Custom Search

MBA Holiday

วันพุธที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

1. การฝึกอบรมและพัฒนาไม่ตอบสนองกลยุทธ์ขององค์การ
1.1 การฝึกอบรมและพัฒนาถือเป็นเครื่องมือของฝ่ายจัดการ แต่บางครั้งการฝึกอบรมและพัฒนาไม่ตอบสนองกลยุทธ์ขององค์การ เช่น องค์การมีความต้องการยกระดับคุณภาพสินค้าและบริการ แต่กลับไปทำการฝึกอบรมการทำงานเป็นทีม
1.2 การฝึกอบรมและพัฒนาไม่สอดคล้องกับช่วงการพัฒนาธุรกิจ เช่น ธุรกิจอยู่ในช่วงเริ่มต้น แต่การฝึกอบรมและพัฒนาเน้นไปในเรื่องการลดต้นทุนการดำ­เนินงาน
1.3 ความแตกต่างของลักษณะและประเภทธุรกิจของแต่ละองค์การ เช่น การเลียนแบบการฝึกอบรมและพัฒนาพนักงานขององค์การที่มีชื่อเสียง โดยไม่คำนึงถึงค­วามเหมาะสมในเชิงกลยุทธ์

2. การฝึกอบรมและพัฒนาไม่สอดคล้องกับการพัฒนาสายอาชีพ
2.1 ในแต่ละองค์การจะต้องมีการกำหนดกลุ่มงาน (Job Group) และความก้าวหน้าในสายอาชีพ (Career Path) อย่างชัดเจน จากตำแหน่งเริ่มต้นไปจนถึงสูงสุด ปัญหาคือองค์การไม่ได้กำหนดระดับความรู้ความสามารถในแต่ละระดับงานไว้ให้ชัดเจน จึงไม่สามารถกำหนดหลักสูตรและวิธีการฝึกอบรมที่เหมาะสมได้
2.2 แม้บางครั้งจะกำหนดในเรื่องความรู้ ความสามารถ ทัศนคติ และพฤติกรรม ในแต่ละระดับไว้ชัดเจน แต่หากไม่สอดคล้องและเสริมกัน จะทำให้การพัฒนาพนักงานในแต่ละระดับตามสายอาชีพขาดความชัดเจน
2.3 การฝึกอบรมและพัฒนาที่ไม่ดำเนินการในช่วงเวลาที่เหมาะสม คือ ฝึกอบรมแล้วไม่ได้นำความรู้และทักษะไปใช้ในทันที อาจทำให้ลืมได้ ในทางกลับกันการจัดการฝึกอบรมและพัฒนากำหนดให้มีขึ้นช้าไป ปล่อยให้พนักงานเรียนถูกเรียนผิดเป็นเวลานานจนเกิดความเคยชิน เมื่อได้รับการฝึกอบรมอาจจะไม่ยอมเปลี่ยนพฤติกรรมการทำงาน
2.4 พนักงานขาดข้อมูลข่าวสารในเรื่องการพัฒนาสายอาชีพ ทำให้พนักงานทำงานโดยปราศจากจุดมุ่งหมายที่ถูกต้อง
2.5 การฝึกอบรมและพัฒนาโดยไม่คำนึงปัจจัยเรื่อง กลุ่มอายุ ระดับตำแหน่ง และสายอาชีพที่แตกต่างกัน จะเกิดความสูญเปล่า


ปัญหาด้านกระบวนการฝึกอบรมและพัฒนา
กระบวนการฝึกอบรมเริ่มจากการหาความจำเป็นในการฝึกอบรม ไปสู่การพัฒนาโปรแกรมการฝึกอบรม หลังจากนั้นจึงลงมือฝึกอบรม และทำการประเมินผล ปัญหาที่เกิดขึ้น คือ
3.1 ปัญหาเรื่องการหาความจำเป็นในการฝึกอบรมที่ผิดพลาด จากการได้ข้อมูลที่ผิดพลาดหรือไม่ตรงจุด
3.2 ปัญหาที่เกี่ยวกับโปรแกรมการพัฒนา เช่น หัวข้อ เทคนิคการสอน ช่วงเวลา จำนวนผู้เข้าฝึกอบรม คุณสมบัติของผู้เข้าฝึกอบรม
3.3 ปัญหาในการดำเนินการฝึกอบรม เช่น การเลื่อนช่วงเวลาการฝึกอบรม วิทยากรมีความรู้ไม่เพียงพอ เนื้อหาไม่ครอบคลุม เวลาในการฝึกอบรม
3.4 ปัญหาในการประเมินผลการฝึกอบรมและพัฒนา
3.5 ปัญหาเกี่ยวกับนโยบายการฝึกอบรมและพัฒนา เกิดจากผู้บังคับบัญชาไม่เข้าใจนโยบายการฝึกอบรมและพัฒนาขององค์การ

