Osborne and Gaebler (1993) เสนอแนวคิดการปรับปรุงประสิทธิภาพของ การให้บริการสาธารณะของเมืองและหน่วยงานราชการอื่น ๆ ในหนังสือ Reinventing Government โดยได้แสดงให้เห็นถึงแนวทางการบริหารแบบผู้ประกอบการ (entrepreneurial approach) ดังนี้
1. ภาครัฐควรเป็นผู้กำกับทิศทางมากกว่าการลงมือทำเอง (catalytic government) เนื่องจากสังคมมีสภาวะที่สลับซับซ้อนมากขึ้นกว่าเดิม ปัญหาของสังคมที่ภาครัฐมีหน้าที่จะต้องแก้ไขให้ประสบความสำเร็จก็ยิ่งมีมากขึ้นด้วย แต่การแก้ไขปัญหาหรือการให้บริการประชาชนบางครั้งจะทำได้ยาก หากหน่วยงานมีภารกิจมากมายในการทำหน้าที่ในการเป็นผู้ให้บริการและแก้ไขปัญหาต่าง ๆ แก่ประชาชนไม่เพียงแต่เป็นผู้กำหนดนโยบายอย่างเดียว ซึ่งในหลายเรื่องก็ไม่สามารถจะทำให้บรรลุเป้าหมายได้ด้วยดี ดังนั้น หน่วยงานภาครัฐจึงจำเป็นต้องแยกงานด้านนโยบายออกจากงานปฏิบัติ
ดังนั้น หน่วยงานภาครัฐอาจจำเป็นต้องแสวงหาทางเลือกโดยจัดให้มีผู้อื่นเป็นผู้ปฏิบัติงานในการให้บริการประชาชนแทน เช่น จากองค์การภาคเอกชนหรือองค์การที่ไม่ประสงค์กำไรต่าง ๆ เข้ามาดำเนินการแทนในรูป Privatization หรือการว่าจ้าง (contracting out) เนื่องจากองค์การภายนอกภาครัฐมีความคล่องตัวมากกว่า และไม่มีกฎระเบียบและระบบการครองตำแหน่งแบบเดียวกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ รวมทั้งผลงานจากการว่าจ้างเอกชนจะถูกกว่า มีประสิทธิภาพดีกว่า อาจปรับเปลี่ยนสัญญาว่าจ้างได้ตามกำหนดเวลา ถ้าคุณภาพงานไม่เพียงพอ
2. ภาครัฐควรมอบอำนาจมากกว่าการมุ่งจะให้บริการเอง (community-owned government) แนวความคิดนี้ มีสมมติฐานที่ว่า หากประชาชนมีความรู้สึกถึงการเป็นเจ้าของในประโยชน์สาธารณะต่าง ๆ จะช่วยในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้ดีกว่าการที่ประชาชนคอยรับบริการจากรัฐฝ่ายเดียว
เมื่อหน่วยงานภาครัฐผลักดันความรู้สึกเป็นเจ้าของและการควบคุมดูแลการให้บริการสาธารณะต่าง ๆ ให้แก่ประชาชนหรือองค์การภาคเอกชน จะทำให้ผลงานเกิดประสิทธิภาพดีกว่า เนื่องจากประชาชนและองค์การภาคเอกชนจะมีความยืดหยุ่นและมีความสร้างสรรค์มากกว่าองค์การภาครัฐที่เป็นระบบราชการและมีขนาดใหญ่ประกอบด้วยกฎระเบียบมากมายเป็นตัวฉุดรั้งไว้ ในทางกลับกันหากประชาชนรู้สึกแต่เพียงว่าตนเป็นเพียงลูกค้าที่คอยรับแต่บริการโดยไม่มีความรู้สึกถึงการมีอำนาจหน้าที่ ที่จะเข้าไปเกี่ยวข้องการแก้ไขปัญหาจากการให้บริการสาธารณะต่าง ๆ คงจะไม่สามารถลุล่วงไปได้ง่าย เนื่องจากประชาชน คือ คนที่เข้าใจปัญหาของตน
3. ภาครัฐควรสร้างภาวะการแข่งขันในการให้บริการ (competitive government) การแข่งขันตามแนวคิดนี้ มิได้เป็นการแข่งขันระหว่างหน่วยงานภาครัฐกับหน่วยงาน ภาคเอกชน ประเด็นอยู่ที่ว่า การให้บริการสาธารณะเป็นเรื่องของการผูกขาด (monopoly) ซึ่งหมายความว่า หน่วยงานภาครัฐเท่านั้นที่จะต้องเป็นผู้ให้บริการโดยมีกฎหมายหรือระเบียบกำหนดไว้เป็นการเฉพาะ ดังนั้น จึงอยู่ที่การเลือกว่าจะให้มีการแข่งขันกันในการให้บริการสาธารณะ หรือจะกำหนดไว้ให้มีเพียงหน่วยงานในภาครัฐหรือเอกชนหน่วยใดหน่วยหนึ่งเป็นผู้ผูกขาดการบริการสาธารณะนั้นไว้
แต่ก็เห็นได้ชัดว่า เมื่อใดมีการแข่งขันกัน ก็จะได้ผลงานที่ดีกว่า มีความกระตือรือร้นมากกว่า ในเรื่องต้นทุนและคุณภาพของการให้บริการ โดยเฉพาะประโยชน์ที่เห็น ก็คือ หากให้มีการแข่งขันเกิดขึ้น หน่วยงานภาครัฐที่ทำหน้าที่ให้บริการ ก็จะถูกกดดัน ให้ต้องสนองความต้องการของลูกค้าหรือประชาชน และยังทำให้องค์การนั้นต้องมีการแก้ไขปรับปรุงการทำงานอยู่ตลอดเวลาอีกด้วย และในที่สุดการแข่งขันจะสร้างความภาคภูมิใจและขวัญกำลังใจให้แก่ตัวบุคลากรในองค์การนั้นเอง
4. ภาครัฐควรเน้นที่ภารกิจมากกว่ากฎระเบียบ (mission-driven government) การบริหารภาครัฐควรเน้นที่ภารกิจหรือวัตถุประสงค์หลักของงานที่ทำ แต่ในความเป็นจริง ระบบราชการขนาดใหญ่โดยทั่วไป แรงผลักดันไม่ได้มาจากภารกิจที่พึงประสงค์แต่กลับกลายเป็นเรื่องของกฎระเบียบและงบประมาณโดยมีการวางกฎระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ สำหรับไว้ป้องกันกรณีที่เกรงว่าจะเกิดความผิดพลาดขึ้นมา ขณะเดียวกัน กฎระเบียบเหล่านั้นก็สกัดกั้นไม่ให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ ทำให้งานช้าลงไป เสียเวลา และองค์การจะไม่สามารถสนองรับภาวะสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไปได้
หากองค์การภาครัฐปล่อยให้เจ้าหน้าที่ทำงานเพื่อบรรลุภารกิจได้อย่างเป็นอิสระและผ่อนคลายกฎระเบียบลงไป (deregulation) จะทำให้องค์การของรัฐทำงานอย่างมี ประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากกว่า โดยมีการตั้งข้อสังเกตว่า เจ้าหน้าที่ยินดีที่จะได้รับงบประมาณน้อยลงไป ถ้าแลกกับการผ่อนคลายที่มากกว่าเดิม
นอกจากนี้ องค์การที่เน้นภารกิจจะมีนวัตกรรมรวมทั้งมีความยืดหยุ่นมากกว่าและ เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติก็ยังจะมีขวัญและกำลังใจดีขึ้นด้วย
5. ภาครัฐควรจัดงบประมาณเพื่อผลลัพธ์ที่ต้องการ ไม่ใช่จากปัจจัยดำเนินการ (results-oriented government) ในระบบราชการแบบดั้งเดิมมักจะให้ความสนใจต่อปัจจัยในการดำเนินงาน (inputs) มากกว่าที่จะคำนึงถึงผลลัพธ์ที่จะได้รับ (outcomes) จากการตัดสินใจทำให้การปฏิบัติงานจึงมักจะไม่ประสบความสำเร็จ เนื่องจากการประเมินผลลัพธ์ที่ได้จึงจะรู้ว่าภารกิจนั้นประสบความสำเร็จหรือล้มเหลวและมักจะไม่เคยมีการวัดผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง ๆ แต่อย่างใด ซึ่งมีผลต่อการให้รางวัลความชอบที่มักขึ้นอยู่กับขนาดของงบประมาณที่ได้รับ จำนวนบุคลากรที่อยู่ภายใต้การดูแล ระดับของอำนาจหน้าที่ที่มีอยู่ ซึ่งทำให้หน่วยราชการต่าง ๆ จึงพยายามสร้างอาณาจักรของตนเพื่อปกป้องหน้าที่การงาน ที่มี พร้อมกับการแสวงหางบประมาณกับอำนาจหน้าที่ให้มากขึ้นกว่าเดิม สำหรับแนวคิดแบบผู้ประกอบการ(entrepreneur) ต้องการเปลี่ยนแปลงการให้รางวัลและสิ่งจูงใจไปสู่แนวใหม่เพราะการจัดงบประมาณตามปัจจัยดำเนินการจะทำให้หน่วยงานราชการนั้น ๆ จะไม่มีความพยายามที่จะทำให้ผลการปฏิบัติงาน (performance) ดีขึ้นกว่าเดิม แต่เมื่อหน่วยราชการได้รับงบประมาณตามผลลัพธ์ที่ได้จากการปฏิบัติงาน เช่น ระดับความพึงพอใจ ของประชาชนที่สูง ก็จะทำให้หน่วยงานนั้นคำนึงถึงแต่จะหาวิธีทำให้การปฏิบัติงาน มีผลดียิ่งขึ้น
