Custom Search

MBA Holiday

วันอังคารที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ผลต่อความต้องการถือเงิน
ภาวะเงินเฟ้อจะทำให้ค่าของเงินลดลง เพราะเมื่อราคาสินค้าแพขึ้น เงินเท่าเดิมจะซื้อของได้น้อยลงความต้องการถือเงินจะขึ้นอยู่กับการคาดคะเน ราคาสินค้าหรือค่าของเงินด้วย ค่าของเงินยิ่งต่ำ คนจะยิ่งพยายามถือเงินให้น้อยลง โดยจะมีการใช้จ่ายซื้อสินค้าและบริการมากขึ้น
 

ผลกระทบต่อรัฐบาล
รัฐบาลมักจะได้รับประโยชน์จากภาวะ เงินเฟ้อ นั้นคือ ภาวะเงินเฟ้อจะทำให้ประชาชนมีรายได้ที่เป็นตัวเงินเพิ่มสูงขึ้น ถ้ารัฐเก็บภาษีในอัตราก้าวหน้า ก็จะเก็บภาษีได้มากขึ้น มีรายได้มากขึ้น ส่วนทางด้านรายจ่ายของรัฐนั้นถ้าเป็นจำนวนที่คงที่ เช่น เงินเดือน, บำนาญ, เงินสงเคราะห์ต่าง ๆ รัฐก็จะได้ประโยชน์เพราะเงินนั้นมีค่าน้อยลง นอกจากนี้ถ้ารัฐมีการกู้ยืมมากรัฐจะได้ประโยชน์ฐานะลูกหนี้ เพราะจำนวนเงินที่จ่ายในแต่ละส่วนจะมีค่าน้อยลง และเนื่องจากรัฐมีรายได้มากขึ้น การชำระหนี้ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยจึงทำได้โดยไม่ลำบากในการเก็บรักษามูลค่า และเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนได้เลย
ผลที่มีต่อการกระจายรายได้
เมื่อเกิดเงินเฟ้อจะทำให้มีการเปลี่ยนแปลงในการกระจายรายได้ของบุคคล เช่น
1) ผู้มีรายได้เป็นจำนวนเงินคงที่ตายตัวหรือรายได้ประจำจะเสียเปรียบ เพราะค่าใช้จ่ายต่าง ๆ จะสูงขึ้นเนื่องจากสินค้าแพงขึ้น แต่รายได้ที่เป็นตัวเงินยังคงเดิม
หรือเพิ่มขึ้นน้อยกว่าอัตราเงินเฟ้อ เช่นข้าราชการ , ผุ้มีรายได้จากบำนาญ ในขณะที่ผู้มีรายได้จากกำไร หรือมีรายได้เป็นตัวเงินที่เปลี่ยนแปลงได้ง่าย
เช่น พ่อค้า, นักธุรกิจ มักจะได้ประโยชน์เพราะสามารถขึ้นราคาสินค้าให้สูงขึ้นตามต้นทุนการผลิตหรือ อาจจะขึ้นราคาไปมากกว่าต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้น ทำให้ได้กำไรมากขึ้น

2) ลูกหนี้จะได้เปรียบในขณะที่เจ้าหนี้เสียเปรียบ เนื่องจากเงินที่นำไปชำระหนี้คืนนั้นมีอำนาจซื้อลดลง เนื่องจากค่าของเงินลดต่ำลงไปเรื่อย ๆ เพราะราคาสินค้าสูงขึ้น
3) ผู้ถือทรัพย์สินที่เป็นตัวเงินแน่นอน เช่น เงินสด เงินฝากประจำ หุ้นกู้ จะเสียเปรียบ เพราะเงินลดค่าลงในขณะที่ผู้ถือทรัพย์สินที่มีราคาไม่แน่นอนมักจะได้เปรียบ
เพราะราคาของทรัพย์สินมักจะสูงขึ้นเรื่อย ๆ เช่น ที่ดิน อาคารบ้านเรือน เครื่องมือเครื่องจักร กักตุนสินค้า
จะ เห็นได้ว่าภาวะเงินเฟ้อจะทำให้การกระจายรายได้เป็นไปอย่างไม่ยุติธรรมมาก ขึ้น เพราะคนรวยจะยิ่งรวยขึ้น (เช่น พวกพ่อค้า ผู้ผลิต นักธุรกิจ นายทุน) ในขณะที่คนจนยิ่งจนมากขึ้น
(เช่น ลูกจ้าง, กรรมกร,ข้าราชการ) ซึ่งถ้าหากผุ้มีรายได้ประจำเหล่านี้ได้รับความเดือดร้อนเพราะค่าครองชีพสูง ก็อาจจะดิ้นรนเรียกร้องค่าแรงงาน, เงินเดือนให้สูงขึ้น ซึ่งถ้าทำได้สำเร็จ