1. การสรรหาและคัดเลือกทรัพยากรมนุษย์จากภายในองค์การ
1.1 ขาดการให้ข้อมูลข่าวสารเรื่องตำแหน่งงานว่างที่ดีพอ
1.2 ผู้บังคับบัญชาไม่สนับสนุนให้ผู้ใต้บังคับบัญชา ได้มีโอกาสโอนย้ายไปปฏิบัติหน้า­ที่ยังหน่วยงานอื่น
1.3 ขาดความเป็นธรรมในการคัดเลือก
1.4 องค์การขาดโอกาสที่จะคัดเลือกคนที่มีความสามารถสูง และเหมาะสมกับตำแหน่งจากภายน­อก
1.5 การสรรหาและคัดเลือกพนักงานภายในองค์การอย่างเดียว จะทำให้วัฒนธรรมและสภาพแวดล้อมขององค์การมีลักษณะคงเดิม ไม่เปลี่ยนแปลง ขาดการผสมผสานจากปัจจัยภายนอก
1.6 การสรรหาและคัดเลือกพนักงานภายในองค์การ สามารถทำได้เฉพาะในบางระดับและทำได้ในข­อบเขตที่จำกัด



2. การสรรหาและคัดเลือกทรัพยากรมนุษย์จากภายนอกองค์การ
2.1 ช่วงเวลาในการรับสมัครพนักงานใหม่ไม่เหมาะสม เช่น การรับสมัครนักศึกษาในช่วงเวลาที่กำลังจะสำเร็จการศึกษาจะมีผู้สมัครจำนวนมาก มีโอกาสเลือกสรรได้มาก แต่ถ้ารับสมัครช่วงเวลาอื่น คนดีๆ อาจได้งานไปหมดแล้ว หรือ การรับสมัครผู้มีประสบการณ์แล้ว หากทำช่วงปลายปีย่อมไม่เหมาะสม
2.2 องค์การไม่สามารถดึงดูดความสนใจให้ผู้สมัครที่มีคุณสมบัติตรงตามที่ต้องการมาสม­ัครงาน
2.3 ปัญหาได้คนไม่ตรงกับความต้องการ
2.4 ปัญหาเรื่องความยากลำบากในการสรรหาผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านหรือผู้บริหารที่มีความสามารถ
2.5 ปัญหาเรื่องขาดการสื่อข่าวสารการรับสมัครที่ดีและเหมาะสม
2.6 ปัญหาเรื่องกระบวนการคัดเลือกขาดประสิทธิภาพ
2.7 ระบบคัดเลือกโดยการใช้วิธีสัมภาษณ์ที่ไม่มีคุณภาพ ไม่มีการกำหนดมาตรฐานในการสัมภาษณ์
2.8 ขาดการสร้างความพึงพอใจให้แก่ผู้สมัคร เพราะไม่มีระบบการจัดการที่ดี
2.9 ปัญหาเรื่องการรักษาความลับ
2.10 ปัญหาเรื่องการเสนอเงินเดือน
2.11 ปัญหาเรื่องการตรวจสอบประวัติผู้สมัคร เพื่อให้แน่ใจว่าได้คนดีมาร่วมงาน

