ภาวะผู้นำ เป็นส่วนหนึ่งของหน้าที่ในการจัดการ
หน้าที่ในการจัดการ ประกอบด้วย
Planning
Organizing
Leading
Controlling
ผู้นำ (Leader) คือ
1. ผู้ที่มี อิทธิพล เหนือคนอื่น สั่งให้คนอื่นทำงานตามที่ตนเองต้องการได้
2. เป็นคนที่มี อำนาจสั่งการ มีความเชี่ยวชาญ เป็นที่ยอมรับ จนคนอื่นยอมทำตาม
3. เป็นบุคคลที่ แนวโน้มและจูงใจคนอื่น เพื่อให้คนที่เป็นผู้ใต้บังคับบัญชายอมทำตามได้
ผู้นำเป็นได้ 2 แบบ
ผู้นำตามตำแหน่ง (Authority) ผู้นำที่ได้รับอำนาจโดยตำแหน่ง แต่งตั้งอย่างเป็นทางการ เช่น ผู้จัดการ ผู้อำนวยการ หัวหน้างาน ฯลฯ
ผู้นำที่มีอำนาจบารมี (Power) ผู้นำแบบไม่เป็นทางการ ไม่มีตำแหน่ง แต่มีลักษณะเป็นที่ยอมรับ ได้รับความเชื่อถือจากกลุ่ม ยอมรับจากประสบการณ์ และความสามารถ
ผู้บริหารที่ดี ควรเป็นผู้นำที่มีทั้ง อำนาจตามตำแหน่ง และ อำนาจบารมี ประกอบรวมกันในคนเดียวกัน ถึงจะทำให้ความเป็นผู้นำสมบูรณ์มากขึ้น
ผู้นำที่ดีต้องมีวิสัยทัศน์
วิสัยทัศน์ (Vision) คือ ความคิดในใจ หรือ ภาพในใจ หรือ จินตนาการที่เกิดขึ้น แล้วสามารถนำไปปฏิบัติได้จริงในอนาคต โดยคนอื่นยอมรับ
สิ่งที่ส่งเสริมให้เกิดวิสัยทัศน์ได้ คือ
ต้องมีอุดมคติ คือ มีความชัดเจนทางความคิด และเป็นความคิดที่สร้างคุณค่าให้ส่วนรวม อุดมคติ นำมาซึ่ง วิสัยทัศน์
ต้องมีลักษณะโดดเด่นที่แตกต่างจากคนอื่น เช่น มีความดี ความขยันขันแข็งจนเป็นที่ยอมรับ เป็นคนที่พูดคำไหนคำนั้น
อุดมคติ + ลักษณะโดดเด่น ส่งเสริมให้เกิด วิสัยทัศน์ และ วิสัยทัศน์ ส่งเสริมให้เกิด ความเป็นผู้นำ
สิ่งสำคัญของวิสัยทัศน์
วิสัยทัศน์ เป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับผู้นำที่ดี
คน หรือ ทีม สามารถพัฒนาวิสัยทัศน์สำหรับทุกๆ งานได้
ผู้บริหารไม่สามารถพัฒนาไปสู่ Strong Leader ได้ ถ้าไม่พัฒนาวิสัยทัศน์ให้มีความชัดเจน
วิสัยทัศน์ไม่เหมาะสม คือ
ผู้นำที่มองความต้องการของตนเอง เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัวมากเกินไป แล้วนำมากำหนดเป็นวิสัยทัศน์ จะทำให้วิสัยทัศน์ไม่สำเร็จ
มองภาพความต้องการของคนที่มีส่วนเกี่ยวข้อง เอาตัวเองเป็นหลัก
วิสัยทัศน์ต้องเปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณ์
การนำ และ การจัดการ
การนำ เป็นส่วนหนึ่งของการจัดการ ถ้าสามารถสร้างความสามารถในการนำให้เกิดขึ้นกับผู้จัดการ ถ้าผู้จัดการคนไหนมีภาวะผู้นำที่ดี เป็นผู้นำที่เก่ง จะเป็นผู้จัดการที่มีความสามารถด้วย
ผู้จัดการ เป็นผู้มีส่วนร่วมในการบริหาร และประสานกิจกรรมขององค์การ ผู้จัดการถือเป็นปัจจัยที่ทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จ
Q : คุณคิดว่าผู้จัดการจำเป็นต้องมีภาวะผู้นำด้วยหรือไม่ ?
