บริษัทและหลักการวิเคราะห์งบการเงิน
ในการวิเคราะห์บริษัทใช้ข้อมูล 2 ด้าน คือ

  • 1. ข้อมูลเชิงคุณภาพ เป็นข้อมูลที่เป็นข้อความในลักษณะบรรยาย อาจเป็นข้อมูลอดีตปัจจุบัน หรือแนวโน้มในอนาคตเกี่ยวกับบริษัท ได้แก่ ประวัติความเป็นมา ลักษณะการดำเนินงานแผนงานในอนาคต ผลกระทบของภาวะเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้าง เป็นต้น
  • 2. ข้อมูลเชิงปริมาณ เป็นข้อมูลที่วัดได้ในเชิงตัวเลขที่มาจากกิจกรรมด้านต่างๆ ของบริษัทข้อมูลเชิงปริมาณที่สำคัญ คือ งบการเงิน ซึ่งเป็นรายงานผลประกอบการทางการเงินของบริษัท ซึ่งต้องมีการวิเคราะห์งบการเงิน โดยใช้อัตราส่วนทางการเงิน วิเคราะห์ตามแนวดิ่งวิเคราะห์ Common Size มีการประมาณการงบการเงิน 3-5 ปี พร้อมกับมีการจัดทำงบกระแสเงินสดเพื่อทำการประเมินมูลค่าหลักทรัพย์ต่อไป
การประเมินมูลค่าหลักทรัพย์
เราประเมินมูลค่าหลักทรัพย์เพื่อหามูลค่าที่เหมาะสม (Intrinsic value หรือ V0) เพื่อนำไปเปรียบเทียบกับราคาตลาด (P0) ถ้า P0 < V0 หลักทรัพย์นั้นถือว่า Undervalue นักลงทุนควรซื้อ ถ้า P0 > V0 หลักทรัพย์นั้นถือว่า Overvalue นักลงทุนควรขายหรือไม่ซื้อหลักทรัพย์นั้น
การประเมินมูลค่าหลักทรัพย์ เป็นการหาว่ามีการไม่เท่ากันของมูลค่าที่เหมาะสมกับราคาตลาดหรือไม่ ซึ่งภาวะที่มีการไม่เท่ากันของราคา ถือเป็นภาวะตลาดที่ไม่มีประสิทธิภาพ ซึ่งการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานจะสามารถช่วยให้นักลงทุนมีข้อมูลในการตัดสินใจเลือกหลักทรัพย์ที่จะลงทุนได้ โดยเริ่มจากการวิเคราะห์เศรษฐกิจ วิเคราะห์อุตสาหกรรม วิเคราะห์บริษัท แล้วจึงทำการประเมินมูลค่าเพื่อหาหลักทรัพย์ที่มีราคาตลาดต่างจากมูลค่าที่เหมาะสม
การหามูลค่าของกิจการ จะหาจากสินทรัพย์ของกิจการ โดยพิจารณาได้สองทางคือ
ทางที่ 1 จากสินทรัพย์สุทธิของกิจการ ได้แก่
  • - มูลค่าตามบัญชี
  • - Replacement value
  • - Liquidation value
  • - Net Asset Value
ทางที่ 2 ผลประโยชน์ที่ได้จากสินทรัพย์ ได้แก่
  • - ยอดขาย (sales)
  • - กำไรสุทธิ (net income)
  • - กระแสเงินสด (cash flow)
  • - เงินปันผล (dividend)
  • - กระแสเงินสดอิสระ (free cash flow)
แบบจำลองการประเมินมูลค่า
  • 1. แบบจำลองการคิดลดกระแสเงินสด (DCF)
  • 1.1 การคิดลดเงินปันผล
  • 1.2 การคิดลด กระแสเงินสดอิสระ
  • 1.3 กำไรคงเหลือ
  • 2. แบบจำลองการประเมินมูลค่าด้วยค่าสัมพัทธ์
  • 3. แบบจำลองการประเมินมูลค่า โดยใช้ตัวแบบออปชัน ด้วยค่าสัมพัทธ์

เทคนิคในการวิเคราะห์สภาพแวดล้อม ที่แนะนำ ได้แก่

  • 1. การวิเคราะห์แบบ PEST
  • 2. การวิเคราะห์แบบ Value Analysis
การวิเคราะห์แบบ PEST
PEST คือการวิเคราะห์
1. Political (การเมือง) - Free trade Area, Mega project and Poverty
2. Economics (เศรษฐกิจ) - China Growth, Inflation and Regional Development
3. Social (สังคม) - Demographic and Health Conscious
4. Technological factors (เทคโนโลยี) - Nano Tech, Fuel Efficient and GPS(Global Positioning System)
ซึ่งการวิเคราะห์จะต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเป็นไปได้และความเป็นจริงเป็นหลัก ผู้วิเคราะห์ต้องเข้าใจดีถึงผลกระทบของปัจจัยแวดล้อมต่ออุตสาหกรรม