ปัญหาในการวางแผนด้านทรัพยากรมนุษย์ในทางปฏิบัติพบว่ามีปัญหาที่สำคัญ 5 ประการ คือ

1. ปัญหาการผสมผสานเชิงกลยุทธ์ (Strategic Integration) ในกรณีที่องค์การขาดการผสมผสานเชิงกลยุทธ์ เช่น ขาดการวางแผนธุรกิจ ทำให้การบริหารขาดทิศทางที่ชัดเจน ไม่มีการตั้งเป้าหมายในการดำเนินงานตามช่วงเวลาในอนาคต นอกจากจะไม่สามารถวัดผลสำเร็จในการดำเนินธุรกิจแล้ว ยังทำให้เกิดปัญหาการวางแผนทรัพยากรมนุษย์ด้วย
2. ปัญหาการเปรียบเทียบมาตรฐานในการจัดการทรัพยากรมนุษย์กับองค์การอื่น (Benchmarking) การวางแผนทรัพยากรมนุษย์ขององค์การส่วนใหญ่ ไม่ได้ให้ความสำคัญแก่การเปรียบเทียบมาตรฐานการปฏิบัติขององค์การอื่น โดยเฉพาะองค์การคู่แข่ง ทำให้องค์การไม่สามารถกำหนดทิศทาง เป้าหมาย และระยะเวลาในการปรับปรุงประสิทธิภาพ และประสิทธิผลการปฏิบัติของพนักงานได้
3. ปัญหาด้านกฎระเบียบ ข้อกำหนด หรือโครงสร้างการทางบริหาร (Rigid Structure) ถ้าองค์การมีกฎระเบียบ ข้อกำหนด หรือโครงสร้างทางการบริหารที่ซับซ้อนและไม่ยืดหยุ่น การปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์และความจำเป็นทางธุรกิจจะทำได้ยาก
4. ปัญหาการผสมผสานการจัดการทรัพยากรมนุษย์ (No Integrative Human Resource Management) กิจกรรมการบริหารแยกออกจากกัน ไม่มีการประสานและสนับสนุนกัน ต่างฝ่ายต่างทำ
5. ปัญหาการคาดคะเนความต้องการด้านกำลังคน (No Manpower Requirement Forecast) คือ ไม่มีการวางแผนกำลังคนที่ดี

1. ความหมายของการพัฒนากลยุทธ์ทางการตลาด
การพัฒนา หมายถึง การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้ดีขึ้นเพื่อให้ก้าวไปข้างหน้าได้อย่างมั่นคงเหมาะสมกับสถานะการณ์ การพัฒนากลยุทธ์ทางการตลาด จึงเป็นการศึกษาเพื่อให้ธุรกิจก้าวไปข้างหน้าอย่างมั่นคง เพราะว่าความมั่นคงจะมีความสำคัญมากของธุรกิจกลางหรือเล็ก

ในการพัฒนากลยุทธ์การตลาด ผู้ประกอบการต้องเปลี่ยนทัศนคติในการมองเรื่องต่าง ๆ และต้องให้ความสำคัญกับข้อมูล ต้องประเมินสถานการณ์ อย่างถูกต้องและเป็นธรรม การพัฒนากลยุทธ์ทางการตลาดจะประกอบด้วย 2 ประเด็นใหญ่ ๆ คือ ตลาดและผลิตภัณฑ์

2. มุมมองด้านตลาด
ตลาดเก่า หมายความว่า ลักษณะของลูกค้าเดิม ๆ ซึ่งก็จะเป็นลูกค้าประจำ หรือว่าจะเป็นลูกค้าขาจรที่ผ่านมาแล้วก็ผ่านไป
ตลาดใหม่ หมายความว่า ลูกค้าใหม่ ๆ ที่เราไม่เคยได้สัมผัสมาก่อน ซึ่งพฤติกรรมของลูกค้าที่ผ่านเข้ามาก็จะมีความหลากหลายไปด้วย

