Custom Search

MBA Holiday

วันจันทร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

ห้าวิธีที่ผู้จัดการสามารถใช้ประโยชน์จากการจำลองสถานการณ์เพื่อรับมือกับความหายนะ

ตึกที่สูงที่สุดในเมืองนิวออร์ลีน ตึกที่มีความสูง 51 ชั้นและมีค่าเช่าราคาแพงลิ่ว เป็นที่รู้จักกันดีในนามของ เลขที่ 1 เชลล์ สแควร์ เนื่องจากบริษัท เชลล์ ออย์ มีหน่วยงานด้านปฏิบัติการหลายหน่วยตั้งอยู่
ณ ที่แห่งนี้ บริษัท เชลล์ เป็นบริษัทที่ขึ้นชื่อว่านิยมใช้เทคนิคที่เรียกว่า การจำลองสถานการณ์ เพื่อคาดคะเนอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้ และบัดนี้ บริษัท เชลล์ ก็ต้องละทิ้งตึกของตนเอง เนื่องจากเหตุการณ์ดังกล่าว

แข็งแกร่งรึ ? ก็ไม่เชิง เช่นเดียวกับบริษัทขนาดใหญ่ส่วนมาก บริษัท เชลล์ ก็มีแผนการเพื่อรับมือกับความหายนะที่เป็นรูปธรรม ซึ่ง บริษัท เชลล์ ก็ได้ใช้แผนนี้เมื่อครั้งที่ถูกถล่มโดยพายุ แคทธรินน่า และการวางแผนครั้งนี้ก็ไม่จำเป็นต้องใช้อะไรที่เลิศหรู แม้จะห่างไกลจากเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นจริง การจำลองสถานการณ์จะถูกออกแบบมา เพื่อทำให้เห็นว่าการที่เมืองนิวออร์ลีนถูกพายุเฮอริเคนถล่มนั้นเป็นสิ่งที่คาดเดาได้ และการจำลองเสถานะการณ์นี้เองได้ถูกนำมาใช้ในการคาดคะเนความหายนะที่เกิดขึ้นในอดีต คุณไม่สามารถจะหยุดเหตุการณ์เหล่านี้ได้ สิ่งที่คุณทำได้ก็คือเตรียมรับมือกับมัน ซึ่งบริษัท เชลล์ ( เช่นเดียวกันกับบริษัทอื่นๆที่ได้รับผลกระทบ ) ก็กำลังดำเนินการอยู่

จุดที่สำคัญกว่าก็คือขณะที่พายุแคทธรินน่า เป็นเสมือนยักษ์ใหญ่ในบรรดาพายุด้วยกัน แต่มันก็เป็นเพียงจุดเล็กๆในเรื่องของการวิเคราะห์ความเสี่ยง สิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับผู้จัดการทั้งหลายพึงระลึกได้เกี่ยวกับพายุแคทธรินน่าก็คือ ถ้ามันจะทำให้คุณคิดถึงความเสี่ยงอย่างจริงจังขึ้นมา มันจะเป็นสิ่งที่ดีมาก แต่ตัวมันเองก็ไม่ใช่ความเสี่ยงประเภทที่คุณควรจะใส่ใจกับมันนัก

การเข้าใจถึงความเสี่ยงของบริษัทกลายเป็นสิ่งจำเป็นในทศวรรษที่ผ่านมา บริษัทต่างๆนับพันๆแห่งได้มีการใช้โปรแกรม “ การบริหารความเสี่ยง ” ขณะที่หลายร้อยบริษัทได้แต่งตั้งหัวหน้าเจ้าหน้าที่ดูแลความเสี่ยง สำหรับผู้บริหารระดับสูงที่ได้กระทำสิ่งเหล่านั้นไปแล้ว ไชโย คุณได้รับรู้แล้วว่าความเสี่ยงเป็นปัจจัยที่ทรงพลังปัจจัยหนึ่งในการขับเคลื่อนราคาหุ้นของบริษัท และบางครั้งคุณอาจจะมึนงงได้เมื่อรับทราบถึงปริมาณความเสี่ยงที่บริษัทของคุณมีอยู่ สิ่งที่ทำให้ผมประหลาดใจมากก็คือจะมีสักกี่บริษัทที่ไม่ยอมใช้ประโยชน์จากการบริหารความเสี่ยง โดยเฉพาะบทเรียนห้าบทที่ทุกบริษัทสามารถนำไปใช้ เพื่อที่จะเข้าใจความเสี่ยงของบริษัทของตนเองให้ดีขึ้น แล้วก็ควบคุมความเสี่ยงเหล่านั้นได้ด้วย



