Custom Search

MBA Holiday

วันอังคารที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

มีความเชื่อมั่นและศรัทธาในศักยภาพของตัวเอง (Belief)
คนที่ประสบความสำเร็จจะต้องมีความเชื่อมั่นว่า ตนเองมีความสามารถที่จะทำสิ่งเหล่านั้นได้อย่างแน่นอน
มีความมุ่งมั่นอย่างแรงกล้า (Passion)
พลังแห่งความมุ่งมั่นในที่นี้แห่งคือ การที่เรามุ่งมั่นว่า เราจะต้องทำในสิ่งที่เราปรารถนาให้ประสบความสำเร็จให้จงได้ และเชื่อมั่นว่า สิ่งที่เราทำนั้นเป็นสิ่งที่ถูกต้อง และแม้ว่าจะเจออุปสรรคขวางกั้นสักแค่ไหน ก็ไม่ยอมแพ้โดยเด็ดขาด ผู้แต่งเชื่อว่า คนที่มีสติปัญญาไม่สูงมากนัก แต่มีความมุ่งมั่นอย่างแรงกล้า ย่อมสามารถเอาชนะคนที่มีสติปัญญาสูงแต่เหงาหงอยหรือเบื่อหน่าย (A passionate person with limited talent will outperform a passive person who possesses a greatest talent.) เมื่อเรามีความมุ่งมั่นมาจากข้างใน จะทำให้กิริยาท่าทาง คำพูด และการกระทำเต็มไปด้วยพลัง คำพูดจะน่าเชื่อถือ ผู้ฟังจะเกิดกำลังใจ มีความกระตือรือร้น และเต็มใจให้ความ ช่วยเหลืออย่างเต็มที่ อย่างไรก็ตาม คนที่มีความมุ่งมั่นจะต้องรู้จักจัดลำดับความสำคัญก่อนหลังในสิ่งที่ตนเองจะลงมือกระทำด้วย เพื่อช่วยให้ไม่หลงทางและเสียเวลาไปโดยใช้เหตุ
มีจินตนาการและความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ (Initiative)
การสร้างจินตนาการนั้นแตกต่างจากการฝันกลางวันตรงที่ว่า การจินตนาการจะต้องมีการลงมือกระทำด้วยเสมอ แต่การฝันกลางวันคือ การวาดภาพในอากาศ แต่ไม่เคยมีการลงมือกระทำ ใด ๆ เลย ผู้แต่งเชื่อว่าสิ่งนี้เป็นเพียงการรอคอยปัจจัยภายนอก ซึ่งอาจจะต้องใช้เวลาชั่วชีวิต ก็เป็นได้ในการรอคอยให้สิ่งต่าง ๆ เกิดขึ้น ในทางกลับกัน การพยายามริเริ่มความคิดที่สร้างสรรค์จะช่วยพัฒนาสติปัญญาและช่วยให้สิ่งต่าง ๆ ที่เราวาดฝันไว้เป็นรูปธรรมมากขึ้น
มีสมาธิ
สมาธิคือ การจดจ่อกับการทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งจนเสร็จแล้วจึงค่อยเปลี่ยนไปทำสิ่งอื่น โดยในระหว่างที่ลงมือกระทำจะต้องไม่คิดเรื่องอื่น ไม่คิดถึงเรื่องอดีต และต้องไม่กังวลกับอนาคตที่ยังมาไม่ถึง ผู้แต่งกล่าวว่า สมาธิจะเป็นสิ่งที่ช่วยให้เราเกิดความกระตือรือร้น และมุ่งมั่นใน การทำสิ่งต่าง ๆ ให้ประสบความสำเร็จ เพราะคนที่มีสมาธิจะไม่หัวเสียไปกลับเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ แต่จิตจะพุ่งไปสู่การเป้าหมายที่วางไว้เท่านั้น อย่างไรก็ตาม การมีสมาธิเพียงอย่างเดียวบางครั้งอาจจะเป็นการพยายามที่ผิดทางก็เป็นได้ จึงจำเป็นจะต้องมีสติอยู่ตลอดเวลา โดยการหมั่นถามตนเองว่า ขณะนี้เรากำลังทำสิ่งใด ทำไปเพื่ออะไร ตรงประเด็นหรือไม่ เราอยู่ห่างจากเป้าหมายมากน้อยเพียงใด และเราจะต้องทำสิ่งใดอีกบ้างเพื่อให้ไปถึงเป้าหมายดังกล่าว
มีการเตรียมตัว (Preparation)
