ข้อ 1. จากบทความ “การจัดการ” และ “ความเป็นผู้นำ” มีความสำคัญอย่างไร ? ทั้งสองคำนี้แตกต่างกันในสาระสำคัญประการใดบ้าง ? ในความเห็นของท่านผู้บริหารระดับสูงควรให้ความสำคัญแก่บทบาทของ “ผู้จัดการ” หรือ “ผู้นำ” มากกว่ากัน ? เพราะเหตุใด ?
“การจัดการ” และ “ความเป็นผู้นำ” มีความสำคัญต่อความสำเร็จของธุรกิจที่มีความซับซ้อนเพิ่มขึ้นในสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่ต้องปรับตัวเพื่อความอยู่รอด การจัดการและความเป็นผู้นำ
ไม่สามารถแทนที่กันได้เพราะมีลักษณะเด่นที่แตกต่างกันและเป็นองค์ประกอบซึ่งกันและกัน โดยที่ผู้นำจะต้องรู้จักการจัดการที่เหมาะสมในขณะที่จะต้องมีความเป็นผู้นำด้วย
“การจัดการ” และ “ความเป็นผู้นำ” ทั้งสองคำนี้มีความแตกต่างกันในสาระสำคัญประการต่าง ๆ โดยสรุปดังนี้
การจัดการ Management ความเป็นผู้นำ Leadership
การสั่งการ Direction การวางแผนและจัดทำงบประมาณโดยให้ความสนใจพนักงานและบุคคลระดับล่างที่อยู่ในสายงาน
ต่ำกว่า มีวิสัยทัศน์และกลยุทธ์และให้ความสัมพันธ์ในแนวนอนให้ความเสมอภาคเท่าเทียมกันหมด
แนวทางการทำงาน จัดองค์การและจัดคนเข้าทำงาน
มีการสั่งการ ควบคุมงาน
ตามลำดับชั้นของอำนาจ มีความริเริ่มในการมีวัฒนธรรม
และค่านิยมร่วมกันที่จะทำให้ผู้อื่นเติบโตโดยไม่มีลำดับชั้นของอำนาจ
ความสัมพันธ์กับผู้อื่น Relationships เน้นที่ผลการผลิตสินค้าและบริการ มีความสัมพันธ์ตามหน้าที่เป็นนายจ้างและพนักงาน เน้นที่การกระตุ้นบุคคลและการจูงใจพนักงาน ให้อำนาจแต่ละบุคคล เป็นผู้สอนแนะและอำนวยความสะดวกและผู้ให้บริการ
คุณสมบัติส่วนบุคคล
Personal Quality อารมณ์มั่นคง
มีความเข้าใจจิตใจผู้อื่น
มีการพูดคุยกับผู้อื่น
มีบรรทัดฐานในการทำงาน
มีความเข้าใจองค์การ มีความเชื่อมโยงกับการทำงาน
ด้วยจิตใจ มีลักษณะเปิดเผย เปิดใจให้กว้าง รับฟังผู้อื่น ไม่ยึด
บรรทัดฐานของตนเอง เข้าใจตนเอง
ผลการทำงาน Outcomes มีผลงานที่ได้และผลงานคงที่ มีการริเริ่มการเปลี่ยนแปลงและบางครั้งมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงที่ดีขึ้น
ความเห็นของกลุ่ม ผู้บริหารระดับสูงไม่ควรให้ความสำคัญแก่บทบาทของ “ผู้จัดการ” หรือ “ผู้นำ” ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดมากไปกว่ากัน เนื่องจากเหตุผลที่ได้กล่าวไว้ข้างต้นถึงลักษณะเด่นในบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบและลักษณะกิจกรรมที่ทำ ซึ่งเป็นบทบาทที่แตกต่างกันแต่มีความสำคัญและความจำเป็นต่อองค์การ และด้วยลักษณะขององค์การสมัยใหม่ ซึ่งต้องพึ่งพาระหว่างกันและกัน