นายจ้างก็จะต้องจ่ายค่าแรงงานเพิ่ม ขึ้น ต้นทุนการผลิตก็จะสูงขึ้น ทำให้ต้องตั้งราคาสินค้าสูงขึ้นไปกว่าเดิม ภาวะเงินเฟ้อก็จะแรงยิ่งขึ้น และลูกจ้างเองก็จะไม่สามารถจะหลีกเลี่ยงความเดือดร้อนจากภาวะเงินเฟ้อได้

วันอาทิตย์ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

การตัดสินใจเลือกรูปแบบการบรรจุภัณฑ์และประเภทวัสดุของบรรจุภัณฑ์มักจะใช้กับสินค้าอุปโภคบริโภคที่พัฒนาใหม่ หรือเมื่อมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงสินค้าใหม่ กลยุทธ์การบรรจุภัณฑ์ มีหลักในการพิจารณาดังนี้


              1. บรรจุภัณฑ์นั้นเหมาะสมที่จะบรรจุสินค้า ( Put  in ) หรือไม่
              2. สินค้าเมื่อวางบนชั้นแล้วได้เปรียบ (เด่น ) ( Put up ) หรือไม่
              3. สินค้าเมื่อนำเอามาใช้แล้วเก็บสะดวก ( Put away ) หรือไม่
              4. บรรจุภัณฑ์สวยงาม ( Prettiness ) หรือไม่
              5. สามารถเชิญชวนให้ใช้ ( Pleading ) ได้หรือไม่
              6. บรรจุภัณฑ์สามารถสะท้อนตำแหน่งครองใจของสินค้า ( Positioning ) ได้หรือไม่
              7. บรรจุภัณฑ์สามารถสะท้อนบุคลิกภาพของสินค้า ( Personality ) ได้หรือไม่
              8. บรรจุภัณฑ์สามารถปกป้องสินค้า ( Protection ) ได้หรือไม่
              9. บรรจุภัณฑ์มีความสะดวกต่อการใช้งาน ( Practicality ) หรือไม่
            10. บรรจุภัณฑ์ที่เลือกนั้นสามารถทำกำไรได้มากขึ้น ( Profitability ) ได้หรือไม่
            11. บรรจุภัณฑ์นั้นสามารถนำมาใช้ในการส่งเสริมการตลาด ( Promotion ) ได้หรือไม่
            12. เป็นการบอกถึงวิธีการใช้สินค้า ( Preaching ) ได้หรือไม่
            13. สามารถดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม ( Preservation ) ได้หรือไม่

                    ถ้านำสิ่งเหล่านี้มาพิจารณาทั้งหมดจะเห็นไว่าในการออกแบบบรรจุภัณฑ์ของบริษัทจะเป็นโลโก้ ตัวหนังสือ ตัวอักษร การเลือกเป็นกระดาษ เป็นโฟม เป็นฝาจุก หรือเครื่องหมาย สีสันต่างๆ บริษัทก็จะได้บรรจุภัณฑ์ที่ดี