การเตรียมตัวนั้นถือว่า เป็นการให้เกียรติคนฟัง เช่น ในกรณีที่เราจะต้องนำเสนอโครงงานให้เพื่อนร่วมงานฟัง เราควรเตรียมตัวไปล่วงหน้า ถึงแม้ว่าเราจะเคยนำเสนอโครงงานนี้มาแล้วก็ตามที เพราะในการนำเสนอแต่ละครั้งสถานการณ์ย่อมเปลี่ยนแปลงไป ทั้งในแง่ของกลุ่มผู้ฟัง ตัวผู้พูดเอง และสถานการณ์รอบข้างที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ฉะนั้น เราจึงไม่ควรประมาท ควรเตรียมตัวก่อนล่วงหน้าทุกครั้ง ทั้งในเรื่องการนำเสนอและการเจรจาทางธุรกิจ เป็นต้น
มีการฝึกฝน (Practice)
การฝึกฝนจะช่วยให้เรามีสติปัญญาที่ลุ่มลึกมากขึ้น และรู้จักตัวเองมากขึ้น เช่น เราถนัดทำงานในช่วงใดของวัน ในสภาพแวดล้อมแบบใด หรือเราชอบมอบหมายงานให้ลูกน้องแบบใด เป็นต้น
มีความมานะบากบั่นพากเพียร (Perseverance)
ผู้แต่งได้ยกตัวอย่างของวอลท์ ดิสนีย์ เพราะถึงแม้ว่าเขาจะต้องเพียรพยายามในการขอเงินกู้มากกว่าสามร้อยครั้งเพื่อใช้เป็นเงินทุนในการสร้างดิสนีย์แลนด์แห่งแรกในลอสแองเจลลิส แต่เขาก็ไม่ย่อท้อเพราะเขาเชื่อว่า สิ่งที่เขาทำเป็นสิ่งที่ถูกต้อง และสิ่งเดียวเท่านั้นที่จะทำให้เขาล้มเลิกความพยายามได้ก็คือ ความสำเร็จจาก การที่เขาพยายามทำสิ่งเหล่านั้นนั่นเอง
มีจิตใจเข้มแข็งและกล้าหาญ (Courage)
ความกล้าหาญในที่นี้คือ ความกล้าที่จะยอมรับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทั้งในแง่บวกและแง่ลบ ทั้งความสมหวังและความผิดหวัง เป็นต้น
มีความสามารถในการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ อยู่ตลอดเวลา (Teachability)
คนที่ประสบความสำเร็จจะมีจิตใจที่เปิดกว้างและคิดอยู่เสมอว่าตนเองนั้นมีความรู้เพียงน้อยนิด จำเป็นจะต้องค้นคว้าและเปิดใจยอมรับ ความรู้ใหม่ ๆ อยู่ตลอดเวลา ถึงแม้ว่าที่ผ่านมาเขาเหล่านั้นจะประสบความสำเร็จมากมายแค่ไหนก็ตาม
มีลักษณะนิสัยที่ดี (Character)
บุคลิกลักษณะในที่นี้คือ ในสายตาของผู้บังคับบัญชา เพื่อนร่วมงาน และลูกน้อง เราเป็นคนอย่างไร ฉะนั้น หากอยากจะประสบความสำเร็จ เราจะต้องพยายามปรับตัวและทำตัวเป็นคนดี นิสัยเดิมของเราจะเป็นอย่างไรก็ตาม หากเป็นนิสัยที่ไม่ดี ขัดต่อศีลธรรมจรรยา เราก็ต้องพยายามแก้ไขเพราะไม่มีคนใดที่อยากจะทำงานกับคนที่มีนิสัยที่ไม่ดี เช่น นิสัยพูดจาขวานผ่าซาก พูดจาเสียดสีนินทาว่าร้ายผู้อื่น หรือทำอะไรไม่รู้จักกาลเทศะ เป็นต้น นอกจากนั้น โดยทั่วไปแล้วมนุษย์มักเลือกที่จะจดจำนิสัยที่ไม่ดีของผู้อื่นมากกว่านิสัยที่ดี ฉะนั้น ผู้แต่งจึงแนะนำว่า ภาพพจน์และชื่อเสียงนั้นเป็นสิ่งที่จะต้องรักษาไว้ดั่งชีวิต เพราะพลาดครั้งเดียวเท่ากับทำลายภาพพจน์ที่ดีที่เคยสั่งสมมา ให้หายไปได้ภายในพริบตาเดียว
มีความสัมพันธ์ที่ดีกับคนรอบข้าง
การมีความสัมพันธ์ที่ดีกับคนรอบข้างนั้น ตัวเราเองจะต้องเป็นคนพยายามปรับตัวให้เข้ากับผู้อื่น มีน้ำใจ และพยายามอะลุ้มอล่วย ในสิ่งที่พอจะ ทำได้ โดยจะต้องไม่ขัดต่อหลักการความถูกต้อง นอกจากนั้น เราควรเลือกบุคคลที่จะคบหาสมาคมด้วย เพราะอารมณ์ ความคิด คำพูด และการกระทำของคนรอบข้างจะต้องกระทบเราอย่างหลีกเลี่ยงเสียไม่ได้ ฉะนั้น การเลือกคบคนไม่ควรตัดสินจากคำพูด รูปลักษณ์ภายนอก หรือการกระทำเพียงผิวเผินของฝ่ายตรงข้าม แต่วิธีที่ง่ายที่สุดคือ การสังเกตดูจากคนรอบข้างของคน ๆ นั้น เพราะสิ่งที่เหมือนกันย่อมดึงดูดกัน เช่น คนที่ซื่อสัตย์ย่อมทนไม่ได้ที่จะอยู่ร่วมกับคนที่โกง หลังจากใช้เวลาในการสังเกตในระดับหนึ่งแล้ว เมื่อจะต้องมีการปฏิสัมพันธ์โดยตรง กับคน ๆ นั้น ให้ใช้ความรู้สึกไปทาบว่า เรารู้สึกอย่างไรเมื่ออยู่ใกล้คน ๆ นี้ อึดอัดหรือสบายใจ และที่สำคัญคือ ความรู้สึกจะไม่มีเหตุผลจาก ปัจจัยภายนอกเข้าไปเกี่ยวข้องเช่น เพราะเขาหน้าตาดี มีฐานะดี หรือมีความสามารถเราจึงอยู่ด้วยแล้วสบายใจ เหล่านี้มิใช่ความรู้สึกแต่เป็น ความคิดที่ไม่สามารถเชื่อถือได้
มีความรับผิดชอบ (Responsibility)
เมื่อเกิดปัญหาจะต้องไม่โยนความผิดให้ผู้อื่นไม่ว่าในกรณีใด ๆ ก็ตาม
มีทักษะในการทำงานร่วมกับผู้อื่น (Teamwork)
การทำงานให้ประสบความสำเร็จจำเป็นต้องอาศัยบุคคลที่มีความสามารถในหลาย ๆ ด้านเข้ามาช่วยกันระดมสมอง เพื่อขยายขอบเขตของ จินตนาการออกไปให้กว้างไกลมากขึ้น ฉะนั้น คนที่จะประสบความสำเร็จได้จะต้องสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ และจะต้องเน้นเรื่องงาน เป็นหลักมากกว่าเรื่องส่วนตัว

กลยุทธ์ (Strategy) ในทางเศรษฐกิจ หมายถึง วิถีทางหรือแนวทางที่ถุกกำหนดขึ้นเพื่อ การระดมและจัดสรรการใช้ทรัพยากร ของประเทศ ในอันที่จะช่วยให้บรรลุถึงซึ่งเป้าหมายทางเศรษฐกิจ
 ในทางธุรกิจปัจจุบัน หมายถึง กระบวนการในการกำหนดเป้าหมายที่แน่ชัดของธุรกิจทั้งในระยะสั้นและระยะยาว การสร้างหรือพัฒนา วิถีทางในทางปฏิบัติ ตลอดจนการระดมแลจัดสรรทรัพยากรขององค์การธุรกิจ เพื่อให้สามารถบรรลุถึงซึ่งเป้าหมาย ที่ได้ถูกกำหนดไว้ อย่างมีประสิทธิผล
 โดยทั่วไปความหมายของกลยุทธ์ประกอบด้วยปัจจัย 2 ประการ คือ เป้าหมายหรือ วัตถุประสงค์ที่ต้องการจะบรรลุถึง และการกำหนดแนวทาง หรือวิธีการในทางปฎิบัติ
 การพัฒนากลยุทธ์ในองค์กร ประกอบด้วย 2 ขั้นตอนใหญ่ คือ การสร้างกลยุทธ์ (strategy formation) และการนำกลยุทธ์ไปใช้ในทางปฏิบัติ (strategy implementation)
 การสร้างกลยุทธ์ (strategy formation) เป็นกระบวนการต่อเนื่องประกอบด้วย
(1) การประเมินจุดอ่อน-จุดแข็งขององค์กร (2) การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมเพื่อกำหนดโอกาสธุรกิจ-ความเสี่ยง (3) การประเมินทัศนคติ ค่านิยมและความเชื่อมั่นของผู้นำในองค์กร และ(4) การตระหนักถึงข้อจำกัดทางสังคมและกฎหมาย ซึ่งจะเห็นได้ว่าการประเมินวิเคราะห์ในองค์ประกอบ (1) และ (3) เป็นการวิเคราะห์ปัจจัยภายในองค์กร ในขณะที่ (2) และ (4) เป็นการวิเคราะห์ปัจจัยภายนอกองค์กร
 การนำกลยุทธ์ไปใช้ในทางปฏิบัติ (strategy implementation) จะขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพการบริหารขององค์กร เช่น การจัดสรรและระดมทรัพยากรไปใช้ให้สอดคล้องกับกลยุทธ์ที่วางไว้ การแบ่งและจัดสรรงาน โครงสร้างองค์กรภายในการควบคุม และวัดประสิทธิผลของการดำเนินงานอย่างเป็นระบบ
 การประเมินว่ากลยุทธ์ที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสมต่อองค์กรหรือไม่มีหลักเกณฑ์กว้างๆ 10 ประการดังนี้
