Custom Search

MBA Holiday

วันอาทิตย์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ในการจัดทำ งบประมาณประจำ ปี จะต้องมีการกำ หนดรายรับก่อนว่าจะหาได้จากทางใด
มากน้อยเพียงใด ก่อนที่จะไปกำ หนดว่าจะใช้จ่ายในด้านต่าง ๆ อย่างไร ตามปกติการจัดทำ งบประมาณ
จะต้องมีการกำ หนดวงเงินขึ้นมา 2 วงเงิน คือ งบประมาณการรายรับและงบประมาณรายจ่าย โดยต้อง
พิจารณาเงินทั้ง 2 ด้าน นี้ให้สมดุลย์กัน การประมาณการรายรับเป็นสิ่งสำ คัญ และมีอิทธิพลต่อการ
พัฒนาของหน่วยงานเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้นจึงควรมีการกำ หนดงบประมาณรายรับให้ละเอียดรอบคอบ
การประมาณการรายรับนั้นหน่วยงานที่รับผิดชอบ จะประมาณการโดยใช้สถิติแนวโน้ม
ประมาณการการรายรับของปีที่ล่วงมาเป็นฐานในการคำ นวณ ในขณะที่หน่วยงานอื่น ๆ ที่มีรายได้และ
มีหน้าที่จัดเก็บรายได้ จะต้องแจ้งประมาณการรายรับของตนเองเข้ามาด้วยเพื่อที่จะได้นำ มาพิจารณา
เปรียบเทียบกันกับรายการที่ได้ประมาณการไว้แล้วว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร ถ้าหากมีข้อแตกต่าง
กันมาก จะต้องมีการปรึกษาหารือ หาข้อยุติในตัวเลขประมาณการรายรับนั้น ๆ เพื่อที่จะสรุปออกมา
เป็นประมาณการรายรับทั้งหมดต่อไป
การประมาณการรายรับให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ควรคำ นึงถึงดังนี้
1) หน่วยงานที่จะทำ หน้าที่ กำ หนดงบประมาณนั้นต้องเป็นหน่วยงานที่ทำ หน้าที่เป็น
ศูนย์กลางเกี่ยวกับงบประมาณ ในการประมาณการรายรับต้องทำ ร่วมกับหน่วยงานที่มีรายได้และ
จัดเก็บเงิน
2) ควรมีการกำ หนดงบประมาณรายรับอย่างละเอียดรอบคอบ เหมาะสมและถูกต้อง
มากที่สุด ครอบคลุมทุกด้านตามระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณและการจัดการเงินรายได้ของ
หน่วยงานนั้น
3) ควรมีการจำ แนกประเภทรายได้ให้เหมาะสมเพื่อความสะดวกในการประมาณการ
เพราะรายได้แต่ละประเภทไม่เหมือนกันและมีวิธีการประมาณการรายได้ต่างกัน การจำ แนกประเภท
รายได้ให้เหมาะสม จึงเป็นสิ่งสำ คัญในอันที่จะช่วยให้การประมาณการรายได้ ถูกต้องแน่นอนยิ่งขึ้น
4) ควรคำ นึงถึงสาเหตุที่มีผลกระทบต่อรายได้ ที่ทำ ให้การจัดเก็บรายได้ไม่เป็นไปตาม
ประมาณการ ผู้ประมาณการรายได้ต้องคิดประมาณการเพื่อเหตุที่ทำ ให้เก็บเงินไม่ได้ตามเป้าด้วย5) ควรรวบรวมสถิติต่าง ๆที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บรายได้ไว้ เพราะสถิติต่าง ๆ เป็น
เครื่องมือสำ คัญและมีประโยชน์อย่างมากในการประมาณการรายได้ให้ใกล้เคียงกับความจริง
6) ควรมีวิธีการกำ หนดรายรับให้เหมาะสม การประมาณการรายรับงบประมาณมีวิธี
การหลายวิธี ซึ่งพอสรุปได้ 3 รูปแบบ คือ
(1) วิธีการประมาณการโดยตรง เป็นวิธีการศึกษาถึงแหล่งรายได้ต่าง ๆ อย่าง
ละเอียดและหาตัวกำ หนดที่มาของรายได้ และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวกำ หนด และตัวแปรต่าง ๆ
จนครบทุกตัว แล้วจึงนำ มาคำ นวณประมาณการรายได้ทั้งหมด
(2) วิธีหาค่าเฉลี่ย เป็นการประมาณการ โดยหาค่าเฉลี่ยการเพิ่มหรือลดของรายรับ
จากแหล่งต่าง ๆ นำ มาเฉลี่ยกันซึ่งอาจจะใช้เวลาเฉลี่ยกี่ปีก็ได้ตามที่เห็นเหมาะสม
(3) หารายรับจริงของปีทีผ่านมา เป็นวิธีการนำ รายรับจริงของปีที่ผ่านมานำ มา
คำ นวณประมาณการรายรับ ในปัจจุบันซึ่งเป็นวิธีที่ง่ายที่สุด ไม่ต้องใช่ระบบเทคนิคก้าวหน้าอะไร

