Custom Search

MBA Holiday

วันเสาร์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

คำถามข้อ 1
(1) ในตอนต้นของบทความ ผู้เขียนได้ชี้ให้เห็นถึงปัญหาในการตัดสินใจของผู้บริหาร ปัญหาเหล่านี้มีอะไรบ้าง (2) ในความเห็นของท่าน ปัญหาเหล่านี้เกิดขึ้นได้อย่างไร ? (3) และจะมีทางป้องกันมิให้เกิดขึ้นได้อย่างไร
- ในตอนต้นของบทความ ผู้เขียนได้ชี้ให้เห็นถึงปัญหาในการตัดสินใจของผู้บริหาร ปัญหาเหล่านี้มีอะไรบ้าง
ตอบ ปัญหาเหล่านี้ของผู้บริหารผู้เขียนได้ชี้ไว้ 3 ประการด้วยกันคือ
ประการที่ 1 คือ ปัญหาที่ ผู้บริหารเหล่านี้ส่วนใหญ่มีทางเลือกให้ตัดสินใจน้อยเกินไป
ประการที่ 2 คือ ปัญหาที่ ผู้บริหารเหล่านั้นไม่ได้มีการประเมินทางเลือกในการตัดสินใจ คือผู้บริหารเหล่านั้นตัดสินใจโดยไม่ได้สนใจที่จะประเมินทางเลือกที่มีไว้ให้เลือก
ประการที่ 3 คือ ปัญหาที่ ผู้บริหารเหล่านั้น มีมุมมองว่า การตัดสินใจมันเป็นเหตุการณ์( Event ) ที่จะต้องใช้ ประสบการณ์ (Experience) , ความรู้สึก (Gut) หรือ ผลการวิจัย (Research) ในการตัดสินใจ โดย ผู้บริหารเหล่านั้นไม่ได้มองว่า การตัดสินใจมันเป็นกระบวนการ (Process) หรือกิจกรรมที่ดำเนินต่อเนื่องกัน ตั้งแต่การประเมินปัญหา จนถึง กิจกรรมที่ต้องทำหลังจากการประเมินปัญหา

- ในความเห็นของท่าน ปัญหาเหล่านี้เกิดขึ้นได้อย่างไร ?
ตอบ ในความเห็นของพวกเรา ปัญหาในการตัดสินใจของผู้บริหารเหล่านี้ เกิดจาก ประสบการณ์ของผู้บริหารเหล่านั้น คือ ถ้าผู้บริหารเหล่านี้ มีประสบการณ์มาก ๆ ผ่านการลองผิดลองถูกในการตัดสินใจมา หลาย ๆ ครั้ง ก็จะทำให้ผู้บริหารเหล่านี้มีประสบการณ์มากขึ้น ๆ ในการมองเห็นปัญหาในการตัดสินใจของพวกเขา และในที่สุดพวกเขาก็จะตัดสินใจได้ดีขึ้น และ เปลี่ยนมุมมองในการตัดสินใจของตัวเองจากเดิมที่เป็น Event มาเป็น Process ในที่สุด
เกิดจากผู้บริหารเหล่านั้น มี Bias เข้ามาแทรกแซงในการตัดสินใจ เช่น ผู้บริหาร มีความเชื่อ, ความรู้สึก ที่ไม่เป็นกลางต่อเรื่องที่ตัดสินใจ หรือ ข้อมูลที่ผู้บริหารได้รับมาใช้ประกอบการตัดสินใจ ไม่ถูกต้อง หรือ ล้าสมัย

- และจะมีทางป้องกันมิให้เกิดขึ้นได้อย่างไร
ตอบ สามารถป้องกันได้โดย ให้ผู้บริหารเหล่านั้น ใช้กระบวนการ Process เข้าช่วยในการตัดสินใจ แทน Event และ ผู้บริหารต้องเตือนตัวเองและเฝ้าระวังตัว อยู่เสมอไม่ให้เกิด Bias ขึ้นในกระบวนการตัดสินใจ

