Custom Search

MBA Holiday

วันเสาร์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2556

แรงงาน หมายถึง สิ่งที่ได้จากความสามารถของมนุษย์ทั้งแรงงาน ที่ได้จากแรงกายและแรงงาน ที่ได้จากความคิด เพื่อนำมาใช้ในการผลิตสินค้า และบริการ ตามที่ต้องการ แรงงานที่ผู้ประกอบการต้องการ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
2.1 แรงงานที่มีฝีมือหรือแรงงานที่มีความชำนาญ (Skilled Labour)
2.2 แรงงานไร้ฝีมือ หรือแรงงานทั่วไป (Unskilled Labour)
ผู้ประกอบการจะมีความต้องการแรงงานประเภทใด จะรู้ได้โดยการจัดทำรายละเอียดหน้าที่ของตำแหน่งงานแต่ละตำแหน่ง ต้องการแรงงานจำนวนเท่าใด และเมื่อใด โดยการเสนอจากแต่ละหน่วยงานในองค์การธุรกิจ ในการจัดหาสถานที่ประกอบการ ต้องคำนึงถึง แหล่งแรงงานที่ธุรกิจมีความต้องการ ซึ่งควรจะเป็นแหล่งที่จัดหาแรงงานได้ง่าย อัตราค่าจ้างต่ำและมีคุณภาพตามที่ต้องการ เช่น ในการดำเนินกิจการโรงงานผลิตปลากระป๋อง แรงงานที่ต้องการใช้ส่วนใหญ่เป็นประเภทแรงกาย แรงงานไร้ฝีมือ สถานที่ประกอบการตั้งในต่างจังหวัดจะหา แรงงานได้ง่าย และอัตราค่าจ้างต่ำ แต่ถ้าเป็นโรงงานผลิตสินค้าที่ใช้เทคโนโลยีในการผลิตที่ทันสมัย แรงงานที่ใช้เป็นประเภทแรงงานที่ใช้ ความคิด แรงงานที่มีความชำนาญ สถานที่ประกอบการควรตั้งในเมืองใหญ่หรือใกล้เมืองใหญ่ จึงจะหาแรงงานได้ตามที่ต้องการ

การเลือกสถานที่ประกอบการ จะต้องคำนึงถึงค่าใช้จ่ายในการขนส่ง ดังนี้
3.1 ค่าขนส่งวัตถุดิบไปยังโรงงานเพื่อทำการผลิต วัตถุดิบที่ใช้ผลิตส่วนใหญ่จะมีน้ำหนักมากและต้องใช้ในปริมาณที่สูงการเลือกสถานที่ประกอบการจึงควรอยู่ใกล้แหล่งวัตถุดิบเพื่อเสียค่าขนส่งในอัตราที่ถูก แต่ถ้าไม่ตั้งสถานที่ประกอบการใกล้แหล่งวัตถุดิบ ก็ควรพิจารณาระบบการขนส่งที่เหมาะสม เพื่อให้วัตถุดิบไปยังโรงงานอย่างมีประสิทธิภาพ และเสียค่าใช้จ่ายต่ำ
3.2 ค่าขนส่งสินค้าไปเพื่อเก็บรักษา เมื่อผลิตสินค้าเสร็จก่อนนำออกจำหน่ายสินค้าจะต้องได้รับการดูแลรักษา ในสภาพที่เหมาะสม เพื่อคุณภาพที่ดีของสินค้าสถานที่ประกอบการควรอยู่ใกล้คลังเก็บสินค้า เพื่อสะดวกในการขนสินค้าจากโรงงานไปเก็บรักษาในคลังสินค้า และเสียค่าใช้จ่ายต่ำ
3.3 ค่าขนส่งสินค้าออกจำหน่าย เพื่อความสะดวกของผู้บริโภค การเลือกสถานที่ประกอบการ ควรตั้งให้ใกล้แหล่งผู้บริโภค และประหยัดค่าใช้จ่าย

การเลือกทำเลที่ตั้งสถานประกอบการ ควรคำนึงถึงสิ่งอำนวยความสะดวก ดังนี้
4.1 สาธารณูปโภค การเลือกสถานที่ประกอบการควรคำนึงถึงระบบการให้บริการด้านการประปา ไฟฟ้า โทรศัพท์ และการส่งไม่ว่าจะประกอบกิจการประเภท โรงงานอุตสาหกรรม หรือประเภทซื้อขายสินค้า เพราะเครื่องอำนวยความสะดวกดังกล่าว มีส่วนทำให้การประกอบธุรกิจมีความคล่องตัวสูง
