Custom Search

MBA Holiday

วันพุธที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

เครื่องหมายมาตรฐานบังคับ

ผลิตภัณฑ์ใดที่กำหนดไว้ว่าเป็นมาตรฐานบังคับ ผู้ผลิตผู้นำเข้า และผู้จำหน่ายจะต้องผลิตนำเข้าและจำหน่ายเฉพาะผลิตภัณฑ์ที่เป็นไปตามมาตรฐานเท่านั้น โดยมีเครื่องหมายมาตรฐานบังคับแสดง

เครื่องหมายมาตรฐาน

ผู้ผลิตที่ต้องการแสดงเครื่องหมายมาตรฐานที่ผลิตภัณฑ์ จะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาต เมื่อสำนักงานฯ ตรวจสอบโรงงานและผลิตภัณฑ์แล้วว่าสามารถทำได้ตามมาตรฐานอย่างสม่ำเสมอ ก็จะอนุญาตให้แสดงเครื่องหมายมาตรฐานที่ผลิตภัณฑ์

เครื่องหมายเฉพาะด้านความปลอดภัย

ผลิตภัณฑ์บางชนิดที่ต้องมีความปลอดภัยในการใช้งาน เช่น ผลิตภัณฑ์ไฟฟ้า สำนักงานฯ จะกำหนดมาตรฐานเฉพาะด้าน ความปลอดภัย หากผู้ผลิตได้รับอนุญาตก็จะแสดงเครื่องหมายมาตรฐานเฉพาะด้านความปลอดภัยที่ผลิตภัณฑ์

หากองค์กรเป็นผู้หนึ่งที่ได้รับการรับรองระบบคุณภาพของโรงงานภายใต้อนุกรมมาตรฐานระบบคุณภาพ มอก. – ISO 9000 ย่อมแสดงว่าองค์กรมีระบบการบริหารงาน และการดำเนินการเป็นไปตามข้อกำหนดในอนุกรมมาตรฐานระบบคุณภาพ มอก. – ISO 9000 องค์กรมีสิทธิอย่างเต็มที่ในการแสดงเครื่องหมายรับรองคุณภาพให้เป็นที่ปรากฏไม่ว่าจะะเป็นบนหัวกระดาษจดหมาย เอกสารหรือสิ่งพิมพ์ของบริษัทและในการโฆษณาต่าง ๆ แต่ทั้งนี้ยกเว้นการแสดงเครื่องหมายบนผลิตภัณฑ์และหีบห่อผลิตภัณฑ์

การเลือกแบบสำหรับการรับรองระบบคุณภาพ

มอก. – ISO 9000 : ชุดมาตรฐานฉบับนี้ แจกแจงให้ทราบถึงความจำเป็นในการดำเนินการ ตามนโยบายของการจัดการและ การประกันคุณภาพ (quality assurance) รวมทั้งบ่งบอกถึงความสัมพันธ์และความแตกต่างระหว่างแนวคิด และข้อกำหนดต่าง ๆ ในการเลือกใช้ มาตรฐาน มอก. – ISO 9001, มอก. – ISO 9002, และ มอก. – ISO 9003 กรณีไม่มีข้อตกลงให้เลือก มอก. – ISO 9004 ส่วนที่มีข้อตกลงก็เลือก มอก. – ISO 9001, มอก. – ISO 9002, หรือ มอก. – ISO 9003 อันใดอันหนึ่ง เพื่อเป็นการประกันคุณภาพให้กับผู้บริโภค

มอก. – ISO 9001 ใช้เมื่อผู้ส่งมอบ (supplier) ประกัน (guarantee) ว่าในขั้นตอนทั้งหลาย รวมตั้งแต่การออกแบบ/พัฒนา การผลิต การติดตั้ง และการบริการ ไปตามข้อกำหนด

มอก – ISO 9002 ใช้เมื่อผู้ส่งมอบประกันว่า ในขั้นตอนการผลิตและการติดตั้งเป็นไปตามข้อกำหนด

มอก – ISO 9003 ใช้เมื่อผู้ส่งมอบประกันว่า การตรวจสอบ และการทดสอบขั้นสุดท้ายเท่านั้น เป็นไปตามข้อกำหนด

มอก – ISO 9004 มาตรฐานนี้กำหนดแนวทางกลวิธีการบริหารงาน และองค์ประกอบบุคคลที่มีผลต่อคุณภาพของผลิตภัณฑ์ หรือบริการทุกขั้นตอนในวงจรคุณภาพ นับจากการตรวจหาความต้องการจนถึงทำให้ผู้บริโภคพึงพอใจ

ประโยชน์ของการควบคุมคุณภาพ (benefit of quality control)

การควบคุมคุณภาพ ไม่ได้จำกัดอยู่กับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเท่านั้น จะต้องทำเป็นระบบทั้งองค์การตั้งแต่การควบคุมระดับนโยบายการออกแบบผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพตามที่กำหนด ตลอดทั้งการควบคุมคุณภาพในการผลิต ซึ่งประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ

(1) การตรวจสอบคุณภาพวัตถุดิบ
(2) การควบคุมการผลิตในกระบวนการผลิต
(3) การตรวจสอบคุณภาพของผลิตภัณฑ์ที่ทำสำเร็จรูปแล้วประโยชน์อันเกิดจากการควบคุมคุณภาพที่ วิชัย แหวนเพชร, 2534 หน้า 1144) ได้สรุปดังนี้

1. ลดค่าใช้จ่าย เช่น ลดการทำให้ผลผลิตเสียหาย ลดการทำงานซับซ้อน ลดการซ่อมแซมหรือแก้ไขผลผลิตใหม่ ลดค่าใช้จ่ายในการคัดเลือกผลิตภัณฑ์ดีไม่ดีออกจากัน และลดเวลา เนื่องจากหยุดทำการผลิตได้
2. ลดค่าใช้จ่ายภายนอกในโรงงาน เช่น ค่าโฆษณา ลดการต่อว่าหรือตำหนิจากลูกค้า
3. ทำให้ขายผลผลิตได้ในราคาที่ตั้งไว้ หากผลผลิตไม่มีคุณภาพย่อมไม่ได้รับความนิยมอาจจะทำให้ลดราคาถึงจะขายได้
4. ทำให้บรรยากาศในการทำงานดีขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้เกิดพัฒนาคุณภาพต่อไป
5. ทำให้บรรยากาศในการทำงานดีขึ้น เพราะธุรกิจดำเนินไปด้วยดีย่อมส่งผลให้พนักงานมีกำลังใจ มีความภาคภูมิใจ

0 Comments:

Post a Comment



บทความที่ได้รับความนิยม