A : จำเป็น เพราะผู้จัดการเป็นหน้าที่โดยตำแหน่ง คนจะยอมรับและรับฟังผู้จัดการ เพราะเค้าได้อำนาจตามตำแหน่ง แต่ผู้จัดการที่มีภาวะผู้นำ คนจะเชื่อถือและยอมรับ นอกจากตำแหน่งและงานที่ทำยังยอมรับในฝีมือ ความสามารถ และศรัทธาในตัวผู้นำทั้งในงาน และ นอกงาน
Q : ผู้จัดการที่เป็นอำนาจโดยตำแหน่ง ต่างจาก ผู้นำที่มีภาวะผู้นำอย่างไร
A : ผู้จัดการเป็นอำนาจตามตำแหน่งอย่างเป็นทางการ แต่ในขณะที่ผู้นำที่มีภาวะผู้นำ เป็นผู้นำที่ได้รับการยอมรับจากเพื่อนร่วมงาน
สิ่งที่เหมือนกัน คือ เป็นผู้นำเหมือนกัน
สิ่งที่ต่างกัน คือ ผู้จัดการเป็นผู้นำโดยตำแหน่ง แต่ผู้นำที่มีภาวะผู้นำเป็นโดยได้รับการยอมรับจากคน โดยทั่วไป
ถ้าผู้จัดการมีทั้ง อำนาจโดยตำแหน่ง และ ภาวะความเป็นผู้นำ จะพร้อมสมบูรณ์
ผู้จัดการที่ดี ต้องมีภาวะความเป็นผู้นำด้วย เพื่อให้สามารถบริหารจัดการองค์การ โดยใช้ภาวะความเป็นผู้นำให้คนอื่นเชื่อถือและยอมรับ
ภาวะผู้นำของหัวหน้างาน ต่างกับ ภาวะผู้นำของผู้บริหาร
ภาวะผู้นำ ของ หัวหน้างาน แสดงออกโดย ให้ความช่วยเหลือ ให้การสนับสนุน ให้แนวทาง ให้คำแนะนำการทำงาน แก่ลูกน้อง ให้ทำงานได้ง่ายขึ้น
ภาวะผู้นำ ของ ผู้บริหาร มีหน้าที่วางกลยุทธ์ ตัดสินใจ ออกคำสั่ง แล้วให้ลูกน้องทำตาม
การเป็นผู้ตาม
ผู้ตามส่งผลต่อความสำเร็จของผู้นำ
ผู้ตามที่มีประสิทธิภาพ มีลักษณะดังนี้
1. ผู้ตามต้องมีความคิดเป็นอิสระ คิดได้แตกต่าง หลากหลาย
2. มีความตั้งใจที่จะทำงานให้บรรลุเป้าหมายขององค์การ
3. มีความกระตือรือร้นที่จะเสนอความคิดใหม่ๆ
4. ใช้ทักษะใหม่ๆ มาสร้างประโยชน์ให้แก่องค์การ
5. ต้องทำผลงานให้สูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้
อำนาจ และ ภาวะผู้นำ (Power and Leadership Style)
ภาวะผู้นำ (Leadership Style) หมายถึง รูปแบบ หรือ Style การนำของผู้นำที่จะใช้กับผู้ใต้บังคับบัญชา เพื่อชักจูง โน้มน้าวให้ทำในสิ่งที่ผู้นำต้องการและบรรลุเป้าหมาย ต้องมีทั้งศาสตร์ (ทฤษฎีแนวคิดต่างๆ) และศิลปะในการทำให้คนอื่นยอมทำตาม เพื่อเอื้อประโยชน์แก่องค์การ
อำนาจบารมี (Power) คือ การมีอิทธิพลเหนือผู้อื่น
แหล่งที่มาของการสร้างอำนาจบารมี (Power)