6. ภาครัฐควรมุ่งตอบสนองต่อลูกค้า ไม่ใช่ความต้องการของหน่วยงาน (customer-driven government) หน่วยราชการจะต้องปรับเปลี่ยนตัวเองโดยการตั้งใจฟังลูกค้าและทำการสำรวจความเห็นของลูกค้า กลุ่มประชากรเป้าหมายและวิธีการอื่นอีกมากมาย การเสนอทางเลือกต่าง ๆ ให้แก่ประชาชน บางเรื่องอาจให้ประชาชนเป็นผู้กำหนดหรือเป็นผู้ได้รับการช่วยเหลือจากหน่วยราชการโดยตรงให้เป็นผู้ถือเงินและมีอำนาจในการเลือกผู้ให้บริการ (service provider) เอง ซึ่งเป็นผลทำให้ผู้ให้บริการ มีการแข่งขันในเรื่องคุณภาพการให้บริการและกระตุ้นการเกิดนวัตกรรมใหม่มากขึ้น
7. ภาครัฐควรมุ่งหารายได้มากกว่าการใช้จ่าย (enterprising government) เนื่องจาก โดยปกติการบริหารงานของหน่วยราชการสนใจที่จะใช้จ่ายอย่างมีประสิทธิภาพด้วย การพยายามลดต้นทุนให้มากที่สุด แต่หน่วยราชการต้องปรับเปลี่ยนแนวคิดนี้ ไปใช้วิธีการทางธุรกิจที่มุ่งกำไรในการแก้ไขปัญหาสาธารณะ กลยุทธ์การระดมทุน การเก็บค่าบริการจากการใช้บริการสาธารณะ การลงทุนเพื่อหวังผลตอบแทน รวมไปถึงการสร้างแรงจูงใจเพื่อให้ ผู้บริหารหน่วยงานราชการมีวิสัยทัศน์แบบนักวิสาหกิจ ได้แก่ ระบบงบประมาณที่ให้หน่วยงานมีรายได้ทั้งหมดหรือบางส่วนจากงบประมาณที่ประหยัดหรือรายได้ที่หามา การจัดตั้งกองทุนเงินกู้สำหรับผู้บริหาร
8. ภาครัฐที่เน้นการป้องกันมากกว่าการแก้ไข (anticipatory government) หน่วยงานราชการแบบดั้งเดิมมักจะสนใจแต่จะให้บริการสาธารณะต่าง ๆ ก็เพื่อการแก้ไขปัญหาเดือดร้อนของประชาชนในด้านต่าง ๆ ซึ่งการกระทำของหน่วยงานราชการ ก็คือ การลงมา “พายเรือ” เองแทนที่จะทำเพียงการกำกับหรือคอยกำหนดทิศทาง แต่หน่วยงานราชการแบบเน้นการป้องกันนี้จะประกอบด้วยแนวคิด 2 ประการ ได้แก่ การป้องกันเพียงเล็กน้อยจะได้ผลมากกว่าการสูญเสียอย่างมากในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นแล้วและการตัดสินใจดำเนินงานต่าง ๆ เป็นผลมาจากการคาดคะเนที่มองไปข้างหน้า (foresight) จึงมีการนำวิธีการวางแผนเชิงยุทธศาสตร์ (strategic planning) มาใช้เพื่อการกำหนดวิสัยทัศน์และพันธกิจของหน่วยงาน
9. ภาครัฐที่ใช้การมีส่วนร่วมและทีมงาน (decentralized government) การบริหารงานโดยการกระจายอำนาจการตัดสินใจจากผู้บริหารของหน่วยงานไปให้กับประชาชน หรือชุมชน หรือหน่วยงานนอกระบบราชการและการทำให้ลำดับชั้น (hierarchy) ในองค์การลดน้อยลง โดยทำให้องค์การมีลักษณะที่แบนราบ ซึ่งรวมถึงการมอบอำนาจหน้าที่ให้แก่บุคลากรในระดับล่างมีความเป็นอิสระในการตัดสินใจมากขึ้น เนื่องจากบุคลากรในระดับล่าง ดังกล่าวมักจะเป็นผู้ที่ใกล้ชิดและเข้าใจปัญหาต่าง ๆ มากกว่า การมีส่วนร่วมและการตัดสินใจ โดยทีมงานจะทำให้หน่วยราชการมีความยืดหยุ่น (flexible) สามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงและความต้องการของประชาชน ได้มากขึ้น รวมทั้งจะเป็นการสร้างให้เกิดประสิทธิผลและนวัตกรรมใหม่ ๆ ในองค์การ
10. ภาครัฐที่ใช้ตลาดเป็นเครื่องมือในการเปลี่ยนแปลง (market-oriented government) การแก้ปัญหาใด ๆ ที่เผชิญอยู่โดยหน่วยราชการแบบดั้งเดิมมักจะใช้วิธีการสร้างแผนงานหรือโครงการใดโครงการหนึ่งขึ้นมาเพื่อจัดการกับปัญหานั้น ๆ โดยเฉพาะ แต่ในความเป็นจริง สังคมปัจจุบันมีความสลับซับซ้อนเป็นอย่างยิ่ง ภาครัฐไม่สามารถจะมีแผนงานใดเพียงแผนเดียวได้และไม่อาจมีภารกิจที่จะต้องดำเนินการเพียงด้านเดียวได้เนื่องจากการยึดโยงกันอยู่ของผู้คนและสถาบันจำนวนมากมายในพื้นที่ ดังนั้นการแก้ไขปัญหาของหน่วยงานราชการจึงควรจะเป็นเพียงการกำกับ (steer) และการสร้างการเปลี่ยนแปลงโดยการเข้าไปปรับโครงสร้างของตลาด (restructuring the market) ซึ่งจะเป็นผลทำให้หน่วยงานภาคธุรกิจและประชาชนเกิดแรงจูงใจที่จะเป็นผู้ดำเนินการให้เป็นไปตามเป้าหมายที่เป็นประโยชน์สาธารณะ
การเริ่มมียุทธศาสตร์ในการปฏิรูประบบราชการที่สำคัญได้เกิดขึ้น ก็เนื่องมาจากการมีความเห็นร่วมกันว่าระบบราชการขนาดใหญ่กำลังเป็นสิ่งที่อยู่ห่างไกลจากประชาชน และไม่มีความน่าเชื่อถือ สมควรได้รับการตรวจสอบ รวมทั้งต้องการให้มีการปรับปรุง เปลี่ยนแปลง และพัฒนาให้การดำเนินงานด้วยความคุ้มค่า (cost-effective) และสามารถตอบสนองต่อความต้องการของประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบราชการและหน่วยงาน
ภาครัฐทั้งหลาย ต้องสามารถที่จะปรับตัวได้ทันต่อกระแสกดดันจากการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมทางด้าน เศรษฐกิจ สังคมและการเมืองภายนอกหน่วยงาน แนวความคิดของยุทธศาสตร์ในการปรับปรุงการจัดการภาครัฐ ได้แก่ (Hambleton et al., 2003, p. 156)
1. ตัวแบบการตลาด (market model) แนวคิดนี้จะมองประชาชนผู้รับบริการ-สาธารณะว่ามีลักษณะเหมือนผู้บริโภค (consumer) ซึ่งมีความไม่พอใจต่อผลิตผล (product) จากผู้เสนอสินค้าและบริการ ซึ่งมีการผูกขาดอยู่เพียงรายเดียว อันได้แก่ หน่วยราชการ ดังนั้น จึงควรสร้างช่องทาง (exit) อื่นที่จะทำให้ประชาชนหรือผู้บริโภคมีทางเลือกที่จะได้รับสินค้าหรือบริการจากผู้ผลิตรายอื่น ๆ ตามกระบวนการของกลไกตลาด โดยการให้เอกชนรับหน้าที่ในการให้บริการสาธารณะ (privatization) แทนหน่วยราชการ
2. ตัวแบบเชิงประชาธิปไตย (democratic model) แนวคิดนี้มุ่งที่จะยังคงไว้ซึ่งการให้บริการสาธารณะโดยหน่วยราชการ แต่แสวงหาการปฏิรูปอย่างสิ้นเชิงต่อวิธีการให้บริการสาธารณะของหน่วยงาน นั่นคือ เปลี่ยนการให้บริการสาธารณะแบบเก่าที่หน่วยราชการจะถือว่าตนรู้ดีที่สุด และจะเป็นผู้ตัดสินใจดำเนินการแต่เพียงลำพัง ไปเป็นการเพิ่มค่านิยมแบบประชาธิปไตยให้มากขึ้นในกระบวนการตัดสินใจดำเนินการ ซึ่งมักจะประกอบด้วยการกระจายอำนาจ (decentralization) ไปถึงระดับชุมชนละแวกบ้าน (neighborhood) ทั้งนี้ แนวคิดแบบประชาธิปไตยนี้ยังเห็นด้วยว่า ในการให้บริการสาธารณะโดยหน่วยงานรัฐจำนวนมากมายที่นับว่าเป็นผลดีหรือประโยชน์ต่อกลุ่มบุคคลหรือต่อประชาชนโดยทั่วไป ซึ่งการจะสามารถปกป้องประโยชน์ของประชาชนได้ดีขึ้นนั้น ก็ด้วยการเพิ่มหรือส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน (participation) และต้องทำให้เกิดกระบวนการตรวจสอบ (accountability) หน่วยงานราชการอย่างจริงจัง