3. มุมมองด้านผลิตภัณฑ์มี 2 ประเภทด้วยกัน
ผลิตภัณฑ์เก่า คือ สินค้าหรือผลิตภัณฑ์ที่เราเคยขายก่อน
ผลิตภัณฑ์ใหม่ คือ สินค้าหรือบริการใหม่ ๆ ที่เราไม่เคยมีมาก่อน และ เมื่อประเมินสถานการณ์เราสามารถนำเอา 2 ปัจจัยมาผสมกันแล้วจะได้เป็นคู่ ๆ
คู่ที่ 1 คือ ตลาดเก่า ผลิตภัณฑ์เก่า
คู่ที่ 2 คือ ตลาดเก่า ผลิตภัณฑ์ใหม่
คู่ที่ 3 คือ ตลาดใหม่ ผลิตภัณฑ์เก่า
คู่ที่ 4 คือ ตลาดใหม่ ผลิตภัณฑ์ใหม่
คู่ที่ 5 คือ การผสมผสานแต่ละคู่มารวมกัน

4. การพัฒนากลยุทธ์การตลาด มี 5 ตัวหลัก ๆ ที่จะต้องคำนึงถึง
1. กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย
2. ผลิตภัณฑ์ คือ สินค้าและการบริการ
3. กลยุทธ์ราคา
4. กลยุทธ์การจัดจำหน่าย
5. กลยุทธ์การส่งเสริมการตลาด


การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อแผนทางการตลาด
การวางแผนทางการตลาดต้องมีการเก็บข้อมูลเพื่อที่จะใช้เป็นกำหนดทิศทางและการตัดสินใจว่ากิจกรรมทางการตลาดต่าง ๆ ที่จะใช้ในการแข่งขัน ควรมีอะไรบ้าง ดังนั้น ข้อมูลทางการตลาดที่ได้มีการเก็บรวบรวมมาจึงจำเป็นต้องผ่านขั้นตอนในการวิเคราะห์และประมวณผลเพื่อใช้ในการตัดสินใจได้

การวิเคราะห์เชิงปริมาณและคุณภาพ
การวิเคราะห์ข้อมูลทางการตลาดมี 2 ประเภทสำคัญใหญ่ ๆ คือ การวิเคราะห์เชิงปริมาณ และการวิเคราะห์เชิงคุณภาพ โดยทั่วไปการวิเคราะห์เชิงปริมาณ จะใช้เครื่องมือตัววัดในทางสถิติ ในขณะที่การวิเคราะห์เชิงคุณภาพจะใช้ประเด็ดเป็นเครื่องมือในการวัด เพื่อให้เกิดความเข้าใจในประเด็นหรือข้อมูลที่ยังขาดความชัดเจน

การวิเคราะห์ในเชิงการทดสอบสมมุติฐาน
การวิเคราะห์และทดสอบในทางสมมุติฐาน โดยทั่วไปจะเป็นการวิเคราะห์เชิงปริมาณที่ได้จากข้อมูลจากการสำรวจ และมักใช้ค่าสถิติในการวิเคราะห์ และตีความ ซึ่งมักจะให้ความสนใจต่อนัยสำคัญทางสถิติว่ามีหรือไม่ มากน้อยอย่างไร หรือว่าเชื่อถือได้มากน้อยแค่ไหน การวิเคราะห์ประเภทนี้มักจะใช้ค่าเฉลี่ย ค่าสถิติอื่น ๆ ที่มีความซับซ้อนมากขึ้น แต่ก็สรุปง่าย ๆ ก็คือ ส่วนใหญ่จะเป็นการหาค่าความสัมพันธ์หรือความแตกต่างกันระหว่างตัวแปร เพื่อนำผลไปวิเคราะห์ไปใช้ในการวางแผนทางการตลาด

การวิเคราะห์เชิงสรุปประเด็น
การเก็บรวบรวมและวิเคราะห์เชิงคุณภาพเป็นการวิเคราะห์และสรุปเกี่ยวกับประเด็นต่าง ๆ ในเชิงลึก เพื่อให้เข้าใจเกี่ยวกับปรากฎการณ์ทางการตลาดนั้น ๆ มากขึ้น หากแต่ว่าข้อมูลเชิงคุณภาพอาจสามารถประมวลความคิดเห็นและสรุปได้ลึกซึ่งกว่า

ดังนั้นการวางแผนทางการตลาดที่ดีควรมีการประยุกต์ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลทางการตลาดที่ครอบคลุมและหลากหลายของข้อมูลที่เก็บรวบรวมมา จึงจะเกิดประโยชน์สูงสุดต่อการใช้ข้อมูลทางการตลาดที่นับวันจะมีความสำคัญขึ้นเรื่อย