4.2 สถานพยาบาล สถานีตำรวจ สถานีดับเพลิง การเลือกสถานที่ประกอบการควรคำนึงถึงสิ่งเหล่านี้ เพื่อความปลอดภัยและสะดวกในการขนส่งในการเดินทาง

5. แหล่งลูกค้า
สำหรับการประกอบกิจการประเภทโรงงานอุตสาหกรรม การจำหน่ายสินค้าจะจำหน่ายครั้งละเป็นจำนวนมาก ผู้มาซื้อคือ ผู้ค้าคนกลาง ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้อง เลือกสถานที่ตั้งใกล้ผู้บริโภคโดยตรง แต่ถ้าเป็นการประกอบกิจการประเภทผู้ค้าคนกลางที่ต้อง จำหน่ายสินค้าแก่ผู้บริโภคโดยตรง ควรเลือกสถานที่ตั้ง ใกล้ผู้บริโภค เพื่อความสะดวกในการจำหน่ายและเสียค่าขนส่งต่ำ
6. กฎหมาย ระเบียบและข้อบังคับ
การเลือกสถานที่ประกอบการจะต้องศึกษากฎหมาย ระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ของสถานที่ประกอบการ เพื่อไม่ให้การประกอบการ นั้นขัดต่อกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับหรือประเพณีอันดีงามของสถานที่นั้น เช่น ในประเทศไทย พื้นที่สีเขียวจะกำหนดไว้สำหรับการประกอบการ เกษตร จะตั้งโรงงาน อุตสาหกรรมในพื้นที่สีเขียวไม่ได้ เป็นต้น
7. แหล่งเงินทุน
การเลือกสถานที่ประกอบการต้องคำนึงถึงเงินทุนที่ต้องใช้ ได้แก่ ราคาที่ดิน อัตรา ค่าแรงงาน เครื่องจักร เครื่องมือ อุปกรณ์ต่าง ๆ ค่าธรรมเนียมและภาษี ที่ต้องจ่ายให้องค์การของรัฐใน การดำเนินการจัดตั้งสถานที่ประกอบการ ซึ่งค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เหล่านี้ขึ้นอยู่กับการเลือกสถานที่ประกอบการทั้งสิ้น จากปัจจัยต่าง ๆ ดังกล่าวข้างต้น มีผลกระทบต่อการตัดสินใจเลือกสถานที่ประกอบการ โดยผู้ประกอบการควรคำนึงถึงผลตอบแทน ที่คาดว่าจะได้รับจาก การตัดสินใจเลือกสถานที่ใดเป็นสถานที่ประกอบ โดยคำนึงถึงสิ่งต่าง ๆ ต่อไปนี้
7.1 ต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายรวมต่ำสุด การตัดสินใจเลือกสถานที่ใดเป็นสถานที่ประกอบการ ต้องคำนึงถึงต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายที่ เกิดขึ้นในการเลือก สถานที่นั้น เป็นสถานประกอบการ เช่น การประกอบการโรงงานผลิตไม้แปรรูป วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตไม้แปรรูป คือ ซุงซึ่งเป็นวัตถุดิบมีน้ำหนักมาก การขนส่งค่อนข้าง ยุ่งยากและเสียค่าใช้จ่ายสูง ส่วนสินค้าสำเร็จรูป คือ ไม้แปรรูปมีน้ำหนักเบากว่าวัตถุดิบ การขนส่งค่อนข้างสะดวก และเสียค่าใช้จ่ายต่ำกว่า สถานที่ประกอบกา รโรงงานผลิตไม้แปรรูป จึงควรตั้งใกล้แหล่งวัตถุดิบมากกว่าตั้งใกล้ ผู้บริโภค เพราะจะทำให้เสียค่าขนส่งที่ถูกกว่า กรณีหาสถานที่ประกอบการในแหล่งวัตถุดิบ ไม่ได้ก็ควรหาสถานที่ตั้งใกล้แม่น้ำ เนื่องด้วยการขนส่ง ซุงสามารถใช้วิธีล่องซุงมาตามแม่น้ำ ทำให้เสียค่าขนส่งต่ำ นอกจากต้นทุนค่าขนส่งแล้ว ต้นทุนหรือ ค่าใช้จ่ายที่จะต้องนำมาประกอบการตัดสินใจ เลือกสถานที่ประกอบการ ได้แก่ ค่าแรงงาน อัตราภาษี ค่าบริการต่าง ๆ