    1. ความเป็นไปได้ในการบรรลุเป้าหมายที่ตั้ง
    2. แผนปฏิบัติการครอบคลุม สอดคล้องกับเป้าหมายที่ตั้ง และสนับสนุนซึ่งกันและกัน
    3. กลยุทธ์เหมาะสมกับโอกาส (opportunity) ที่มี
    4. กลยุทธ์เหมาะสมกับความเสี่ยง (threat) ที่มี หรือคุ้มกับโอกาสการทำกำไร
    5. เป้าหมายและแผนปฏิบัติงาน เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมในขณะนั้น
    6. เป้าหมายและแผนปฏิบัติงาน เหมาะสมกับกำลังและความสามารถ
    7. เป้าหมายและแผนปฏิบัติงาน สอดคล้องกับจุดเด่นขององค์กร
    8. เป้าหมายและแผนปฏิบัติงาน สอดคล้องกับทัศนคติ ค่านิยม ความเชื่อของผู้นำองค์กร
    9. ผู้นำกลยุทธ์ไปปฏิบัติมีความเข้าใจเป้าหมายและแผนปฏิบัติงานอย่างถ่องแท้
    10. ความสามารถขององค์กรในการบริหารจัดการที่จะนำกลยุทธ์ไปใช้อย่าง มีประสิทธิภาพ

1. การตกหลุมพรางกับการสร้างภาพให้ตัวเอง (Identity trap)
การสร้างภาพในที่นี้คือ การทำตัวยุ่งอยู่ตลอดเวลา ขยันขันแข็ง ทุ่มเทให้กับการทำงานทุกวินาทีจนแทบจะไม่มีเวลาว่าง แม้แต่เวลาทานอาหาร ก็ต้องคุยเรื่องงาน กลับบ้านก็เอางานกลับไปทำ พฤติกรรมดังกล่าวดูผิวเผินอาจจะเป็นเรื่องดี แต่ผู้แต่งกล่าวว่า สิ่งเหล่านี้จะเป็นการสร้าง ความ อึดอัด ความกระวนกระวายใจ ความเร่งรีบ และความตึงเครียดให้สั่งสมอยู่ในจิตใจโดยไม่รู้ตัว เหมือนลากโซ่ตรวนติดตามตัว ไปตลอดเวลา สุดท้ายมักจบลงที่คำว่า ทำงานไม่ทัน ทำงานไม่เสร็จ ทำงานไม่ดี เพราะความกังวลที่สะสมในจิตใจเป็นตัวบั่นทอนประสิทธิภาพในการทำงาน เมื่อไม่มีผลงาน ก็เกิดความเครียด ความกังวลใจวนเวียนเป็นวัฏจักรไม่มีที่สิ้นสุด และนอกจากนั้น ผู้แต่งยังเชื่อว่า การสร้างภาพเป็น คนที่มีงาน รัดตัวนั้น อาจจะเป็นการโกหกตัวเอง เพื่อหนีความจริง เพราะรู้ตัวดีว่า ตนเองไม่มีผลงาน
วิธีทางแก้ไขมีดังนี้
รู้ว่าจุดไหนคือเพียงพอแล้ว และเลือกทำแต่สิ่งที่สำคัญ และสร้างผลประโยชน์แก่องค์กรมากที่สุด บอกตัวเองว่า ชีวิตนี้ไม่ได้เกิดมาเพื่อทำงานอย่างเดียว บอกตัวเองว่า การใช้เวลาในแต่ละวันจะต้องช่วยให้คุณภาพชีวิตดีขึ้นอย่าแคร์สายตาของผู้อื่นมากนัก แต่ให้รู้ตัวว่าขณะนี้ตนเองกำลังทำอะไรและทำเพื่ออะไร
2. การตกหลุมพรางกับระบบงานในองค์กร (Organization trap)
ในที่นี้คือการตอบอีเมลล์ ตอบจดหมาย หรือรับโทรศัพท์ เป็นต้น งานดังกล่าวเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ผู้แต่งเปรียบเหมือน การพายเรือใน กระแสน้ำ อันเชี่ยวกราก และถึงแม้ว่าจะหยุดกระแสน้ำไม่ได้ แต่ผู้แต่งมีวิธีชะลอความแรงของกระแสน้ำได้โดยการสร้างเขื่อน มีด้วยกัน 4 วิธี ดังนี้
1.หยุดทุกกิจกรรมที่ไม่จำเป็นเช่น คุยโทรศัพท์ในเรื่องสัพเพเหระกับเพื่อนฝูงตอบอีเมลล์ที่ไม่เร่งด่วน หรือเล่นอินเตอร์เน็ต เป็นต้น
2.ลงมือทำในสิ่งที่สร้างประโยชน์ให้กับองค์กร
3.ประเมินตัวเองว่าสามารถหยุดกิจกรรมที่ไร้ประโยชน์ได้จริงหรือไม่
4.ประเมินตัวเองว่าได้ลงมือทำสิ่งที่มีประโยชน์ต่อองค์กรตามที่คิดไว้บ้างหรือยัง หรือทำแล้วมีความคืบหน้าอย่างไรบ้าง