ธุรกิจขนาดย่อมจำนวนไม่น้อย ที่ถือว่าเป็น ธุรกิจสินค้าอุตสาหกรรม โดยส่วนใหญ่จะเป็นผู้ผลิตสินค้า ที่นำไปจำหน่ายให้กับโรงงานอุตสาหกรรม หรือธุรกิจต่อเนื่องอื่นๆ เพื่อผลิตเป็นสินค้าสำเร็จรูปขั้นสุดท้ายที่ ผู้บริโภคจะนำไปใช้ ไม่ได้เป็นการขายโดยตรงให้ผู้บริโภค กลยุทธ์การตลาดและการบริหารธุรกิจสินค้า อุตสาหกรรม จึงแตกต่างไปจากกลยุทธ์ที่ใช้กับธุรกิจที่จำหน่ายสินค้าหรือบริการตรงไปยังผู้บริโภคขั้นสุดท้าย ผู้ประกอบการหลายรายพยายามนำกลยุทธ์การตลาดที่ได้มาจากตำราเด็ดต่างๆ ซึ่งส่วนใหญ่มักจะเป็นกลยุทธ์ สำหรับสินค้าสำหรับผู้บริโภคโดยตรงมาทดลองใช้กับธุรกิจของตน ซึ่งเป็นธุรกิจสินค้าอุตสาหกรรม จึงมักพบกับ ความผิดหวังอยู่เนืองๆ จนกระทั่งเลิกสนใจ ศาสตร์การบริหารจัดการ หันมาเล่นกับ กลยุทธ์ ตามใจเถ้าแก่ เหมือนเดิมต่อไป
บทความตอนนี้ ผมจึงขอนำเรื่องเกี่ยวกับการบริหารจัดการธุรกิจสินค้าอุตสาหกรรมมานำเสนอ ให้ผู้อ่านตามที่ได้รับร้องขอมาหลายรายเพื่อให้มองเห็นภาพพจน์ และท่านผู้อ่านจะได้ติดตามได้ง่ายขึ้น ผมขอ ยกตัวอย่าง "ธุรกิจผลิตท่อระบายน้ำคอนกรีตอัดแรง" มาเป็นตัวนำเรื่องก็แล้วกันพอเห็นชื่อก็คงจะมองเห็นภาพ ของตัวสินค้าและลักษณะธุรกิจออกได้ค่อนข้างชัดนะครับ ผู้ประกอบการธุรกิจประเภทนี้มีลักษณะเป็น "ผู้ผลิต" สินค้า โดยสินค้าตัวนี้จะอยู่ในประเภทสินค้าที่เรียกได้ว่าเป็น "สินค้าเฉพาะเจาะจง" สำหรับกลุ่มลูกค้า กระบวน การผลิตเป็นไปในลักษณะที่ไม่ได้ใช้เทคโนโลยีชั้นสูงมากนัก
นอกจากนี้ ผู้บริโภคขั้นสุดท้าย คือ เจ้าของบ้านที่ต้องการท่อระบายน้ำคอนกรีต มักไม่ได้เป็นผู้ซื้อ สินค้าเอง หรือแทบจะไม่รับทราบเลยว่าเงินที่ตนเองต้องจ่ายไปส่วนหนึ่งนั้น ต้องนำไปซื้อสินค้าตัวนี้ด้วย ผู้ที่ จะเป็นผู้ซื้อสินค้าจะกลายเป็นช่าง หรือบริษัทรับเหมาก่อสร้างที่จะทำหน้าที่วางท่อระบายน้ำนั่นเอง ดังนั้น การวิเคราะห์ตลาดสินค้าอุตสาหกรรม จะต้องคำนึงพฤติกรรมการซื้อที่อยู่ในลักษณะของ "องค์กร" ซึ่งจะมี ลักษณะในการเลือก และตัดสินใจซื้อที่แตกต่างจากการเป็นผู้บริโภคโดยตรง นี่เป็นประเด็นหลักสำหรับการ ทำตลาดสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ประเภทนี้
การทำตลาดสินค้าอุตสาหกรรม จะทำได้โดยกลยุทธ์ใหญ่ๆ 2 วิธี คือ การแสวงหากลุ่มลูกค้าใหม่ และ การแสวงหาตลาดใหม่ ซึ่งมีรายละเอียดเพิ่มเติม ดังนี้
การหากลุ่มลูกค้าใหม่
ในการวิเคราะห์หากลุ่มลูกค้าใหม่ๆ ควรพิจารณาขยายกลุ่มผู้ซื้อหรือผู้ใช้จากตลาดเดิม โดยขยายออก สู่กลุ่มผู้ซื้อหรือองค์กรใหม่ๆ ที่มีโอกาสซื้อหรือใช้สินค้าที่เราผลิตอยู่ในปัจจุบันให้เพิ่มมากขึ้น เพื่อเป็นการเพิ่ม ยอดขาย ตัวอย่างของกลุ่มลูกค้าใหม่สำหรับท่อระบายน้ำคอนกรีต อาจได้แก่ ผู้รับเหมารายใหม่ รพช. กรมชล ประทาน การประปานครหลวง การประปาภูมิภาค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าภูมิภาค สำนักระบายน้ำของ อบต. เทศบาล จังหวัด หรือ กทม. ฯลฯ เป็นต้น