3. หลักการจัดการภาครัฐแนวใหม่ (new public management) ซึ่งเป็นแนวคิด ที่แสดงให้เห็นถึงการตอบสนองในเชิงการจัดการ (managerial response) ที่ต่างจากการตอบสนองในเชิงการเมือง (political response) ต่อปัญหาของการให้บริการสาธารณะของระบบราชการ และแนวคิดนี้มีความต้องการที่จะนำมาแทนที่แนวคิด Market Model และ Democratic Model ซึ่งเห็นว่าบางครั้งไม่มีความแน่นอน และคาดหมายไม่ได้ จึงมีการนำเทคนิคด้านการจัดการได้แก่ การสำรวจตลาด การสำรวจความพึงพอใจของประชาชน กระบวนการร้องเรียน โครงการบริการลูกค้า กลุ่มเป้าหมาย การตั้งศูนย์แจ้งเหตุและร้องทุกข์ ตลอดจนเว็บไซท์ถูกนำมาใช้ในการจัดการของการให้บริการสาธารณะ
ขณะที่ Peters (1996) นำเสนอตัวแบบของการจัดการภาครัฐ 4 ตัวแบบ เพื่อเป็นการปฏิรูประบบบริหารราชการแบบดั้งเดิม ได้แก่
1. ตัวแบบการตลาด (market model) การนำแนวคิดของการจัดสรรทรัพยากร โดยประสิทธิภาพของกลไกตลาดเข้ามาใช้ในการจัดการภาครัฐ ก็เนื่องมาจากความเห็นที่ว่าสังคมจะได้ประโยชน์กว่าเดิมอย่างน้อยก็ในแง่เศรษฐกิจ หากให้กลไกตลาดซึ่งเปิดให้มีการแข่งขันกันระหว่างหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อทำหน้าที่ให้บริการสาธารณะแก่ประชาชน และจากสมมติฐานที่เห็นว่า การให้บริการสาธารณะเป็นการใช้อำนาจผูกขาด ของหน่วยราชการ ซึ่งก่อให้เกิดการไร้ประสิทธิภาพโดยไม่สามารถจัดทำบริการสาธารณะให้เพียงพอและมีคุณภาพแก่ประชาชนได้ รวมทั้งการนำวิธีการด้านการจัดการ (generic management) ที่ประสบความสำเร็จในภาคเอกชนก็สามารถนำมาปรับใช้กับการจัดการในภาครัฐด้วยเช่นกัน
1.1 โครงสร้างองค์การ หน่วยราชการต่าง ๆ มักจะเป็นองค์การอเนกประสงค์ (multiservice bureau) ซึ่งมีประสิทธิภาพน้อย และสิ้นเปลืองมากกว่าการให้บริการขององค์การที่มีวัตถุประสงค์เดียวและให้บริการสาธารณะด้านเดียว การปฏิรูปหน่วยงานรัฐวิธีนี้ ก็โดยการกระจายอำนาจ (decentralization) ของการกำหนดนโยบายและการปฏิบัติหน้าที่ หน่วยงานรัฐขนาดใหญ่ที่ผูกขาดการให้บริการสาธารณะต่าง ๆ ไว้ให้กับองค์การเอกชนเป็นผู้ให้บริการสาธารณะแทน (privatization)
1.2 การจัดการ จากแนวคิดที่ว่า หากบุคลากรในหน่วยงานภาครัฐจะมี ความคล้ายคลึงกันมากกับบุคลากรที่ทำงานในหน่วยงานภาคเอกชน ฉะนั้น เทคนิคด้านการจัดการ (managerial techniques) ก็ควรจะนำไปใช้ได้ในหน่วยงานภาครัฐเหมือนกัน และการจ่ายค่าจ้างแบบเก่าที่มีแนวคิดว่า บุคคลที่อยู่ในระดับเดียวกันในระบบราชการควรจะได้ค่าจ้างเท่ากัน โดยความแตกต่างของค่าจ้างมักขึ้นอยู่กับความอาวุโสของแต่ละคน ก็จะถูกทดแทนด้วยแนวคิดว่า ค่าจ้างควรสอดคล้องกับกลไกตลาด และผู้ที่มีผลการปฏิบัติงานที่ดีกว่าก็ควรได้รับค่าจ้างที่มากกว่าด้วย มากกว่าจะให้ความสำคัญต่อความแตกต่างในด้านอื่น ส่วนการให้บริการสาธารณะในด้านต่าง ๆ ก็จะอยู่ภายใต้การเข้ามาแข่งขัน เพื่อเป็นผู้ให้บริการจากหน่วยงานภาคเอกชน
1.3 การกำหนดนโยบาย หน่วยงานราชการที่มีการกระจายอำนาจหน้าที่ไปเป็นหน่วยงานย่อย ๆ ซึ่งมีลักษณะเป็นผู้ประกอบการ (entrepreneur) โดยมีความเป็นอิสระในการตัดสินใจดำเนินการ ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากกลไกตลาด หรือการใช้ดุลพินิจของ ผู้บริหารองค์การ ซึ่งมีความสร้างสรรค์และกล้าเสี่ยงมากขึ้น
1.4 ประโยชน์สาธารณะที่ได้รับจากตัวแบบการตลาด ได้แก่ การให้บริการสาธารณะของหน่วยงานราชการที่มีต้นทุนต่ำกว่าการให้บริการสาธารณะแบบเดิม ซึ่งสิ้นเปลืองงบประมาณและมีประสิทธิภาพน้อย ประชาชนจะมีฐานะเหมือนผู้บริโภค
2. หน่วยราชการแบบยืดหยุ่น (flexible government) เนื่องจากหน่วยงานราชการแบบดั้งเดิมจะเน้นที่ความถาวร (permanence) ทั้งในการจ้างงานตลอดชีพ (lifetime employment) และอายุขององค์การที่ได้จัดตั้งขึ้น ซึ่งความถาวรนั้นทำให้เป็นแหล่งของนโยบายที่ล้าสมัยอย่างยิ่ง และทำให้บุคลากรยึดมั่นต่อองค์การมากกว่าปฏิบัติตามนโยบายต่าง ๆ ที่องค์การกำหนดไว้ การเปลี่ยนแปลงนโยบายขององค์การจึงเป็นไปได้ยาก ซึ่งขัดแย้งกับธรรมชาติของปัญหาการจัดการที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา รวมทั้งก่อปัญหาในเรื่องการประสานงาน (coordination) ระหว่างหน่วยงานที่ต้องร่วมดำเนินการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของนโยบาย ดังนั้น จึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีโครงสร้างแบบยืดหยุ่นเพื่อให้การประสานงานเป็นไปอย่างราบรื่น
2.1 โครงสร้างแนวคิดนี้เห็นว่า ในการดำเนินการในบางนโยบายแทนที่จะใช้หน่วยงานราชการในแบบดั้งเดิม เช่น การจัดตั้งกรม กอง หรือฝ่าย และแผนก แต่พยายามจัดตั้งองค์การที่มีความยืดหยุ่น (flexibility) และสามารถยุบเลิกองค์การดังกล่าวได้เมื่อภารกิจเสร็จสิ้น และความยืดหยุ่นจะทำให้หน่วยงานตอบสนองต่อภาวะการณ์ใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว ได้แก่ หน่วยงานขนาดเล็กมีลักษณะเป็นทางการน้อย หรือองค์การกึ่งราชการ (quasi-government organization) ซึ่งในที่สุดจะพัฒนาไปสู่การเป็นองค์การเสมือนจริง (virtual organization)
2.2 การจัดการ ตัวแบบนี้เน้นย้ำการจัดการที่ใช้เป็นการชั่วคราว (temporary) เพื่อที่จะสามารถปรับจำนวนบุคลากรให้สอดคล้องกับความต้องการที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ รวมทั้งทำให้ตอบสนองต่อปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิผล
2.3 การกำหนดนโยบาย ในระบบราชการแบบดั้งเดิม ความถาวรของระบบบุคลากรและนโยบายจะเป็นสิ่งกีดขวางต่อการสร้างสรรค์ที่จะเกิดขึ้นภายในกรอบของนโยบายที่กำหนด ดังนั้น การขจัดความถาวรดังกล่าวออกไป จะทำให้ผู้บริหารสามารถมีบทบาทในการกล้าที่จะปรับเปลี่ยนโยบายได้มากขึ้น (experimental approach) แม้ว่าจะไม่มั่นใจว่าการกำหนดนโยบายใหม่จะเป็นผลดีกว่าเดิมหรือไม่
2.4 ประโยชน์สาธารณะที่ได้รับ จากตัวแบบของหน่วยราชการแบบยืดหยุ่น ได้แก่ การประหยัดต้นทุน ซึ่งเป็นผลประโยชน์ต่อสังคมโดยรวม เนื่องจากการจ้างงานบุคลากรแบบชั่วคราวจะช่วยลดค่าใช้จ่ายของหน่วยงาน และการจัดตั้งองค์การแบบชั่วคราวก็ยังช่วยป้องกันการใช้จ่ายที่สูญเปล่าและโครงการที่ล้าสมัย นอกจากนี้ยังมีประโยชน์อีกประการ ได้แก่ การประสานงาน
3. หน่วยราชการแบบคลายกฎระเบียบ (deregulated government) มาจากแนวคิดว่า หากกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับภายใน ซึ่งเป็นข้อจำกัดภายใน (internal control) ของ การดำเนินการถูกขจัดออกไป หน่วยราชการจะสามารถดำเนินการตามหน้าที่ได้มี ประสิทธิภาพขึ้น และจะสามารถทำสิ่งใหม่ ๆ และสร้างสรรค์ได้มากยิ่งขึ้น รวมทั้งทำให้ผู้บริหารใช้อำนาจการจัดการได้มากยิ่งขึ้นด้วย
