Custom Search

MBA Holiday

วันพฤหัสบดีที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2555

ในการวางผังโรงงานขั้นต้นจะต้องพิจารณาถึงการขนย้ายวัสดุและพื้นที่บริเวณทั้งภายในและภายนอกโรงงานอุตสาหกรรม สำหรับบริเวณภายนอกจะต้องกำหนดบริเวณที่ตั้งของโรงงาน สนามหญ้า ถนน ที่จอดรถ สถานที่พักผ่อนหย่อนใจ โกดังเก็บของหน่วยบริการอื่น ๆ และหน่วยขนส่งตลอดจนสิ่งอำนวยความสะดวกอื่น ๆ ส่วนสำหรับพื้นที่บริเวณภายในโรงงานก็จะต้องรู้ว่าจะแบ่งส่วนงานอย่างไร ติดตั้งเครื่องมือบริเวณใด ส่วนไหนของตัวอาคารโรงงานจะทำอะไร การไหลเวียนของชิ้นงานเป็นอย่างไร ซึ่งการผังโรงงานในขั้นต้นนี้ จะมีข้อที่ต้องพิจารณาอยู่ 2 ประการ คือ

1. การขนย้ายวัสดุ (Material handling) ในการวางผังโรงงาน จะต้องพยายามหาวิธีที่จะทำให้การขนย้ายวัสดุ (material
handling) เป็นไปอย่างสะดวกที่สุด และการขนย้ายวัสดุที่ดีจะต้องให้เป็นเส้นตรงสายการผลิตไม่ย้อนเส้นทางเดิม ปัจจุบันมีการประดิษฐ์เครื่องมือใหม่ ๆ สำหรับใช้ในการขนย้ายวัสดุ ในการวางผังการขนย้ายวัสดุ ผู้รับผิดชอบจะต้องรู้ว่าทางโรงงาน จะเลือกเครื่องมือที่ใช้ในการขนย้ายวัสดุแบบใด และในอนาคตจะนำเครื่องมือแบบใดเข้ามาใช้ในการขนย้ายวัสดุ การวางผังเส้นทางการขนย้ายวัสดุ จะต้องวางผังให้สอดคล้องกับเครื่องมือ เครื่องจักร ในการขนย้ายวัสดุที่จะมาใช้ด้วย เช่น ลักษณะเครื่องขนย้าย ขนาดความกว้าง ความสูง ทิศทาง การเคลื่อนที่ ซึ่งลักษณะเครื่องมือ เครื่องจักรที่นำมาใช้ในการขนย้ายนั้นมีด้วยกันหลายอย่าง คือ
1.1 ขนย้ายวัสดุเป็นหน่วย (A Unit Load System) เป็นการขนย้ายวัสดุเป็นหน่วยหรือเป็นชุดสำหรับงานที่เส้นทางขนย้ายเปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ๆ หรือเส้นทางขนย้ายวัสดุมีขนาดกว้างใหญ่พอ เครื่องมือที่นิยมใช้ขนย้ายวัสดุแบบเป็นหน่วย คือ รถยก (Froklift Truct) การขนย้ายวัสดุโดยใช้รถยก (Froklift Truct) จะเป็นการขนย้ายที่ไม่ไกลเกินไป เช่น อาจขนย้ายวัสดุจากโรงเก็บไปยังแผนกต่าง ๆ ภายในโรงงาน แต่ถ้าเป็นการขนย้ายระยะทางไกล ๆ ส่วนมากจะใช้รถบรรทุก รถไฟ รถพ่วง ถ้าหากเป็นการขนย้ายไปต่างประเทศก็จะใช้ เรือ ขนส่งสินค้าผ่านทางท่าเรือคลองเตย หรือไม่ก็ใช้เครื่องบินลำเลียง
1.2 การขนย้ายโดยใช้สายพานลำเลียง (Conveyor Systems) การขนย้ายวัสดุ โดยใช้สายพานลำเลียง เป็นการขนย้ายชนิดหนึ่งที่นิยมกันมาก ก็เนื่องจากการขนย้ายแบบนี้เป็นการขนย้ายได้มากและขนย้ายวัดสุเกือบตลอดเวลา โดยการขนย้ายแบบใช้สายพานลำเลียงนี้จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงเส้นทางลำเลียง เช่น การลำเลียงกระป๋องอาหารที่บรรจุสำเร็จเรียบร้อย การลำเลียงดินหรือถ่านหินลิกไนต์ ในเหมืองแร่แม่เมาะของการไฟฟ้าฝ่ายผลิต (EGAT : Electricity Generation Authority of Thailand)
1.3 การขนย้ายวัสดุแบบแขวน (Overhead Handling Equipment) เป็นการขนย้ายวัสดุวิธีหนึ่งที่ใช้วิธีการขนย้ายวัสดุแบบธรรมดา ทำได้ไม่สะดวกเนื่องจากพื้นที่โรงงานไม่เพียงพอ หรือวัสดุที่ขนย้ายมีขนาดใหญ่จะเป็นการลำบากมากหรือทำไม่ได้ หากจะใช้วิธีการขนย้ายธรรมดา จึงจะต้องใช้ วิธีขนย้ายวัสดุแบบแขวน (Overhead Handling Equipment) เช่น การลำเลียงโครงข้างตัวถังรถบัสโดยสาร ของโรงงานประกอบรถบัส บริษัทที่ผลิตแห่งหนึ่ง ขึ้นประกอบ การลำเลียงตู้บรรจุหีบห่อ (Containers) จากเรือบรรทุกขึ้นฝั่ง เป็นต้น ตัวอย่างเครื่องมือขนย้ายแบบนี้ ได้แก่ ปั่นจั่นแขวนแบบต่าง ๆ เป็นต้น
ในอุตสาหกรรมการผลิต ค่าใช้จ่ายทางอ้อมมีผลต่อค่าใช้จ่ายทั้งหมดของการผลิต
ค่าใช้จ่ายในการขนย้ายวัสดุเป็นค่าใช้จ่ายที่สำคัญมากอย่างหนึ่ง ดังนั้น เราจะเลือกเครื่องมือขนย้ายวัสดุแบบใด จะต้องพิจารณาและยึดหลักปฏิบัติ ดังนี้ (อ้างจาก ฉลวย ธีระเผ่าพงษ์ และอุทัยวรรณ สุวคันธกุล, 2536 : 113) คือ