ไม่มีองค์การใดเป็นอิสระอย่างแท้จริง โดยที่ทั้งผู้จัดการ และผู้นำ จะสามารถผลักดันให้เกิดการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงไปสู่ความสำเร็จและบรรลุเป้าหมายธุรกิจขององค์การอย่างมีประสิทธิภาพ Efficiency และประสิทธิผล Effectiveness ดังนั้น ผู้บริหารระดับสูงควรมีเทคนิคหรือวิธีการที่จะสร้างความสมดุลเพื่อดึงศักยภาพในความแตกต่างทั้งของผู้จัดการ และผู้นำมาเชื่อมโยงเพื่อใช้ประโยชน์ในการ
ข้อ 2. ในความเห็นของผู้เขียน บทบาทที่สำคัญของผู้นำมีอะไรบ้าง ? บทบาทเหล่านี้มีความสำคัญอย่างใดต่อองค์การ ? ผู้เขียนมีการแนะนำประการใดที่ช่วยให้ผู้นำกระทำบทบาทดังกล่าว
ได้อย่างมีประสิทธิผล
ในความเห็นของผู้เขียน บทบาทที่สำคัญของผู้นำมีดังนี้
1. ด้านการกำหนดทิศทางการทำงาน
2. ด้านการจัดการในองค์การ
3. ด้านการสั่งการ
4. ด้านความสัมพันธ์
5. ด้านอำนาจหน้าที่
6. ด้านคุณสมบัติส่วนบุคคล
บทบาทผู้นำดังกล่าวมีความสำคัญต่อองค์การ เนื่องจากผู้นำที่ดีต้อง
มีการกำหนดทิศทางการทำงาน ซึ่งหมายถึงการมีวิสัยทัศน์ไปสู่อนาคตและการพัฒนาในระยะยาว รวมทั้งกำหนดกลยุทธ์ที่ต้องการเปลี่ยนแปลงในอนาคต
มีการจัดการที่ดี เพื่อให้ทีมงานรับผิดชอบงานของเขาเองให้ดีที่สุด นอกจากนี้ ผู้นำยังเป็นผู้ที่เกี่ยวข้องกับความพยายามที่จะสื่อสารเพื่อให้ทุกคนในองค์กรทราบวิสัยทัศน์ร่วมกันแก้ไขปัญหา รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น เพื่อให้เกิดความร่วมมือที่ดีและนำไปสู่การปฏิบัติอย่างแท้จริง ทำให้งานบรรลุเป้าหมาย
ในด้านการสั่งการผู้นำมีบทบาทที่จะทำให้พนักงานรู้ว่าตนเองกำลังทำอะไรอยู่ และทำอย่างไรจึงจะง่ายขึ้น รวมทั้งรู้สึกถึงการทำงานร่วมกันเป็นทีมโดยที่ทุกคนมีความเท่าเทียมกันในผลงานที่บรรลุผลสำเร็จ
สำหรับด้านความสัมพันธ์ ผู้นำจะเน้นที่ความมีอิทธิพลส่วนบุคคลซึ่งอยู่บนพื้นฐานของอิทธิพลที่ไม่ใช้การบังคับ จะใช้การจูงใจและกระตุ้นบุคคลโดยมอบอำนาจให้ตัดสินใจได้ด้วยตนเอง เป็นการสร้างความท้าทายในงานเพื่อผลักดันให้พนักงานไปสู่เป้าหมายด้วยตนเอง เป็นผลสำเร็จที่มีค่ามากกว่าการให้รางวัลตอบแทน
และในด้านอำนาจหน้าที่ อำนาจของผู้นำมาจากคุณสมบัติส่วนตัวของผู้นำที่ไม่ได้อำนาจตามตำแหน่ง ซึ่งผู้บริหารบางคนอยู่ในตำแหน่งที่มีอำนาจหน้าที่แต่อาจไม่มีความเป็นผู้นำเลย แต่ผู้นำจะกำหนดให้ตนเองเป็นผู้สอนแนะหรืออำนวยความสะดวกให้แก่พนักงาน พื้นฐานของผู้นำมิใช่เพื่อตนเอง แต่เพื่อผู้อื่น งานที่สำคัญของผู้นำคือการช่วยพัฒนาผู้อื่นให้เจริญเติบโตก้าวหน้าและในด้านคุณสมบัติส่วนบุคคล
