Custom Search

MBA Holiday

วันอาทิตย์ที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2554


มนุษยสัมพันธ์กับความเป็นผู้นำ บุคคลในองค์กรมี 3 บทบาท คือ

1. มนุษยสัมพันธ์กับผู้ใต้บังคับบัญชา

กำหนดนโยบาย เป้าหมายองค์กรให้ชัดเจน ชี้แจงผู้ใต้บังคับบัญชา
กำหนดอัตราค่าจ้างที่เป็นธรรมต่อลูกจ้าง
สั่งการให้มีความชัดเจน ไม่กำกวม
มีความซื่อสัตย์ต่อคำสั่งที่สั่งออกไป ไม่กลับคำ ซัดทอดความผิดให้ลูกน้อง
สอนงาน หรือ อธิบายงาน ให้ชัดเจน
ติดต่อสื่อสารได้ชัดเจน และทั่วถึงกับลูกน้อง
มีความยืดหยุ่นในการทำงานในเรื่องกฎเกณฑ์ ระเบียบ ตามสมควรแก่เหตุ
ใช้วินัยควบคุมให้เสมอภาค ไม่เลือกที่รัก มักที่ชัง
2. มนุษยสัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชา

ตั้งใจทำงาน รับฟังคำชี้แจงของหัวหน้าด้วยความตั้งใจ
ไม่นินทาผู้บังคับบัญชา (ลูกน้องไม่จงรักภักดี+ไม่เคารพนับถือ)
มีความคิดสร้างสรรค์ในการพัฒนางาน โดยใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ
หลีกเลี่ยงการประจบสอพลอ
สนับสนุนกิจการของผู้บังคับบัญชา เรียนนิสัยของผู้บังคับบัญชา
ไม่ควรคล้อยตามผู้บังคับบัญชาทุกเรื่องโดยไม่มีเหตุผล
ปกป้องไม่ให้ผู้บังคับบัญชาเสียหน้า หรืออับอาย 8.ไม่ก่อศัตรูกับเพื่อนร่วมงาน
ไม่บ่นถึงความยากลำบากของการงานที่ได้รับมอบหมาย
มีความจงรักภักดี ซื่อสัตย์และจริงใจต่อผู้บังคับบัญชา
3. มนุษยสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน

จริงใจต่อเพื่อนร่วมงาน
ให้ความช่วยเหลือเพื่อนในการงาน
รับผิดชอบร่วมกัน ไม่ซัดทอดความผิดให้เพื่อน
ให้เกียรติเพื่อนร่วมงาน
ให้ความสนใจเพื่อนอย่างจริงใจ
ยอมรับความเป็นตัวตนของเพื่อน
เข้าใจความต้องการ และความรู้สึกของเพื่อน
เป็นคนเสมอต้นเสมอปลาย
สนใจในสิ่งที่เพื่อนพูด พูดในสิ่งที่เพื่อนสนใจ
ยิ้มและมีอารมณ์ขันตามควร
มีมารยาทที่ดี ต่อเพื่อนๆ
ให้ความรัก ความเคารพความคิดเพื่อน
มีคุณธรรมในการติดต่อเพื่อนๆ (เมตตา กรุณา เห็นใจ ให้ความช่วยเหลือ)
.มีความซื่อสัตย์ต่อเพื่อน

0 Comments:

Post a Comment



บทความที่ได้รับความนิยม