การหาตลาดใหม่
การหาตลาดใหม่ มีแนวคิดพื้นฐานเพื่อการขยายหรือเพิ่มประเภทของสินค้าให้หลากหลายมากขึ้น หรือ โดยการเพิ่มสายการผลิตสินค้าประเภทใหม่ๆ เพื่อให้ได้สินค้าเข้าสู่ตลาดใหม่ๆ อันจะนำไปสู่การเพิ่มขึ้นของ รายได้ของกิจการ ในการเพิ่มประเภทสินค้าใหม่ๆ นี้ จำเป็นต้องพิจารณาว่า กรรมวิธีในการผลิตสินค้าใหม่นั้น เหมาะสมกับเครื่องจักรที่มีอยู่เดิมหรือไม่ด้วย การเพิ่มประเภทการผลิตอาจช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้ เครื่องจักรเดิมให้มีประสิทธิภาพสูงสุด เต็มกำลังการผลิต หรืออาจจำเป็นต้องมีการลงทุนเพิ่มเพื่อซื้อเครื่องจักร ใหม่ วิธีการในการเสาะหาตลาดสินค้าใหม่ สำหรับกรณีศึกษาตัวอย่างนี้ อาจเริ่มจากวิธีการ ดังนี้
ให้พิจารณาขอบข่ายของตัวสินค้าที่ผู้ประกอบการทำอยู่ เช่น แทนที่จะจำกัดอยู่กับการเป็นสินค้า "ท่อระบายน้ำคอนกรีตอัดแรง" แต่เพียงอย่างเดียว ซึ่งจะทำให้ไม่เกิดความหลากหลายในการดำเนินงาน ผู้ประกอบการอาจต้องหาคำจำกัดความสินค้าที่ผลิตเสียใหม่ ให้สามารถขยายตลาดสำหรับสินค้าใหม่ๆ ได้ ยกตัวอย่าง เช่น การมองในภาพกว้าง และกำหนดให้เป็นสินค้าประเภท "ท่อคอนกรีตสำเร็จรูป" ถ้าเป็นเช่นนี้ จะทำให้บริษัทสามารถขยายตลาดได้มากขึ้นอีกหลายทาง เช่น ตลาดท่อคอนกรีตอัดแรง ตลาดท่อคอนกรีตไม่ อัดแรง ตลาดท่อคอนกรีตร้อยสายไฟฟ้าใต้ดิน ตลาดท่อน้ำประปา ตลาดท่อร้อยสายเคเบิลใต้ดิน ฯลฯ เป็นต้น
นอกจากนี้ หากขีดความสามารถของเครื่องจักรและกระบวนการผลิตที่มีอยู่เดิมสามารถ ดัดแปลงหรือ ปรับปรุงให้ผลิตสินค้าอื่นๆ แตกต่างออกไป อาจมองหาสินค้าเหล่านี้เพิ่มเติม อาทิเช่น ผลิตภัณฑ์รางระบายน้ำ คอนกรีต ผลิตภัณฑ์แผ่นพื้นคอนกรีตสำเร็จรูป ผลิตภัณฑ์คานคอนกรีตสำเร็จรูป ผลิตภัณฑ์เสาเข็มคอนกรีต อัดแรง ผลิตภัณฑ์เสาไฟฟ้าคอนกรีตสำหรับการไฟฟ้า ฯลฯ เป็นต้น
การส่งเสริมการขาย ก็เป็นแนวทางอีกประการหนึ่งที่จะช่วยเพิ่มยอดขายหรือหาตลาดของสินค้า อุตสาหกรรมให้มากขึ้นได้ การส่งเสริมการขายที่ควรพิจารณา ได้แก่ ใช้พนักงานขายมากที่สุด พนักงานขาย จะสร้างโอกาสในการขายได้ดีกว่าการวางสินค้า ให้ผู้ซื้อเข้ามาเลือกซื้อหาเองกลยุทธ์การส่งเสริมการขายที่ใช้ ได้ผลกับสินค้าอุตสาหกรรม ส่วนใหญ่จะเป็นกลยุทธ์ผลัก (Push Strategy) คือ ผลักดันให้เกิดการขายสินค้า ให้กับผู้ซื้อโดยการเสนอผลประโยชน์หรือแรงจูงใจบางอย่างให้กับพนักงานขาย หรือให้กับผู้มีอำนาจในการ ตัดสินใจซื้อสินค้า เป็นต้น
ในการวิเคราะห์ตลาดสินค้าอุตสาหกรรมที่กล่าวมานี้นั้น เป็นเพียงการให้คำแนะนำเบื้องต้นพอเป็น สังเขป เพื่อให้ผู้ประกอบการนำไปใช้ประกอบในการพิจารณา หรือเพื่อเป็นการจุดประกายความคิดในการนำ ไปต่อยอดให้เหมาะสม กับธุรกิจอุตสาหกรรมที่ท่านดำเนินการอยู่