7.2 กำไรที่สูงสุด การตัดสินใจเลือกสถานที่ใดเป็นสถานที่ประกอบการ นอกจากคำนึงถึงต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายที่ต่ำที่สุดแล้ว ควรคำนึงถึงรายรับประกอบการ ตัดสินใจด้วย หากสามารถตั้งสถานประกอบการ ในแหล่งที่ต้นทุน หรือค่าใช้จ่ายรวมต่ำกว่า ก็จะมีโอกาสหา รายรับได้มากกว่าคู่แข่ง จะทำให้ได้เปรียบ คือ กำไรสูงสุด
7.3 การเรียนลำดับปัจจัยต่าง ๆ ตามความสำคัญ เนื่องจากปัจจัยแต่ละปัจจัยมีความสำคัญแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับประเภทของการประกอบการแต่ละประเภท ดังนั้นผู้ประกอบการจึงต้องจัดลำดับความสำคัญ และรวมคะแนนแล้วจึงตัดสินใจเลือกสถานที่ประกอบธุรกิจจากการพิจารณาคะแนนที่สูงสุด

การตั้งสถานประกอบธุรกิจ โดยเฉพาะองค์การธุรกิจประเภทอุตสาหกรรม ส่งที่นำมาใช้ในการผลิตคือ วัตถุดิบ เช่นโรงงานผลิตสับปะรดกระป๋อง วัตถุดิบ คือ อะไห่และชิ้นส่วนต่าง ๆ ของรถยนต์ โรงงานผลิตเฟอร์นิเจอร์ วัตถุดิบ คือ ไม้ ฯลฯ ดังนั้นในการจัดตั้งสถานประกอบการธุรกิจ จึงต้องคำนึงถึง แหล่งวัตถุดิบ ที่นำมาใช้ในการผลิต ควรจะอยู่ในแหล่งวัตถุดิบหรืออยู่ใกล้แหล่งวัตถุดิบ เพื่อสะดวกในการจัดหาวัตถุดิบราคาวัตถุดิบ และค่าขนส่งย่อมลดลง เช่น โรงงานผลิตปลากระป๋อง ควรตั้งอยู่ใกล้ ชายฝั่งทะเลจะได้วัตถุดิบราคาถูก คุณภาพดี แต่ถ้าโรงงานผลิตปลากระป๋อง ตั้งอยู่ไกลจากชายฝั่งทะเลมาก วัตถุดิบที่จัดหาอาจไม่มีหรือมีจำนวนน้อยทำให้วัตถุดิบราคาสูง คุณภาพไม่ดี และต้องเสียค่าขนส่งสูง เป็นต้น นอกจากนั้น ต้องคำนึงถึงทรัพยากรธรรมชาติด้วย เช่น น้ำ อากาศ เนื่องจากในการผลิต ส่วนประกอบที่สำคัญที่ใช้ในการผลิต ส่วนใหญ่ต้องอาศัยน้ำ กิจการประเภทโรงงานอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ จึงตั้งอยู่ ใกล้แม่น้ำ หรือแหล่งน้ำต่าง ๆ เพื่อสะดวกในการนำน้ำมาใช้ในการผลิต
ในการตั้งสถานที่ประกอบการใกล้แม่น้ำ ต้องคำนึงถึงความรับผิดชอบต่อสภาพแวดล้อมด้วย เช่น ในการผลิตจะมีของเสียจากการผลิต โรงงานอุตสาหกรรม จะต้องมีระบบในการกำจัดน้ำเสีย ไม่ถ่ายเทน้ำเสียลงในแม่น้ำลำคลองหรือเปลี่ยนสภาพจากน้ำเสียให้เป็นน้ำดีก่อนที่จะ ถ่ายเทลงในแม่น้ำคลอง กรณีที่โรงงานอุตสาหกรรมเมื่อทำการผลิตแล้ว มีฝุ่นละอองหรือควันเสีย จะต้องทำการป้องกันมิให้อากาศเป็นพิษด้วย การประกอบการธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็น ประเภท พาณิชยกรรม หรือประเภทอุตสาหกรรมการเลือกทำเลที่ตั้งสถานที่ประกอบการจะ ต้องคำนึงถึงแหล่งจัดซื้อ เพื่อให้การจัดซื้อได้สินค้า หรือวัตถุดิบราคา ที่เหมาะสม เสียค่าใช้จ่ายในการจัดซื้อต่ำ คุณภาพสินค้าหรือวัตถุดิบเป็นตาม ที่ต้องการ และได้ทันเวลาที่มีความต้องการของตลาด หรือการผลิต