1.เพิ่มพูนจินตนาการของคุณเอง เหตุการณ์ต่างๆที่ทำให้เกิดความวิบัติได้มากที่สุดก็คือ บรรดาเหตุการณ์ที่ไม่มีใครนึกฝัน Exhibition A 9/11 ความคิดที่ว่าเครื่องบินโดยสารอาจจะบินชนอาคาร World Trade Center เป็นสิ่งที่ปรากฏอย่างชัดเจนว่ามีความเป็นไปได้ นับเนื่องจากการที่เครื่องบินบินชนตึก Empire State ในอดีต แต่สิ่งที่ไม่มีใครคาดคิดก็คือการผสมผสานระหว่างเครื่องบินขนาดใหญ่ที่มีเชื้อเพลิงอยู่เกือบเต็มถังบวกกับผลของการชนตึกซึ่งได้รับการป้องกันเรื่องอัคคีภัยเป็นอย่างดี โดยเข้าชนส่วนที่เป็นคานรับน้ำหนักของตัวตึก จะทำให้ตึกทั้งหลังถล่มลงมาได้ ในอีกแง่หนึ่ง จะเห็นว่ามันเป็นสิ่งที่สามารถจินตนาการได้ แต่ไม่มีใครทำ

2.สร้างสถานการณ์ ยุทธวิธีในการทำสงครามเย็นก็เริ่มมาจากการจำลองสถานการณ์เช่นกัน จนกระทั่งบัดนี้วิธีการนี้ก็ได้รับการพัฒนาไปอย่างมาก ถ้านำไปใช้ให้ถูกทางการจำลองสถานการณ์จะช่วยให้บรรดาผู้จัดการทั้งหลายได้เห็นถึงสิ่งสำคัญๆที่เป็นไปได้อย่างนึกไม่ถึง ในกรณีของบริษัท เชลล์ ที่เลื่องลือมากก็คือการหยุดส่งน้ำมันของประเทศอาหรับ ในช่วงทศวรรษที่ 1970 สิ่งสำคัญที่อยากเน้นคือไม่มีลางสังหรณ์ใดๆ ที่จะบอกผู้จัดการของบริษัท เชลล์ ว่าจะมีการหยุดส่งน้ำมันเกิดขึ้น นี่คือเทคนิคในการจำลองสถานการณ์ ไม่ใช่นอสตราดามุส แต่เหตุการณ์จำลองอันหนึ่งที่กลุ่มยุทธวิธีสร้างขึ้นเกี่ยวกับเหตุเกิดในประเทศซาอุดิ อาระเบีย ที่ทำให้ราคาน้ำมันพุ่งสูงขึ้น เป็นเหตุให้ผู้ผลิตน้ำมันชาติอาหรับหันกลับมาทบทวนราคาน้ำมันที่ตนตั้งเอาไว้ บรรดาผู้จัดการของบริษัท เชลล์ ได้ทำการวิเคราะห์ต่อไปและพบว่าชาติอาหรับที่กำลังโกรธแค้นที่สหรัฐอเมริกาให้การสนับสนุนอิสราเอลในกรณีของสงคราม 6 วัน คงเชื่อว่าหากทำการหยุดส่งน้ำมันหรือมีการจำกัดปริมาณน้ำมันแล้ว พวกเขาจะได้รับประโยชน์หลายอย่างในเวลาเดียวกัน
ย้อนกลับไปอีกครั้ง จะเห็นว่าไม่มีอะไรเลยในแบบฝึกหัดที่จะบอกผู้จัดการของบริษัท เชลล์ ว่าจะมีการหยุดส่งน้ำมัน แต่เพราะพวกเขาเหล่านั้นได้ทำการบ้าน เขาถึงได้มองเห็นสิ่งที่อาจเกิดขึ้นได้ และเมื่อมันเกิดขึ้นแล้วจริงๆ เขาเหล่านั้นก็อยู่ในสภาวะที่พร้อมกว่าบริษัทคู่แข่งในการตอบโต้ เหมือนกับว่าเขาได้ดูภาพยนตร์เรื่องนั้นมาแล้ว ดังนั้นบริษัท เชลล์ จึงได้ชะลอการขยายโรงกลั่นน้ำมันและหันมาปรับปรุงโรงงานที่มีอยู่ให้สามารถกลั่นน้ำมันดิบได้หลากหลายขึ้น ขณะที่คู่แข่งยังไม่เป็นเรื่องเป็นราว จากภาพรวมของอุตสาหกรรมจะเห็นว่าบริษัท เชลล์ ได้มีการจัดการเรื่องสต็อคน้ำมันได้ดีเยี่ยมกว่าผู้ผลิตสำคัญรายอื่นใด
เพื่อให้เข้าถึงวิธีการจำลองสถานการณ์ ให้ตรวจดูว่ามีสิ่งที่คนอื่นทำไว้แล้วบ้างหรือไม่ บริษัท เชลล์ ได้จัดพิมพ์ แนวทางการฝึกประจำปีขึ้น ( www.shell.com/scenarios ) เพื่อให้บริษัทพลังงานทั่วโลกสามารถนำไปใช้ได้ ในฉบับล่าสุดก็ได้กล่าวถึงโลกในอนาคตว่าจะถูกบีบโดยพลังใหญ่ๆสามอย่าง อย่างแรกก็คือ ความต้องการความมีประสิทธิภาพและการแพร่ขยายบทบาทของบริษัททุนนิยม รวมทั้งการที่ตลาดทุนได้มีการเชื่อมต่อถึงกันทั่วโลก อย่างที่สองก็คือ ความต้องการความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ขณะที่ชาติกำลังพัฒนากำลังมองหาอนาคตที่มีสันติสุขกว่า และความต้องการหลักประกันความปลอดภัย ขณะที่โลกนี้ดูเหมือนจะอันตรายขึ้นทุกทีๆ พลังผลักดันเหล่านี้ได้ก่อให้เกิดข้อขัดแย้งอย่างเลี่ยงไม่ได้ แล้วอะไรจะเกิดขึ้นล่ะ มันจะกระทบบริษัทของคุณหรือเปล่า ?
ตัวอย่างเหตุการณ์จำลองที่ได้ทำขึ้นอย่างพิถีพิถันเมื่อเร็วๆนี้อีกเรื่องหนึ่ง จะช่วยกระตุ้นให้ใจของคุณเป็นเสมือนมาจากสภาข่าวกรองแห่งชาติเลยทีเดียว ( www.cia.gov/nic) ลองนึกภาพในอนาคตในปี 2020 ยุคโลกาภิวัตน์จะดำเนินต่อไปอย่างสันติและสดใสไหม ถ้าจีนและอินเดียกลายเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ หรือว่าสหรัฐจะยังคงครอบงำระบบระเบียบของโลกต่อไปไหม หรือการขยายตัวของอาวุธนิวเคลียร์ จะทำให้โลกรักษาความสมดุลไว้ได้หรือไม่ อนาคตของบริษัทของคุณคงจะไม่เกินสองขั้นของคำตอบที่ได้จากคำถามดังกล่าว