การนำเสนอผลประโยชน์ของตัวผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่น และแตกต่างออกไปจากคู่แข่งขัน รวมทั้งการสร้างประสบการณ์
อันน่าประทับใจให้กับลูกค้า ถือเป็นกลยุทธ์ในการสร้างตราสินค้าที่ทุกบริษัทควรให้ความสำคัญ

การกำหนดส่วนของตลาดที่ชัดเจน เป็นหนทางหนึ่งที่สามารถนำความสำเร็จมาสู่ตราสินค้า และเป็นสิ่งจำเป็นในการ
ทำให้ตราสินค้านั้นเข้าไปเป็นหนึ่งในใจผู้บริโภค รวมทั้งทำให้ตราสินค้านั้นมีอายุที่ยั่งยืนและยาวนาน ซึ่งที่เรานำเสนอ
ไว้ ณ ที่นี้นั้นเป็นกลยุทธ์พื้นฐานทั่วไป

การแก้ปัญหาในด้านของสินค้า เป็นการนำเสนอในสิ่งที่ดีกว่า และให้เกิดความแตกต่างในด้านของการบริการ ทำให้
ลูกค้าได้สัมผัสถึงประสบการณ์ที่ดี และน่าประทับใจจากการใช้ตราสินค้า การเน้นไปที่ผลประโยชน์จากการใช้ตราสินค้า
นั้นสามารถสร้างประโยชน์ได้อย่างมากมายให้กับตราสินค้า และควรต้องมีการสื่อสารไปถึงผู้บริโภคอย่างชัดเจน หลักการ
สำคัญของกลยุทธ์การสร้างผลประโยชน์คือ ต้องเข้าใจให้ลึกซึ้งถึงหลักเกณฑ์ ซึ่งทั้งหมดนี้จะเน้นความสำคัญไปที่ผลของ
ลูกค้าในการได้รับประสบการณ์จากการใช้ตราสินค้า