ผู้นำนอกจากมีคุณสมบัติด้านทักษะการทำงานแล้ว ยังมีความกระตือรือร้น ความซื่อสัตย์ ผู้นำจะคำนึงถึงผู้อื่น และสร้างคุณค่าให้แก่ผู้อื่น เป็นผู้ยอมรับความผิดพลาดและกล้าที่จะเสี่ยงในความผิดพลาดที่จะเกิดขึ้น รับฟังผู้อื่น ไว้วางใจผู้อื่น และเรียนรู้จากผู้อื่น และบทบาทที่ผู้นำได้แสดงในด้านต่าง ๆ ล้วนเป็นประโยชน์ต่อองค์การในภาพรวม ที่จะช่วยส่งเสริมให้องค์การบรรลุผลสำเร็จในเป้าหมายได้ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว
ผู้เขียนมีการแนะนำที่จะช่วยให้ผู้นำกระทำบทบาทดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิผล คือ
- ผู้นำต้องรู้จักรวบรวมข้อมูล
- ค้นหาแบบฉบับการทำงานที่ถูกต้อง
- มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี
- มีการสื่อสารที่ดี
- มีมุมมองที่กว้างไกลเพราะจะเป็นตัวบ่งชี้ในอัตราเสี่ยงของธุรกิจ
- การทำงานทุกอย่างควรมีการวางแผน การวางแผนที่ดีต้องมีการควบคุม และใช้ตรวจสอบการปฏิบัติงานได้โดยเฉพาะแผนระยะยาวต้องคำนึงถึงสภาวะแวดล้อมของโลกควบคู่ไปด้วย
- ต้องมีการมอบหมายอำนาจภายหลังการกำหนดแนวทาง
ข้อ 3. แนวคิดเรื่องจูงใจ (Motivation) และแรงบันดาลใจ (Inspiration) ของพนักงานมีความสำคัญอย่างไรต่อความสำเร็จของการเปลี่ยนแปลง ? แนวคิดทั้งสองนี้แตกต่างจากการควบคุมอย่างไร ผู้เขียนได้เสนอวิธีการใดบ้างที่ทำให้แนวคิดทั้งสองบังเกิดผลในทางปฏิบัติ
แนวคิดเรื่องจูงใจ (Motivation) และแรงบันดาลใจ (Inspiration) ของพนักงานมีความสำคัญต่อความสำเร็จของการเปลี่ยนแปลง ทั้งนี้เพราะหากปราศจากการจูงใจแล้ว ความคิดสร้างสรรค์ที่จะบันดาลใจให้บุคลากรเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมใหม่ก็จะเกิดขึ้นได้ยาก หรือหากจะเกิดขึ้นก็เพียงชั่วคราวเท่านั้น ด้วยเหตุนี้ การจูงใจจึงเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นอย่างมากสำหรับผู้บริหาร โดย
เฉพาะอย่างยิ่งการเสริมกำลังใจและจูงใจให้บุคลากรสนใจรักในการปฏิบัติงาน ปัจจุบันหลักการบริหารจัดการมุ่งเน้นเรื่องการจูงใจและแรงบันดาลใจเป็นพื้นฐานไปสู่ความสำเร็จในการปฏิบัติงานก็อาจกล่าวได้
บุคลากรทุกคนที่มุ่งมั่น ทุ่มเท เพื่อความสำเร็จ ไม่ได้มีผลมาจากเงินเป็นปัจจัยสำคัญอย่างเดียวที่จะจูงใจให้บุคลากรอยู่กับองค์การนาน ๆ ได้ การให้โอกาสพัฒนางานอาชีพ สร้างความมั่นคงในการปฏิบัติงาน ตำแหน่งหน้าที่ ความเสมอภาค ความยุติธรรม และการให้โอกาสเป็นส่วนหนึ่งขององค์การ เช่น