3.1 โครงสร้างในตัวแบบคลายกฎระเบียบนี้เห็นว่า โครงสร้างและลำดับชั้นของหน่วยราชการยังเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ในบางสถานการณ์ ซึ่งมีความสำคัญน้อยกว่ากฎระเบียบ และขั้นตอนที่ใช้ในการควบคุมองค์การและบุคลากรของหน่วยราชการ
3.2 การจัดการ ตัวแบบคลายกฎระเบียบจะเน้นภาวะผู้นำในเชิงการจัดการ (managerial leadership) ที่จะนำองค์การไปสู่เป้าหมาย ซึ่งคุณสมบัติของผู้บริหารใน ตัวแบบนี้ไม่ใช่เพียงลักษณะของการเป็นผู้ประกอบการ (entrepreneur) ในตัวแบบการตลาดเท่านั้น แต่จะต้องมีคุณสมบัติแบบผู้นำในแบบประชาธิปไตยด้วย (democratic leader) รวมทั้งจะต้องมีความเป็นผู้นำในเชิงคุณธรรมที่สร้างบรรยากาศของความซื่อสัตย์ มุ่งมั่นต่อการให้บริการสาธารณะ ที่พร้อมจะรับผิดและรับการตรวจสอบได้ (accountability) นอกจากนี้ การคลายกฎระเบียบจะเป็นผลดีโดยตรงต่อบุคลากรในระดับล่างขององค์การด้วยสมมติฐานที่ว่า ถ้าผู้ปฏิบัติงานระดับล่างได้รับความอิสระในการทำงานมากขึ้น ก็จะใช้ความอิสระนั้นเป็นประโยชน์ต่อองค์การและผู้ใช้บริการ
3.3 การกำหนดนโยบาย จะให้ความสำคัญต่อกระบวนการในการตัดสินใจดำเนินการและกฎระเบียบที่นำมาใช้บังคับ โดยเฉพาะการกระจายให้บุคลากรระดับล่างทำหน้าที่ในการตัดสินใจมากขึ้น เพราะเห็นว่าเป็นผู้มีความชำนาญและใกล้ชิดกับ สิ่งแวดล้อมของหน่วยงาน
3.4 ประโยชน์สาธารณะที่ได้รับ เนื่องจากสมมติฐานที่ว่า หน่วยราชการประกอบ ขึ้นด้วยบุคลากรที่อุทิศตนและมีความสามารถที่ต้องการจะปฏิบัติหน้าที่ให้ได้ผลดีเท่าที่จะทำได้ ดังนั้น หากขจัดกลไกควบคุมการทำงานออกไป โดยใช้มาตรการควบคุมภายหลัง (expost facto control) เพียงบางส่วน ก็จะทำให้การปฏิบัติหน้าที่ต่าง ๆ ของหน่วยงานเป็นไปด้วยดี และทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ รวมทั้งให้ผู้ปฏิบัติงานมีลักษณะของความเป็นนักปฏิบัติเชิงรุก (activist)
4. หน่วยราชการแบบมีส่วนร่วมโดยประชาชน (participatory state) โดยมีแนวคิดที่ว่า ระบบราชการไม่สามารถจะมีข้อมูลข่าวสาร (information) ทั้งหมดได้หรือแม้กระทั่งไม่มีข้อมูลข่าวสารที่เหมาะสมสำหรับการกำหนดนโยบายนั้น ๆ ได้ ดังนั้น การตัดสินที่สำคัญที่ปราศจากการเข้ามาเกี่ยวข้องของสาธารณะ จึงมักจะเกิดการผิดพลาดในเชิงนโยบายได้ และไม่มีผู้ที่เกี่ยวข้องฝ่ายใด ไม่ว่าจะเป็นหน่วยราชการหรือหน่วยงานเอกชน จะมีความรู้และข้อมูลข่าวสารทั้งหมดเพียงพอกับการแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อนและมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา จึงเป็นความจำเป็นที่จะให้ประชาชนเข้ามาเกี่ยวข้องในการกำหนดประเด็นต่าง ๆ ขณะเดียวกัน ผู้แทนที่มาจากการเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตยประเภทต่าง ๆ ก็ไม่อาจที่จะสะท้อนความต้องการของสาธารณชนได้อย่างมีประสิทธิภาพเพียงพอ ดังนั้น จึงมีความจำเป็นที่จะต้องให้ประชาชนเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องในประเด็นทางสังคมต่าง ๆ และแม้กระทั่งในการดำเนินการตามโครงการต่าง ๆ มากขึ้น ถึงแม้ว่าระบบราชการจะยังมีความจำเป็นในบางหน้าที่ก็ตาม
4.1 โครงสร้าง ขององค์การของตัวแบบการมีส่วนร่วมจะค่อนข้างแบน และมีลำดับชั้นระหว่างผู้บริหารสูงสุดกับระดับล่างสุดเพียงจำนวนน้อย
4.2 การจัดการ มีแนวคิดหลักว่า หน่วยงานราชการจะทำหน้าที่ได้ดียิ่งขึ้น หากบุคคลในระดับล่างขององค์การและประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจขององค์การโดยตรง แนวคิดนี้จึงเห็นว่า เทคนิคด้านการจัดการที่ตอบสนองต่อการมีส่วนร่วม ได้แก่ การทำงานเป็นทีม และหลักการจัดการคุณภาพโดยรวม (total quality management)
เมืองหรือนครต่าง ๆ จะมีระบบการเมือง (political system) และรูปแบบขององค์การที่ทำหน้าที่บริหารงาน (governmental system) ที่มีลักษณะเฉพาะ ที่มีความแตกต่างและไม่เหมือนกับระบบราชการของรัฐบาลในระดับชาติ (national system) เพราะระบบการบริหารกิจการเมืองจะเป็นผลพวงของระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศดังกล่าว ฐานะขององค์การบริหารจัดการของเมืองจะเป็นหน่วยงานระดับรอง (sub unit) ของระบบบริหารราชการระดับประเทศและอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลโดยตรงของรัฐบาลแห่งชาติ ซึ่งองค์การที่ทำหน้าที่ในการจัดการเมืองเองก็จะมีอำนาจหน้าที่ที่จำกัด บางประเทศได้มีแนวคิดว่าการทำหน้าที่จัดการเมืองก็เพื่อให้มีหน้าที่เพียงเพื่อการให้บริการสาธารณะแก่ประชาชน ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ไม่มีระบบการบริหารกิจการเมืองแห่งใดที่จะมีความเป็นอิสระสมบูรณ์อย่างแท้จริงจากสังคมและระบบการเมืองของประเทศที่เมืองนั้น ๆ ตั้งอยู่ได้
อย่างไรก็ตาม โดยทั่วไปแล้ว ระบบบริหารกิจการเมืองจะมีลักษณะพื้นฐานที่สามารถพิจารณาได้ ดังนี้ (Yates, 1978, pp. 17-41)
1. การจัดการเมืองเป็นระบบของการให้บริการสาธารณะ (service delivery system) การให้บริการสาธารณะถือได้ว่าเป็นงานพื้นฐานที่เป็นหลักของเมืองที่จะต้องมีการให้บริการแก่ประชาชนในด้านต่าง ๆ ทุก ๆ วัน (daily) ประชาชนเป็นผู้ได้รับผลของการให้บริการโดยตรง (directly) จากเมือง และการให้บริการสาธารณะต่าง ๆ ก็จะดำเนินการในพื้นที่ของท้องถิ่นใดท้องถิ่นหนึ่ง (locality specific) ตัวอย่างที่เห็นได้จากการเก็บขนขยะจากพื้นที่ในถนน ตรอก ซอยใด ตรอก ซอยหนึ่ง หรือการอนุญาตให้บุคคลใดบุคคลหนึ่งปลูกสร้างอาคาร ซึ่งเป็นการให้บริการในทุก ๆ วัน และเป็นลักษณะของการให้บริการที่ประชาชนสามารถรับทราบได้ทันทีว่า การให้บริการของเมืองได้ดำเนินการ ให้แล้วหรือไม่ มีประสิทธิภาพเพียงใด เช่น สัญญาณไฟจราจรที่เสียมีการซ่อมแซมหรือไม่ ฝาท่อระบายน้ำที่หายไปมีการนำแผ่นใหม่มาปิดแทนแล้วหรือไม่ ซึ่งการให้บริการสาธารณะของเมืองจะเป็นสิ่งที่ประชาชนจับต้องได้ (tangible) และมองเห็นได้ (visible)