3. การตกหลุมพรางกับการชอบทำงานทุกอย่างด้วยตนเอง (Control trap)
ผู้แต่งเชื่อว่าคนที่เลือกทำงานเองทั้งหมด มีเหตุผลอยู่ 4 แบบคือ
1.Ego สูงไม่ไว้ใจใคร คิดว่าตัวเองเก่งที่สุด
2.ไม่มั่นใจในความสามารถของตนเองกลัวคนอื่น จะดูถูกดูแคลน จึงเลือกที่จะทำเองทั้งหมด
3.คิดแบบตื้น ๆ ว่าทำเองก็ได้ ไม่ต้องไปพึ่งใคร
4.เป็นนิสัยส่วนตัว
การทำงานด้วยตัวเองทั้งหมดเป็น การใช้เวลาไปโดยเปล่าประโยชน์แทนที่จะเอาเวลาไปสร้างผลงานอย่างอื่นที่สำคัญมากกว่า และยังเป็นการแสดงถึง การขาดความสามารถในการทำงานเป็นทีมด้วย สิ่งเหล่านี้สามารถแก้ไขได้โดย การรู้จักกระจายงานไปให้ผู้ร่วมงานหรือลูกน้องทำบ้าง และควรหมั่นเข้าหาหัวหน้าให้ท่านชี้นำแนวทางที่ถูกต้อง ในการสร้างผลงาน แก่องค์กร เพื่อประหยัดเวลาในการลองผิดลองถูก
4. การตกหลุมพรางกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ (Technology trap)
ในที่นี้คือการเสียเวลากับการรับโทรศัพท์ เล่นอินเตอร์เน็ต และโดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้อุปกรณ์อิเลคทรอนิก รุ่นใหม่ ๆ ที่จะต้องเสียเวลากับการ ทดลองใช้เสียเวลาอ่านคู่มือ ดังนั้น ผู้แต่งจึงแนะนำว่า การให้ผู้ที่เคยใช้เครื่องดังกล่าว มาสาธิตวิธีการใช้จะเป็นการประหยัดเวลา และสะดวก กว่าการศึกษาด้วยตนเอง นอกจากนั้น ผู้แต่งยังให้ข้อคิดว่า การใช้อุปกรณ์ที่ธรรมดาไม่ต้องไฮเทคมากนัก จะประหยัดเวลามากกว่า และได้ประโยชน์เหมือน ๆ กัน เช่นการจดบันทึกข้อมูลในสมุดย่อมรวดเร็วกว่าการคีย์ข้อมูลลงในอิเลคโทรนิคไดอารี่หรือPalm เป็นต้น
5. การตกหลุมพรางกับการพยายามสร้างผลงานที่มากเกินไป (Quota trap)
ในที่นี้คือการพยายามสร้างฐานลูกค้าให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ โดยผู้แต่งได้จำแนกประเภทของลูกค้าที่ควรหลีกเลี่ยงและที่ควรรักษาไว้ ดังนี้
กลุ่มลูกค้าที่ควรหลีกเลี่ยง
-จุกจิกและซื้อสินค้าน้อย
-จุกจิกแต่ก็ซื้อสินค้ามาก ประเภทนี้ต้องหลีกเลี่ยงเพราะทำให้เราเสียเวลามากจนเกินไป
กลุ่มลูกค้าที่ควรรักษาไว้
-ซื้อมาก ไม่เรื่องมากและช่วยแนะนำคนอื่นมาซื้อสินค้าเรา
-ซื้อน้อย แต่ไม่เรื่องมากและชอบสินค้าของเรา กลุ่มนี้ควรรักษาไว้เพราะเมื่อมีโอกาสลูกค้ากลุ่มนี้จะซื้อสินค้าของเราอีกอย่างแน่นอน
6. การตกหลุมพรางกับการกลัวความผิดพลาด (Failure trap)
คือการไม่กล้าเสนอผลงานมากนักเพราะกลัวจะผิดพลาด ส่งผลให้เวลาเสนอผลงานในที่ประชุม จะไม่มั่นใจและเสียเวลามาก เพราะมีแต่ความ หวาดวิตกอยู่ตลอดเวลา ผู้แต่งเสนอทางแก้คือให้ตั้งเป้าหมายให้สูงไว้ก่อนและต้องรู้จักเลือกทำงานที่สำคัญและสร้างประโยชน์ให้องค์กร
7. การตกหลุมพรางกับค่านิยมของสังคม (Party trap)
หลุมพรางสุดท้ายในที่นี้คือ การเห่อเหิมไปตามค่านิยมของสังคม เช่นทำงานหนักเพื่อเก็บเงินซื้อรถรุ่นใหม่ มือถือรุ่นล่าสุด หรือบ้านราคา หลายสิบล้าน เป็นต้น เหล่านี้เป็นความคิดที่ผิดเ พราะชีวิตที่แท้จริงมีหลายมิติเกินกว่าเรื่องวัตถุ คุณภาพชีวิตที่ดีจะต้องประกอบด้วย การมีสุขภาพที่ดี การมีความสัมพันธ์ที่ดีกับคนรอบข้าง การมีโลกทัศน์ที่กว้างไกล การสร้างประโยชน์กลับคืนสู่สังคม และมีเวลาเหลือพอ ที่จะไปทำสิ่งต่าง ๆ 