การวิเคราะห์เชิงคุณภาพ
ในกรณีที่ไม่มีข้อมูลเพียงพอในการวิเคราะห์เชิงปริมาณ หรือต้นทุนในการวิเคราะห์เชิงปริมาณสูงเกินไป เหมาะสมกับการวิเคราะห์ระยะสั้นและอุตสาหกรรมที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วที่ไม่มีข้อมูลเชิงปริมาณในอดีตเพียงพอในการวิเคราะห์
วิธีการวิเคราะห์เชิงคุณภาพที่ง่ายที่สุด คือ “Expert Opinion” ทำได้โดยการนำผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่างๆ มาระดมความคิดเห็นกัน ยังมีเทคนิค Delphi เป็นเทคนิคที่ใช้รวบรวมความคิดเห็น คิดค้นโดย Rand Corporation โดยให้ผู้เชี่ยวชาญแต่ละคนตอบข้อซักถามของทีมดำเนินงานทีละคน ทีมดำเนินงานจะคัดเลือกคำตอบที่ไม่เข้าพวกอย่างสุดขั้วออกไป เหลือแต่ความเห็นที่คล้ายคลึงกัน แล้วส่งคำตอบที่ได้กลับไปยังผู้เชี่ยวชาญประเมิน ซึ่งต้องทำหลายๆรอบ จนกว่าจะได้มติจากผู้เชี่ยวชาญ

การวิเคราะห์ภาวะอุตสาหกรรม (Industry Analysis)
การวิเคราะห์หลักทรัพย์จะเกี่ยวข้องกับแหล่งข้อมูล 3 ระดับคือ


  • 1. ข้อมูลระดับมหภาค ได้แก่ ภาวะเศรษฐกิจ การเมือง วัฒนธรรม กฎระเบียบและนโยบายต่างๆ เทคโนโลยี ประชากรศาสตร์ รูปแบบการดำเนินชีวิต
  • 2. ข้อมูลระดับอุตสาหกรรม ได้แก่ วัฏจักรเศรษฐกิจ โครงสร้างตลาด การเปลี่ยนแปลง
  • ของโครงสร้างมหภาค วัฏจักรชีวิตอุตสาหกรรม
  • 3. ข้อมูลระดับบริษัท
ซึ่งข้อมูลทั้ง 3 ระดับนี้ต่างมีผลต่อผลประกอบการของบริษัท ซึ่งจะมีผลต่อผลตอบ
แทนของการลงทุนในหลักทรัพย์ของบริษัทนั้นๆ
ในการวิเคราะห์ข้อมูลระดับมหภาคและระดับอุตสาหกรรม จะต้องทำการวิเคราะห์ 2 ด้านด้วยกัน คือ


  • 1. Qualitative Analysis เป็นการวิเคราะห์เชิงคุณภาพ เป็นการใช้ความคิดเห็นของนักวิเคราะห์มาพิจารณาอาจเกิดการ bias ได้ ไม่สามารถบอกออกมาเป็นตัวเลขได้ แต่สามารถใช้ได้ดีเมื่อมีข้อมูลใหม่ๆเข้ามาโดยเฉพาะข้อมูลภายใน (inside information)
  • 2. Quantitative Analysis การวิเคราะห์เชิงปริมาณ จัดทำง่าย สามารถบอกแนวโน้มได้โดยเฉพาะช่วงสั้นๆ แต่มีโอกาสผิดพลาดได้ หากมีข้อมูลภายในอาจทำให้ยากในการวิเคราะห์
วัฎจักรธุรกิจ
ขึ้นกับแนวโน้มของภาวะเศรษฐกิจเช่นกัน ในช่วงภาวะเศรษฐกิจตกต่ำจนใกล้จุดต่ำสุด Financial stock จะดีขึ้นเนื่องจากมองว่าอนาคตจะ recover เริ่มมีการลงทุนในหุ้นเพิ่มขึ้น เมื่อถึงจุดต่ำสุดของภาวะเศรษฐกิจ Consumer Durable เมื่อถึงช่วงเศรษฐกิจเริ่มโงหัวขึ้น ธุรกิจสินค้าทุนจะเริ่มดี เนื่องจากมีการบริโภคมากขึ้น สินค้าเริ่มมีน้อยลง ต้องมีการผลิตเพิ่ม สินค้าทุนต้องถูกจัดซื้อเพิ่มขึ้น ช่วงเศรษฐกิจเติบโตเต็มที่ Basic industries จะดี