2. ความสัมพันธ์ของการให้บริการสาธารณะมีความเป็นส่วนตัวสูง (personal) เนื่องจากการให้บริการสาธารณะของเมืองมีองค์ประกอบจากความสัมพันธ์ระหว่างเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติ (street-level) กับประชาชน ซึ่งนอกจากจะเป็นการให้บริการต่อประชาชน โดยตรง (direct) แล้ว ยังมีลักษณะของความเป็นส่วนตัว (personal) กล่าวคือ การให้บริการสาธารณะจะมีปัจจัยสำคัญที่ขึ้นอยู่กับทัศนคติ ค่านิยม และพฤติกรรมของทั้ง 2 ฝ่าย คือ เจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการและประชาชนผู้รับบริการ เปรียบเทียบกับการปฏิบัติราชการของหน่วยราชการบางหน่วยที่มักจะเป็นการกำหนดนโยบายและไม่ได้ให้บริการโดยตรงต่อประชาชน ดังนั้น การให้บริการสาธารณะ ดังเช่นในกรณีของครูในโรงเรียนที่ทำหน้าที่สอนนักเรียน แพทย์ได้ให้การรักษาพยาบาลต่อคนไข้ หรือเจ้าหน้าที่อนามัยได้ให้ความรู้ด้านสุขอนามัยต่อประชาชนในสลัม เป็นต้น ซึ่งจะเห็นว่าเป็นการให้บริการหรือปฏิบัติ-หน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับปัญหาที่มีความเป็นการเฉพาะตัวของประชาชนผู้ที่กำลังได้รับการบริการ หรือเป็นการเข้าไปดำเนินการในเรื่องที่เป็นส่วนตัวของประชาชนคน ๆ หนึ่ง เช่น ครอบครัว ที่อยู่อาศัย ห้องเรียน หรือตรอก ซอย
3. ลักษณะของการบริการที่แบ่งแยกได้ (divisibility of services) การให้บริการที่เมืองจัดให้แก่ประชาชน ซึ่งมีลักษณะของการสร้างความสัมพันธ์แบบส่วนตัว (personal) และเป็นการให้บริการที่มีลักษณะเฉพาะในแต่ละพื้นที่ (locality specific) จึงทำให้งานให้บริการในแต่ละด้านดังกล่าว สามารถแบ่งหรือแยกส่วนให้ตรงตามความต้องการ (demands) ของประชาชนในแต่ละพื้นที่ ถนน ตรอก หรือซอยได้ โดยวิธีการให้บริการดังกล่าวก็มีความแตกต่างกันโดยธรรมชาติอีกด้วย ซึ่งการให้บริการของเมืองเมื่อเปรียบเทียบกับภารกิจของรัฐบาล เช่น การป้องกันประเทศ หรือการกำหนดนโยบายเศรษฐกิจระดับมหภาค จะเห็นได้ว่า งานบริการของเมืองมีแนวโน้มที่จะแบ่งแยกได้ง่าย ทั้งในแง่ของปริมาณ (quantitative) และคุณภาพ (qualitative) ตัวอย่างเช่น การเข้าดำเนินการแก้ไขปัญหาขยะตกค้างหลังจากได้รับการร้องเรียนจากผู้ร้องในชุมชนใดชุมชนหนึ่ง ซึ่งต้องมีการดำเนินการบางอย่างเป็นการเฉพาะแก่ผู้ร้องรายนี้ เช่น อาจเพิ่มเที่ยวของรถขยะที่เข้าไปเก็บขน แต่สำหรับผู้ร้องในรายอื่น ๆ การดำเนินการอาจมีการลดหรือเพิ่มเที่ยวรถสำหรับการเก็บขนซึ่งแตกต่างไปจากรายข้างต้นก็เป็นได้ เป็นต้น
4. ความต้องการของประชาชนที่หลากหลาย (variation in need) โดยปกติประชาชน ที่อาศัยอยู่ในเมืองใดเมืองหนึ่งจะมีความต้องการหลากหลายอย่างมากมายจนเกิดเป็น ข้อเรียกร้องต่าง ๆ ต่อการให้บริการของเมืองนั้น ๆ และในความเป็นจริง ข้อเรียกร้องของประชาชนก็จะมีความแตกต่างและหลากหลายจากบุคคลหนึ่งไปอีกบุคคลหนึ่ง จากตรอก ซอยหนึ่งไปอีกตรอก ซอยหนึ่ง จากชุมชนหนึ่งไปอีกชุมชนหนึ่งซึ่งอาจ ไม่เหมือนกัน นอกจากนี้ ข้อเรียกร้องดังกล่าวยังแปรเปลี่ยนได้ไปตามลักษณะของเพศ อายุ ครอบครัว และฐานะทางเศรษฐกิจของประชาชนอีกด้วย ดังนั้น ประชาชนในชุมชนหนึ่งอาจพอใจต่อการทำบัตรประชาชนที่รวดเร็ว แต่กลับไม่พอใจต่อการเก็บขยะของเมืองก็เป็นได้
ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ สังคม และกายภาพของพื้นที่ก็ยังมีส่วนกำหนดข้อเรียกร้องของประชาชนด้วยเช่นกัน หากพิจารณาปัจจัยเหล่านี้ในเชิงปริมาณ (quantitative) ก็จะพบว่า พื้นที่ที่มีความหนาแน่นของประชากรสูงและอาคารบ้านเรือนมีสภาพแออัด เช่น ในชุมชนแออัด ประชาชนก็จะมีความต้องการและเรียกร้องให้มีการดำเนินการป้องกันอัคคีภัยมากกว่าพื้นที่อื่น ๆ ที่มีประชากรและบ้านเรือนแออัดน้อยกว่า ขณะเดียวกันหากพิจารณาในเชิงคุณภาพ (qualitative) เช่น พื้นที่ใดที่ประชากรส่วนใหญ่มีฐานะทางเศรษฐกิจค่อนข้างต่ำก็จะมี ผลกระทบต่อการให้บริการด้านสาธารณสุข ซึ่งอาจมีการเข้ารับการรักษาพยาบาลหรือมีปัญหาเรื่องสุขอนามัยมากกว่าพื้นที่ที่ประชาชนมีฐานะทางเศรษฐกิจสูง ซึ่งจะมีปัญหาดังกล่าวต่ำกว่า
ความแตกต่างของความต้องการและข้อเรียกร้องของประชาชนแสดงให้เห็นว่า ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการของเมืองส่วนใหญ่จะมีผลกระทบต่อประชาชนหรือพื้นที่ในวงจำกัดมากกว่าที่จะส่งผลต่อสาธารณะในวงกว้าง ซึ่งการแก้ไขปัญหาดังกล่าวจึงมีลักษณะของการเฉพาะเจาะจงและมีลักษณะเป็นคราว ๆ ไปในแต่ละปัญหา และการแก้ไขปัญหาแต่ละคราวนั้นก็มักจะไม่มีความเกี่ยวเนื่องกันอีกด้วย นั่นคือ การแก้ไขปัญหาสัญญาณไฟจราจรที่ชำรุด การซ่อมแซมถนน การปลูกต้นไม้ทำสวนหย่อม หรืออู่ซ่อมรถทำเสียงดังในเวลากลางคืน จึงเป็นปัญหาของเมืองที่กระทบและสร้างความเดือดร้อนต่อประชาชนบางคนบางกลุ่มมากกว่าประชาชนทั้งกรุงเทพมหานคร เทียบกับการกำหนดนโยบายของรัฐบาล เช่น นโยบายความมั่นคงของประเทศก็จะมีผลต่อประชาชนทั้งประเทศและส่งผลในระยะยาว
5. การจัดตั้งกลุ่มหรือองค์การทางการเมือง (urban political organization) เนื่องจากประชาชนต่างก็มีผลประโยชน์ที่หลากหลาย แตกต่างกันมีลักษณะเป็นกลุ่มย่อย ๆ (fragmented) มากมายกระจัดกระจายไปในแต่ละชุมชนหรือในพื้นที่ของเมือง จึงมีกลุ่มหรือองค์การต่าง ๆ เกิดขึ้นมากมายเพื่อทำหน้าที่ปกป้องหรือพิทักษ์ผลประโยชน์ของตนหรือกลุ่มหรือชุมชนของตน สำหรับในพื้นที่ต่าง ๆ เราอาจจะพบชมรมหรือกลุ่มต่าง ๆ เช่น กลุ่มของผู้สูงอายุที่เป็นการรวมกลุ่มของผู้สูงอายุเพื่อทำกิจกรรมต่าง ๆ ชมรมอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน กลุ่มสหกรณ์ออมทรัพย์ แม้กระทั่งการรวมกลุ่มของวัยรุ่นเพื่อแข่งขันกีฬาตามสนามหรือสวนสาธารณะต่าง ๆ และอื่น ๆ อีกมากมาย รวมไปถึงกลุ่มอาชีพต่าง ๆ ด้วย กลุ่มต่าง ๆ เหล่านี้ อาจมีอายุไม่เท่ากัน บางกลุ่มบางชมรมอาจมีอายุสั้น บางกลุ่มหรือชมรมอาจมีอายุเป็นเดือนหรือเป็นปี บางครั้งจึง พบว่า เป็นเรื่องที่ค่อนข้างยาก หากต้องการจะค้นหากลุ่มหรือชมรมที่ถือได้ว่าเป็นปากเป็นเสียงของพื้นที่นั้น ๆ เนื่องจากการมีจำนวนของกลุ่มหรือชมรมที่มากและมีวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน แต่ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน ก็คือ ทุกกลุ่มหรือชมรมต่างพร้อมที่จะยื่นข้อเรียกร้องและความต้องการต่าง ๆ ของตนต่อ ผู้บริหารของเมืองเพื่อให้ได้รับประโยชน์หรือการแก้ไขเยียวยาปัญหาของตนอยู่เสมอ