วันจันทร์ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2557

การกู้ยืมเงินระยะสั้นจะรวมถึงเงินกู้ที่ใช้เป็นเงินทุนดำเนินงานซึ่งได้มาจากสินเชื่อการค้าการกู้ยืมระยะสั้นจากสถาบันการเงิน  การกู้ยืมโดยมีบัญชีลูกหนี้เป็นหลักประกัน  และการกู้ยืมโดยมีสินค้าคงคลังเป็นหลักประกัน  ประเภทของการกู้ยืมเงินระยะสั้นที่ธรรมดา  ๆ  บางประเภทได้แก่
1)  เงินกู้เพื่อการพาณิชย์    เป็นประเภทของเงินกู้ระยะเวลาสามถึงหกเดือนที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เงินกู้เหล่านี้อาจจะไม่มีหลักประกันหรือใช้ทรัพย์สินของธุรกิจเป็นหลักประกันและชำระคืนเมื่อสิ้นสุดระยะเวลาที่แน่นอน  ถ้าหากว่าเป็นเงินกู้เพื่อการพาณิชย์จำนวนมากอาจจะต้องการยอดคงเหลือเพื่อการชดเชย  หมายความว่า  ผู้ประกอบการจะต้องเหลือส่วนหนึ่งของเงินกู้ไว้ในบัญชีเงินฝากกับผู้ให้กู้  ถึงแม้ว่าจะต้องจ่ายค่าดอกเบี้ยจากจำนวนเงินทั้งหมด
2)  การกู้ยืมโดยมีบัญชีลูกหนี้เป็นหลักประกัน  เป็นประเภทเงินกู้แบบพิเศษซึ่งมีบัญชีลูกหนี้ของธุรกิจเป็นหลักประกัน  โดยทั่วไป  สถาบันการเงินจะให้กู้ยืมเงินจนถึง  65  ถึง  80  เปอร์เซ็นต์ของมูลค่าบัญชีลูกหนี้ซึ่งมีอายุน้อยกว่า  60  จนถึง  90  วัน  เมื่อบัญชีลูกหนี้ถึงกำหนดชำระเงิน  ธุรกิจจะต้องชำระคืนผู้ให้กู้พร้อมดอกเบี้ย  ธุรกิจที่ประสบกับการขึ้นลงของยอดขายตามฤดูกาลมักจะใช้วิธีการนี้ค่อนข้างบ่อยครั้ง

3)  การกู้ยืมโดยมีสินค้าคงคลังเป็นหลักประกัน  เป็นประเภทเงินกู้แบบพิเศษซึ่งมีสินค้าคงคลังเป็นประกัน  สถาบันการเงินมักจะให้กู้ยืมเงินจนถึง  50  เปอร์เซ็นต์ของมูลค่าสินค้าคงคลังอัตราเปอร์เซ็นต์เงินกู้โดยมีสินค้าคงคลังเป็นหลักประกันจะต่ำกว่าเงินกู้โดยมีบัญชีลูกหนี้เป็นหลักประกันเนื่องจากเงินกู้โดยมีบัญชีลูกหนี้เป็นหลักประกันสามารถนำออกขายได้ง่ายกว่า
4)   วงเงินสินเชื่อ    เป็นวิธีการที่ดีที่สุดวิธีหนึ่งในการจัดหาเงินสำหรับความต้องการเงินทุนที่เกิดขึ้นเป็นช่วง  ๆ  สถาบันที่ให้กู้ยืมมักจะเปิดวงเงินสินเชื่อไว้และธุรกิจสามารถกู้ยืมได้จนถึงวงเงินที่เปิดไว้เมื่อใดก็ได้  ธุรกิจจะจ่ายค่าธรรมเนียมเพื่อเปิดวงเงินสินเชื่อและจ่ายค่าดอกเบี้ยให้กับเงินทุนที่กู้ยืมมา  ผู้ประกอบการสามารถกู้ยืมต่อได้และชำระคืนวงเงินตราบใดที่ยอดรวมแต่ละครั้งไม่เกินวงเงินที่เปิดไว้
การใช้การกู้ยืมเงินระยะสั้นอย่างมีประสิทธิผลจะมีข้อดีหลายประการ  การกู้ยืมเงินระยะสั้นจะแสดงให้เห็นแหล่งเงินทุนซึ่งพร้อมที่จะช่วยให้ธุรกิจปฏิบัติตามข้อผูกพันที่สร้างแรงกดดัน หรือใช้ประโยชน์ของโอกาสที่เกิดขึ้นในทันทีทันใด  รายจ่ายที่ไม่ได้คาดหวังไว้      ยอดขายที่เกิดขึ้นอย่างช้าๆและอื่นๆ  