กฎธรรมชาติเกี่ยวกับมนุษย์
  • มนุษย์ทั้งโลกกลัวการถูกปฏิเสธ ถ้าเราสามารถทำอะไรให้ใครได้โดยไม่เดือดร้อนหรือไม่ผิดศีลธรรมเราก็ควรทำ
  • มนุษย์ทุกคนต้องการการยอมรับ ดังนั้นการสร้างความพันธ์กับคนอื่นจึงต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของการให้เกียรติกัน
  • มนุษย์มองสถานการณ์ต่างๆ จากหลักการของผลประโยชน์ ทั้งนี้ไม่ได้หมายความถึงในรูปของตัวเงินเพียงอย่างเดียว หากแต่หมายถึงประโยชน์ในด้านอื่นๆ ด้วย เช่นประโยชน์ด้านความพึงพอใจ เป็นต้น ดังนั้นในการทำกิจการใดๆ ให้ยึดหลัก Win Win Situation คือการได้รับประโยชน์ด้วยกันทั้ง 2 ฝ่าย
  • มนุษย์ชอบคุยแต่เรื่องของตัวเอง ไม่ชอบฟังเรื่องของคนอื่น ดังนั้นให้ฝึกการเป็นนักฟัง
  • มนุษย์นั้นก่อนจะรับฟังและให้ความร่วมมือกับสิ่งใดๆ เขาจะต้องเข้าใจในสิ่งนั้นๆก่อน ดังนั้นเราจะต้องมีความสามารถใน การสื่อความให้อีกฝ่ายเข้าใจเราได้
  • มนุษย์มักจะไว้วางใจเฉพาะคนที่เขาชอบหน้าเรา ดังนั้นเราควรมีทัศนคติที่ดีต่อโลกและต่อมนุษย์ ไม่ตั้งจิตเป็นศัตรูแล้ว เขาก็ไว้เนื้อเชื่อใจเราเอง
  • มนุษย์ทุกคนมีการสวมหน้ากาก หรือSocial Mask คือทุกคนจะต้องมีบทบาทหน้าที่หรือสวมหัวโขนอยู่ สิ่งที่เราเห็นอาจ ไม่ใช่สิ่งที่เป็นจริง ดังนั้นให้มองเข้าไปถึงตัวตนที่แท้จริงของเขาอย่าไปติดอยู่กับภาพที่เห็นแค่ภายนอก
2. You create your own experience ตัวเราเองเป็นคนกำหนดประสบการณ์ชีวิตของเรา และกำหนดได้ด้วยความคิด ดังนั้นอย่าโทษ ปัจจัยภายนอกว่าเป็นสิ่งที่มาทำให้เราผิดหวัง ผู้ที่เป็นนักปราชญ์จะต้องรู้ว่าควรหยิบเรื่องไหนมาคิด และจะหยิบเรื่องนั้นมาคิดในเวลาไหน ตัวเราเองมีส่วนอย่างมากในการกำหนดผลลัพธ์ของชีวิตเรา
3. Reciprocity หลักต่างตอบแทนหรือต่างปฏิบัติ นั่นคืออะไรกับใครเอาไว้ก็จะได้อย่างนั้น เช่นถ้าเราพูดจาสุภาพกับเขา เขาก็จะใช้คำสุภาพ กับเราดังนั้นถ้าเราอยากได้สิ่งใดจากผู้อื่นจงให้สิ่งนั้นกับผู้อื่นก่อน
4. You can’t change what you don’t acknowledge ปัญหานั้นๆ ได้ก่อน เช่น ต้องเกิดการยอมรับก่อนว่า เราเป็นคนที่ไม่มีความเชื่อมั่นในตนเอง เราจึงจะสามารถเปลี่ยนแปลงตัวเองได้
5. Life Rewards Action ชีวิตจะให้รางวัลกับคนที่ลงมือกระทำ สำหรับคนที่มีความคิดแต่ยังไม่เคยลงมือปฏิบัติ ให้ใช้วิธีการ มรณานุสติ คือหมั่นถามตนเองว่าตอนนี้อายุเท่าไร และจะเหลือเวลาใช้ชีวิตอยู่บนโลกนี้อีกกี่ปี ถ้าไม่ทำตอนนี้จะไปทำตอนไหน เป็นต้น
6. ตัวเราเองที่เป็นคนให้ความหมายกับชีวิต บางคนเกิดมาในครอบครัวที่ลำบาก แต่มีความอดทนใฝ่หาความรู้ จนชีวิตประสบความสำเร็จได้ แสดงให้เห็นว่าตัวเราเองที่เป็นคนให้ความหมายกับชีวิต