อำนาจตามตำแหน่ง อำนาจตามกฎหมาย อำนาจที่ได้รับการตำแหน่งให้ดำรงตำแหน่งต่างๆ ในองค์การ เพื่อจะมีอำนาจสั่งการตามตำแหน่งที่ตนได้รับ
อำนาจที่เกิดจากการที่สามารถให้คุณแก่คนอื่นได้ เช่น รับเข้าทำงาน เลื่อนตำแหน่ง ให้โบนัส ปรับเงินเดือน
อำนาจในการลงโทษ การให้โทษคนอื่น เช่น การลดเงินเดือน การย้ายงาน หรือการให้ออกจากงาน
อำนาจที่เกิดจากคุณลักษณะส่วนบุคคล เช่น เสียง ท่าทาง การเดิน บุคลิกลักษณะ ชอบช่วยเหลือผู้อื่น เชื่อถือได้ ตรงต่อเวลา เป็นที่พึ่งพาของผู้อื่นได้ ฯลฯ เป็นอำนาจที่เกิดจากความชื่นชอบ ชื่นชม เคารพนับถือ ในบุคลิกลักษณะ ความเป็นผู้นำที่แสดงออกมา
อำนาจที่เกิดจากความเชี่ยวชาญ คนที่เป็นผู้รู้ ผู้เชี่ยวชาญ เป็นนักวิชาการ มีประสบการณ์ มีทักษะต่างๆ ก็จะแสดงความเก่ง ความฉลาด ปราดเปรื่องออกมา จนเป็นที่ยอมรับ
ทฤษฎีที่ 1 ทฤษฎีลักษณะเฉพาะของผู้นำ
แนวคิดเกี่ยวกับภาวะผู้นำตามคุณลักษณะ
คนที่จะเป็นผู้นำได้ คือ คนที่มีคุณลักษณะ ดังต่อไปนี้
1. มีแรงขับ แรงผลักดัน ในความทะเยอทะยาน ความพยายามสูง เพื่อจะก้าวหน้า
2. มีแรงจูงใจที่อยากจะเป็นผู้นำ ต้องการนำคนอื่น อยากถ่ายทอดความรู้ที่ตนมีให้แก่ผู้อื่น
3. ความน่าเชื่อถือ จากการพูดจริงทำจริง
4. มีความเชื่อมั่นในตนเอง สะสมได้จากความรู้ที่มี ความรู้จะช่วยเสริมให้เกิดความเชื่อมั่นในตนเอง
5. มีความรู้ ข้อมูลทางธุรกิจ
6. รู้ความต้องการของคนอื่น เป็นคนช่างสังเกต รู้ว่าคนอื่นต้องการอะไร เอาใจเขามาใส่ใจเรา
ทฤษฎีที่ 2 ทฤษฎีพฤติกรรมของผู้นำ
Leadership Style ในลักษณะพฤติกรรมของผู้นำ
แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับพฤติกรรมผู้นำที่แสดงออกมาในหลายๆ รูปแบบ และมีการเก็บข้อมูลจากหลายๆ มหาลัย เพื่อศึกษาผู้นำมีพฤติกรรมที่ดีที่เหมาะสมแสดงออกมาอย่างไรบ้าง
สิ่งที่เป็นตัวบอกถึงลักษณะพฤติกรรมผู้นำตาม ทฤษฎีพฤติกรรมผู้นำ จะแบ่งออกเป็น 2 ชนิดอย่างชัดเจน
แบบที่ 1. ผู้นำแบบมุ่งเน้นผลงานเป็นหลัก (Task Performance) จะให้ความสนใจในการทำงานให้บรรลุเป้าหมาย เน้นความสามารถในการทำงาน ความเร็ว คุณภาพ และผลงานที่เกิดขึ้น
