กฎธรรมชาติเกี่ยวกับมนุษย์
- มนุษย์ทั้งโลกกลัวการถูกปฏิเสธ ถ้าเราสามารถทำอะไรให้ใครได้โดยไม่เดือดร้อนหรือไม่ผิดศีลธรรมเราก็ควรทำ
- มนุษย์ทุกคนต้องการการยอมรับ ดังนั้นการสร้างความพันธ์กับคนอื่นจึงต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของการให้เกียรติกัน
- มนุษย์มองสถานการณ์ต่างๆ จากหลักการของผลประโยชน์ ทั้งนี้ไม่ได้หมายความถึงในรูปของตัวเงินเพียงอย่างเดียว หากแต่หมายถึงประโยชน์ในด้านอื่นๆ ด้วย เช่นประโยชน์ด้านความพึงพอใจ เป็นต้น ดังนั้นในการทำกิจการใดๆ ให้ยึดหลัก Win Win Situation คือการได้รับประโยชน์ด้วยกันทั้ง 2 ฝ่าย
- มนุษย์ชอบคุยแต่เรื่องของตัวเอง ไม่ชอบฟังเรื่องของคนอื่น ดังนั้นให้ฝึกการเป็นนักฟัง
- มนุษย์นั้นก่อนจะรับฟังและให้ความร่วมมือกับสิ่งใดๆ เขาจะต้องเข้าใจในสิ่งนั้นๆก่อน ดังนั้นเราจะต้องมีความสามารถใน การสื่อความให้อีกฝ่ายเข้าใจเราได้
- มนุษย์มักจะไว้วางใจเฉพาะคนที่เขาชอบหน้าเรา ดังนั้นเราควรมีทัศนคติที่ดีต่อโลกและต่อมนุษย์ ไม่ตั้งจิตเป็นศัตรูแล้ว เขาก็ไว้เนื้อเชื่อใจเราเอง
- มนุษย์ทุกคนมีการสวมหน้ากาก หรือSocial Mask คือทุกคนจะต้องมีบทบาทหน้าที่หรือสวมหัวโขนอยู่ สิ่งที่เราเห็นอาจ ไม่ใช่สิ่งที่เป็นจริง ดังนั้นให้มองเข้าไปถึงตัวตนที่แท้จริงของเขาอย่าไปติดอยู่กับภาพที่เห็นแค่ภายนอก
2. You create your own experience ตัวเราเองเป็นคนกำหนดประสบการณ์ชีวิตของเรา และกำหนดได้ด้วยความคิด ดังนั้นอย่าโทษ ปัจจัยภายนอกว่าเป็นสิ่งที่มาทำให้เราผิดหวัง ผู้ที่เป็นนักปราชญ์จะต้องรู้ว่าควรหยิบเรื่องไหนมาคิด และจะหยิบเรื่องนั้นมาคิดในเวลาไหน ตัวเราเองมีส่วนอย่างมากในการกำหนดผลลัพธ์ของชีวิตเรา
3. Reciprocity หลักต่างตอบแทนหรือต่างปฏิบัติ นั่นคืออะไรกับใครเอาไว้ก็จะได้อย่างนั้น เช่นถ้าเราพูดจาสุภาพกับเขา เขาก็จะใช้คำสุภาพ กับเราดังนั้นถ้าเราอยากได้สิ่งใดจากผู้อื่นจงให้สิ่งนั้นกับผู้อื่นก่อน
4. You can’t change what you don’t acknowledge ปัญหานั้นๆ ได้ก่อน เช่น ต้องเกิดการยอมรับก่อนว่า เราเป็นคนที่ไม่มีความเชื่อมั่นในตนเอง เราจึงจะสามารถเปลี่ยนแปลงตัวเองได้
5. Life Rewards Action ชีวิตจะให้รางวัลกับคนที่ลงมือกระทำ สำหรับคนที่มีความคิดแต่ยังไม่เคยลงมือปฏิบัติ ให้ใช้วิธีการ มรณานุสติ คือหมั่นถามตนเองว่าตอนนี้อายุเท่าไร และจะเหลือเวลาใช้ชีวิตอยู่บนโลกนี้อีกกี่ปี ถ้าไม่ทำตอนนี้จะไปทำตอนไหน เป็นต้น
6. ตัวเราเองที่เป็นคนให้ความหมายกับชีวิต บางคนเกิดมาในครอบครัวที่ลำบาก แต่มีความอดทนใฝ่หาความรู้ จนชีวิตประสบความสำเร็จได้ แสดงให้เห็นว่าตัวเราเองที่เป็นคนให้ความหมายกับชีวิต
7. Life is manage not cure ชีวิตต้องมีการบริหารจัดการ มิใช่การหาทางแก้ไขเมื่อเกิดปัญหา เราต้องเป็นผู้จัดการชีวิตของตนเอง และถามผู้จัดการชีวิตคนนี้ว่า ได้ใช้ประโยชน์จากศักยภาพที่มีอยู่ในตัวเรานี้ถึงที่สุดหรือยัง, ได้เคยช่วยสร้างโอกาสต่างๆ ให้ชีวิตบรรลุถึง วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้หรือยัง, เคยได้ดูแลให้เกิดดุลยภาพระหว่างสุขภาพกาย จิต และอารมณ์หรือไม่ และสุดท้ายเมื่อเกิดปัญหา ผู้จัดการชีวิตคนนี้ใช้วิธีการแก้ปัญหาหรือหนีปัญหา คนส่วนใหญ่มักทำตัวเป็น Passenger หรือผู้โดยสารชีวิต คือปล่อยชีวิตไปเรื่อยๆ โดยไม่ Manage ชีวิต เพราะไม่ชอบการตัดสินใจ เนื่องจากในการตัดสินใจนั้นมีความเสี่ยง และต้อง get out of our comfort zone
8. There’s power in forgiveness การให้อภัยมีพลังเหนือ ความขุ่นใจอันเกิดจากความอาฆาตพยาบาท ความโกรธแค้น เป็นสาเหตุหนึ่งของอาการเจ็บป่วย แต่การให้อภัยมีพลังอำนาจที่สูงกว่า สามารถทำให้โรคภัยและความทุกข์ต่างๆ ได้ และยังสามารถพลิก ความสัมพันธ์ของเรากับคนที่เราโกรธจากสภาพร้ายสุดมาเป็นสภาพดีสุดได้ด้วย ดังพุทธโอวาทที่ “พึงชนะความโกรธ ด้วยการให้อภัย”
9. You have to name it to claim it การจะได้อะไรมานั้นเราจะต้องรู้จักกับสิ่งนั้นก่อน เช่นถ้าคุณอยากประสบความสำเร็จในชีวิต แล้วคุณรู้หรือไม่ว่าลึกๆ แล้วชีวิตต้องการอะไร รู้หรือไม่ว่าอะไรสำคัญที่สุดในชีวิต เพราะตราบใดที่เรายังบอกไม่ได้ว่า สำหรับตัวเราแล้วอะไรคือ ความสุข อะไรคือความสำเร็จ ก็ไม่ต้องพูดถึงจุดทีเรียกว่า outcome เพราะจะกลายเป็นการเข็นครกขึ้นภูเขาผิดลูก สรุปก็คือ คุณรู้หรือไม่ว่าก่อนจากโลกนี้ไป คุณต้องการจะบรรลุอะไร