การจัดซื้อเพื่อให้มีประสิทธิภาพ มีขั้นตอนดังนี้
1.1 กำหนดรายละเอียดของสินค้าหรือวัตถุดิบ ที่ต้องการซื้อทั้งคุณภาพและปริมาณ
1.2 สำรวจแหล่งขาย โดยผู้ประกอบการจะต้องทราบถึงแหล่งขายสินค้าหรือวัตถุดิบที่ต้องการจัดซื้อว่าอยู่ที่ใด มีผู้ขายกี่ราย แต่ละรายกำหนดราคาขายเท่าไร คุณภาพสินค้าหรือวัตถุดิบเป็นอย่างไร มีเงื่อนไขในการขายอย่างไรบ้าง เมื่อสำรวจแหล่งขายแล้ว คาดว่าจะจัดซื้อ จากผู้ขายรายใด ควรมีการเจรจาตกลง ในเรื่องต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความชัดเจนในการจัดซื้อ ในกรณีจัดซื้อครั้งละเป็นจำนวนมาก การเจรจาระหว่าง ผู้จัดซื้อและผู้ขาย ควรจัดตั้งคณะกรรมการ เพื่อดำเนินการเป็นการป้องกันการทุจริตที่อาจจะเกิดขึ้นได้
1.3 การสั่งซื้อ หลังจากได้มีการเจรจาตกลงกันแล้ว ผู้จัดซื้อจัดทำใบสั่งซื้อ ซึ่งประกอบด้วยรายละเอียดต่าง ๆ ได้แก่ วัน เดือน ปี ที่สั่งซื้อ ราคาต่อหน่วย ราคารวม ชื่อเครื่องหมายการค้าของผู้จัดซื้อ ชื่อเครื่องหมายการค้าของผู้ขาย ระบุเงื่อนไขต่าง ๆ เช่น เงื่อนไขในการส่งมอบ เงื่อนไขในการชำระเงิน
1.4 การรับสินค้าหรือวัตถุดิบ เมื่อผู้ขายส่งสินค้าให้ผู้จัดซื้อ จะต้องมีใบกำกับสินค้าแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับ วัน เดือน ปี ที่ส่งสินค้าหรือวัตถุดิบ ปริมาณสินค้าหรือวัตถุดิบ ราคาต่อหน่วย ราคารวม ชื่อเครื่องหมายการค้าของผู้ขาย ชื่อเครื่องหมายการค้าของผู้สั่งซื้อ ผู้จัดซื้อจะต้องตรวจสอบความถูกต้อง ของสินค้าหรือวัตถุดิบที่ได้รับให้ตรงตามใบสั่งซื้อและใบกำกับสินค้า

การเลือกทำเลที่ตั้งสถานประกอบธุรกิจ หมายถึง การจัดหาหรือสรรหาสถานที่ สำหรับประกอบธุรกิจให้มีประสิทธิภาพสูงสุด โดยคำนึงถึง กำไร ค่าใช้จ่าย พนักงาน ความสัมพันธ์กับลูกค้าความสะดวก ตลอดจนสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ที่ดีตลอดระยะเวลาที่ประกอบธุรกิจนั้น
ความสำคัญในการเลือกทำเลที่ตั้งสถานประกอบธุรกิจ
การเลือกทำเลที่ตั้งสถานประกอบธุรกิจ มีความสำคัญต่อความสำเร็จขององค์การธุรกิจ กล่าวคือหากเลือกทำเลที่ไม่เหมาะสม จะทำให้องค์การธุรกิจ ประสบปัญหาอื่น ๆ ตามมา เช่น ค่าขนส่งสูง เนื่องจากสถานประกอบธุรกิจอยู่ไกลจากแหล่งวัตถุดิบ และตลาด นอกจากนี้ อาจขาดแคลนแรงงานที่มีคุณภาพ ขาดแคลนวัตถุดิบ รวมไปถึงปัจจัยอื่น ๆ ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการผลิต และการปฏิบัติงานขององค์การธุรกิจ โดยทั่วไปลักษณะของทำเล จะไม่มีลักษณะใด ที่ดีกว่ากันอย่างชัดเจน แต่จะเกิดจากการพิจารณาลักษณะดีของแต่ละทำเล นำมาประกอบกัน เพื่อการตัดสินใจเลือกที่ใช้ตั้ง สถานประกอบธุรกิจ ที่อาจก่อให้เกิดปัญหาในอนาคต ให้น้อยที่สุดการเลือกทำเลที่ตั้งสถานประกอบธุรกิจต่าง ๆ โดยทั่วไปมักจะพยายามหาแหล่ง หรือทำเลที่ทำให้ต้นทุนรวม