3. คิดถึงความเป็นไปได้ ลองจินตนาการถึงเหตุการณ์สักเหตุการณ์หนึ่ง แล้วพยายามเอาความเป็นไปได้ สอดแทรกเข้าไป ถ้าไม่ใช้ตัวเลข 0.1 % 3 % 50 % อย่างน้อยก็ควรให้เกี่ยวพันกับเหตุการณ์อื่นๆ ฟังดูชัดเจนดี ปัญหามีอยู่ว่ามันเป็นสิ่งที่ยากสุดๆในชีวิตจริง เพราะสมองของเราไม่ได้เชื่อมต่อกันแบบนั้น นาสซิม นิโคลัส ทาเลป ได้เขียนไว้ในหนังสือชื่อ Fooled by Randomness เขาได้ยกตัวอย่างเอาไว้ตัวอย่างหนึ่งว่า ให้สุ่มถามผู้โดยสารที่สนามบินว่าเขายินดีจะจ่ายเบี้ยประกันเท่าไหร่ในวงเงินประกัน 1 ล้านเหรียญสหรัฐ ในกรณีที่เขาเกิดตายด้วยสาเหตุใดๆก็ตามในระหว่างการเดินทาง แล้วก็ให้ถามผู้โดยสารกลุ่มอื่นว่าเขาพร้อมที่จะจ่ายเบี้ยประกันเท่าไหร่ในวงเงินประกัน 1 ล้านเหรียญ ในกรณีที่เขาถูกฆ่าตายโดยผู้ก่อการร้ายในระหว่างการเดินทาง คนส่วนใหญ่ยินดีจ่ายเพิ่มในกรณีที่สอง ซึ่งดูแล้วก็ไม่ค่อยเป็นเหตุเป็นผลเท่าไหร่ เราเพียงแต่ไม่ได้คิดอย่างมีเหตุผลถึงความเป็นไปได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้จัดการทุกคนต้องทำให้มี

4. ใช้พลังของตลาด คุณคงเคยได้ยินเรื่องของความสำเร็จที่น่าทึ่งในตลาดการคาดคะเน สถานที่ที่คนจริงๆใช้เงินจริงๆพนันกันเกี่ยวกับความเป็นไปได้ของเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่ง เป็นเวลาหลายปีแล้วที่ตลาดประเภทนี้เป็นที่สนใจหลังจากการเลือกตั้งประธานาธิบดีในปี 2004 คุณจะตรวจสอบดูก็ได้ทาง In Trade.com ซึ่งเป็นที่รู้จักกันแพร่หลาย เพื่อดูว่ามีเหตุการณ์ใดที่จะกระทบธุรกิจของคุณหรือไม่ ตัวอย่างเช่น เมื่อไม่นานมานี้ In Trade ได้แสดงว่ามีโอกาสประมาณ 17 % ที่กฎหมายประกันสังคมของบุคคลธรรมดาจะถูกประกาศใช้ภายในเดือนธันวาคม 2006
แต่คุณสามารถสร้างตลาดแบบนี้ได้โดยเล็งเฉพาะคำถามที่ต้องการคำตอบจากบรรดาพนักงานของคุณเอง ( ทั่วๆไปแล้วคงจะต้องมีค่าตอบแทนเล็กๆน้อยๆจากบริษัท ) ฮิวเลท-แพคกาด ใช้ตลาดภายในเพื่อพยากรณ์ยอดขาย ซึ่งมีความแม่นยำมากกว่าที่จะให้ผู้จัดการฝ่ายการตลาดทำ
อิไล ลิลลี่ ใช้ตลาดภายในเพื่อพยากรณ์ความสำเร็จของการวิจัยยา ซึ่งแม่นยำอย่างเหลือเชื่อ ตลาดการคาดคะเนที่ได้รับการออกแบบอย่างดีจะช่วยให้ผู้จัดการได้มองเห็นสิ่งใหม่ๆในความเสี่ยงนั้นๆ และรู้ว่าความเสี่ยงนั้นจะส่งผลกระทบต่อบริษัทอย่างไร