6. ผู้แทนทางการเมือง (political representation) ได้แก่ ที่บรรดาผู้แทนในระดับต่าง ๆ ที่อยู่ในพื้นที่เมืองจะมีลักษณะที่ทับซ้อนกันและเป็นส่วน ๆ (fragment) ดังจะเห็นได้จากภายในพื้นที่ของกรุงเทพมหานครจะมีการเลือกตั้งในหลายระดับ ได้แก่ การเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และสมาชิกสภาเขต บรรดาผู้แทนทางการเมืองเหล่านี้ต่างก็มีพื้นที่ทางการเมืองทับซ้อนกันในแต่ละเขตหรือทั่วพื้นที่ของกรุงเทพมหานคร แต่การที่ในแต่ละชุมชนหรือพื้นที่ของเมืองต่างมีความแตกต่างแยกย่อยกันมากมายในเรื่องของปัญหาความเดือดร้อน และผลประโยชน์ที่ค่อนข้างมากดังได้กล่าวมาข้างต้น จึงเป็นการยากสำหรับผู้แทนต่าง ๆ เหล่านี้ที่จะสามารถกล่าวถึงนโยบายเพื่อประโยชน์ของพื้นที่ที่เป็นเขตเลือกตั้งของตนในเชิงที่ครอบคลุมและสอดคล้องกัน ดังนั้น จึงอาจกล่าวได้ว่า การเมืองของเมือง (urban politics) เป็นเรื่องที่มีประเด็นหลักไปสู่ประชาชนที่ต้องการจะได้รับการให้บริการสาธารณะจากเมืองอย่างมีประสิทธิภาพหรือต้องการการสนองตอบจากผู้บริหารเมืองอย่างทันใจ โดยทุก ๆ ชุมชนแถบละแวกบ้าน (neighborhood) ต่างก็มีข้อเรียกร้องและผลประโยชน์ที่หลากหลายเท่า ๆ กัน
7. ลักษณะของการเมืองเชิงระบบราชการ (bureaucratic politics) เนื่องจากระบบราชการของเมืองเป็นเรื่องของการให้บริการ (service delivery) ต่อประชาชนและเป็นการเน้นที่ลักษณะการมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติ (street-level bureaucrats) กับประชาชนผู้รับบริการ ดังนั้น กลุ่มต่าง ๆ ในแต่ละชุมชนหรือแต่ละพื้นที่ จึงให้ความสนใจต่อการดำเนินงานของผู้บริหารเมืองที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการต่าง ๆ ต่างจากการที่ประชาชนสนใจต่อการผ่านร่างกฎหมายต่าง ๆ ของสภาผู้แทนราษฎร หรือวุฒิสภาในระดับประเทศหรือการกำหนดนโยบายใด ๆ ของรัฐบาล จึงเห็นได้ว่า กระแสกดดันจากประชาชนหรือกลุ่มต่าง ๆ ของประชาชนมักจะพุ่งไปที่ผู้บริหารเมืองและบรรดาเจ้าหน้าที่ในรูปแบบการเรียกร้องหรือร้องทุกข์ในเรื่องต่าง ๆ มากมายเป็นประจำวัน
8. บทบาทของเจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติ (street-level bureaucrats) โดยที่การแบ่งออกเป็นส่วนย่อย ๆ (fragmentation) ของหน่วยงานต่าง ๆ ของเมืองเป็นผลมาจากการเกิดขึ้นของส่วนย่อย ๆ (fragmentation) มากมายของการให้บริการของเมืองที่ปรากฏให้เห็นในโครงสร้างตามลำดับชั้น (hierarchy) และเนื่องจากลักษณะของการให้บริการเป็นผลจากการมีปฏิสัมพันธ์กันโดยตรง (direct) และมีความเป็นส่วนตัวสูง (personal) ระหว่างเจ้าหน้าที่ผู้ปฎิบัติกับประชาชนผู้รับบริการ ดังนั้นในจุดที่ทั้ง 2 ฝ่าย กำลังมี ปฏิสัมพันธ์กันอยู่นั้น เจ้าหน้าที่จะมีความเป็นอิสระและมีดุลพินิจที่ค่อนข้างกว้างขวางในการตัดสินใจ แม้ว่าจะมีกฎระเบียบหรือแนวทางวางไว้เป็นกรอบให้ยึดถือก็ตาม ตัวอย่างเช่น พนักงานเก็บขนขยะประจำรถขยะที่กำลังทำหน้าที่เก็บขยะจากบ้านแต่ละหลัง หรือครูที่กำลังตอบสนองต่อลูกศิษย์แต่ละคน ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความยากลำบากของการควบคุมการปฏิบัติงานของส่วนกลางที่มีต่อเจ้าหน้าที่ในจุดที่กำลังปฏิบัติงานอยู่ ลักษณะเช่นนี้ ทำให้การให้บริการในแต่ละวัน จะเกิดขึ้นจากการมีปฏิสัมพันธ์อย่างเป็นอิสระของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติกับประชาชน เป็นจำนวนมากมายและหลากหลาย กระจายเป็นจุด ๆ อยู่ทั่วไป ในพื้นที่ของกรุงเทพมหานคร
9. การกำหนดนโยบาย (policy making) เพื่อการบริหารเมืองมีลักษณะของการแบ่งแยกออกเป็นส่วน ๆ เนื่องจากผู้กำหนดนโยบายประกอบด้วยหน่วยงานต่าง ๆ ของรัฐบาล และผู้บริหารของเมือง ซึ่งต่างก็มีอำนาจหน้าที่ที่เป็นของตนเองและมีลำดับชั้น (level) ที่ต่างกัน จึงทำให้นโยบายของแต่ละหน่วยงานซึ่งส่งผลโดยตรงต่อประชาชนในระดับพื้นที่หรือชุมชนมีลักษณะของการกระจัดกระจายไปคนละทิศละทาง และบ่อยครั้งจะเกิดความซ้ำซ้อนหรือขัดแย้งกัน
10. บทบาทของผู้บริหารเมือง (the role of the mayor) เป็นลักษณะทางธรรมชาติ ที่ผู้บริหารเมืองจะมีความใกล้ชิดกับประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในพื้นที่ของตน อย่างเห็นได้ชัดมากกว่าผู้บริหารในระดับรัฐบาล (national government) มีกับประชาชนและผู้บริหารเมืองจะมีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับรายละเอียดต่าง ๆ ของการให้บริการสาธารณะในแต่ละวัน รวมทั้งผู้บริหารเมืองจะถูกมองว่า ต้องเป็นผู้รับผิดชอบโดยตรง (responsible and accountable) ต่อปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติหน้าที่ระหว่างการให้บริการสาธารณะ ด้วยเหตุผลดังกล่าว ทำให้ผู้บริหารเมืองกลายเป็นนักการเมืองที่ประชาชนสามารถมองเห็นได้เด่นชัดกว่านักการเมืองในระดับอื่น ๆ จึงสามารถเข้าพูดคุยหรือเสนอข้อเรียกร้องและความต้องการได้ง่ายกว่า
ในพื้นที่ของเมืองและมหานครต่าง ๆ ได้ครอบคลุมเอาเขตอำนาจหน้าที่ (jurisdiction) ของหน่วยงานต่าง ๆ ซึ่งมีเป็นจำนวนมากและมีอยู่เป็นชั้น ๆ ทับซ้อนกัน ซึ่งเขตอำนาจหน้าที่ที่มีลักษณะเป็นส่วน ๆ (fragmented) มากมายดังกล่าว จะส่งผลกระทบต่อนโยบายการพัฒนาและการบริหารงานของหน่วยงานบริหารภาครัฐให้มีความยากลำบากยิ่งขึ้น ผลที่ตามมา คือ ประเด็นปัญหาที่อาจเป็นอำนาจหน้าที่ของขอบเขตอำนาจ (jurisdiction) หนึ่ง อาจมีผลเกี่ยวข้องกับขอบเขตอำนาจ (jurisdiction) อื่น ๆ อีกมาก ทำให้เกิดความร่วมมือระหว่างเขตอำนาจต่าง ๆ ขึ้น (interjurisdictional cooperation) ซึ่งบางครั้งอาจเกิดขึ้นอย่างไม่เป็นทางการและเป็นการแสดงให้เห็นถึงความพยายามในการตอบสนองเชิงนโยบาย (policy responsiveness) ดังนั้น จึงมีการเกิดขึ้นของรูปแบบใหม่ ๆ ของการเป็นหุ้นส่วน (partnership) และสมาคม ของผู้บริหารงานของเมือง ทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ และส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ในพื้นที่เมืองและเขตชานเมือง ลักษณะต่าง ๆ เหล่านี้ คือ การเปลี่ยนแปลงกระบวนทัศน์ (paradigmatic shift) จากการยึดติดกับแนวคิดด้านโครงสร้าง (structure) ของหน่วยงานภาครัฐที่เคยปฏิบัติกันมา มาเป็นการพิจารณาที่เกี่ยวกับงานในหน้าที่และระบบการบริหารกิจการเมือง governance (Meek, Schildt, & Witt, 2002, pp. 145-146)
