Custom Search

MBA Holiday

วันอังคารที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2554

ความพึงพอใจในชีวิตเป็นความรู้สึกที่มีอยู่ภายในตัวบุคคล ต่อสภาพความเป็นอยู่หรือสภาพที่บุคคล
เผชิญอยุ่ ซึ่งความพึงพอใจนี้อาจเป็นบวกหรือลบก็ได้ ขึ้นอยู่กับความคาดหวังและความสมหวังของแต่
ละบุคคล
มีผู้อธิบายความหมายของคำว่าความพึงพอใจในชีวิตไว้มากมาย ซึ่งจะขอสรุปพอสังเขปดังต่อไปนี้
เป็นการยอมรับจุดมุ่งหมายของความสำเร็จ และปณิธานที่ตั้งไว้ หรือการอดทนต่อทุกสิ่งทุกอย่าง
*การรับรู้ด้วยจิตใจที่สงบ สะท้อนให้เห็นว่าบุคคลรู้สึกสุขสำราญ อิ่มเอม
*คือการที่ความต้องการต่างๆของบุคคลได้รับการตอบสนอง
*มีความสุขในการดำเนินชีวิตในแต่ละวัน ตั้งใจมุ่งมั่นที่จะไปสู่จุดหมายโดยไม่กลัวอุปสรรค มีความ
คิดเชิงบวกต่อตัวเอง มีอารมณ์แจ่มใสเบิกบาน
ปัจจัยสนับสนุนทางสังคม ( Social support) หมายถึงการที่บุคคลได้รับความช่วยเหลือจากบุคคลในเครือข่ายสังคมเพื่อให้สามารถปรับตัว เผชิญปัญหา ตอบสนองความเจ็บป่วยและความเครียดตามแนวคิดของเฮาส์ ( House 1981quoted in Pearson 1990, 54) การสนับสนุนทางสังคมแบ่งแยกออกเป็น4 ด้านคือ

1.การสนับสนุนทางด้านอารมณ์ ( Emotional support ) ได้แก่การได้รับความรัก ความไว้วางใจ
ความสนใจ ความเป็นห่วง ความเห็นอกเห็นใจ การดูแลเอาใจใส่และความผูกพันของคนใกล้ชิด
2.การสนับสนุนทางด้านวัตถุ ( Material support ) ได้แก่การได้รับความช่วยเหลือด้านการเงิน
ช่วยเหลืองานบ้าน การทำงาน สิ่งของ แรงงาน เวลาหรือจัดสภาพสิ่งแวดล้อมต่างๆให้เหมาะสม
3.การสนับสนุนทางด้านข้อมูลข่าวสาร ( Information support ) ได้แก่การได้รับข้อมูลข่าวสาร ช่วยแก้ปัญหาต่างๆ โดยได้รับข้อมูล การแลกเปลี่ยนข่าวสาร ข้อเสนอแนะ คำแนะนำ ชี้แนวทาง และได้รับ
ข้อมูลหรือข้อเท็จจริงซึ่งสามารถนำไปแก้ปัญหาที่เผชิญได้
4.การสนับสนุนด้านการประเมินค่า ( Appraisal support ) เป็นการได้รับข้อมูลย้อนกลับเกี่ยวกับ
การเรียนรู้ตนเองหรือจากประสบการณ์ เป็นการรับข้อมูลย้อนกลับหรือเปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็น
การเห็นพ้องและการรับรองเกี่ยวกับการปฏิบัติต่างๆ

ความพึงพอใจในชีวิต ( Life satisfaction ) หมายถึงความรู้สึกของบุคคลต่อความสุข ความ
พอใจ สามารถดำเนินชีวิตได้ตามสภาวะแห่งตน ซึ่งแบ่งออกเป็น 5 ด้าน
1. ด้านร่างกาย
2. ด้านสัมพันธภาพกับบุคคลอื่น
3. ด้านกิจกรรมในสังคมและชุมชน
4. ด้านการพัฒนาตนเองและความสมหวังในการทำงาน
5. ด้านการพักผ่อนหย่อนใจและสันทนาการ

0 Comments:

Post a Comment



บทความที่ได้รับความนิยม