5. สร้างวัฒนธรรมเผชิญหน้ากับความจริง ต้องยอมรับว่าเป็นความฝันอันสูงสุด แต่ส่วนใหญ่ของแนวคิดในเรื่องความเสี่ยงของบริษัทเมื่อเร็วๆนี้ ชอบสมมุติว่าในโลกแห่งการเปลี่ยนแปลงอันรวดเร็วนี้มีหลายสิ่งหลายอย่างที่สำคัญๆที่เราไม่สามารถจะรับมือกับมันได้ แม้จะพยายามใช้จินตนาการถึงสิ่งที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต คุณก็ไม่อาจประสบความสำเร็จอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย คำตอบกลายเป็นการตอบสนองที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพอย่างสายฟ้าแลบ และอุปสรรคข้อที่ 1 ที่ไม่น่าเชื่อ แต่ชัดเจนก็คือการไม่ยอมรับว่ามีปัญหา แม้ในกรณีของเมืองนิวออร์ลีน หลังจากถูกถล่มโดยพายุแคทธรินน่า เรายังคงเห็นผู้คนออกมาเต้นรำกันอยู่บนถนนบูร์บอน เขาคิดว่าทุกอย่างจะเรียบร้อย แนวโน้มที่จะหลีกเลี่ยงความเป็นจริง เพื่อให้ข่าวร้ายๆน้อยลง ได้ฝังรากลึกในวัฒนธรรมของบริษัท ขณะที่การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมนั้นส่วนใหญ่แล้วควรเริ่มจากเบื้องบนแต่ผมเชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงสามารถเริ่มที่ไหนก็ได้ โทษของการไม่ยอมเปลี่ยนแปลงนั้นดูเหมือนจะแรงขึ้นทุกทีๆ
ใช้ขั้นตอนทั้งหมดนี้แล้วคุณจะอยู่ในสถานการณ์ที่พร้อมที่รับมือกับวันพรุ่งนี้ได้มากกว่าคู่แข่งอีก 95 % ของคุณ แม้ว่าคุณจะไม่นำข้อใดข้อหนึ่งไปใช้เลย ใช้เวลาสัก 7 วัน คุยกับเพื่อนร่วมงาน ทำบัญชีความเสี่ยงของบริษัทของคุณเท่าที่คิดได้ ยุทธวิธี การเงิน การปฏิบัติงาน ชื่อเสียง กฏเกณฑ์ คุณจะไม่คิดถึงความเสี่ยงของบริษัทของคุณอย่างเดิมอีกเลย และผมขอรับรองว่าคุณจะรู้สึกเหมือนถูกบังคับให้ต้องลงมือทำ ก็ขอให้สิ่งนั้นเป็นการตอบสนองสิ่งที่ได้รับจากพายุแคทธรินน่า