คำถามข้อ 2
(1) ในกรอบหน้า 112 ผู้เขียนได้กล่าวถึง “Advocacy Versus Inquiry in Action” การตัดสินใจ
สองวิธีนี้ ทำให้เกิดผลแตกต่างกันอย่างไร ? แตกต่างเพราะอะไร ? (2) นักบริหารสามารถใช้ประโยชน์จากวิธีการทั้งสองนี้ได้อย่างไร ?
(คำแนะนำ : โปรดศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมเรื่อง Devil’s Advocacy และ Dialectic Inquiry จากตำราการจัดการในหัวข้อที่เกี่ยวกับการตัดสินใจ)
- ในกรอบหน้า 112 ผู้เขียนได้กล่าวถึง “Advocacy Versus Inquiry in Action” การตัดสินใจสองวิธีนี้ ทำให้เกิดผลแตกต่างกันอย่างไร ?
ตอบ ในกรอบหน้า 112 ผู้เขียนได้กล่าวถึง การตัดสินใจ 2 วิธี คือ วิธีที่ 1. Advocacy โดยยก Case : The Bay Of Pigs Invasion และ การตัดสินใจ วิธีที่ 2. Inquiry in Action โดยยก Case : The Cuban Missile Crisis ซึ่ง 2 วิธีนี้ ทำให้เกิดผลแตกต่างกัน คือ วิธีที่ 1. Advocacy เป็นการตัดสินใจที่ผิดพลาด ในกรณี The Bay Of Pigs Invasion โดย อเมริกาตัดสินใจส่งทหารนาวิกโยธิน เข้าไปใน คิวบา เป็นผลทำให้ทหารอเมริกัน ตายเป็นจำนวนมาก และที่เหลือถูกจับ ซึ่งนับว่าเป็นการตัดสินใจที่ผิดพลาด ของ ประธานาธิบดีของสหรัฐ John F. Kennedy ส่วน วิธีที่ 2. Inquiry in Action เป็นการตัดสินใจที่ถูกต้อง ของ John F. Kennedy ในกรณี The Cuban Missile Crisis คือ เครื่องบินของอเมริกาตรวจพบ การที่โซเวียตได้ไปติดตั้งขีปนาวุธนิวเคลียร์ ที่คิวบา และ สหรัฐตัดสินใจประกาศให้โซเวียตถอนการติดตั้งขีปนาวุธนิวเคลียร์ออกจากคิวบาผ่านทางทูตของโซเวียตไม่เช่นนั้นอเมริกาจะตอบโต้ขั้นรุนแรง ซึ่งเป็นการตัดสินใจที่ถูกต้อง โซเวียตยอมถอนการติดตั้งขีปนาวุธนิวเคลียร์ที่คิวบา ซึ่งกระบวนการตัดสินใจครั้งนี้แตกต่างจาก กรณีของอ่าวหมู โดย Kennedy ให้น้องชายคือ Robert Kennedy เข้าไปจัดโครงสร้างการตัดสินใจใหม่ให้เป็นแบบ Inquiry

-นักบริหารสามารถใช้ประโยชน์จากวิธีการทั้งสองนี้ได้อย่างไร ? (คำแนะนำ : โปรดศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมเรื่อง Devil’s Advocacy และ Dialectic Inquiry จากตำราการจัดการในหัวข้อที่เกี่ยวกับการตัดสินใจ)
ตอบ Devil’s Advocacy คือ วิธีการตัดสินใจ ในลักษณะกระบอกเสียงตัวแทนปีศาจ เช่น นาย ก เสนอข้อเสนอ พร้อมสมมุติฐาน ต่าง ๆ โดยมีนาย ข หาทางวิเคราะห์โจมตีว่า ข้อเสนอ หรือ สมมุติฐานของนาย ก ว่ามันถูกต้องไหม มีการประเมินทางเลือกพอไหม ถ้านาย ก เตรียมตัวมาดี ข้อเสนอ หรือ สมมุติฐาน มีข้อมูลสนับสนุน อ้างอิง เพียงพอ น่าเชื่อถือ ก็จะทำให้ ข้อเสนอของนาย ก ผ่านและเป็นที่ยอมรับ
ส่วน Dialectic Inquiry คือ การหาคำตอบโดยที่มีทางเลือกตั้งแต่ 2 ทางเลือกขึ้นไป โดย แต่ละคนเสนอข้อเสนอ(Proposals) และ สมมุติฐาน (Assumptions) ขึ้นมา แล้วก็ทำงานร่วมกันแลกเปลี่ยนข้อปัญหา และหาทางเลือกร่วมกัน โดยพยายามทำให้ข้อเสนอเหล่านั้นรวมกันออกมาเป็นข้อสรุป เพื่อให้แต่ละคนยอมรับ
นักบริหารสามารถใช้ประโยชน์จากวิธีการทั้งสองโดย พยายามกระตุ้นให้มีการเสนอข้อเสนอทางเลือก และสมมุติฐานต่าง ๆ ให้มาก ๆ แล้วจัดให้มีการตรวจสอบข้อเสนอเหล่านั้น ว่า แต่ละทางเลือก เป็นอย่างไร มีข้อมูลสนับสนุนเป็นอย่างไร สมมุติฐานต่างๆ เป็นอย่างไร ในที่สุดก็จะทำให้ได้ทางเลือกที่มีจุดบกพร่องน้อยสุด ซึ่งนำไปสู่การตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพ

คำถามข้อ 3
(1) ในหน้า 113 ผู้เขียนได้เสนอวิธีการที่เรียกว่า “Point – Counterpoint” และ “Intellectual Watchdog” การตัดสินใจสองวิธีนี้แตกต่างกันอย่างไร? (2) นักบริหารสามารถใช้ประโยชน์จากวิธีการทั้งสองนี้ได้อย่างไร ? (3) ในความเห็นของท่าน วิธีใดมีประสิทธิผลมากกว่ากัน ? เพราะเหตุใด ?

- ในหน้า 113 ผู้เขียนได้เสนอวิธีการที่เรียกว่า “Point – Counterpoint” และ “Intellectual Watchdog” การตัดสินใจสองวิธีนี้แตกต่างกันอย่างไร?
ตอบ ผู้เขียน ได้เสนอวิธีการตัดสินใจ สองวิธี ในหน้า 113 คือ วิธี Point – Counterpoint” และ“Intellectual Watchdog”ซึ่งผู้เขียนได้แบ่งขั้นตอนของแต่ละวิธีลงในแต่ละคอลัมน์ของแต่ละวิธี
ซึ่งในแต่ละวิธี และ แต่ละคอลัมน์ จะมี 3 ส่วนแรกเหมือนกัน คือ 1. แบ่งเป็น กลุ่มA และ กลุ่ม B 2. ให้กลุ่มA จัดทำ Proposals และ ตั้ง Assumptions ข้อสมมุติฐาน พร้อมทั้งหาข้อมูล Data ประกอบ Proposal และ Assumptions นั้น ๆ 3. ให้กลุ่ม A นำเสนอข้อมูลให้กลุ่มB ทั้งในลักษณะ ของ การPresents และ เอกสารประกอบ
การตัดสินใจ ของวิธี Point – Counterpoint” และ “Intellectual Watchdog” ในหน้า 113 ต่างกัน ตรงที่ วิธี Point – Counterpoint ขั้นที่ 4-6 จะเป็น กลุ่ม B จัดทำแผนขึ้นมาหลายๆ แผน แล้ว ทั้ง กลุ่มA และ กลุ่มB ก็จะมาร่วมกันหาข้อสรุป ในทางเลือกต่างๆ เหล่านั้น ซึ่งอาจจะได้ทางเลือกเพิ่มเข้ามา และในที่สุดทั้ง ทีม A และ ทีม B ก็จะได้ข้อสรุปร่วมกันที่เห็นพ้องต้องกันทั้ง 2 ทีม ส่วนวิธี Intellectual Watchdog ขั้นที่ 4-6 คือ ขั้นที่ 4 กลุ่ม B ได้นำ Proposals และ Assumptions ของกลุ่ม A ไปวิเคราะห์ และ ตรวจสอบ หลังจากนั้น กลุ่มB ก็นำเสนอผลจากการวิเคราะห์ Proposals และ Assumptions ของกลุ่ม A ในลักษณะ ของ การPresents และ เอกสารประกอบ และ ให้กลุ่ม A กลับไปแก้ไขใน Feedback ต่าง ๆ ที่กลุ่ม B ได้นำเสนอไป ขั้นที่ 5 ทำเหมือนขั้นที่ 4 จนกว่าจะได้ a common set of assumptions หรือ ข้อสมมุติฐานร่วมกัน ใน Proposals ที่กลุ่ม A เสนอมาในตอนแรก (กลุ่ม A , B ไม่เสนอทางเลือกหรือข้อเสนอ (Proposals) เพิ่ม แต่ร่วมกัน วิเคราะห์ Assumptions ในทางเลือกเดิม) ส่วนขั้นที่ 6 ทั้งกลุ่ม A และ B หาข้อสรุปร่วมกัน ใน a common set of assumptions ที่ได้เห็นร่วมกันในข้อ 5