ตราสินค้ายักษ์ใหญ่ทั้งหลายมักจะนิยมใช้ความมีชื่อเสียง ใช้ภาพลักษณ์เดิมที่มีอยู่แล้ว และความเชี่ยวชาญในการวาง
ตำแหน่งให้กับตราสินค้าเป็นฐานในการขยายสายผลิตภัณฑ์ ซึ่งช่วยให้ประสบผลสำเร็จและเข้าครอบครองตลาดได้
อย่างง่ายดาย

กลยุทธ์ทางด้านสังคมเป็นอีกแนวทางหนึ่งในการสร้างให้ลูกค้าเกิดความภักดีต่อตราสินค้า เป็นกลยุทธ์ที่ต้องมีการปฏิบัติ
อย่างต่อเนื่องเป็นระยะยาว และยังรวมถึงการที่ต้องมีส่วนร่วมกิจกรรมทางการตลาดในด้านของการห่วงใยสิ่งแวดล้อม
เช่น ต่อต้านการใช้สัตว์มาเป็นตัวทดลอง กลยุทธ์นี้สามารถเสนอสินค้าได้ในราคาสูง ซึ่งจะไม่มีปัจจัยทางด้านรายได้,
เพศ หรือ อายุ เข้ามาเป็นตัวกำหนดอีกด้วย และยังมีกลยุทธ์ต่างๆ อีกมาก เช่น

กลยุทธ์ทางด้านคุณค่า (เป็นการผสมผสานกันระหว่างเรื่องของราคา และคุณภาพ แต่อย่าลืมว่า "สงครามราคา" นั้น
ไม่ได้สร้างความสำเร็จให้กับตราสินค้าได้อย่างมั่นคง และถาวร)
กลยุทธ์ความใฝ่ฝัน (จงค้นหาให้เจอ และทำฝันของพวกเขาให้เป็นความจริง)
กลยุทธ์ทางวัฒนธรรม (เพื่อให้มองเห็นได้อย่างชัดเจน และกำหนดได้อย่างแน่นอนของกลุ่มลูกค้า)
กลยุทธ์ทางด้านอารมณ์ และความรู้สึก (เมื่อมีการใช้ร่วมกับกลยุทธ์ด้านอื่นๆ คุณจึงมั่นใจได้ว่าตราสินค้านั้นจะเข้าไปฝังอยู่
ในจิตสำนึกของผู้บริโภคได้อย่างถาวร)
กลยุทธ์ด้านบุคลิก (ผู้บริโภคต้องการตราสินค้าที่มีบุคลิกลักษณะเดียวกันกับพวกเขา ฉะนั้นการกำหนดบุคลิกให้กับ
ตราสินค้าควรให้สอดคล้อง และคำนึงถึงบุคลิกผู้บริโภคด้วยเช่นกัน)
ไม่จำเป็นเสมอไปว่า การสร้างกลยุทธ์ตราสินค้านั้นต้องกำหนดตามสมัยนิยมของตลาด ซึ่งจุดหมายที่ต้องการจากการทำ
กลยุทธ์ตราสินค้านั้นก็คือ การสร้างลูกค้าถาวร แต่เป้าหมายที่แท้จริงแล้วนั้นคือ การรักษาลูกค้า และการขยายฐานลูกค้า
ซึ่งต้องใช้ความเชี่ยวชาญ และควรมีความยืดหยุ่นเพื่อปรับเปลี่ยนให้เข้ากับสถานะการณ์ และความต้องการของตลาด
แต่คงไว้ซึ่งภาพลักษณ์เดิม

กลยุทธ์ตราสินค้าเป็นการสร้างความน่าเชื่อถือให้กับตราสินค้า เพื่อให้ได้มาในเรื่องของความไว้วางใจจากผู้บริโภค
เราเสนอกลยุทธ์การสร้างตราสินค้า เพื่อทำให้ตราสินค้าของคุณดูโดดเด่นอย่างชัดเจน และคุณสามารถมั่นใจได้ถึง
ทุกๆ กระบวนการทางการตลาด ตลอดจนกิจกรรมทางการตลาดนั้นจะเดินควบคู่ไปบนเส้นทางเดียวกัน

;;

บทความที่ได้รับความนิยม