7. Life is manage not cure ชีวิตต้องมีการบริหารจัดการ มิใช่การหาทางแก้ไขเมื่อเกิดปัญหา เราต้องเป็นผู้จัดการชีวิตของตนเอง และถามผู้จัดการชีวิตคนนี้ว่า ได้ใช้ประโยชน์จากศักยภาพที่มีอยู่ในตัวเรานี้ถึงที่สุดหรือยัง, ได้เคยช่วยสร้างโอกาสต่างๆ ให้ชีวิตบรรลุถึง วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้หรือยัง, เคยได้ดูแลให้เกิดดุลยภาพระหว่างสุขภาพกาย จิต และอารมณ์หรือไม่ และสุดท้ายเมื่อเกิดปัญหา ผู้จัดการชีวิตคนนี้ใช้วิธีการแก้ปัญหาหรือหนีปัญหา คนส่วนใหญ่มักทำตัวเป็น Passenger หรือผู้โดยสารชีวิต คือปล่อยชีวิตไปเรื่อยๆ โดยไม่ Manage ชีวิต เพราะไม่ชอบการตัดสินใจ เนื่องจากในการตัดสินใจนั้นมีความเสี่ยง และต้อง get out of our comfort zone
8. There’s power in forgiveness การให้อภัยมีพลังเหนือ ความขุ่นใจอันเกิดจากความอาฆาตพยาบาท ความโกรธแค้น เป็นสาเหตุหนึ่งของอาการเจ็บป่วย แต่การให้อภัยมีพลังอำนาจที่สูงกว่า สามารถทำให้โรคภัยและความทุกข์ต่างๆ ได้ และยังสามารถพลิก ความสัมพันธ์ของเรากับคนที่เราโกรธจากสภาพร้ายสุดมาเป็นสภาพดีสุดได้ด้วย ดังพุทธโอวาทที่ “พึงชนะความโกรธ ด้วยการให้อภัย”
9. You have to name it to claim it การจะได้อะไรมานั้นเราจะต้องรู้จักกับสิ่งนั้นก่อน เช่นถ้าคุณอยากประสบความสำเร็จในชีวิต แล้วคุณรู้หรือไม่ว่าลึกๆ แล้วชีวิตต้องการอะไร รู้หรือไม่ว่าอะไรสำคัญที่สุดในชีวิต เพราะตราบใดที่เรายังบอกไม่ได้ว่า สำหรับตัวเราแล้วอะไรคือ ความสุข อะไรคือความสำเร็จ ก็ไม่ต้องพูดถึงจุดทีเรียกว่า outcome เพราะจะกลายเป็นการเข็นครกขึ้นภูเขาผิดลูก สรุปก็คือ คุณรู้หรือไม่ว่าก่อนจากโลกนี้ไป คุณต้องการจะบรรลุอะไร 

วันจันทร์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

การทำประกัน เป็นการวางแผนป้องกันไม่ให้ท่านหรือครอบครัวของท่านเดือดร้อน ในยามที่มีเหตุการณ์ไม่คาดฝันเกิดขึ้น เช่น การเสียชีวิตของบุคคลผู้เป็นกำลังสำคัญในการหารายได้ให้ครอบครัว หรือการสูญเสียสินทรัพย์ที่สำคัญ ซึ่งในหลายๆ กรณีสินทรัพย์ที่สำคัญก็คือบุคคล
การทำประกันภัยเป็นการจัดการความเสี่ยงรูปแบบหนึ่ง โดยการโอนความเสี่ยงไปให้ผู้อื่นรับแทน ถือเป็นการเตรียมการไว้ช่วยบรรเทา ความเสียหาย หากเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝัน ขึ้น เช่น หากเกิดไฟไหม้ ก็จะได้เงินค่าสินไหม หรือเงินชดเชย ซึ่งจะช่วยแบ่งเบาภาระทางการเงิน หากต้องมีการสร้างขึ้นมาใหม่ อย่างไรก็ดี การทำประกันภัยไม่ได้ช่วยลดโอกาสเกิดปัญหา คือความเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาขึ้นก็ยังเท่าเดิม เพียงแต่ว่าเมื่อเกิดขึ้นแล้ว เราไม่ต้องแบกรับภาระไว้แต่ลำพัง
แนวคิดของการประกันภัยคือการเฉลี่ยความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับบุคคลใด บุคคลหนึ่งไปยังกลุ่มบุคคลที่เผชิญกับ ความเสี่ยงประเภทเดียวกัน และมีโอกาส คล้ายๆ กันที่จะรับความสูญเสียหรือความเสียหายจากความเสี่ยงนั้นๆ
การประกันแยกเป็นสามประเภทหลักๆ คือ การประกันภัยบุคคล ได้แก่การประกันชีวิต ประกันอุบัติเหตุ ประกันสุขภาพ การประกันทรัพย์สิน ได้แก่ ประกันอัคคีภัย ประกันภัยรถยนต์ ประกันทางทะเลและขนส่ง และการประกันภัยเบ็ดเตล็ด และ การประกันภัยความรับผิดตามกฎหมาย เช่น การประกันความรับผิดชอบของบุคคลต่อบุคคลอื่น การประกันภัยของผู้ประกอบวิชาชีพเฉพาะต่อบุคคลอื่น และ การประกันภัยความรับผิดชอบของธุรกิจต่อบุคคลอื่น