- นักบริหารสามารถใช้ประโยชน์จากวิธีการทั้งสองนี้ได้อย่างไร ?
ตอบ นักบริหารสามารถนำวิธีการตัดสินใจ แบบ Point – Counterpoint” และ “Intellectual Watchdog” ไปช่วยให้นักบริหารสามารถตัดสินใจได้มีประสิทธิภาพ เพิ่มขึ้น โดยใช้วิธีการเดียวกับในหน้า 113 ก็จะช่วยให้การตัดสินใจมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นและลดความผิดพลาดต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในการตัดสินใจ

- ในความเห็นของท่าน วิธีใดมีประสิทธิผลมากกว่ากัน ?
ตอบ วิธีแบบ Point – Counterpoint

- เพราะเหตุใด ?
ตอบ เพราะ วิธีแบบ Point – Counterpoint ทำให้เกิดทางเลือกในการตัดสินใจได้มากกว่า วิธีแบบ Intellectual Watchdog เมื่อมีทางเลือกให้เลือกหลาย ๆ ทาง ย่อมทำให้สามารถช่วยให้การตัดสินใจมีประสิทธิภาพมากกว่า

คำถามข้อ 4
(1) อธิบายความแตกต่างระหว่าง Cognitive conflict และ Affective conflict ความเข้าใจในความขัดแย้งทั้งสองประเภทนี้มีประโยชน์อย่างไรต่อผู้บริหาร ? (2) นักบริหารสามารถลดผลกระทบจาก Affective conflict โดยวิธีใดบ้าง ?
- อธิบายความแตกต่างระหว่าง Cognitive conflict และ Affective conflict ความเข้าใจในความขัดแย้งทั้งสองประเภทนี้มีประโยชน์อย่างไรต่อผู้บริหาร ?
ตอบ Cognitive คือ ความขัดแย้งทางเหตุผลที่เกิดขึ้นจากการที่ผู้เข้าร่วมประชุมมีความคิดเห็นที่ไม่ตรงกันในประเด็นปัญหาในเรื่องหนึ่ง ๆ ในที่ประชุม เช่น วัตถุประสงค์ของโครงการ , การมองเห็นโอกาสทางการตลาดในการลงทุน เป็นต้น มันเป็นความขัดแย้งที่ช่วยให้ที่ประชุมสามารถมองเห็นข้อดี ข้อเสีย จุดอ่อน จุดแข็ง ของข้อเสนอต่าง ๆ ได้ดีขึ้น
Affective Conflict คือ ความขัดแย้งทางอารมณ์ เป็นความขัดแย้งที่เกิดจากผู้ร่วมประชุมถกเถียงกันเรื่องงาน และ นำการถกเถียงนั้นโยงไปเป็นความขัดแย้งทางอารมณ์ ทำให้มีอคติไม่ยอมรับความเห็นของอีกฝ่ายอย่างเป็นธรรม
ความขัดแย้ง แบบ Cognitive Conflict มีประโยชน์ต่อผู้บริหารคือช่วยให้ผู้บริหารและผู้เข้าร่วมประชุม มองเห็นจุดบกพร่องต่าง ๆ ของ Proposals และ Assumptions ต่างๆ ทำให้ช่วยในการตัดสินใจให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยทำให้มองจุดอ่อนของทางเลือกและมีวิธีในการแก้ปัญหาดีขึ้น ส่วน Affective Conflict เมื่อเกิดขึ้นแล้วจะไม่เป็นผลดีต่อการตัดสินใจและ การปฏิบัติตามผลของการตัดสินใจนั้น ผู้บริหารควรลด Affective Conflict

