Custom Search

MBA Holiday

วันจันทร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

ผู้นำองค์กรจะพิจารณาพนักงานแต่ละคนว่าจะจัดใครอยู่ในกลุ่มใด โดยพิจารณาจาก Performance และ Potential ของพนักงาน เมื่อจัดกลุ่มได้แล้วควรจะพิจารณาในเรื่องของสัดส่วนของพนักงานในแต่ละกลุ่มว่าควรจะมีกลุ่มใดอยู่ในองค์กรเป็นสัดส่วนเท่าใด (เนื่องจากอาจจะต้องมีการคัดพนักงานออกไปบางส่วน) จากนั้นจึงจะกำหนดแนวทางในการดำเนินการกับแต่ละกลุ่มดังนี้
1. The Star หัวดี ผลง2. านดี (อาจเรียกกลุ่มนี้ว่า Talent group ได้) อง3. ค์กรควร support ให้พนักง4. านกลุ่มนี้อย่าง5. เต็มที่ ให้ตำแหน่ง6. รถ benefit ทุกอย่าง7. ที่จะสามารถให้ได้ เพื่อให้เขามีความจง8. รักภักดีกับอง9. ค์กรและมีความตั้ง10. ใจที่จะทำง11. านเพื่ออง12. ค์กรอย่าง13. แท้จริง14.
15. Work horse หัวไม่ดีแต่ผลง16. านดี เหมาะกับ routine work ดัง17. นั้นในเบื้อง18. ต้นผู้บริหารควรจะมอบง19. าน routine ให้เขาทำก่อน เพื่อให้เขาเกิดความจง20. รักภักดีต่ออง21. ค์กร แต่จริง22. ๆ แล้วพนักง23. านกลุ่มนี้ยัง24. มีโอกาสที่จะเป็น talent ได้ ดัง25. นั้นควรพิจารณาแนวทาง26. ในการพัฒนาเขาเพิ่มเติมด้วย เช่น การส่ง27. ไปรับการฝึกอบรมเพิ่มเติม ค่อย ๆ มอบหมายง28. านนอกเหนือจากง29. าน routine ที่ทำปกติ เพื่อให้เขาค่อย ๆ ปรับตัวเข้ากับง30. านใหม่ ๆ ที่ได้รับไปเรื่อย ๆ และควรจะใช้ KPI มาวัดผลง31. านที่ได้รับทั้ง32. จากง33. าน routine และง34. านใหม่ ๆ หากเขาบรรลุ KPI ได้ก็จะเกิดความภาคภูมิใจ และจะมีความกระตือรือร้นที่จะพัฒนาตนเอง35. ในการทำง36. านใหม่ ๆ ได้ต่อไปเรื่อย ๆ
37. Problem child หัวดีแต่ผลง38. านไม่ออก เหมาะกับง39. านที่มีความท้าทายมาก ๆ ไม่ชอบง40. านที่มีความซ้ำซากจำเจ (ง41. าน routine) ดัง42. นั้นผู้บริหารควรจะพิจารณาเลือกง43. านที่มีความท้าทายให้เขาทำ และอาจจะมอบง44. าน routine บาง45. อย่าง46. ที่ไม่น่าเบื่อมากนักให้เขาทำเป็นระยะ ๆ และนำเอา KPI มาวัดผลง47. านที่ได้รับทั้ง48. จากง49. านที่ท้าทายและง50. าน routine หากเขาบรรลุ KPI ได้ก็จะเกิดความภาคภูมิใจ และจะมีความกระตือรือร้นที่จะทำง51. านทั้ง52. 2 อย่าง53. ได้
54. Dead wood หัวไม่ดี ผลง55. านไม่ออก เป็นพนักง56. านกลุ่มที่สร้าง57. ปัญ58. หาให้แก่อง59. ค์กรเป็นอย่าง60. มาก ไม่ควรจะเก็บพนักง61. านกลุ่มนี้ไว้ให้เป็นภาระแก่อง62. ค์กรอีก โดยอาจใช้วิธีการสมัครใจ early retire เข้ามาช่วย
นอกจากนี้ในการจัดการคนเก่ง จะมีวิธีการทั้งหมด 5 ขั้นตอน คือ
การสรรหาคนเก่ง องค์กรจะต้องเริ่มต้นจากการสรรหาพนักงานที่มีความสามารถในการทำงานและศักยภาพ ตรงตามที่องค์กรต้องการ โดยสามารถสรรหาได้หลายช่องทาง เช่น internet หนังสือพิมพ์ สื่อสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ ไปพบนักศึกษาเองที่มหาวิทยาลัย เป็นต้น
การคัดเลือกคนเก่ง เมื่อมีคนมาสมัครแล้ว องค์กรจะมีการคัดเลือกคนเข้ามาทำงานด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น การสอบสัมภาษณ์ การสอบข้อเขียน การให้ทดลองฝึกปฏิบัติงาน เป็นต้น เพื่อพิจารณาว่าผู้สมัครรายใดมีความเก่งและมีคุณสมบัติตรงตามที่องค์กรต้องการ เพื่อรับเข้ามาทำงานต่อไป
การพัฒนาคนเก่ง เมื่อรับเข้ามาทำงานแล้ว องค์กรจะต้องมีการปฐมนิเทศเกี่ยวกับงานที่ทำ กฎระเบียบต่าง ๆ ขององค์กรให้พนักงานทราบ นอกจากนี้ควรจะส่งพนักงานไปรับการฝึกอบรมในหลักสูตรต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน เพื่อให้เขาได้รับความรู้เพิ่มเติมสำหรับการพัฒนาตนเอง และพัฒนางานที่ทำต่อไป
การบริหารและจูงใจคนเก่ง องค์กรควรจะมีแนวทางในการบริหารและจูงใจคนเก่งให้เขายังคงทำงานกับองค์กรต่อไป เช่น การนำ KPI มาวัดผลงานของพนักงาน หากเขาสามารถทำงานได้บรรลุ KPI อาจมีรางวัลจูงใจทั้งในเรื่องของเงินและสิ่งตอบแทนอื่น เช่น การให้ตั๋วเครื่องบินไปดูงานที่ต่างประเทศพร้อมครอบครัว เป็นต้น (ข้อนี้เขียนไม่ค่อยออก ไปคิดกันต่อเองแล้วกันนะ)
การรักษาคนเก่งไว้ในองค์กร องค์กรควรจะมีแนวทางในการรักษาคนเก่ง ให้คนเก่งยังคงมีความจงรักภักดีต่อองค์กร ไม่คิดที่จะย้ายไปทำงานที่อื่น โดยเฉพาะในองค์กรที่เป็นคู่แข่ง เพราะกว่าจะสร้างคนเก่งขึ้นมาได้แต่ละคน องค์กรจะต้องเสียเวลาและงบประมาณไปเป็นจำนวนมาก หากเขาย้ายไปทำงานที่อื่น เขาอาจนำความลับขององค์กรไปเผยแพร่ และองค์กรจะต้องสร้างคนใหม่ขึ้นมาเพื่อทดแทน ตัวอย่างการรักษาคนเก่งในองค์กร เช่น การให้ตำแหน่งที่สูงขึ้นตามความเหมาะสม ให้สิ่งตอบแทนผลงานของเขาตามที่เขาต้องการและองค์กรสามารถจัดหามาให้ได้ ให้ความช่วยเหลือหากเขาพบปัญหาใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน เป็นต้น