วันอาทิตย์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ในการจัดทำ งบประมาณประจำ ปี จะต้องมีการกำ หนดรายรับก่อนว่าจะหาได้จากทางใด
มากน้อยเพียงใด ก่อนที่จะไปกำ หนดว่าจะใช้จ่ายในด้านต่าง ๆ อย่างไร ตามปกติการจัดทำ งบประมาณ
จะต้องมีการกำ หนดวงเงินขึ้นมา 2 วงเงิน คือ งบประมาณการรายรับและงบประมาณรายจ่าย โดยต้อง
พิจารณาเงินทั้ง 2 ด้าน นี้ให้สมดุลย์กัน การประมาณการรายรับเป็นสิ่งสำ คัญ และมีอิทธิพลต่อการ
พัฒนาของหน่วยงานเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้นจึงควรมีการกำ หนดงบประมาณรายรับให้ละเอียดรอบคอบ
การประมาณการรายรับนั้นหน่วยงานที่รับผิดชอบ จะประมาณการโดยใช้สถิติแนวโน้ม
ประมาณการการรายรับของปีที่ล่วงมาเป็นฐานในการคำ นวณ ในขณะที่หน่วยงานอื่น ๆ ที่มีรายได้และ
มีหน้าที่จัดเก็บรายได้ จะต้องแจ้งประมาณการรายรับของตนเองเข้ามาด้วยเพื่อที่จะได้นำ มาพิจารณา
เปรียบเทียบกันกับรายการที่ได้ประมาณการไว้แล้วว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร ถ้าหากมีข้อแตกต่าง
กันมาก จะต้องมีการปรึกษาหารือ หาข้อยุติในตัวเลขประมาณการรายรับนั้น ๆ เพื่อที่จะสรุปออกมา
เป็นประมาณการรายรับทั้งหมดต่อไป
การประมาณการรายรับให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ควรคำ นึงถึงดังนี้
1) หน่วยงานที่จะทำ หน้าที่ กำ หนดงบประมาณนั้นต้องเป็นหน่วยงานที่ทำ หน้าที่เป็น
ศูนย์กลางเกี่ยวกับงบประมาณ ในการประมาณการรายรับต้องทำ ร่วมกับหน่วยงานที่มีรายได้และ
จัดเก็บเงิน
2) ควรมีการกำ หนดงบประมาณรายรับอย่างละเอียดรอบคอบ เหมาะสมและถูกต้อง
มากที่สุด ครอบคลุมทุกด้านตามระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณและการจัดการเงินรายได้ของ
หน่วยงานนั้น
3) ควรมีการจำ แนกประเภทรายได้ให้เหมาะสมเพื่อความสะดวกในการประมาณการ
เพราะรายได้แต่ละประเภทไม่เหมือนกันและมีวิธีการประมาณการรายได้ต่างกัน การจำ แนกประเภท
รายได้ให้เหมาะสม จึงเป็นสิ่งสำ คัญในอันที่จะช่วยให้การประมาณการรายได้ ถูกต้องแน่นอนยิ่งขึ้น
4) ควรคำ นึงถึงสาเหตุที่มีผลกระทบต่อรายได้ ที่ทำ ให้การจัดเก็บรายได้ไม่เป็นไปตาม
ประมาณการ ผู้ประมาณการรายได้ต้องคิดประมาณการเพื่อเหตุที่ทำ ให้เก็บเงินไม่ได้ตามเป้าด้วย5) ควรรวบรวมสถิติต่าง ๆที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บรายได้ไว้ เพราะสถิติต่าง ๆ เป็น
เครื่องมือสำ คัญและมีประโยชน์อย่างมากในการประมาณการรายได้ให้ใกล้เคียงกับความจริง
6) ควรมีวิธีการกำ หนดรายรับให้เหมาะสม การประมาณการรายรับงบประมาณมีวิธี
การหลายวิธี ซึ่งพอสรุปได้ 3 รูปแบบ คือ
(1) วิธีการประมาณการโดยตรง เป็นวิธีการศึกษาถึงแหล่งรายได้ต่าง ๆ อย่าง
ละเอียดและหาตัวกำ หนดที่มาของรายได้ และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวกำ หนด และตัวแปรต่าง ๆ
จนครบทุกตัว แล้วจึงนำ มาคำ นวณประมาณการรายได้ทั้งหมด
(2) วิธีหาค่าเฉลี่ย เป็นการประมาณการ โดยหาค่าเฉลี่ยการเพิ่มหรือลดของรายรับ
จากแหล่งต่าง ๆ นำ มาเฉลี่ยกันซึ่งอาจจะใช้เวลาเฉลี่ยกี่ปีก็ได้ตามที่เห็นเหมาะสม
(3) หารายรับจริงของปีทีผ่านมา เป็นวิธีการนำ รายรับจริงของปีที่ผ่านมานำ มา
คำ นวณประมาณการรายรับ ในปัจจุบันซึ่งเป็นวิธีที่ง่ายที่สุด ไม่ต้องใช่ระบบเทคนิคก้าวหน้าอะไร