- นักบริหารสามารถลดผลกระทบจาก Affective conflict โดยวิธีใดบ้าง ?
ตอบ นักบริหารสามารถลดผลกระทบจาก Affective conflict โดยประธานในที่ประชุม ต้องคอยสังเกตท่าทีของผู้เข้าร่วมประชุม ต้องคอยควบคุมการประชุมให้การประชุมอยู่ในเรื่องที่ประชุม ไม่ให้ผู้เข้าร่วมประชุมถกเถียงกันนอกเรื่องประชุมจนทำให้เกิดเป็น Affective Conflict เป็นต้น

คำถามข้อ 5
(1) บทบาทของประธานที่ประชุมมีความสำคัญอย่างไรต่อกระบวนการของกลุ่มในการตัดสินใจและผลการตัดสินใจของกลุ่ม ? (2) ประธานที่ประชุมมีวิธีการใดบ้างที่จะทำให้ผู้ร่วมประชุมเกิดการยอมรับมติที่ประชุมที่แตกต่างจาข้อเสนอแนะของตน ? (3) แนวคิดเรื่อง Consideration (หน้า 114) มีความสำคัญอย่างไรในกรณีนี้ ?

- บทบาทของประธานที่ประชุมมีความสำคัญอย่างไรต่อกระบวนการของกลุ่มในการตัดสินใจและผลการตัดสินใจของกลุ่ม ?
ตอบ บทบาทของประธานในที่ประชุมมีความสำคัญต่อกระบวนการของกลุ่มในการตัดสินใจ คือประธานในที่ประชุมช่วยให้การประชุมและผู้เข้าร่วมประชุมช่วยกันระดมความคิดให้ได้ ผลสรุปที่ดีที่สุดจากการตัดสินใจเพื่อนำผลการตัดสินใจนั้นไปใช้ ในการImplement ปฏิบัติต่อไป

- ประธานที่ประชุมมีวิธีการใดบ้างที่จะทำให้ผู้ร่วมประชุมเกิดการยอมรับมติที่ประชุมที่แตกต่างจากข้อเสนอแนะของตน ?
ตอบ ประธานในที่ประชุมต้องมีวิธีการควบคุมดูแลการประชุมที่ยุติธรรม (Fair Process) ดังนี้
ประการที่ 1 ประธานในที่ประชุม ต้องรับฟังทุกความคิดเห็นของผู้เข้าร่วมประชุมทุกคน ถึงแม้ว่าความคิดเห็นเหล่านั้นจะไม่ตรงกับความคิดเห็นของตัวเอง
ประการที่ 2 ประธานในที่ประชุม ต้องสนใจ และ ตั้งใจ ที่จะรับฟังทุกความคิดเห็นเหล่านั้น และ ต้องให้ผู้เข้าร่วมประชุมแสดงความคิดเห็น ในความคิดนั้นอย่างจริงจังด้วย เช่นการถามคำถาม หรือขอคำอธิบายเพิ่มเติม เป็นต้น
ประการที่ 3 ประธานในที่ประชุม ต้องชี้แจ้งให้ผู้เข้าร่วมประชุมทราบถึงเกณฑ์ หรือรายละเอียดของเกณฑ์ในการตัดสินใจว่าทำไมต้องตัดสินใจเลือกอย่างนั้น ให้ผู้เข้าร่วมประชุมทราบเหตุผลว่า ทำไม ข้อเสนอของเขาถึงไม่ถูกรับเลือกในที่ประชุม
- แนวคิดเรื่อง Consideration (หน้า 114) มีความสำคัญอย่างไรในกรณีนี้ ?
ตอบ แนวคิดเรื่อง Consideration ในหน้า 114 กล่าวถึง Fair Process ซึ่งจะช่วยให้ผู้เข้าร่วมประชุมทุกคนสามารถแสดงความคิดเห็นออกมาได้อย่างอิสระในที่ประชุม ทำให้ที่ประชุม ได้มีความเห็นใหม่ ๆ หรือมีแนวคิดใหม่ ๆ เพื่อช่วยเพิ่มทางเลือกในการตัดสินใจของที่ประชุม สุดท้ายช่วยป้องกันการ Vote By Foot ของผู้เข้าร่วมประชุมที่เวลา Vote ก็ยกมือ แต่ เวลานำไป Implement ไม่ทำตามที่ตกลงกันไว้