3. ในเรื่องของการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมองค์การ จากสาเหตุทั้งหลาย ได้แก่ เศรษฐกิจ การเมือง สังคม ครอบครัว ในเรื่องของการลา มาสาย (และอีกเยอะจนจำไม่ได้) ถ้าท่านผู้บริหาร จะมีแนวทางในการจัดการพฤติกรรมการเปลี่ยนแปลงอย่างไร ให้อธิบายพร้อมยกตัวอย่างประกอบ (ข้อนี้อ้อมเขียนเอง อาจจะไม่ค่อยตรงกับทฤษฎีมากนัก ดูไว้เป็นแนวแล้วกัน)
การที่มีปัจจัยแวดล้อมหลาย ๆ อย่างที่ส่งผลให้พนักงานในองค์กรมีปัญหาในการทำงานนั้น ผู้นำองค์กรและฝ่าย HR ควรเข้ามามีบทบาทในการดำเนินการ โดยฝ่าย HR ควรจะเข้าไปสอบถามพนักงานคนที่มีปัญหาเกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้นกับพนักงานแต่ละคน ลองพิจารณาดูว่าสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหานั้น ๆ ขึ้นคืออะไร จะหาแนวทางในการแก้ไขปัญหานั้นอย่างไร องค์กรจะมีส่วนช่วยเหลืออะไรเขาได้บ้าง หากพิจารณาแล้วว่าฝ่าย HR สามารถดำเนินการช่วยเหลือพนักงานในการแก้ไขปัญหาได้เองสามารถดำเนินการได้ทันที แต่บางปัญหาอาจมีความจำเป็นจะต้องขอความช่วยเหลือจากผู้บริหารองค์กร หรือที่ปรึกษาจากภายนอก ฝ่าย HR ก็ควรเข้ามาดำเนินการในส่วนนี้ เพื่อให้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับพนักงานคนนั้นหมดไปหรือบรรเทาเบาบางความรุนแรงลงได้ เพื่อให้พนักงานมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สามารถทำงานให้แก่องค์กรได้อย่างเต็มกำลังความสามารถเพื่อให้องค์กรได้รับผลประโยชน์สูงสุดโดยแสดงให้เห็นในรูปของผลงานที่ได้รับจากพนักงาน และสถิติการขาด ลา มาสายที่ลดน้อยลง
การดำเนินการเพื่อช่วยเหลือพนักงานดังกล่าวข้างต้น อาจทำในรูปแบบของกิจกรรมซึ่งสามารถทำได้หลายอย่าง เช่น
1. กิจกรรมประสานพลัง
2. กิจกรรมเสริมสร้างการสื่อสารที่ดี
3. กิจกรรมเพื่อสร้างความรู้ ความสามารถแก่พนักงาน
4. กิจกรรมเสริมสร้างขวัญและกำลังใจแก่พนักงาน
5. กิจกรรมกีฬาและออกกำลังกาย
6. กิจกรรมนันทนาการ
7. กิจกรรมเพื่อสุขภาพ
8. กิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์และสาธารณกุศล
9. กิจกรรมเพื่อครอบครัวพนักงาน
(รายละเอียดขอให้ดูในชีทที่อาจารย์แจกให้ตอนติวค่ะ)
เช่น การสอนงานให้แก่แม่บ้าน เพื่อจะนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ในการประกอบอาชีพหารายได้เสริมอีกทางหนึ่ง หรือ การสอนเกี่ยวกับวิธีการบริหารจัดการรายได้ที่ได้รับในแต่ละเดือน เพราะบางครอบครัวอาจจะไม่มีความรู้ว่าเงินที่ได้รับมาจะจัดสรรอย่างไรให้เหมาะสมและมีเงินเหลือเก็บไว้ใช้ เป็นต้น