ของการผลิตสินค้าและ บริการที่ต่ำที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้แต่ลักษณะของการประกอบธุรกิจและสถานที่ประกอบกิจการย่อมแตกต่างกันในเรื่องของชนิดสินค้า ค่าใช้จ่ายและการลงทุน ดังนั้นการพิจารณาเลือกทำเลจึงต้องคำนึงถึงปัจจัยต่าง ๆ หลายประการเพราะการเลือกทำเลที่ตั้ง มีความสำคัญต่อการ ดำเนินงานขององค์การธุรกิจต่าง ๆ เช่น การวางแผนระบบการผลิต การวางผังโรงงาน การลงทุน และรายได้ เป็นต้น

การนำเสนอแผนธุรกิจ (Business plan presentation) โดยแท้จริงแล้วถือได้ว่าเป็นขั้นตอนสำคัญขั้นตอนหนึ่ง ไม่น้อยกว่าขั้นตอน หรือกระบวนการจัดทำ หรือการเขียนแผนธุรกิจ และในปัจจุบันที่แผนธุรกิจถือเป็นเรื่องสำคัญสำหรับผู้ประกอบการ ที่ต้องมีความรู้ ความเข้าใจอย่างถูกต้อง เนื่องจากแผนธุรกิจถือได้ว่าเป็นเอกสาร หรือเครื่องมือสำคัญ ในการขอรับการสนับสนุนทางการเงินของผู้ประกอบการ หรือธุรกิจ แต่ส่วนใหญ่แล้วมักจะมุ่งเน้นในเรื่องของวิธีการ หรือความสามารถในการเขียนแผนธุรกิจ ว่าจะเขียนอย่างไร มีโครงสร้างของแผนธุรกิจอย่างไร จะแสดงข้อมูลรายละเอียดใดจึงจะถูกต้องเหมาะสม โดยละเลยในเรื่องของการนำเสนอแผนธุรกิจ ซึ่งถือเป็นขั้นตอนสำคัญภายหลังจากได้จัดทำแผนธุรกิจเป็นที่เรียบร้อย และนำส่งแผนธุรกิจที่ได้จัดทำขึ้น ไปยังธนาคาร หรือสถาบันการเงิน หรือหน่วยงานที่ให้การสนับสนุนผู้ประกอบการแล้ว ทำให้จากการละเลย หรือไม่ให้ความสำคัญในขั้นตอนการนำเสนอแผนธุรกิจดังกล่าวนี้ ส่งผลให้ผู้ประกอบการได้รับการปฏิเสธ หรือผู้พิจารณาแผนไม่สามารถเข้าใจรายละเอียดต่างๆ ที่ระบุไว้ในแผนธุรกิจอย่างถูกต้อง ในขณะที่ ถ้าผู้ประกอบการสามารถนำเสนอแผนธุรกิจได้ดี ก็จะเป็นสิ่งที่ช่วยทำให้ธุรกิจได้รับการสนับสนุนจากผู้พิจารณาแผน หรือจากทาง ธนาคาร หรือสถาบันการเงินด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ในกรณีที่ผู้จัดทำแผนอาจเป็นนักเรียน นักศึกษา ในสถาบันการศึกษา ที่มีหลักสูตรเกี่ยวกับ การจัดทำ แผนธุรกิจในการเรียน หรือใช้เพื่อการประกวดแข่งขัน หรือแม้แต่ผู้ประกอบการ ที่เข้ารับการอบรม ในโครงการพัฒนาผู้ประกอบการ เช่น ศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ หรือ โครงการผู้ประกอบการใหม่ เป็นต้น ที่ต้องมีการนำเสนอแผนธุรกิจที่จัดทำขึ้นเมื่อจบหลักสูตร ก็มักจะขาดทักษะ ในการนำเสนอแผนธุรกิจที่ถูกต้อง และมีประสิทธิภาพ ประกอบกับไม่มีการสอน หรือกล่าวถึงเรื่องของการนำเสนอแผนธุรกิจนี้ ว่ามีส่วนสำคัญอย่างไรต่อการพิจารณาแผนธุรกิจของผู้ประกอบการ ดังนั้นผู้เขียนจึงเห็นสมควรจะกล่าวถึงเรื่องของการนำเสนอแผนธุรกิจ (Business plan presentation) ว่ามีรายละเอียด และความสำคัญอย่างไร โดยหวังว่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการ และนักศึกษาในการจัดทำแผนธุรกิจต่อไปในอนาคต
