Custom Search

MBA Holiday

วันจันทร์ที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2556

ปัจจุบันเทคโนโลยีเป็นปัจจัยสาคัญที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพ และประสิทธิผลในการทางานของธุรกิจ การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีในอุตสาหกรรมทาให้องค์กรต้องปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีของตนเอง เพื่อให้สามารถทางานอย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล ทัดเทียมหรือเหนือกว่าองค์กรอื่น ๆ มิเช่นนั้นแล้วก็จะถูกคู่แข่งขันแซงหน้า และอาจจะต้องออกจากการแข่งขันไปในที่สุด ซึ่งควรให้ความสนใจกับเทคโนโลยีด้านต่าง ๆ ดังนี้
4.1 เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) หรือ IT ได้แก่ คอมพิวเตอร์ ชุดคาสั่ง อุปกรณ์สื่อสาร และระบบ Internet จะเป็นกลจักรสาคัญในการสร้างประสิทธิภาพและความคล่องตัวให้แก่องค์กร โดยผ่านระบบการจัดการข้อมูลที่เหมาะสม ที่จะช่วยให้การตัดสินใจแก้ไขปัญหามีความถูกต้องและเหมาะสมกับข้อจากัดของสถานการณ์
4.2 เทคโนโลยีการผลิตและการปฏิบัติงาน (Production / Operations Technology) เป็นเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่ช่วยให้การผลิตมีประสิทธิภาพ และผลผลิตสูงขึ้น ตลอดจนช่วยในการปฏิบัติงานของบุคคลให้สะดวกและรวดเร็วมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลต่อการเพิ่มผลิตภาพ (Productivity) ในการดาเนินงานของธุรกิจ
4.3 เทคโนโลยีการบริหารงาน (Management Technology) เป็นเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่ช่วยให้การทางานขององค์กรมีประสิทธิภาพ ทั้งในด้านการวางแผน การปฏิบัติการ และการควบคุม เช่น Benchmarking การบริหารคุณภาพโดยรวม (Total Quality Management : TQM) หรือการรื้อปรับระบบ (Reengineering) เป็นต้น โดยให้ความสาคัญกับการพัฒนาทั้งโครงสร้างและการทางานขององค์กรให้ก้าวหน้าและทันสมัย ซึ่งช่วยสร้างความได้เปรียบเหนือคู่แข่งขัน
จะเห็นว่า พัฒนาการและการใช้งานเทคโนโลยีทั้ง 3 ด้านอย่างเหมาะสม จะมีอิทธิพลและช่วยเร่งการพัฒนาผลิตภาพ (Productivity) รวมขององค์กร ดังนั้น การที่เราจะสามารถใช้เทคโนโลยีได้อย่างถูกต้อง และลงตัวจะต้องอาศัยทรัพยากรมนุษย์ที่ไม่เพียงแต่มีความรู้ในงานที่ตนทาเท่านั้น แต่จะต้องสามารถใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่องค์กร โดยสามารถประสานประโยชน์และสร้างสมดุลระหว่างงานและระบบให้ได้อย่างเต็มที่

1. ความซับซ้อนและความหลากหลายขององค์กร
การเปลี่ยนแปลงและความก้าวหน้าในสังคมปัจจุบัน ทาให้องค์กรหลายแห่งต้องมีการปรับตัวจนมีโครงสร้างที่ซับซ้อน และมีรูปแบบที่หลากหลายขึ้น ซึ่งจะเห็นรูปแบบการปรับตัวในระดับต่าง ๆ เช่น การรื้อปรับระบบ (Reengineering) การแตกออกเป็นหน่วยธุรกิจย่อย (Business Unit) การลดระดับการบังคับบัญชา (Delayering) หรือการลดขนาดองค์กร (Downsizing) เป็นต้น ทาให้มีการปรับเปลี่ยนระบบและวิธีการทางาน ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อบุคลากรที่ปฏิบัติทั้งในเชิงกายภาพและจิตใจ ทาให้ฝ่ายบริหารไม่เพียงแต่ต้องตัดสินใจเปลี่ยนโครงสร้างขององค์กร แต่จะต้องสามารถวางแผนและทาการพัฒนาองค์กร เพื่อเตรียมความพร้อมให้แก่ทั้งบุคคลและองค์กร
2. พลวัตของสภาพแวดล้อม
การขยายตัวและเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมภายนอก เช่น เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม การเมือง เทคโนโลยี และโลกาภิวัตน์ ตลอดจนสภาพแวดล้อมในการดาเนินงานต่าง ๆ เช่น ลูกค้า คู่แข่งขัน ต่างก็มีอิทธิพลต่อการดารงอยู่ของทั้งองค์กรและบุคลากร ประกอบกับแผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในระดับมหภาคของประเทศที่ให้ความสาคัญกับคุณภาพชีวิตของประชากร ได้สร้างแรงผลักดันให้องค์กรธุรกิจจะต้องมีการปรับตัวและดาเนินงานเพื่อตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐานของแรงงาน เพื่อให้มีคุณภาพชีวิตการทางานที่ดีขึ้น
3. ความยืดหยุ่นและการตอบสนองต่อปัญหา
องค์กรจะต้องมีความยืดหยุ่นต่อแรงกดดัน และสามารถตอบสนองต่อปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้อง และเหมาะสม เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงและความผันผวนของสภาพแวดล้อม อาจสร้างโอกาสหรืออุปสรรคให้แก่องค์กรได้ โดยโอกาสและอุปสรรคที่เกิดขึ้นอาจมีรูปแบบที่แตกต่างจากอดีต ทาให้องค์กรต้องสามารถตอบสนองต่อปัญหาได้อย่างเป็นระบบและตรงประเด็น ซึ่งจะต้องอาศัยความรู้ความสามารถและความพร้อมขององค์กรในการรับรู้ และตระหนักถึงปัญหา การวิเคราะห์สาเหตุและการแก้ไขที่ถูกต้อง ผ่านทางทรัพยากรมนุษย์ที่มีศักยภาพ และเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างตนเอง กลุ่ม องค์กร และสภาพแวดล้อมอย่างดี

