Custom Search

MBA Holiday

วันเสาร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

๑.     การวิเคราะห์สถานการแข่งขันทางการตลาดว่าอยู่ในตลาดใด ซึ่งประกอบไปด้วย ตลาดผู้นำ ผู้ท้าชิง ผู้ตาม และตลาดรายย่อย : :leader , challenger, follower, niche market
๒.     การวิเคราะห์ กลยุทธ์การขยายสายผลิตภัณฑ์หรือตัดลดสายผลิตภัณฑ์ โดยใช้ BCG Model เป็นแนวในการวิเคราะห์ ความสำคัญในการวิเคราะห์คือ สถานของกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ตกอยู่ในแต่ละ Matrix ที่แตกต่างกันจะส่งผลต่อกลยุทธ์การตลาดที่แตกต่างกัน: Question Mark, Star, Cash cow and Dog.
๓.     กลยุทธ์การตลาดตามวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ (Product life cycle: PLC) ในแต่ละช่วงการนำสินค้าเข้าสู่ตลาดที่แตกต่างกันไปตามระยะเวลาจะทำให้กลยุทธ์ของสินค้าในแต่ละระดับแตกต่างกัน : Introduction, Growth, Maturity and Decline stage
๔.     กลยุทธ์ของสินค้าหากแบ่งตามการมองเห็นสามารถแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มได้แก่ Tangible product (goods) สินค้าที่มีตัวตนและสินค้าไม่มีตัวตน Intangible product (goods) ซึ่งสินค้าประเภทมีตัวตนจะเน้นหนักไปที่กลยุทธ์ 4Ps ส่วนสินค้าไม่มีตัวตนจะเน้นหนักไปที่กลยุทธ์ 7Ps (+ people, process, physical evidence) ปัจจุบันหนังสือบางเล่มเพิ่มเป็น 8Ps (+ Productivity)
๕.     หากแบ่งกลยุทธ์ตามพฤติกรรมของผู้บริโภคสามารถแบ่งกลยุทธ์การตลาดได้เป็น 4 กลุ่มได้แก่ กลุ่มของสินค้าประเภท สะดวกซื้อ (convenient goods) สินค้าเปรียบเทียบซื้อ (Shopping goods) สินค้าเจาะจงซื้อ (Specialty goods) สินค้าไม่แสวงซื้อ (Unsought goods) ซึ่งจะมีลักษณะของกลยุทธ์ในแต่ละ PLC แตกต่างกันไป
๑.     (Maintain) ส่วนสินค้าประเภทไม่คงทนจะเป็นสินค้าที่มีการใช้แล้วหมดไป อาจเป็นสินค้าในกลุ่มของสินค้าสะดวกซื้อ สินค้าเปรียบเทียบซื้อ สินค้าเจาะจงซื้อหรือสินค้าไม่แสวงซื้อก็ได้

๒.     กลยุทธ์การสร้างตราสินค้า ซึ่งตราสินค้าไม่ได้ประกอบไปด้วย Brand name, Logo, Slogan เท่านั้น ตราสินค้ายังแสดงให้เห็นถึงคุณลักษณะหรือเอกลักษณ์เฉพาะของสินค้าหรือบริการที่ลูกค้าประทับใจและมีการซื้อซ้ำ (Loyalty) ค่อนข้างสูง

ส่วนตลาด (Segmentation) นักการตลาดมักจะกำหนดแนวทางในการเพิ่มยอดขายหรือรายได้ด้วยวิธีการนำเสนอความพึงพอใจสูงสุดให้กับลูกค้าแต่ละกลุ่ม ซึ่งมีความต้องการแตกต่างกัน ไม่ว่าแต่ละกลุ่มจะมีคุณลักษณะพื้นฐานความต้องการแตกต่างกันเช่นไร นักการตลาดต้องสามารถบริหารความพึงพอใจได้ทุกกลุ่มโดยมีวิธีการในการจัดการความต้องการของแต่ละกลุ่มดังนี้
1.      จะทำการวิเคราะห์แยกลูกค้าออกเป็น กลุ่มเป้าหมายหลักและกลุ่มเป้าหมายรอง
a.      กลุ่มเป้าหมายหลัก (Majority/Primary target) คือกลุ่มเป้าหมายที่นักการตลาดต้องรักษาความพึงพอใจให้อยู่กับเราให้ได้ทั้งหมด เพราะกลุ่มเป้าหมายกลุ่มนี้ส่วนใหญ่ เมื่อวิเคราะห์แล้วจัดกลุ่มแล้วจะมีประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ของมูลค่าตลาดตามเป้าหมาย (Market Potential)
b.      กลุ่มเป้าหมายรอง (Minority/Secondary target) จะเป็นกลุ่มลูกค้าที่เหลืออีกประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ที่ มีอิทธิพลต่อความยั่งยืนและความอยู่รอดของเราในอนาคต
2.      วิเคราะห์พฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมายหลักที่บริษัทควรจะรักษาไว้ให้อยู่กับบริษัทในระยะยาว โดยลูกค้ากลุ่มเป้าหมายนี้ต้องมีความต้องการที่ยังไม่ได้รับการตอบสนองจากตลาด(ยังไม่มีสินค้าใดตอบโจทย์ความต้องการได้ดีที่สุด)  โดยใช้เกณฑ์ในการแบ่งส่วนตลาดออกเป็น 4 เกณฑ์ ได้แก่
2.1.                        Demographic เกณฑ์ประชากรศาสตร์ เป็นเกณฑ์ที่ใช้กำหนดคุณลักษณะตาม เพศ อายุ รายได้ การศึกษา อาชีพ สถานภาพ เป็นต้น เกณฑ์นี้จะทำให้เราเห็นโอกาสในการกำหนดส่วนตลาดชัดเจนมากขึ้น เช่น สินค้าแยกเพศ แต่ก่อนยาสระผมยี่ห้อในท้องตลาด ญ หรือ ช ก็สามารถใช้รวมกันได้ (Unisex) แต่ปัจจุบันเนื่องจากแนวโน้ม ช ญ จะอยู่เป็นโสดมากยิ่งขึ้นจึงทำให้เกิด segment ใหม่ ในตลาดคือ แชมพูสำหรับผู้ชาย (For Men) ซึ่งจะทำให้ผู้ริเริ่มมีโอกาสในการสร้างความมังคั่งในอนาคตได้มากกว่าคู่แข่งรายอื่นที่เข้ามาทีหลัง
2.2.                        เกณฑ์ภูมิศาสตร์ (Geography) เป็นเกณฑ์ที่แยกพฤติกรรมตามภูมิศาสตร์ วัฒนธรรมที่แตกต่างกัน อาจส่งผลต่อความต้องการของสินค้าที่ไม่เหมือนกัน เช่น หากจะเป็นผู้ประกอบการแฟชั่นฤดูหนาว นำสินค้าไปขายที่ภาคใต้ สินค้าจะเป็นเช่นไร? หากจะนำเสื้อผ้ากันหนาว มาขายที่ กทม. ตลาดต้องเป็นเช่นไร หากจะนำแกงไตปลาก้อนไปขายที่สุราษฯ ตลาดจะเป็นเช่นไร และหากเอาไตปลาก้อนสำเร็จรูปไปวางขายในห้าง MT ที่เชียงใหม่ยอดขายจะเป็นเช่นไร

2.3.                        เกณฑ์จิตวิทยา (Psychographic) รูปแบบการดำรงชีวิต (Lifestyle) ของกลุ่มเป้าหมายรวมทั้ง AIO ทัศนคติ ความสนใจและความคิดเห็น

;;

บทความที่ได้รับความนิยม