ที่เราคุ้นเคยกันเป็นอย่างดีก็คือการประกันชีวิต เพราะชีวิตเป็นสิ่งที่มีค่าที่สุด เมื่อไม่สามารถใช้ชีวิตได้เยี่ยงคนปกติ อาจจะเนื่องมาจาก การชราภาพ ทุพพลภาพ หรือจากการเสียชีวิต บริษัทประกันชีวิตจะจ่ายเงินตามจำนวนที่ระบุไว้ให้แก่ผู้เอาประกันภัยหรือ ผู้รับประโยชน์ตามที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์ประกันชีวิต
กรมธรรม์ประกันชีวิต ไม่ว่าจะเรียกชื่อเฉพาะว่าอะไร จะมีหลักการคล้ายกันหมดคือ มีอยู่ 3 ประเภท และแบ่งเป็น 4 แบบ
กรมธรรม์ประเภทแรกคือ ประเภทสามัญ ประเภทนี้จะมีจำนวนเงินเอาประกันค่อนข้างสูง โดยทั่วไปกำหนดการจ่ายเบี้ยเป็นรายปี รายหกเดือน หรือรายไตรมาส หากจำนวนเงินเอาประกันสูง ก่อนทำประกันบริษัทประกันชีวิตอาจกำหนดให้ต้องตรวจสุขภาพ จะชำระเบี้ยประกันมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับจำนวนเงินเอาประกันและอายุของผู้เอาประกัน
ประเภทที่สองคือประเภทอุตสาหกรรม จำนวนเงินเอาประกันค่อนข้างต่ำ จึงไม่ต้องตรวจสุขภาพ แต่อาศัยข้อมูลจากคำแถลงในใบคำขอเอาประกันภัย กรมธรรม์ประเภทนี้โดยทั่วไปกำหนดชำระเบี้ยประกันรายเดือน
ส่วนประเภทที่ สาม เป็น ประเภทกลุ่ม คือรับประกันหลายคนในกรมธรรม์เดียวกัน การคิดเบี้ยประกันจะพิจารณาจากค่าเฉลี่ยของบุคคลในกลุ่ม การประกันประเภทนี้อัตราเบี้ยประกันจะถูกกว่าการประกันภัยประเภทอื่นๆ
นอกจากแบ่งตามประเภทแล้ว ยังแบ่งลักษณะได้เป็น 4 แบบ คือ
  1. แบบชั่วระยะเวลา (Term Insurance) ซึ่งจะระบุเวลาคุ้มครองการเสี่ยงภัยที่เกิดจากการเสียชีวิต เมื่อครบสัญญาไม่มีข้อผูกมัดใดๆ และไม่มีมูลค่าใดๆ คืนเงินให้ด้วย
  2. แบบตลอดชีพ (Whole Life Insurance) โดยบริษัทประกันจะจ่ายเงินตามที่ระบุให้กับผู้รับประโยชน์เมื่อผู้เอาประกัน ภัยเสียชีวิต ไม่คำนึงว่าจะเสียชีวิตเมื่อใด แต่ถ้าผู้เอาประกันมีชีวิตอยู่ถึงอายุ 99 ปี บริษัทจะจ่ายเงินให้ผู้เอาประกันแทน ดิฉันมองว่าเสมือนให้รางวัลที่ท่านอยู่มาจนใกล้จะครบร้อยปี
  3. แบบที่สามเป็นแบบสะสมทรัพย์ (Endowment Insurance) ซึ่งถือเสมือนเป็นการออมรูปแบบหนึ่ง คือถ้าเสียชีวิตในระหว่างช่วงเวลาที่คุ้มครอง บริษัทประกันก็จะจ่ายเงินให้แก่ผู้รับประโยชน์ แต่ถ้าผู้เอาประกันยังมีชีวิตอยู่เมื่อครบสัญญาที่กำหนด เช่น 10 ปี 20 ปี บริษัทประกันก็จะจ่ายเงินให้ผู้เอาประกัน ณ วันครบสัญญา เบี้ยประกันที่จ่ายไปในแต่ละปีก็นำไปใช้คุ้มครองการเสี่ยงภัยส่วนหนึ่ง และออมไว้ใช้ในยามเกษียณอีกส่วนหนึ่ง
  4. แบบเงินได้ประจำ (Annuities Insurance) คล้ายๆกับแบบที่สาม แต่เมื่อครบสัญญา บริษัทประกันภัยจะจ่ายเงิน จำนวนหนึ่ง ให้เป็นประจำ ซึ่งโดยทั่วไปจะจ่ายให้เป็นประจำทุกปี จนครบเงื่อนไขตามสัญญา เสมือนหนึ่งบริษัทจ่ายเงินบำนาญ ให้ผู้เอาประกันหลังเกษียณอายุงาน แทนที่จะจ่ายเป็นเงินก้อนหนึ่งเหมือนบำเหน็จอย่างในแบบสะสมทรัพย์

;;

บทความที่ได้รับความนิยม