การถือหุ้น ก็จะเป็นแรงบันดาใจให้บุคลากรกระตือรือร้น มุ่งมั่นที่จะปฏิบัติตนให้เกิดผลสำเร็จ และนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงขององค์การให้เติบโตก้าวหน้าทัดเทียมกับคู่แข่งขันได้ ด้วยเหตุที่บุคลากรต่างมีความรู้สึกเดียวกันว่า สิ่งตอบแทนทั้งหลายที่องค์การมอบให้เสมือนแรงกระตุ้นหรือจูงใจให้ทุกคนตระหนักในภาระหน้าที่อย่างไม่เห็นแก่ความเหน็ดเหนื่อย หรือความยากลำบาก
แนวคิดทั้งสองแตกต่างจากการควบคุม ดังนี้
1. การควบคุมเป็นการวางกรอบ หรือบทบาทที่ไม่สามารถทำให้บุคลากรเห็นความสำคัญขององค์การ ถ้าการควบคุมเข้มงวด และไม่เปิดโอกาสให้บุคลากรได้ใช้ความคิดริเริ่มได้ตามความสามารถ
2. การควบคุมอาจถูกมองในทางลบ ในลักษณะของการจับผิด ไม่ไว้วางใจ ในความรู้สึกของปฏิบัติงานได้
3. การควบคุม เป็นเสมือนการปิดกั้นแนวความคิด ทุกคนพยายามทำให้สำเร็จตาม
ขอบเขตของานที่กำหนดไว้
กล่าวโดยสรุปในความแตกต่าง ผู้เขียนมองเห็นว่า การจูงใจ แรงบันดาลใจ นำไปสู่ความสำเร็จอย่างมั่นคงทั้งตัวบุคลากรและองค์การ ขณะเดียวกันการควบคุมก็เข้าไปสู่ความสำเร็จเช่นกัน
แต่ความสำเร็จนั้นอยู่ในขอบเขตจำกัด ไม่สามารถจะดึงเอาความรู้ ความสามารถที่มีอยู่ในตัวบุคลากรมาพัฒนาหรือปฏิบัติงานให้สัมฤทธิ์ผลดีที่สุดได้ และอาจจะไม่ยั่งยืนตลอด และท้ายสุดองค์การก็จะสามารถรักษาคนเก่งไว้ได้
วิธีที่ทำให้แนวคิดทั้งสองบังเกิดผล จะต้องมีการปฏิบัติ ดังนี้
1. ให้ความสำคัญต่อสัมฤทธิ์ผลของงาน บุคลากรส่วนใหญ่ต้องการความสำเร็จและความก้าวหน้าในหน้าที่งาน ถ้าผู้นำหรือผู้บริหารยอมรับในข้อนี้ ก็ย่อมสนับสนุนให้บุคลากรได้มีโอกาสประสบความสำเร็จในการทำงานตามศักยภาพของแต่ละบุคคล
2. ให้การยอมรับ โดยปกติแล้วคนทุกคนมีความรู้ความสามารถ และทักษะในการทำงานที่แตกต่างกัน ดังนั้นถ้าผู้บริหารแสดงออกถึงพฤติกรรมยอมรับในความคิดหรือความสามารถของบุคคล ไม่ว่าจะเป็นคำยกย่องชมเชย หรือการให้ข้อมูลย้อนกลับที่เหมาะสมจะมีส่วนจูงใจในการทำงานมากยิ่งขึ้น
3. ส่งเสริมความก้าวหน้า ความก้าวหน้าเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องการ เพราะการเข้าสู่ตำแหน่งใหม่หรือความต้องการทำงานในสถานการณ์ใหม่ที่มีความหมาย ความท้าทาย จะทำให้บุคคลนั้นได้มีโอกาสพัฒนาทักษะการทำงานอยู่เสมอ
4. การให้ความสนใจ การให้บุคคลได้มีโอกาสพัฒนา หรือเสริมสร้างทักษะการทำงาน ตามที่เขามีความสนใจหรือให้เขาได้มีโอกาสใช้ความรู้ ความสามารถในการทำงานที่เขาสนใจ นับเป็นการจูงใจที่ดีอีกวิธีหนึ่ง
5. การให้ความรับผิดชอบ สำหรับบุคคลที่มีความสามารถ มีไหวพริบและทักษะในการทำงานที่ดี อยากที่จะทำงานด้วยสำนึกและความรับผิดชอบของตนเอง