ผู้นำองค์กรจะพิจารณาพนักงานแต่ละคนว่าจะจัดใครอยู่ในกลุ่มใด โดยพิจารณาจาก Performance และ Potential ของพนักงาน เมื่อจัดกลุ่มได้แล้วควรจะพิจารณาในเรื่องของสัดส่วนของพนักงานในแต่ละกลุ่มว่าควรจะมีกลุ่มใดอยู่ในองค์กรเป็นสัดส่วนเท่าใด (เนื่องจากอาจจะต้องมีการคัดพนักงานออกไปบางส่วน) จากนั้นจึงจะกำหนดแนวทางในการดำเนินการกับแต่ละกลุ่มดังนี้
1. The Star หัวดี ผลง2. านดี (อาจเรียกกลุ่มนี้ว่า Talent group ได้) อง3. ค์กรควร support ให้พนักง4. านกลุ่มนี้อย่าง5. เต็มที่ ให้ตำแหน่ง6. รถ benefit ทุกอย่าง7. ที่จะสามารถให้ได้ เพื่อให้เขามีความจง8. รักภักดีกับอง9. ค์กรและมีความตั้ง10. ใจที่จะทำง11. านเพื่ออง12. ค์กรอย่าง13. แท้จริง14.
15. Work horse หัวไม่ดีแต่ผลง16. านดี เหมาะกับ routine work ดัง17. นั้นในเบื้อง18. ต้นผู้บริหารควรจะมอบง19. าน routine ให้เขาทำก่อน เพื่อให้เขาเกิดความจง20. รักภักดีต่ออง21. ค์กร แต่จริง22. ๆ แล้วพนักง23. านกลุ่มนี้ยัง24. มีโอกาสที่จะเป็น talent ได้ ดัง25. นั้นควรพิจารณาแนวทาง26. ในการพัฒนาเขาเพิ่มเติมด้วย เช่น การส่ง27. ไปรับการฝึกอบรมเพิ่มเติม ค่อย ๆ มอบหมายง28. านนอกเหนือจากง29. าน routine ที่ทำปกติ เพื่อให้เขาค่อย ๆ ปรับตัวเข้ากับง30. านใหม่ ๆ ที่ได้รับไปเรื่อย ๆ และควรจะใช้ KPI มาวัดผลง31. านที่ได้รับทั้ง32. จากง33. าน routine และง34. านใหม่ ๆ หากเขาบรรลุ KPI ได้ก็จะเกิดความภาคภูมิใจ และจะมีความกระตือรือร้นที่จะพัฒนาตนเอง35. ในการทำง36. านใหม่ ๆ ได้ต่อไปเรื่อย ๆ
37. Problem child หัวดีแต่ผลง38. านไม่ออก เหมาะกับง39. านที่มีความท้าทายมาก ๆ ไม่ชอบง40. านที่มีความซ้ำซากจำเจ (ง41. าน routine) ดัง42. นั้นผู้บริหารควรจะพิจารณาเลือกง43. านที่มีความท้าทายให้เขาทำ และอาจจะมอบง44. าน routine บาง45. อย่าง46. ที่ไม่น่าเบื่อมากนักให้เขาทำเป็นระยะ ๆ และนำเอา KPI มาวัดผลง47. านที่ได้รับทั้ง48. จากง49. านที่ท้าทายและง50. าน routine หากเขาบรรลุ KPI ได้ก็จะเกิดความภาคภูมิใจ และจะมีความกระตือรือร้นที่จะทำง51. านทั้ง52. 2 อย่าง53. ได้
54. Dead wood หัวไม่ดี ผลง55. านไม่ออก เป็นพนักง56. านกลุ่มที่สร้าง57. ปัญ58. หาให้แก่อง59. ค์กรเป็นอย่าง60. มาก ไม่ควรจะเก็บพนักง61. านกลุ่มนี้ไว้ให้เป็นภาระแก่อง62. ค์กรอีก โดยอาจใช้วิธีการสมัครใจ early retire เข้ามาช่วย
