Custom Search

MBA Holiday

วันจันทร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2555

ค่าชดเชยคือ เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้างนอกเหนือจากเงิน ประเภทอื่นซึ่งนายจ้างตกลง จ่ายให้แก่ลูกจ้างค่าชดเชยจึงเป็นเงินที่นายจ้างมีหน้าที่จ่ายตามกฏหมายคุ้มครอแรงงานเมื่อนายจ้างเป็นฝ่ายเลิกจ้าง ถ้านายจ้างมิได้เลิกจ้างลูกจ้าง แต่ลูกจ้างลาออกจากงานไปทิ้งงานไปหรือลูกจ้างถึงแก่ความตาย นายจ้างก็ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย ดังนั้นในการที่จะดูว่าลูกจ้างจะได้รับค่าชดเชย หรือไม่ต้องดูรายละเอียด ดังต่อไปนี้



การจ่ายค่าชดเชยนายจ้างต้องชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งถูกเลิกจ้าง โดยคำนวณจากค่าจ้างอัตราสุดท้าย หรือคำนวณจาก ค่าจ้างของการ ทำงานระยะเวลาสุดท้ายสำหรับกรณีที่ลูกจ้างนั้น ได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณ เป็นหน่วยโดยจ่ายตามระยะเวลา ที่ลูกจ้างทำงานดังต่อไปนี้

ทำงานครบ 120 วัน แต่ไม่ครบ 1 ปี จ่ายเท่ากับค่าจ้าง 30 วัน
ทำงานครบ 1 ปี แต่ไม่ครบ 3 ปี จ่ายเท่ากับค่าจ้าง 90 วัน
ทำงานครบ 3 ปี แต่ไม่ครบ 6 ปี จ่ายเท่ากับค่าจ้าง 180 วัน
ทำงานครบ 6 ปี แต่ไม่ครบ 10 ปี จ่ายเท่ากับค่าจ้าง 240 วัน
ทำงานครบ 10 ปีขึ้นไป จ่ายเท่ากับค่าจ้าง 300 วัน (มาตรา 118)
ค่าชดเชยต้องจ่ายทันที่เมื่อเลิกจ้าง หากไม่จ่ายถือว่าผิดนัด และต้องเสียดอกเบี้ยโดยไม่ต้องทวงถาม (ฎีกาที่ 1017/2524, 2476/2537) สิทธิเรียกร้องค่าชดเชยเป็นมรดก ไม่ใช่สิทธิเฉพาะตัว (ฎีกาที่ 1269/2524) สิทธิเรียกร้องค่าชดเชยมีอายุความ 10 ปี (ฎีกาที่ 2859/2525)


นอกจากนี้ สิ่งที่ควรทำความเข้าใจ คือ ค่าตอบแทนการทำงานประเภทใด ที่ถือว่าเป็นค่าจ้างบ้าง อะไรไม่ใช่ค่าจ้าง เช่น ค่าพาหนะ ค่าครองชีพ ค่าต่ำแหน่ง ค่าเช่าบ้าน โบนัส ค่าคอมมิชชั่น ค่าตรวจรักษาโรค ค่าอาหารฯ สำหรับเรื่องนี้ มีปัญหาลูกจ้างร้องเรียนถึงเจ้าหน้าที่ตรวจแรงงานอยู่หลายครั้ง

ต่อมาเมื่อมีคดีถึงศาลแรงงาน และมีคำพิพากษาฎีกาแล้ว จึงได้พิจารณาคำนิยามของ ค่าจ้าง ที่ระบุไว้ใน พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน ฉบับปี พ.ศ. 2541 ว่า ค่าจ้าง หมายความถึง เงินที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกันจ่ายเป็นค่าตอบแทนในการทำงาน ตามสัญญาจ้าง สำหรับระยะเวลาการทำงานปกติ เป็นรายชั่วโมง รายวัน รายสัปดาห์ รายเดือน หรือระยะเวลาอื่น หรือจ่ายให้โดยคำนวณตามผลงานที่ลูกจ้างทำได้ในเวลาทำงานปกติของวันทำงาน และให้หมายความรวมถึงเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างในวันหยุด และวันลาที่ลูกจ้างมิได้ทำงาน แต่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับตาม พ.ร.บ.นี้

0 Comments:

Post a Comment



บทความที่ได้รับความนิยม