องค์ประกอบหลักของการพัฒนาองค์กร (Organization Development )
1. มีพื้นฐานทางด้านสังคมศาสตร์
แม้ว่าปัจจุบันเทคนิคการพัฒนาองค์กรได้ขยายตัวและบูรณาการเข้ากับเทคนิคการบริหารอื่น ๆ เช่น การบัญชี การเงิน การปรับปรุงเทคโนโลยีสานักงาน และการดาเนินการ เป็นต้น แต่ไม่ว่าจะพัฒนาองค์กรไปในรูปแบบใด ก็จาเป็นจะต้องมีการประยุกต์โดยการนาความเข้าใจและหลักทางสังคมศาสตร์และมนุษย์สัมพันธ์มาประยุกต์ เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นในทิศทางที่ต้องการ
2. ให้ความสาคัญกับการพัฒนาสมาชิกขององค์กร
โดยหลักการแล้วเชื่อว่า มนุษย์ทุกคนมีความสามารถและต้องการจะมีสภาพชีวิตที่ดี ดังนั้นผู้บริหารจะต้องจัดโครงสร้างองค์กร ระบบงาน และบรรยากาศที่สร้างความพอใจในการทางาน และพร้อมเปิดโอกาสให้พนักงานมีความก้าวหน้า และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
3. เพิ่มความสามารถในการทางานขององค์กร
ในการพัฒนาองค์กรจะต้องมีการศึกษาและวิเคราะห์ปัญหาขององค์กร เพื่อกาหนดแนวทางในการปรับปรุงและแก้ไขปัญหาในระดับต่าง ๆ ขององค์กร ตั้งแต่ระดับบุคคล หน่วยงานหรือองค์กร เพื่อให้การทางานมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงขึ้น
การพัฒนาองค์กร (OD) จะแตกต่างไปจากหลายทฤษฏีที่เคยศึกษา เพราะว่า OD จะเป็นทั้งทฤษฎีและการปฏิบัติ ซึ่งจะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงระบบองค์กรอย่างมีแบบแผน เพื่อให้องค์กรสามารถแก้ไขปัญหา และมีการพัฒนาการอย่างเหมาะสม โดยที่การพัฒนาองค์กรจะเกี่ยวข้องกับการพัฒนาประสิทธิภาพ และประสิทธิผลในการทางานขององค์กร

ปัจจุบันการทาธุรกิจเป็นเกมการแข่งขันที่มีความซับซ้อน และทวีความรุนแรงมากขึ้นทุกขณะ อันเป็นสาเหตุเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยแวดล้อมอย่างต่อเนื่องและรวดเร็วมากขึ้นกว่าในอดีต ด้วยสาเหตุนี้เอง องค์กรต่าง ๆ จึงจาเป็นต้องดาเนินการเพื่อตอบสนองต่อปัจจัยจากสภาพแวดล้อมที่เกิดขึ้น ให้ได้อย่างเหมาะสมและทันท่วงที
การพัฒนาองค์กร (Organization Development) หรือที่นิยมเรียกกันว่า OD เป็นเครื่องมือที่ถูกนามาใช้ในการบริหารและพัฒนาองค์กร เพื่อให้องค์กรสามารถปรับตัวและแก้ไขปัญหา ก้าวทันการเปลี่ยนแปลง พร้อมทั้งสร้างความเข้มแข็งให้กับองค์กรอย่างเป็นระบบและเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น