การนำเสนอแผนธุรกิจถือเป็น การสื่อสารแบบเผชิญหน้า (Face to face communication) ระหว่างผู้ประกอบการซึ่งอาจเป็นผู้จัดทำ หรือผู้เขียนแผนธุรกิจ กับผู้พิจารณาซึ่งอาจเป็นเจ้าหน้าที่ของธนาคาร หรือสถาบันการเงิน หรือเป็นบุคคลภายนอก เช่น ผู้ทรงคุณวุฒิ กรรมการพิจารณาแผนธุรกิจ ผู้ร่วมลงทุน ลูกค้า หรือคู่ค้าในธุรกิจ เป็นต้น ซึ่งการนำเสนอแผนธุรกิจสามารถแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ คือการนำเสนอแบบเป็นทางการ (Formal presentation) กับการนำเสนอแบบไม่เป็นทางการ (Informal presentation) โดยรูปแบบการนำเสนอแบบเป็นทางการ จะเป็นรูปแบบที่นำเสนอแผนธุรกิจต่อหน้า คณะกรรมการ เจ้าหน้าที่ ผู้ทรงคุณวุฒิ หรือบุคคลภายนอก ภายในสถานที่เฉพาะ เช่น ห้องประชุม ห้องสัมมนา มีวาระการนำเสนอ ที่มีข้อกำหนด และวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน โดยอาจมีการกำหนด ระยะเวลาการนำเสนอ หรือกำหนดเวลาในการซักถาม หรือไม่ก็ได้ หรือถ้าจะให้เห็นภาพอย่างง่ายๆ ก็จะมีลักษณะเหมือน การนำเสนอหน้าชั้น ในสมัยเรียนหนังสือนั่นเอง ซึ่งการนำเสนอในรูปแบบเป็นทางการนี้มักจะเกิดขึ้นสำหรับการประกวด หรือการแข่งขันด้านแผนธุรกิจ หรือการนำเสนอแผนธุรกิจของผู้ประกอบการที่เข้าอบรมในหน่วยงานเท่านั้น ในขณะที่รูปแบบการนำเสนอที่ไม่เป็นทางการ จะอยู่ในรูปแบบ การพูดคุย การสัมภาษณ์ การซักถาม หรือตอบข้อสงสัย ระหว่างผู้นำเสนอแผนกับผู้พิจารณาแผน ซึ่งโดยปกติแล้ว การนำเสนอแผนธุรกิจ สำหรับผู้ประกอบการ SMEs จะอยู่ในรูปแบบของการนำเสนอที่ไม่เป็นทางการเกือบทั้งสิ้น เพราะแทบจะไม่มีเหตุการณ์ที่ผู้ประกอบการ หรือผู้จัดทำแผนธุรกิจ ได้มีการนำเสนอที่เป็นทางการ ต่อหน้าคณะกรรมการของธนาคาร หรือสถาบันการเงินที่ให้การสนับสนุนเลย โดยจะเป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของหน่วยงาน เป็นผู้นำเสนอแผนธุรกิจแทนผู้ประกอบการ แต่ในปัจจุบันที่ ผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ส่วนมากมักจะ ใช้ Notebook ประกอบการนำเสนอแผนธุรกิจ ให้กับเจ้าหน้าที่ธนาคาร หรือสถาบันการเงิน เพราะมีข้อมูล รายละเอียดต่างๆ ทั้งหมดของ แผนธุรกิจ รวมถึงสามารถแสดงข้อมูลเพิ่มเติมต่างๆได้ดี โดยเฉพาะด้านภาพ และข้อมูลประกอบอื่นๆของธุรกิจ ซึ่งวิธีการ และรูปแบบการนำ เสนอดังกล่าวนี้ จะคล้ายคลึงกับการนำเสนอแบบเป็นทางการ ดังนั้นถ้าผู้ประกอบการ หรือผู้จัดทำแผนธุรกิจ ทราบถึงวิธีการนำ เสนอแผนธุรกิจ แบบเป็นทางการอย่างถูกต้อง ก็จะเป็นประโยชน์ต่อการนำเสนอแผนธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพได้ในอนาคต แม้จะอยู่ในรูปแบบไม่เป็น ทางการตลาด ซึ่งวัตถุประสงค์ที่ต้องมีการนำเสนอแผนธุรกิจของผู้ประกอบการ หรือผู้จัดทำแผนธุรกิจนั้น ส่วนใหญ่แล้วจะมีวัตถุประสงค์หลัก 5 ประการประกอบด้วย