คำถามข้อ 6
(1) โปรดอธิบายความหมายของ Litmus Test และวิธีการทั้ง 5 ประการ มาให้เข้าใจชัดเจน (2)วิธีการเหล่านี้สามารถนำมาปฏิบัติในสถานการณ์จริงได้อย่างไร ?

- โปรดอธิบายความหมายของ Litmus Test และวิธีการทั้ง 5 ประการ มาให้เข้าใจชัดเจน
ตอบ Litmus Test เป็นวิธีการทดสอบการตัดสินใจที่ผู้บริหารกำลังจะตัดสินใจเลือกทางเลือกนั้น ๆ อย่าง ไว ๆ 5 ประการ ว่า ที่ประชุมได้ทำการตัดสินใจถูกหรือไม่ ก่อนที่จะนำผลของการตัดสินใจนั้นไปทำการ Implement
Litmus Test มีวิธีการ 5 ประการดังนี้
1. Multiple Alternatives การมีเลือกทางเลือกหลาย ๆ ทาง คือ ตรวจดูว่า ที่ประชุมมีกี่ทางเลือกให้เลือก ทางเลือกเดียวหรือเปล่า ถ้าทางเลือกเดียวก็ไม่ผ่านการทดสอบนี้
2. Assumption Testing การทดสอบสมมุติฐาน คือ ตรวจดูว่าที่ประชุมได้ตั้ง Assumptions ไว้อย่างไร ได้ทดสอบAssumptions ต่าง ๆ ตามที่ได้ตั้งไว้ไหม ถ้าได้ทำก็ผ่าน
3. Well-Defined Criteria เกณฑ์ในการประเมินทางเลือก คือ ตรวจดูว่าเกณฑ์ที่ใช้ในการประเมินทางเลือกต่าง ๆ นั้นชัดเจนหรือไม่ และทางเลือกที่เลือกมานั้นสอดคล้องหรือต้องตามเกณฑ์ทางเลือกที่เลือกไว้ไหม ถ้าทางเลือกที่เลือกมาสอดคล้องต้องตามเกณฑ์ที่ได้กำหนดไว้ ก็ผ่าน
4. Dissent and Debate เห็นแตกต่างกันหรือถกเถียงกัน คือ ตรวจดูว่าที่ประชุมทุกคนได้แสดงความเห็นของตนออกมาจริง ๆ หรือไม่ หรือ เป็นการใช้อารมณ์ในการแสดงเหตุผล ต้องให้คนที่เห็นแตกต่างกันแสดงความคิดเห็นออกมา เพื่อให้ได้ความคิดเห็นที่ดี ที่มีประโยชน์จริง ๆ ต่อการตัดสินใจ
5. Perceived Fairness การตัดสินใจในที่ประชุมสมาชิกในที่ประชุมเห็นว่ามันยุติธรรมหรือเปล่า คือ ตรวจดูว่าทุกความคิดเห็นในที่ประชุมได้รับการปฏิบัติอย่างถูกต้องและเป็นธรรมไหม
- วิธีการเหล่านี้สามารถนำมาปฏิบัติในสถานการณ์จริงได้อย่างไร ?
ตอบ วิธีการเหล่านี้สามารถนำไปปฏิบัติใช้ในสถานการณ์จริง ได้ โดยนำกระบวนวิธีการ Litmus Test ข้างต้น ทั้ง 5 ประการ ไปใช้ภายหลังจากที่ประชุมได้รับทางเลือกนั้นออกมาแล้ว เพื่อเป็นการตรวจสอบทางเลือกนั้น ไว ไว เป็นครั้งสุดท้ายก่อนนำไป Implement

0 Comments:

Post a Comment



บทความที่ได้รับความนิยม