นอกจากนี้ในการจัดการคนเก่ง จะมีวิธีการทั้งหมด 5 ขั้นตอน คือ
การสรรหาคนเก่ง องค์กรจะต้องเริ่มต้นจากการสรรหาพนักงานที่มีความสามารถในการทำงานและศักยภาพ ตรงตามที่องค์กรต้องการ โดยสามารถสรรหาได้หลายช่องทาง เช่น internet หนังสือพิมพ์ สื่อสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ ไปพบนักศึกษาเองที่มหาวิทยาลัย เป็นต้น
การคัดเลือกคนเก่ง เมื่อมีคนมาสมัครแล้ว องค์กรจะมีการคัดเลือกคนเข้ามาทำงานด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น การสอบสัมภาษณ์ การสอบข้อเขียน การให้ทดลองฝึกปฏิบัติงาน เป็นต้น เพื่อพิจารณาว่าผู้สมัครรายใดมีความเก่งและมีคุณสมบัติตรงตามที่องค์กรต้องการ เพื่อรับเข้ามาทำงานต่อไป
การพัฒนาคนเก่ง เมื่อรับเข้ามาทำงานแล้ว องค์กรจะต้องมีการปฐมนิเทศเกี่ยวกับงานที่ทำ กฎระเบียบต่าง ๆ ขององค์กรให้พนักงานทราบ นอกจากนี้ควรจะส่งพนักงานไปรับการฝึกอบรมในหลักสูตรต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน เพื่อให้เขาได้รับความรู้เพิ่มเติมสำหรับการพัฒนาตนเอง และพัฒนางานที่ทำต่อไป
การบริหารและจูงใจคนเก่ง องค์กรควรจะมีแนวทางในการบริหารและจูงใจคนเก่งให้เขายังคงทำงานกับองค์กรต่อไป เช่น การนำ KPI มาวัดผลงานของพนักงาน หากเขาสามารถทำงานได้บรรลุ KPI อาจมีรางวัลจูงใจทั้งในเรื่องของเงินและสิ่งตอบแทนอื่น เช่น การให้ตั๋วเครื่องบินไปดูงานที่ต่างประเทศพร้อมครอบครัว เป็นต้น (ข้อนี้เขียนไม่ค่อยออก ไปคิดกันต่อเองแล้วกันนะ)
การรักษาคนเก่งไว้ในองค์กร องค์กรควรจะมีแนวทางในการรักษาคนเก่ง ให้คนเก่งยังคงมีความจงรักภักดีต่อองค์กร ไม่คิดที่จะย้ายไปทำงานที่อื่น โดยเฉพาะในองค์กรที่เป็นคู่แข่ง เพราะกว่าจะสร้างคนเก่งขึ้นมาได้แต่ละคน องค์กรจะต้องเสียเวลาและงบประมาณไปเป็นจำนวนมาก หากเขาย้ายไปทำงานที่อื่น เขาอาจนำความลับขององค์กรไปเผยแพร่ และองค์กรจะต้องสร้างคนใหม่ขึ้นมาเพื่อทดแทน ตัวอย่างการรักษาคนเก่งในองค์กร เช่น การให้ตำแหน่งที่สูงขึ้นตามความเหมาะสม ให้สิ่งตอบแทนผลงานของเขาตามที่เขาต้องการและองค์กรสามารถจัดหามาให้ได้ ให้ความช่วยเหลือหากเขาพบปัญหาใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน เป็นต้น