เพื่อก่อให้เกิดกำไร ถ้าจะจัดเงินทุนให้อยู่ในรูปสินทรัพย์ถาวร การลงทุนในสินทรัพย์ถาวรเป็นการลงทุนที่ใช้เงินจำนวนมาก ระยะเวลาคืนทุนยาวนาน การลงทุนในสินทรัพย์ถาวรต้องทำงบประมาณจ่ายลงทุน การตัดสินใจในงบประมาณจ่ายลงทุน ประกอบด้วยการวิเคราะห์ 2 ด้าน
1. การวิเคราะห์ผลตอบแทนที่คาดหวัง โดยการคำนวณ NPV IRR
2. การวิเคราะห์ผลตอบแทนที่ต้องการ โดยการคำนวณ WACC
การพิจารณางบการลงทุนในโครงการ จะทำได้โดยการคำนวณ cash flow แล้วนำมาประเมินการตัดสิน เวลาจะคำนวณเรื่องงบประมาณจ่ายลงทุน จะต้องคำนวณต้นทุนของเงินทุนก่อนและคำนวณผลตอบแทนที่ต้องการก่อน โดยคำนวณ WACC ออกมาก่อนว่าต้นทุนของเงินทุนเป็นเท่าไร แล้วเอาเงินนี้ไปลงทุนเสร็จแล้วได้รับผลตอบแทนที่คาดหวัง (expected rate) เป็นเท่าไร ผลตอบแทนที่คาดหวังนี้น่าจะมากกว่าผลตอบแทนที่ได้จากการคำนวณ WACC คือผลตอบแทนที่ได้สูงกว่าต้นทุนทางการเงินของเรา เราจึงยอมรับโครงการนั้น การคำนวณจะประกอบไปด้วยการทำ 3 ขั้นตอน
1. Initial Investment Outlay เป็นการคำนวณเงินลงทุนเริ่มต้นโครงการ เช่น เงินลงทุนซื้อสินทรัพย์ถาวรที่เป็นอาคาร ที่ดิน อุปกรณ์หรือเครืองจักร และเงินลงทุนหมุนเวียนสุทธิ NWC--Net Working Capital
2. Operating Cash flow เป็นการคำนวณกระแสเงินสดที่ได้จากการดำเนินงานตลอดอายุโครงการ โดยการคำนวณตามหลักบัญชี
3. Terminal Year Cash flows เป็นขั้นตอนปิดอายุโครงการ จะมีอยู่ในปีสุดท้ายปีเดียว โดยการคำนวณมูลค่าซากของโครงการ แล้วบวกกลับด้วย NWC ที่หักไว้ตั้งแต่ต้นในปีเริ่มโครงการแล้วเอา cash flow 5 ปีที่ได้ไปคำนวณหาวิธีการประเมินโครงการว่าจะยอมรับโครงการนี้หรือไม่ โดยการคำนวณ
PB--Payback Period เป็นการคำนวณระยะเวลาที่ธุรกิจลงทุนในสินทัพย์ถาวรแล้วได้รับผลตอบแทนกลับคืนมาเป็นจำนวนกี่ปี จึงจะเท่ากับเงินลงทุนที่จ่ายเริ่มแรก (เป็นวิธีการคำนวณที่ง่าย แต่มีข้อเสีย คือ ไม่ได้คำนึงถึงว่าหลังจากระยะเวลาคืนทุนแล้ว โครงการนั้นจะมีเงินสดเท่าไร) ส่วนใหญ่จะไม่ได้ใช้
NPV--Net Present Value คือมูลค่าปัจจุบันสุทธิ เป็นวิธีการประเมินโครงการโดยพิจารณาผลต่างระหว่างกระแสเงินสดที่ได้มาตลอดอายุโครงการ เมื่อคิดเป็นมูลค่าปัจจุบันกับเงินลงทุนเมื่อเริ่มโครงการ
NPV คือผลต่างของกระแสเงินสดที่ได้รับตลอดอายุโครงการ คือปีที่ 1 2 3 4 เมื่อคิดเป็นมูลค่าปัจจุบันแล้วเอามาลบกับปีที่ 0 ที่เราลงทุนเมื่อเริ่มโครงการไป คือผลต่างของกระแสเงินสดที่ได้รับตลอดอายุโครงการเมื่อคิดเป็นมูลค่าปัจจุบันแล้ว กระแสเงินสดที่จ่ายเมื่อเริ่มต้นโครงการ โดยเราจะพิจารณายอมรับโครงการที่ NPV มีค่าเป็นบวกและปฏิเสธโครงการที่ NPV ที่มีค่าเป็นลบ