6. การมีส่วนร่วมในการทำงาน การเปิดโอกาสให้บุคคลได้มีส่วนร่วมในการทำงานมากขึ้น โดยเฉพาะในเรื่องการวางแผนกำหนดนโยบาย วิธีการทำงาน ตลอดจนการตัดสินใจ จะสร้างให้เกิดความรู้สึกผูกพันกับองค์การหรือหน่วยงาน การให้มีส่วนร่วมในการทำงานนี้จะจูงใจให้บุคคลยอมรับในความสามารถซึ่งกันและกัน และมีโอกาสพัฒนาการทำงานเป็นทีมด้วย
ข้อปฏิบัติขององค์การที่กล่าวมา จะเห็นได้ว่ามีองค์ประกอบอื่น ๆ อีกหลายประการที่มีผลต่อการจูงใจ และสร้างแรงบันดาลใจนอกเหนือจากเงิน ซึ่งอาจจะเป็นรางวัลในการทำงานของบุคคลที่แต่ละคนมีความต้องการแตกต่างกัน บางคนมีความต้องการทางร่างกายสูง บางคนมีความต้องการทางสังคมสูง ดังนั้น ผลตอบแทนที่จะเป็นแรงจูงใจอาจจะสนองความต้องการของแต่ละบุคคลไม่เหมือนกัน
ข้อ 4. อธิบายความหมายของ “วัฒนธรรมความเป็นผู้นำ” (Culture of Leadership) แนวคิดนี้มีความสำคัญอย่างไร ? ท่านมีข้อเสนอใดเพื่อให้องค์การของท่านนำแนวคิดนี้ไปปฏิบัติให้เกิดผลเป็นรูปธรรม?
ความสำคัญของแนวคิด “วัฒนธรรมความเป็นผู้นำ” คือ
ผู้บริหารต้องตระหนักถึงความสำคัญในการสร้างคนวัยหนุ่มสาวระดับล่าง ที่มีศักยภาพในการทำงาน และมีภาวะความเป็นผู้นำ ให้พัฒนาขึ้นไปสู่ตำแหน่งผู้นำที่สำคัญหรือเป็นส่วนหนึ่งของผู้บริหารระดับสูง โดยกำหนดสิ่งที่จำเป็นในการฝึกและพัฒนาพวกเขา เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับผู้ที่ได้รับการพิจารณาว่ามีศักยภาพการเป็นผู้นำและความชำนาญใดที่เขาต้องการเพื่อพัฒนา ซึ่งผู้บริหารในบริษัทต้องใช้เวลาในการวางแผนการฝึกเพื่อพัฒนาเขาเหล่านั้น โดยบางครั้งอาจทำแผนแบบเป็นทางการหรือแผนพัฒนาขั้นสูง แต่ส่วนใหญ่จะทำแบบไม่เป็นทางการ อีกกรณีหนึ่ง สิ่งที่แสดงออกเป็นการประเมินสติปัญญาของสิ่งที่เป็นไปได้ในการพัฒนาโอกาสที่เหมาะสมกับผู้ที่ได้รับการคัดเลือก การกระตุ้นให้ผู้จัดการเข้าร่วมกิจกรรมเหล่านี้ เช่น มีการจัดประชุมระดับฝ่ายทุกอาทิตย์ หรือ จัดประชุมระดับบริหารประจำเดือน เป็นต้น
ท่านมีข้อเสนอประการใดเพื่อให้องค์การของท่านนำแนวคิดนี้ไปปฏิบัติให้เกิดผลเป็นรูปธรรม
แต่ละบริษัทควรจะเตรียมความพร้อมสำหรับพัฒนาศักยภาพพนักงานระดับปฏิบัติการ ที่จะได้รับการ Promote ขึ้นเป็นหัวหน้างาน, หัวหน้างาน ขึ้นเป็นผู้จัดการ, ผู้จัดการขึ้นเป็นผู้บริหารระดับสูง ซึ่งมีหลายวิธีกในการจัดเตรียมแผนการพัฒนารายบุคคล ดังนี้
1. จัดหลักสูตรฝึกอบรมเทคนิคการเป็นหัวหน้างาน
2. จัดหลักสูตรฝึกอบรมภาวะผู้นำ
3. จัดหลักสูตรฝึกอบรมเทคนิคการจัดการ
4. ใช้วิธีการ Coaching
5. มีการจัดประชุมฝ่ายบริหารทุกเช้าเป็นเวลา 1 ชั่วโมง เพื่อรายงานความก้าวหน้าของงานและปัญหาที่เกิดขึ้น