3. ในเรื่องของการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมองค์การ จากสาเหตุทั้งหลาย ได้แก่ เศรษฐกิจ การเมือง สังคม ครอบครัว ในเรื่องของการลา มาสาย (และอีกเยอะจนจำไม่ได้) ถ้าท่านผู้บริหาร จะมีแนวทางในการจัดการพฤติกรรมการเปลี่ยนแปลงอย่างไร ให้อธิบายพร้อมยกตัวอย่างประกอบ (ข้อนี้อ้อมเขียนเอง อาจจะไม่ค่อยตรงกับทฤษฎีมากนัก ดูไว้เป็นแนวแล้วกัน)
การที่มีปัจจัยแวดล้อมหลาย ๆ อย่างที่ส่งผลให้พนักงานในองค์กรมีปัญหาในการทำงานนั้น ผู้นำองค์กรและฝ่าย HR ควรเข้ามามีบทบาทในการดำเนินการ โดยฝ่าย HR ควรจะเข้าไปสอบถามพนักงานคนที่มีปัญหาเกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้นกับพนักงานแต่ละคน ลองพิจารณาดูว่าสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหานั้น ๆ ขึ้นคืออะไร จะหาแนวทางในการแก้ไขปัญหานั้นอย่างไร องค์กรจะมีส่วนช่วยเหลืออะไรเขาได้บ้าง หากพิจารณาแล้วว่าฝ่าย HR สามารถดำเนินการช่วยเหลือพนักงานในการแก้ไขปัญหาได้เองสามารถดำเนินการได้ทันที แต่บางปัญหาอาจมีความจำเป็นจะต้องขอความช่วยเหลือจากผู้บริหารองค์กร หรือที่ปรึกษาจากภายนอก ฝ่าย HR ก็ควรเข้ามาดำเนินการในส่วนนี้ เพื่อให้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับพนักงานคนนั้นหมดไปหรือบรรเทาเบาบางความรุนแรงลงได้ เพื่อให้พนักงานมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สามารถทำงานให้แก่องค์กรได้อย่างเต็มกำลังความสามารถเพื่อให้องค์กรได้รับผลประโยชน์สูงสุดโดยแสดงให้เห็นในรูปของผลงานที่ได้รับจากพนักงาน และสถิติการขาด ลา มาสายที่ลดน้อยลง
การดำเนินการเพื่อช่วยเหลือพนักงานดังกล่าวข้างต้น อาจทำในรูปแบบของกิจกรรมซึ่งสามารถทำได้หลายอย่าง เช่น
1. กิจกรรมประสานพลัง
2. กิจกรรมเสริมสร้างการสื่อสารที่ดี
3. กิจกรรมเพื่อสร้างความรู้ ความสามารถแก่พนักงาน
4. กิจกรรมเสริมสร้างขวัญและกำลังใจแก่พนักงาน
5. กิจกรรมกีฬาและออกกำลังกาย
6. กิจกรรมนันทนาการ
7. กิจกรรมเพื่อสุขภาพ
8. กิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์และสาธารณกุศล
9. กิจกรรมเพื่อครอบครัวพนักงาน
(รายละเอียดขอให้ดูในชีทที่อาจารย์แจกให้ตอนติวค่ะ)
เช่น การสอนงานให้แก่แม่บ้าน เพื่อจะนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ในการประกอบอาชีพหารายได้เสริมอีกทางหนึ่ง หรือ การสอนเกี่ยวกับวิธีการบริหารจัดการรายได้ที่ได้รับในแต่ละเดือน เพราะบางครอบครัวอาจจะไม่มีความรู้ว่าเงินที่ได้รับมาจะจัดสรรอย่างไรให้เหมาะสมและมีเงินเหลือเก็บไว้ใช้ เป็นต้น