แบบที่ 2 ผู้นำที่มุ่งเน้นความสามัคคีธรรมของกลุ่ม (Group Maintenance) ต้องการให้คนอยู่ร่วมกัน เคารพในกันและกัน เห็นอกเห็นใจ เข้าใจความรู้สึกของลูกน้อง เป็นผู้นำที่เน้นความต้องการของคน เคารพในความคิดเห็นของลูกน้อง ลูกน้องสามารถแสดงความรู้สึกได้ เน้นความสัมพันธ์เข้าใจซึ่งกันและกัน เห็นอกเห็นใจกัน ผู้นำแบบนี้จะพยายามให้ลูกน้องรู้สึกดี รู้สึกผูกพันธ์กับตัวผู้นำก่อน แล้วค่อยสั่งเพิ่มงาน
ตามแนวคิดบอกว่าผู้นำแบบนี้ เมื่อทำให้ลูกน้องรักใคร่ พึงพอใจ และลูกน้องรู้สึกว่ามีส่วนร่วม ลูกน้องจะจงรักภักดีต่อผู้นำแบบเน้นความสามัคคีธรรมของกลุ่ม มากกว่า ผู้นำแบบมุ่งเน้นผลงาน
ผู้นำจะเป็นแบบใดขึ้นอยู่กับผู้ตาม/ลูกน้อง
ลูกน้องที่ชอบให้ผู้นำชี้นำอย่างเดียว ทำงานตามสั่ง จะชอบผู้นำแบบมุ่งเน้นผลงาน ผู้นำอยากได้แบบไหนก็สั่งการลงมาเลย
ลูกน้องที่เป็นนักคิด ชอบความเป็นอิสระ จะไม่ชอบให้ผู้นำมาบงการ จะชอบผู้นำที่ให้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจ เน้นความสัมพันธ์ ความสามัคคีของกลุ่ม
จากทฤษฎี Group Maintenance ทำให้เกิด ทฤษฏี Leader-member exchange theory ตามมา
ทฤษฎีการแลกเปลี่ยนระหว่างผู้นำกับสมาชิก (Leader Member Exchange Thery)
เป็นทฤษฎีการแลกเปลี่ยนระหว่างผู้นำกับสมาชิก เพื่อให้ทั้งหมดทำงานร่วมกันและแลกเปลี่ยนข้อมูลกัน เป็นการประสานกัน ว่า ผู้นำก็เห็นกับลูกน้อง และลูกน้องก็ให้ความสำคัญกับผู้นำ จะเกิดกับทฤษฎีความสามัคคีธรรมของกลุ่ม คือ ลูกน้องมีส่วนร่วม
การศึกษาของ University of Iowa
เกี่ยวกับพฤติกรรมของผู้นำกับการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ แบ่งเป็น 3 Style
ผู้นำแบบเผด็จการ (Autocratic Leadership) คือ ผู้นำตัดสินใจคนเดียว ไม่ให้ลูกน้องมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ บ้าอำนาจ เน้นการควบคุมลูกน้องอย่างใกล้ชิด เคร่งครัด และมองลูกน้องเป็นคนตามทฤษฎี X คือ มองว่า คนชอบการถูกบังคับ คนชอบให้สั่งการ คนไม่ชอบคิด)
ดังนั้น ลูกน้อง ควรจะทำผลงานให้เห็นว่าการที่ทุกคนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจผลงานจะออกมาดีกว่า
ผู้นำแบบประชาธิปไตย (democratic Leadership) คือ ผู้นำที่ยอมให้ลูกน้องมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ให้ลูกน้องมีส่วนในการแสดงความคิดเห็น ผู้นำแบบนี้จะใจกว้าง เห็นอกเห็นใจลูกน้อง ให้คำปรึกษาแก่ลูกน้องในการทำงาน ให้ลูกน้องตัดสินใจช่วยเลือกช่วยคิด แล้วดูว่า ในการตัดสินใจใครมีเสียงข้างมาก คิดแบบใด แล้วโหวตคะแนนเสียงว่าความเห็นส่วนใหญ่เป็นอย่างไรก็ตัดสินใจตามนั้น ผู้นำแบบนี้จะมองคนเป็นทฤษฏี Y คือ คนมีความเก่งในตัวเอง คนมีความสามารถ ให้คนแสดงความคิด ศักยภาพของตนออกมา ลูกน้องจะชอบผู้นำแบบนี้ และลูกน้องของผู้นำแบบนี้จะคิดอะไรใหม่ๆ สร้างสรรค์ ผู้นำแบบนี้จะรับฟังคำวิจารณ์ของคนอื่น และเชื่อว่า การตัดสินใจโดยกลุ่มน่าจะให้ผลดี และทุกคนพอใจมากกว่า
ผู้นำแบบปล่อยตามสบาย (Decision Style) ผู้นำแบบนี้ไม่มีภาวะผู้นำที่ดี และไม่มีความรู้ในการตัดสินใจให้แก่ลูกน้องได้ ดังนั้น การตัดสินใจจะเกิดกับใครก็ได้ในกลุ่ม เพราะผู้นำขาดความรู้ความสามารถ ลูกน้องไม่ให้ความเชื่อถือ ผู้นำแบบนี้เมื่อเกิดความผิดพลาดจะหลบหนี ให้ลูกน้องรับผิดชอบแต่เพียงผู้เดียว ผลงานที่ออกมาจะแย่
การศึกษาของ Ohio State University
สามารถแบ่งพฤติกรรมของผู้นำเชิงพฤติกรรมศาสตร์ได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้
มุ่งคน/คำนึงถึงผู้อื่นเป็นหลัก (Consider Action หรือ Maintenance Behavior) เป็นพฤติกรรมของการสร้างสัมพันธ์ บำรุงรักษา ให้คนเกิดความช่วยเหลือกัน สนใจความต้องการของลูกน้อง ให้ลูกน้องมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ เอาใจเขามาใส่ใจเรา เป็นมิตร เปิดโอกาสให้ลูกน้องเข้าพบ ไว้ใจลูกน้อง ให้ลูกน้องรู้สึกว่า อยู่กับผู้นำแล้วเค้าพึงพอใจ
มุ่งงาน/คำนึงถึงตนเองเป็นหลัก (Initiating Structure หรือ Task Performance Behavior) กำหนดบทบาทของตนเองให้ตัดสินใจคนเดียว มุ่งที่ผลสำเร็จของงาน คาดหวังผลงานสูง ออกคำสั่ง กำหนดเวลา และความสำเร็จของงานสูง เป็นผู้นำที่มักสนใจแต่ความต้องการของตนเอง
คุณสมบัติของผู้นำที่ควรเอาเป็นแบบอย่าง คือ Hi-Hi ผู้นำที่มุ่งคนสูง + มุ่งงานสูง ผลคือ ทำงานสำเร็จ + ลูกน้องก็พึงพอใจ
การศึกษาของ University of Michigan
ศึกษาความเป็นผู้นำโดยพิจารณาความสัมพันธ์ (ระหว่างผู้นำ กับ ผู้ใต้บังคับบัญชา) กับ ประสิทธิภาพการทำงาน
มุ่งคน ต้องเอาใจใส่ลูกน้อง เมื่อลูกน้องพึงพอใจ ยอมรับในตัวผู้นำ ผลงานจึงจะออกมาดี
มุ่งงาน เน้นผลงาน จะความสนใจกับลูกน้อง ที่แสดงผลงานดี