ถ้าโครงการที่มีวัตถุประสงค์เหมือนกันจำเป็นจะต้องเลือกเพียงโครงการเดียว ให้พิจารณาโครงการที่ NPV ที่มีค่าเป็นบวกสูงที่สุด
ถ้าโครงการที่มีวัตถุประสงค์ต่างกัน สามารถเลือกได้หลายโครงการ ให้พิจารณาโครงการที่ NPV มีค่าเป็นบวกทุกโครงการ แต่มีข้อแม้ว่าองค์กรจะต้องมีเงินลงทุนในแต่ละโครงการที่เพียงพอด้วย เช่น มี 10 โครงการที่ NPV มีค่าเป็นบวกแต่ต้องใช้เงินลงทุน 1000 ล้าน แต่มีเงินแค่ 100 ล้าน จะต้องหาโครงการที่เหมาะสมกับองค์กรใน 100 ล้านให้มากที่สุด
IRR--Internal Rate of Return คือผลตอบแทนภายในเป็นการประเมินโครงการโดยการพิจารณาอัตราดอกเบี้ยหรือผลตอบแทน ที่ทำให้กระแสเงินสดที่ได้รับในแต่ละปี ตลอดอายุโครงการเมื่อคิดเป็นมูลค่าปัจจุบันแล้ว เท่ากับเงินสดเมื่อเริ่มต้นโครงการ จะยอมรับโครงการที่มีวัตถุประสงค์เหมือนกัน ให้เลือกโครงการที่มี IRR สูงที่สุด
ถ้าเป็นโครงการที่มีวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน ให้เลือกทุกโครงการที่ IRR มากกว่า WACC แต่ต้องมีเงินลงทุนเพียงพอด้วย
MIRR--Modified Internal Rate of Return อัตราผลตอบแทนที่ปรับปรุงแล้ว เป็นวิธีการคำนวณเช่นเดียวกับ IRR คือการคำนวณดอกเบี้ยหรือผลตอบแทนที่ทำให้กระแสเงินสดที่ได้รับตลอดอายุโครงการ เมื่อคิดเป็นมูลค่าปัจจุบันแล้วเท่ากับเงินลงทุนเมื่อเริ่มโครงการ แต่กระแสเงินสดที่ได้รับในแต่ละปีนำไปลงทุนต่อ โดยได้รับผลตอบแทนเท่ากับ WACC
MIRR จะมีอยู่ 2 ตัว ที่คิดเหมือนกัน คือจะหาอัตราผลตอบแทนที่ทำให้กระแสเงินสดที่ได้รับในแต่ละปี เท่ากับกระแสเงินสดที่ลงทุนเมื่อเริ่มโครงการแต่ว่ากระแสเงินสดที่ได้รับในแต่ละปี จะเอาไปลงทุนต่อ โดยได้รับผลตอบแทนเท่ากับ WACC เวลาจะตัดสินใจยอมรับโครงการให้เลือกโครงการที่ MIRR มีค่ามากกว่า WACC และมีค่าสูงสุด
ถ้าเป็นโครงหารที่มีวัตถุประสงค์เหมือนกัน จะเลือกโครงการที่ MIRR มีค่าสูงสุดเพียงโครงการเดียว แต่ถ้าโครงการที่มีวัตถุประสงค์แตกต่างกัน ให้เลือกทุกโครงการที่ MIRR มีค่ามากกว่า WACC
ถ้ากรณีที่ NPV กับ IRR ขัดแย้งกัน เช่น โครงการ ก NPV มากกว่าโครงการ ข แต่ IRR ของโครงการ ข มากกว่าโครงการ ก
โครงการ ก โครงการ ข
NPV 100 50
IRR 5% 8%
MIRR 9% 8.5%
ถ้าดูแต่ NPV ถ้าเป็นโครงการที่วัตถุประสงค์อย่างเดียวกันกจะเลือกโครงการ ก เพราะมีค่า NPV มากกว่าโครงการ ข
ถ้าดู IRR จะเลือกโครงการ ข เนื่องจากโครงการ ข มี IRR สูงกว่า WACC และสูงกว่าโครงการ ก
ถ้าเกิดเหตุการณ์ขัดแย้งแบบนี้ให้ดูที่ MIRR เป็นสำคัญแล้วตัดสินใจเลือกโครงการที่ MIRR สูงกว่า ก็จะเลือกโครงการนั้น ดังนั้นจะเลือกโครงการ ก
ถ้าเป็นโครงการที่มีวัตถุประสงค์ต่างกัน จะเลือกทั้ง 2 โครงการ
ถ้าเป็นกรณีที่ไม่มีค่า MIRR มาให้ดูที่ NPV เป็นหลักแล้วตัดสินใจเลือกโครงการที่ NPV เป็นบวกมากที่สุด

;;

บทความที่ได้รับความนิยม