4. ในเรื่องของการจัดการความรู้ (Knowledge management)  ถ้าท่านเป็นผู้บริหาร จะมีหลักการและแนวทางในการจัดการความรู้อย่างไร ให้อธิบาย พร้อมยกตัวอย่างประกอบ (ข้อนี้อ้อมก็เขียนเอง อาจจะไม่ค่อยตรงกับทฤษฎีมากนัก ดูไว้เป็นแนวแล้วกัน)
ความรู้ในองค์กรเป็นสิ่งที่มีความสำคัญมาก โดยทั่วไปพนักงานในแต่ละแผนกจะมีความรู้เกี่ยวกับแผนกของตนเองเป็นอย่างดี ขณะเดียวกันพนักงานจะมีความรู้ที่เกี่ยวกับแผนกอื่นน้อย ทำให้ในบางครั้งเกิดปัญหาในการสื่อสารระหว่างกัน คือ สื่อสารกันไม่เข้าใจ นอกจากนี้สิ่งใหม่ ๆ ที่พนักงานในแต่ละแผนกได้เรียนรู้จะเกิดขึ้นกับเฉพาะพนักงานในแผนกนั้น โดยไม่ได้มีการถ่ายทอดสิ่งที่ได้เรียนรู้นั้นไปยังพนักงานแผนกอื่น ๆ เช่น แนวทางการแก้ไขปัญหาแบบใหม่ ๆ ซึ่งแผนกอื่น ๆ ก็สามารถนำแนวทางนั้นไปปรับใช้ในแผนกของตนเองได้ แต่เมื่อไม่ได้มีการถ่ายทอดระหว่างกัน ทำให้พนักงานแผนกอื่น ๆ ก็ยังคงแก้ไขปัญหาด้วยวิธีการเดิม ๆ ซึ่งแม้จะแก้ไขได้แต่ก็อาจจะให้ผลลัพธ์ได้ไม่ดีเท่าวิธีการใหม่ เป็นต้น สรุปแล้ว องค์กรจะต้องมีการจัดการความรู้ (KM) โดย การบริหารจัดการให้ความรู้ที่กระจัดกระจายกันอยู่ในแต่ละแผนกมารวมกันอยู่ ณ ศูนย์กลางที่ใดที่หนึ่ง ซึ่งจะต้องอาศัยระบบ IT ที่มีประสิทธิภาพเข้ามาช่วยในการดำเนินการ เพื่อให้เป็นแหล่งข้อมูลสำหรับพนักงานที่ต้องการจะค้นหาความรู้เพิ่มเติม ซึ่งเมื่อมีการเรียนรู้มากขึ้นของพนักงานแต่ละคน จะทำให้องค์กรกลายเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning organization) พนักงานจะมีการเรียนรู้ได้อย่างไม่สิ้นสุด

0 Comments:

Post a Comment



บทความที่ได้รับความนิยม