การควบคุมการใช้จ่ายงบประมาณให้เป็นไปตามแผนงาน งาน และโครงการที่ได้
รับอนุมัติงบประมาณ เพื่อป้องกันการรั่วไหล โดยการควบคุมการเบิกจ่ายเงิน การตรวจสอบ
ตามระเบียบที่หน่วยงานกำ หนด ซึ่งมีรายละเอียดตามขั้นตอนดังนี้
1) การทำ แผนปฏิบัติการ เมื่อหน่วยงานได้รับอนุมัติงบประมาณแล้วให้ทำ แผนปฏิบัติ
การโดยกำ หนดกิจกรรมที่จะทำ และจำ นวนเงินที่จะใช้ในช่วงเวลาต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับกำ ลังเงินที่
ประมาณการจะได้รับ
2) ดำ เนินการใช้งบประมาณตามแผนปฏิบัติการ โดยการขออนุมัติเงินตามระเบียบของ
หน่วยงาน
3) การตรวจสอบ เมื่อมีการเบิกจ่ายเงินไปแล้ว ต้องมีการตรวจสอบว่าได้ใช้จ่ายเงินไป
ตามจริงที่เบิกไปหรือไม่ การตรวจสอบจึงเป็นวิธีการสำ คัญที่จะควบคุมการบริหารด้านการเงินเป็นไป
ตามแผนปฏิบัติการไม่รั่วไหล และให้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามระเบียบทางการเงิน
4) การรายงาน เป็นวิธีการหนึ่งในการตรวจสอบและประเมินผล ให้มีการรายงานผลงาน
ที่ได้ปฏิบัติไปแล้ว เป็นระยะ ๆ เพื่อสามารถทบทวนผลการปฏิบัติงานตามแผนปฏิบัติการที่กำ หนดไว้
ว่ามีความคืบหน้าไปประการใดและจะต้องใช้เป็นผลในการตั้งงบประมาณในปีต่อไปด้วย

การจัดเตรียมงบประมาณ หมายถึง การจัดเตรียมงบประมาณทั้ง 2 ด้าน คือ วงเงินงบประมาณรายรับและวงเงิน
งบประมาณรายจ่ายในขั้นตอนการจัดเตรียมงบประมาณยังสามารถแบ่งขั้นตอนออกได้ดังนี้
1) ประมาณการรายรับและประมาณการรายจ่าย ในการจัดทำ งบประมาณประจำ ปี
จะต้องมีการประมาณการรายรับไว้ว่าจะสามารถจัดหารายรับเพื่อใช้เป็นงบประมาณรายจ่ายเป็นจำ นวน
เงินเท่าใด ซึ่งการกำ หนดรายรับ รายจ่าย จะต้องเป็นไปอย่างเหมาะสมและสมดุลย์
2) กำ หนดแนวนโยบายงบประมาณ คณะผู้บริหารหน่วยงานต้องกำ หนดแนวนโยบาย
งบประมาณ โดยพิจารณาถึงความสอดคล้องที่จะมีต่อนโยบายของหน่วยงานและผลกระทบที่จะเกิด
ขึ้นจากงบประมาณที่มีต่อสังคมและด้านอื่นด้วย
3) กำ หนดวงเงินของแต่ละหน่วยงาน เมื่อได้รับนโยบายงบประมาณแล้วจะต้องมีการ
พิจารณา กำ หนดวงเงินและจัดสรรวงเงินตามแนวนโยบายงบประมาณ
4) หน่วยงานจัดทำ คำ ขอตั้งงบประมาณ เมื่อหน่วยงานได้รับทราบวงเงินงบประมาณของ
ตัวเองแล้ว ต้องจัดทำ คำ ขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำ ปี โดยยึดแนวนโยบายงบประมาณที่ได้กำ หนด
ไว้แล้ว
5) คณะกรรมการบริหารงบประมาณและการเงิน พิจารณา รายละเอียดงบประมาณที่
หน่วยงานต่าง ๆ ทำ คำ ขอตั้งงบประมาณรายจ่ายขึ้นมา โดยพิจารณาด้านความเหมาะสม ความสอด
คล้องต่อแผนพัฒนาเศรษฐกิจฯ นโยบายงบประมาณ ความพร้อมของหน่วยงานที่จะปฏิบัติงาน อาจมี
การปรับลดงบประมาณได้ตามความเหมาะสม และแก้ไขปรับปรุงคำ ของบประมาณทำ เป็นเอกสาร
งบประมาณเสนอต่อคณะกรรมการพิจารณางบประมาณ
6) คณะกรรมการพิจารณางบประมาณ พิจารณาร่างงบประมาณรายจ่าย โดยพิจารณา
รายละเอียดแผนงาน งาน และโครงการต่าง ๆ ว่าเหมาะสมเพียงใด สมควรอนุมัติหรือไม่

;;

บทความที่ได้รับความนิยม