การควบคุมการใช้จ่ายงบประมาณให้เป็นไปตามแผนงาน งาน และโครงการที่ได้
รับอนุมัติงบประมาณ เพื่อป้องกันการรั่วไหล โดยการควบคุมการเบิกจ่ายเงิน การตรวจสอบ
ตามระเบียบที่หน่วยงานกำ หนด ซึ่งมีรายละเอียดตามขั้นตอนดังนี้
1) การทำ แผนปฏิบัติการ เมื่อหน่วยงานได้รับอนุมัติงบประมาณแล้วให้ทำ แผนปฏิบัติ
การโดยกำ หนดกิจกรรมที่จะทำ และจำ นวนเงินที่จะใช้ในช่วงเวลาต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับกำ ลังเงินที่
ประมาณการจะได้รับ
2) ดำ เนินการใช้งบประมาณตามแผนปฏิบัติการ โดยการขออนุมัติเงินตามระเบียบของ
หน่วยงาน
3) การตรวจสอบ เมื่อมีการเบิกจ่ายเงินไปแล้ว ต้องมีการตรวจสอบว่าได้ใช้จ่ายเงินไป
ตามจริงที่เบิกไปหรือไม่ การตรวจสอบจึงเป็นวิธีการสำ คัญที่จะควบคุมการบริหารด้านการเงินเป็นไป
ตามแผนปฏิบัติการไม่รั่วไหล และให้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามระเบียบทางการเงิน
4) การรายงาน เป็นวิธีการหนึ่งในการตรวจสอบและประเมินผล ให้มีการรายงานผลงาน
ที่ได้ปฏิบัติไปแล้ว เป็นระยะ ๆ เพื่อสามารถทบทวนผลการปฏิบัติงานตามแผนปฏิบัติการที่กำ หนดไว้
ว่ามีความคืบหน้าไปประการใดและจะต้องใช้เป็นผลในการตั้งงบประมาณในปีต่อไปด้วย

การจัดเตรียมงบประมาณ หมายถึง การจัดเตรียมงบประมาณทั้ง 2 ด้าน คือ วงเงินงบประมาณรายรับและวงเงิน
งบประมาณรายจ่ายในขั้นตอนการจัดเตรียมงบประมาณยังสามารถแบ่งขั้นตอนออกได้ดังนี้
1) ประมาณการรายรับและประมาณการรายจ่าย ในการจัดทำ งบประมาณประจำ ปี
จะต้องมีการประมาณการรายรับไว้ว่าจะสามารถจัดหารายรับเพื่อใช้เป็นงบประมาณรายจ่ายเป็นจำ นวน
เงินเท่าใด ซึ่งการกำ หนดรายรับ รายจ่าย จะต้องเป็นไปอย่างเหมาะสมและสมดุลย์
2) กำ หนดแนวนโยบายงบประมาณ คณะผู้บริหารหน่วยงานต้องกำ หนดแนวนโยบาย
งบประมาณ โดยพิจารณาถึงความสอดคล้องที่จะมีต่อนโยบายของหน่วยงานและผลกระทบที่จะเกิด
ขึ้นจากงบประมาณที่มีต่อสังคมและด้านอื่นด้วย
3) กำ หนดวงเงินของแต่ละหน่วยงาน เมื่อได้รับนโยบายงบประมาณแล้วจะต้องมีการ
พิจารณา กำ หนดวงเงินและจัดสรรวงเงินตามแนวนโยบายงบประมาณ
4) หน่วยงานจัดทำ คำ ขอตั้งงบประมาณ เมื่อหน่วยงานได้รับทราบวงเงินงบประมาณของ
ตัวเองแล้ว ต้องจัดทำ คำ ขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำ ปี โดยยึดแนวนโยบายงบประมาณที่ได้กำ หนด
ไว้แล้ว
5) คณะกรรมการบริหารงบประมาณและการเงิน พิจารณา รายละเอียดงบประมาณที่
หน่วยงานต่าง ๆ ทำ คำ ขอตั้งงบประมาณรายจ่ายขึ้นมา โดยพิจารณาด้านความเหมาะสม ความสอด
คล้องต่อแผนพัฒนาเศรษฐกิจฯ นโยบายงบประมาณ ความพร้อมของหน่วยงานที่จะปฏิบัติงาน อาจมี
การปรับลดงบประมาณได้ตามความเหมาะสม และแก้ไขปรับปรุงคำ ของบประมาณทำ เป็นเอกสาร
งบประมาณเสนอต่อคณะกรรมการพิจารณางบประมาณ
6) คณะกรรมการพิจารณางบประมาณ พิจารณาร่างงบประมาณรายจ่าย โดยพิจารณา
รายละเอียดแผนงาน งาน และโครงการต่าง ๆ ว่าเหมาะสมเพียงใด สมควรอนุมัติหรือไม่

;;

บทความที่ได้รับความนิยม