ในนิยามของ IMC จะหมายถึง กระบวนการพัฒนาแผนงานการส่อสารการตลาดที่ต้องใช้การสื่อสารหลายรูปแบบกับกลุ่มเป้าหมายอย่างต่อเนื่อง

เป้าหมายของ IMC คือ การที่จะมุ่งเน้นสร้างพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมายให้สอดคล้องกับความต้องการ ของตลาด โดยการพิจารณาวิธีการสื่อสารตราสินค้าเพื่อให้ผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมายได้ รู้จักสินค้า ซึ่งจะนำไปสู่ความรู้ ความคุ้นเคยและมีความเชื่อมั่นในสินค้าแบรนด์เนมใดแบรนด์หนึ่ง เช่น การที่ TRUE แจกซิม True Move เพื่อให้ลูกค้าเป้าหมายใช้ Vote ผู้แข่งขันที่ชื่นชอบใน AF3

หัวใจหลักของ IMC คือ การกระตุ้นพฤติกรรมผู้บริโภคไม่ใช่สร้างแค่การรับรู้ การจดจำหรือการยอมรับเท่านั้น

ดังนั้น IMC จึงเป็นกระบวนการสื่อสารเพื่อจูงใจในระยะยาวและต่อเนื่อง โดยใช้เครื่องมือหมายรูปแบบ เช่น โฆษณา ประชาสัมพันธ์ ตลาดตรง การส่งเสริมการขาย การจัดการความสัมพันธ์กับลูกค้า การตลาดเน้นกิจกรรม คอลเซ็นเตอร์ และอีเมล์ ฯลฯ เพื่อให้เกิดพฤติกรรมที่ต้องการ

“ทรัพยากรมนุษย์”  นับว่าเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีความสำคัญในบรรดาปัจจัยที่เป็นทรัพยากร  4  ประการของการบริหาร  คือ  1)  คน  (Man)  2)  เงิน  (Money)  3)  วัสดุอุปกรณ์และเครื่องจักร  (Material  and  Machine)  4)  การจัดการ  (Management)  ฉะนั้น  ถ้าองค์การใดขาดทรัพยากรมนุษย์  ย่อมส่งผลให้การดำเนินงานขององค์การนั้นล่าช้า  พบอุปสรรคนานาประการ  ซึ่งทำให้การดำเนินงานขององค์การไม่บรรลุเป้าหมายตามที่กำหนดไว้  วิธีการหนึ่งที่จะช่วยให้องค์การไม่เกิดปัญหาเกี่ยวกับทรัพยากรมนุษย์  ก็คือ  การวางแผนทรัพยากรมนุษย์  (Human  Resource  Planning  :  HRP) นั่นเอง
                      การวางแผนทรัพยากรมนุษย์หรือบางทีเรียกว่า  การวางแผนกำลังคน  (Manpower  Planning)  การวางแผนบุคลากร  (Personnel  Planning)  หรือ การวางแผนการจ้างงาน  (Employment  Planning)
การวางแผนทรัพยากรมนุษย์ หมายถึง กระบวนการคาดการณ์ความต้องการใช้ทรัพยากรมนุษย์ขององค์การไว้ล่วงหน้า  ว่าต้องการบุคคลที่มีคุณสมบัติอย่างไร ระดับใด จำนวนเท่าใด เมื่อใด ด้วยวิธีการใด  ต้องพัฒนาบุคคลให้มีความรู้ความสามารถอย่างไร และจะควบคุมจำนวนทรัพยากรมนุษย์ในองค์การให้มีความเหมาะสมสอดคล้องกับการดำเนินงานขององค์การได้อย่างไร  ตลอดจนการกำหนดนโยบายและระเบียบปฏิบัติต่าง ๆ เพื่อจะใช้ทรัพยากรบุคคลที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
                เมื่อวิเคราะห์คำนิยามของการวางแผนทรัพยากรมนุษย์ที่กล่าวมาจะพบว่ามีองค์การประกอบ 2 ส่วนที่สำคัญ  คือ  การคาดการณ์  (Forecasting)  และการกำหนดแผนปฏิบัติ  (Programming)  จึงอาจ กล่าวได้ว่า  เป็นการนำแนวความคิดจากการคาดการณ์มาสู่การปฏิบัติจริงเพื่อประสิทธิภาพสูงสุดต่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์ต่อไป

;;

บทความที่ได้รับความนิยม