Peters and Savoie (1995, pp. 3-19) เสนอแนวคิดเกี่ยวกับที่มาของระบบการบริหารกิจการบ้านเมือง ได้แก่ การกำกับ (steering) ซึ่งเกี่ยวข้องกับสมรรถนะของสถาบันต่าง ๆ ที่มนุษย์จัดตั้งขึ้นในการควบคุมสังคมและเศรษฐกิจนั้น ๆ รวมไปถึงกลไกต่าง ๆ (means) ในการตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนไม่ว่าในฐานะของเอกชน หรือสาธารณะชนทั่วไป ดังนั้น ผู้ที่ทำหน้าที่ในการบริหารจึงต้องเผชิญกับการตัดสินใจที่ยากลำบาก ที่ปัญหาสังคม (social problems) บางปัญหาอาจกลายเป็นปัญหาสาธารณะ (public problems) ซึ่งจะกลายเป็นภาระที่ใครคนหนึ่งคนใดจะต้องเป็นผู้ตัดสินใจดำเนินการ (individual decisions) หรือปล่อยให้เป็นการดำเนินการโดยสถาบันอื่น โดยเฉพาะกลไกตลาด (market)
ระบบการบริหารกิจการบ้านเมือง (governance) จะยิ่งประสบความยากลำบากอย่างยิ่ง หากรัฐบาลใช้วิธีการบริหารหรือการจัดการที่มีลักษณะเหมือนกัน (homogeneous) หรือเป็นรูปแบบเดียวตายตัวเท่านั้นเพื่อใช้บริการทั่ว ๆ ไป ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว ระบบราชการของรัฐมีลักษณะและแบ่งออกได้เป็น ดังนี้ (Peters & Savoie, 1995, pp. 3-19)
1. รัฐบาลมีการแบ่งออกเป็นหลายระดับ (levels) เช่น การเป็นหน่วยงานระดับ รัฐบาลกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น
2. ในแต่ละระดับมีหน่วยงานในการกำหนดนโยบายหลายหน่วยงาน
3. รัฐบาลมีการแบ่งนโยบายออกเป็นส่วน ๆ (policy areas) ซึ่งต่างก็พยายามแข่งขันเพื่อเรียกร้องความสนใจจากผู้ที่มีอำนาจตัดสินใจเพื่อการได้มาซึ่งทรัพยากรในการบริหาร-จัดการ
ดังนั้น ในการทำการตัดสินใจเพื่อการบริหารและการจัดการต่าง ๆ ในระบอบ-ประชาธิปไตย จึงมักเกี่ยวข้องกับการพยายามหาจุดสมดุลระหว่างความคิดเห็นที่แข่งขันกันกับการเข้ามามีส่วนร่วมของประชาชนในรูปแบบต่าง ๆ โดยการบริหารงานต่าง ๆ จะต้องดำเนินการโดยเปิดเผยต่อสาธารณะและต่อผู้ที่เกี่ยวข้อง
Frederickson (1997, pp. 83-87) ให้ความหมายของระบบการบริหารกิจการบ้านเมือง (governance) ไว้ว่า หมายถึง
1. รูปแบบและประเภทขององค์การและสถาบันที่หลากหลาย ซึ่งเชื่อมโยงเข้าด้วยกันและมีภารกิจเกี่ยวข้องกับกิจการสาธารณะ เช่น องค์การของรัฐ องค์การไม่แสวงหากำไร (nonprofit) หรือองค์การภาคเอกชน ซึ่งมีปฏิสัมพันธ์กันโดยระบบหรือเครือข่ายของหลายองค์การด้วยกัน
2. ลักษณะของการเป็นระบบที่มีการจับตัวกันอย่างหลวม ๆ (loosely coupled system) ซึ่งเป็นสิ่งตรงข้ามกับการรวมศูนย์อำนาจ (centralization) และการมีลำดับชั้น (hierarchy) ดังนั้น จึงเป็นองค์การที่มีการมอบหมายงาน (delegation) และการกระจายอำนาจ (decentralization) ประกอบด้วยการแยกย่อยออกไประหว่างองค์การส่วนย่อยกับองค์การอื่น ในความหมายนี้จึงรวมถึงเครือข่าย (net work) ของผู้มีส่วนได้เสีย (stakeholders) ต่าง ๆ ทำให้การกำหนดนโยบายและการนำนโยบายไปปฏิบัติจึงเป็นสิ่งที่สลับซับซ้อน (complexity) อย่างยิ่ง
3. ภารกิจของผู้นำหรือผู้กำหนดนโยบายจะค่อนข้างมีอิสระ มีความเป็นการเมืองสูง กล้าเสี่ยงมากขึ้น มีความสร้างสรรค์ และกระจายอำนาจออกไป โดยมีความเป็นทางการน้อยลง ลดลำดับชั้นและคลายกฎระเบียบ และเพื่อบรรลุเป้าหมายที่เป็นสาธารณะประโยชน์ ทำให้ต้องปฏิบัติหน้าที่ท่ามกลางเครือข่ายขององค์การต่าง ๆ ทั้งในระดับแนวนอน (horizontal) และในระดับแนวตั้ง (vertical) แทนที่จะทำงานตามปกติของแต่ละวันในองค์การเดียว
4. ความหมายของระบบการบริหารกิจการบ้านเมือง (governance) บ่งบอกถึงความสำคัญ (importance) ความชอบธรรม (legitimacy) และเป็นส่วนที่ส่งผลในทางบวกและความสง่างามต่อความสำเร็จในการบรรลุวัตถุประสงค์ของประโยชน์สาธารณะ ซึ่งในขณะที่การบริหารภาครัฐในแนวดั้งเดิมหมายถึงสิ่งที่มากด้วยลำดับชั้น เชื่องช้า และไร้ซึ่งจินตนาการ แต่ระบบการบริหารกิจการบ้านเมือง หมายถึง การสร้างสรรค์และการตอบสนอง
Bidhya Bowornwathana (2006, pp. 667-679) เสนอแนวคิด “The Four Pillars” ภายใต้กระบวนทัศน์ของ “New Democratic Governance” เพื่อปฏิรูประบบราชการในยุคใหม่ ดังนี้
1. ระบบราชการที่เล็กลงและทำเองน้อยลง (a smaller government that does less) ซึ่งเป็นเรื่องปกติที่จะให้มีการปฏิรูประบบโดยกำหนดนโยบายต่าง ๆ เช่น การลดทอน-งบประมาณ การลดอัตรากำลัง การโอนกิจการให้เอกชนดำเนินการ การทำสัญญาจ้างเอกชนดำเนินการแทน รวมทั้งคลายกฎระเบียบ เนื่องจากระบบราชการมีขนาดใหญ่เกินไป และสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายเกินจำเป็น แต่กลับมีผลการปฏิบัติงานต่ำกว่าที่คาดหวังไว้ ในขณะที่ภาคเอกชนจะทำหน้าที่บางอย่างได้ดีกว่า เนื่องจากต้องทำการแข่งขันตามกลไกตลาด และกระแสโลกาภิวัตน์ได้เปลี่ยนแปลงระบบเศรษฐกิจของโลก ทำให้ภาคเอกชนเป็นผู้นำในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ทำให้ระบบราชการเปลี่ยนบทบาทจาก “ผู้สั่งการและผู้รับใช้” ของประชาชนไปเป็น “หุ้นส่วนและกรรมการ” ที่จะคอยส่งเสริม ช่วยเหลือ และอำนวยความสะดวกให้แก่ภาคเอกชน
2. ระบบราชการที่มีวิสัยทัศน์ระดับโลกและยืดหยุ่น (a government with a global vision and flexibility) หลักการนี้ จะเป็นการปรับความคิดใหม่ต่อแนวทางว่าระบบราชการควรจะปฏิบัติอย่างไร เนื่องจากกระแสโลกาภิวัตน์ได้นำพาให้สิ่งแวดล้อมของระบบราชการไปไกลกว่าพรมแดนของประเทศตน และทำให้ระบบราชการขึ้นอยู่กับปัจจัยสิ่งแวดล้อมระดับโลกมากขึ้น ดังนั้น ข้าราชการจึงต้องตระหนักถึงระบบเศรษฐกิจโลกที่กำลังทำให้โลกปราศจากพรมแดนของแต่ละประเทศ การมีกฎและระเบียบใหม่ ๆ เกี่ยวกับการค้าโลกและการเข้าร่วมประชุมระดับนานาชาติอย่างกระตือรือล้น เช่นเดียวกับการใช้ประโยชน์จากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทำให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ทันที และเริ่มรับรู้ถึงสิ่งใดที่ผิดหรือถูกร่วมกัน รวมไปถึงการแพร่กระจายของค่านิยมในระบอบประชาธิปไตยไปทั่วโลก ก็จะเป็นปัจจัยกระตุ้นให้ระบบราชการต้องมีความยืดหยุ่นมากขึ้น โดยไม่อาจใช้ระบบราชการที่มากด้วยลำดับชั้นในแบบองค์การในระบบราชการแบบดั้งเดิมได้อีกต่อไป