การวิเคราะห์หลักทรัพย์นั้นแบ่งได้เป็น 3 แนวทาง ได้แก่


  • 1.การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน (Fundamental Analysis)
  • 2.การวิเคราะห์ปัจจัยทางเทคนิค (Technical Analysis)
  • 3.อื่นๆ เช่น Random Walk, Mythology ฯลฯ
ถึงแม้จะมีหลายแนวทางให้วิเคราะห์แต่มีเพียง 2 แนวทางแรกเท่านั้น ที่นักวิชาการส่วนใหญ่นำมาวิเคราะห์ บางท่านคิดว่า ตลาดหุ้นนั้นเหมือนการเสี่ยงดวง วัดดวงหรือเหมือนการพนันแต่ความจริงแล้ว ตลาดหุ้นนั้น มีศาสตร์และศิลป์ที่สามารถหาคำตอบได้ทางวิยาศาสตร์และทุกอย่างที่เกิดขึ้นมีทั้งเหตุและผลครับ มีมหาวิยาลัยชื่อดังหลายแห่งที่มี หลักสูตรการสอนเรื่องตลาดหุ้นโดยเฉพาะครับ อย่างเมืองไทยเราก็มี มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ ส่วนของต่างประเทศดังๆก็มี Massachusetts Institute 0f Technology, Baruch College of The City of New York เป็นต้น

การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน (Fundamantal Analysis)
การวิเคราะห์หลักทรัพย์โดยใช้ปัจจัยพื้นฐาน ประกอบไปด้วย



  • 1. การวิเคราะห์ภาวะเศรษฐกิจ
  • 2. การวิเคราะห์อุตสาหกรรม
  • 3. การวิเคราะห์บริษัท
การวิเคราะห์ภาวะเศรษฐกิจ (Economic Analysis)

ต้องวิเคราะห์ทั้งภาวะเศรษฐกิจโลกและในประเทศ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของภาวะเศรษฐกิจโลกจะมีผลต่อประเทศไทยของเราเช่นกัน ปัจจัยที่ต้องพิจารณา ได้แก่ การพยากรณ์เกี่ยวกับอัตราการเติบโตของรายได้ประชาชาติของแต่ละประเทศ การพยากรณ์เกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ย ฯ
นอกจากนี้ยังต้องติดตามภาวะเศรษฐกิจของประเทศใหญ่ๆ โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกาที่มีสัดส่วนการบริโภคในโลกนี้มากที่สุด
ในการวิเคราะห์ภาวะเศรษฐกิจในประเทศ จะต้องศึกษาถึงภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันเป็นอย่างไร ซึ่งวิทยากรเห็นว่าปัจจุบัน



  • -ไทยมีการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด แต่ยังไม่น่าเป็นห่วง ควรเร่งการลงทุน ซึ่งภาค
  • เอกชนได้มีการลงทุนกันเป็นจำนวนมาก ยังเหลือแต่ภาครัฐที่ยังไม่ลงทุนมากนัก
  • - สำหรับการบริโภคของคนในประเทศ มีการชลอตัวเนื่องจากการปรับตัวเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมัน ที่ทำให้ราคาสินค้าปรับตัวสูงขึ้น
  • - นโยบายการเงิน มีแนวโน้มที่จะมีการปรับอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องอีกในอนาคต หากมีการปรับอัตราดอกเบี้ยสูงขึ้น ก็จะมีผลต่อภาวะการซื้อขายหลักทรัพย์
  • - ภาวะการซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ ของประเทศไทยมีผลการ
  • ดำเนินงานที่ต่ำกว่าประเทศต่างๆ ทั่วโลก และดัชนีตลาดหลักทรัพย์ก็ไม่ค่อยมีการเติบโตนัก การลงทุนของนักลงทุนต่างชาติเป็นการเคลื่อนย้ายทุนมาจากประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นส่วนใหญ่ อัตราดอกเบี้ยที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นส่งผลการเติบโตของตลาดหลักทรัพย์
หลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อเปรียบเทียบกับตลาดอื่นๆแล้ว มูลค่ายังต่ำมาก เมื่อพิจารณาจากค่า P/E Ratio ในขณะที่บริษัทจดทะเบียนต่างมีงบดุลที่ดีขึ้น นั่นคือมีสัดส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้นลดลง (มีการใช้เงินทุนจากส่วนของผู้ถือหุ้นเพิ่มขึ้น) ทำให้มีอัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้นสูงขึ้น ปัญหาที่อาจเกิดขึ้น เนื่องจากบริษัทต่างๆมีการใช้เงินทุนจากผู้ถือหุ้นมากแล้ว ผลตอบแทนก็เริ่มโตมาก การจะเพิ่มผลตอบแทนเริ่มยากขึ้น อาจทำให้ ROE/ROA ปรับตัวลดลง บริษัทเหล่านี้จะทำอย่างไร มีทางแก้อยู่ 2 ทางคือ 


  • 1. เร่งขยายกิจการโดยลงทุนเพิ่มขึ้น 
  • 2. เร่งจ่ายเงินปันผลให้มากๆ

;;

บทความที่ได้รับความนิยม