1. เครื่องมือดังกล่าวจะต้องทำให้ค่าใช้จ่ายในการขนย้ายวัสดุต่ำสุด (save cost transport)
2. เวลาในการขนย้ายวัสดุลดลง (save time)
3. ทำให้การขนส่งเป็นไปด้วยความรวดเร็ว (Rapid transport)
4. บริเวณโรงงานใช้ประโยชน์ด้านต่าง ๆ ได้มากขึ้น
5. ทำการขนย้ายได้ง่ายและมีประสิทธิภาพมากขึ้น (Easy transport)
6. ลดความเสียหายอันเนื่องมาจากการขนย้าย (Reduce defect of transportation)
7. การขนย้ายมีความปลอดภัยต่อผู้ที่เกี่ยวข้องในการขนย้ายสูง (Safety)

เครื่องมือขนย้ายวัสดุนอกจากจะคำนึงถึงหลักการต่าง ๆ ดังกล่าวแล้ว เรายังจะต้องคำนึงถึง ลักษณะของเครื่องมือที่ออกแบบมาด้วย ซึ่ง ฉลวย ธีระเผ่าพงษ์ และอุทัยวรรณ สุวคันธกุล (2536 : 113) ได้เสนอเอาไว้ ดังนี้

1. ชานชลารับส่งของในโรงงานกว้างขวางและสูงต่ำแค่ไหน
2. ความสูงของประตูโรงงาน เป็นอย่างไร
3. ความสูงของเพดานโรงงาน
4. ความแข็งแรงของตัวอาคารโรงงาน
5. การใช้กระแสไฟฟ้า
6. ลักษณะผังภายในโรงงาน

0 Comments:

Post a Comment



บทความที่ได้รับความนิยม