4. ในเรื่องของการจัดการความรู้ (Knowledge management)  ถ้าท่านเป็นผู้บริหาร จะมีหลักการและแนวทางในการจัดการความรู้อย่างไร ให้อธิบาย พร้อมยกตัวอย่างประกอบ (ข้อนี้อ้อมก็เขียนเอง อาจจะไม่ค่อยตรงกับทฤษฎีมากนัก ดูไว้เป็นแนวแล้วกัน)
ความรู้ในองค์กรเป็นสิ่งที่มีความสำคัญมาก โดยทั่วไปพนักงานในแต่ละแผนกจะมีความรู้เกี่ยวกับแผนกของตนเองเป็นอย่างดี ขณะเดียวกันพนักงานจะมีความรู้ที่เกี่ยวกับแผนกอื่นน้อย ทำให้ในบางครั้งเกิดปัญหาในการสื่อสารระหว่างกัน คือ สื่อสารกันไม่เข้าใจ นอกจากนี้สิ่งใหม่ ๆ ที่พนักงานในแต่ละแผนกได้เรียนรู้จะเกิดขึ้นกับเฉพาะพนักงานในแผนกนั้น โดยไม่ได้มีการถ่ายทอดสิ่งที่ได้เรียนรู้นั้นไปยังพนักงานแผนกอื่น ๆ เช่น แนวทางการแก้ไขปัญหาแบบใหม่ ๆ ซึ่งแผนกอื่น ๆ ก็สามารถนำแนวทางนั้นไปปรับใช้ในแผนกของตนเองได้ แต่เมื่อไม่ได้มีการถ่ายทอดระหว่างกัน ทำให้พนักงานแผนกอื่น ๆ ก็ยังคงแก้ไขปัญหาด้วยวิธีการเดิม ๆ ซึ่งแม้จะแก้ไขได้แต่ก็อาจจะให้ผลลัพธ์ได้ไม่ดีเท่าวิธีการใหม่ เป็นต้น สรุปแล้ว องค์กรจะต้องมีการจัดการความรู้ (KM) โดย การบริหารจัดการให้ความรู้ที่กระจัดกระจายกันอยู่ในแต่ละแผนกมารวมกันอยู่ ณ ศูนย์กลางที่ใดที่หนึ่ง ซึ่งจะต้องอาศัยระบบ IT ที่มีประสิทธิภาพเข้ามาช่วยในการดำเนินการ เพื่อให้เป็นแหล่งข้อมูลสำหรับพนักงานที่ต้องการจะค้นหาความรู้เพิ่มเติม ซึ่งเมื่อมีการเรียนรู้มากขึ้นของพนักงานแต่ละคน จะทำให้องค์กรกลายเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning organization) พนักงานจะมีการเรียนรู้ได้อย่างไม่สิ้นสุด

;;

บทความที่ได้รับความนิยม