3. ระบบราชการที่น่าเชื่อถือและตรวจสอบได้ (accountable government) เนื่องจากระบบราชการที่มีความน่าเชื่อถือและมีการตรวจสอบตามลำดับชั้นภายในองค์การของตนจะไม่เพียงพออีกต่อไป แต่จะต้องมีความน่าเชื่อถือและสามารถถูกตรวจสอบได้จากบุคคลภายนอกองค์การที่สังกัดอยู่ เนื่องจากการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศทำให้ประชาชนจะเริ่มเรียนรู้ต่อปัจจัยของคุณภาพชีวิตและมาตรฐานการดำเนินชีวิตต่าง ๆ ซึ่งจะเพิ่มกระแสกดดันที่จะเรียกร้องต่อระบบราชการมากยิ่งขึ้น เพื่อให้มีการปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น ดังนั้น ความต้องการที่จะให้ระบบราชการสามารถถูกตรวจสอบได้ก็จะยิ่งเพิ่มมากขึ้นเช่นกัน
4. ระบบราชการที่มีความเป็นธรรม (a government that is fair) หมายถึง ระบบราชการที่ต้องคำนึงถึงผู้ได้รับประโยชน์จากการปฏิรูปราชการ ซึ่งมีความเป็นธรรม (fairness) อยู่ 4 ประเภท คือ
ประเภทแรก ได้แก่ ความเป็นธรรมที่เป็นสากล (global fairness) ที่รัฐบาลได้รับค่านิยมมา เช่น การพัฒนาอย่างยั่งยืน สิทธิมนุษยชน การพิทักษ์สิ่งแวดล้อม
ประการที่สอง ความเป็นธรรมตามรัฐธรรมนูญ (constitutional fairness) ซึ่งการปฏิรูประบบราชการยึดถือตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ
ประการที่สาม ความเป็นธรรมตามรัฐบาล (government fairness) หมายถึง การปฏิรูประบบราชการเป็นไปตามนโยบายของรัฐ
ประการที่สี่ ความเป็นธรรมของเอกชน (individual fairness) เกิดขึ้นเมื่อประชาชนเล็งเห็นว่า การปฏิรูประบบราชการโดยมาตรการที่ดำเนินการอยู่เป็นธรรมกับทุกคน
Irazábal (2005, p. 39) เห็นว่า ระบบการบริหารกิจการบ้านเมือง (governance) หมายถึง ความสัมพันธ์ระหว่างประชาสังคม (civil society) กับรัฐ (state) และระหว่างผู้ปกครอง (ruler) กับผู้ถูกปกครอง (ruled) และระหว่างรัฐบาล (government) และผู้อยู่ใต้อำนาจ (governed) โดยมีปัจจัยของความน่าเชื่อถือ (creditability) และความชอบธรรม (legitimacy) ของสถาบันทางด้านการปกครอง และของชุมชน (community) รวมไปถึงของบรรดาผู้บริหารทางการเมืองและผู้นำต่าง ๆ
UNESCO (2000) ให้ความหมายของระบบการบริหารกิจการของเมือง (urban-governance) ไว้ว่า หมายถึง กระบวนการ (processes) ต่าง ๆ ที่ทำการกำกับและครอบคลุมถึงการเชื่อมโยงที่มีอยู่อย่างมากมายหลากหลายของหน่วยงานบริหารท้องถิ่น (local authorities) และบรรดาบุคคลหรือกลุ่มบุคคลผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่าง ๆ (stakeholders) รวมทั้งประชาชนพลเมือง (citizens) ของเมือง ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับยุทธศาสตร์ในแนวจากล่างสู่บน (bottom-up) และแนวจากบนลงล่าง (top-down) ที่จะเป็นการกระตุ้นและส่งเสริมให้เกิดการมีส่วนร่วมของชุมชน (communities) มีการเจรจาอย่างเปิดเผยระหว่างผู้เกี่ยวข้อง มีการดำเนินงานที่โปร่งใส และการกำหนดนโยบายการจัดการเมืองที่มีลักษณะเป็นนวัตกรรม
Kaufmann et al. (2006, pp. 31-32) ได้อธิบายความหมายของ ระบบการบริหารกิจการของเมือง (urban governance)โดยแสดงให้เห็นตัวชี้วัดถึงลักษณะต่าง ๆ ดังนี้
1. Accountability หมายถึง การจัดการด้านการเงินการคลังของเมืองที่แสดงให้เห็นถึงการใช้จ่ายเงินและเป็นประโยชน์ต่อประชาชนโดยอยู่ภายในกรอบของกฎหมายและอยู่ภายใต้นโยบายการบริหารที่กำหนดไว้
2. Responsiveness หมายถึง ความสามารถของหน่วยงานที่ได้รับการมอบหมายอำนาจในการที่จะตอบสนองต่อความต้องการของประชาชน
3. Citizen Participation หมายถึง การมีส่วนร่วมของประชาชน ซึ่งจะทำให้การตอบสนองของหน่วยงานเป็นไปตามวัตถุประสงค์ รวดเร็วทันการณ์
4. Management Innovation หมายถึง ระดับของความสำเร็จในการเปลี่ยนแปลงระบบการจัดการ เพื่อให้ได้ผลการปฏิบัติงานที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ วิธีการเข้าเป็นหุ้นส่วนระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชน (public-private partnership) ที่ภาคเอกชนมีส่วนในการทำให้เกิดการปรับปรุงประสิทธิภาพของการปฏิบัติงานของหน่วยราชการท้องถิ่น โดยให้มีมาตรการสร้างแรงจูงใจต่าง ๆ เป็นการส่งเสริมให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมใน การพัฒนาเมือง รวมทั้งการจัดตั้ง เครือข่าย (networking) ของเมืองกับเมืองอื่น ๆ หรือกับหน่วยงานภาคเอกชน หรือสมาคมวิชาชีพต่าง ๆ ในระดับภูมิภาคหรือระหว่างประเทศ
Hambleton et al., (2003, pp. 150-151) อธิบายว่า ระบบการบริหารกิจการบ้านเมือง (governance) หมายความถึง การตัดสินใจเพื่อการบริหารและการจัดการของหน่วยงานภาครัฐภายในขอบเขตของกฎหมาย และอำนาจหน้าที่ที่กำหนดไว้ ตลอดจนการบริหารทรัพยากรสาธารณะด้วยความรับผิดชอบที่สุจริต และพร้อมรับการตรวจสอบ และรวมถึงกระบวนการที่เกี่ยวข้องในการมีปฏิสัมพันธ์ต่อกัน การเจรจาต่อรอง การประสานงานร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรที่ไม่แสวงหากำไร เพื่อการบรรลุเป้าหมายที่ต้องการ ดังนั้น ระบบการบริหารกิจการของท้องถิ่น (local governance) จึงหมายถึง กระบวนการและโครงสร้างต่าง ๆ ที่หลากหลายของหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรอิสระที่มีอยู่ในระดับท้องถิ่นนั้น ๆ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการกระจายหน้าที่และความรับผิดชอบการให้บริการสาธารณะที่มีอยู่ในแต่ละภาคส่วน (sector) และแต่ละระดับที่แตกต่างกัน กล่าวได้อีกอย่างหนึ่งว่า เป็นกระบวนการที่เปลี่ยนแปลงการเป็นผู้รับผิดชอบจากรัฐไปให้แก่ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ทั้งนี้ องค์การบริหารงานท้องถิ่นจะไม่ได้เป็นเพียงผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการให้บริการสาธารณะเท่านั้น แต่จะปรากฏแนวคิดใหม่ที่องค์การบริหารงานท้องถิ่นจะมีฐานะการเป็นผู้นำการขับเคลื่อนของชุมชน (communities) ด้วย ซึ่งจะต้องคำนึงถึงความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชนในพื้นที่ด้วย
การจัดทำงบประมาณนั้นมีหลายขั้นตอน ฉะนั้นจึงต้องมีการมีส่วนร่วมในการ ทำงานของเจ้าหน้าที่วิเคราะห์งบประมาณของสำนักงบประมาณ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อ การปรับเปลี่ยนงบประมาณวิธีการทำงานและบทบาทของเจ้าหน้าที่วิเคราะห์งบประมาณ อันจะส่งผลให้สิงประสิทธิผลและความสำเร็จในการปฏิบัติงานของสำนักงบประมาณ
การมีส่วนร่วม (participation) คือ เป็นผลมาจากการเห็นพ้องกันในเรื่องของความ ต้องการและทิศทางของการเปลี่ยนแปลงและความเห็นพ้องต้องกัน จะต้องมีมากจนเกิด ความคิดริเริ่มโครงการเพื่อการปฏิบัติ เหตุผลเบื้องแรก ของการที่มีคนมารวมกันไดควร จะต้องมีการตระหนักว่าปฏิบัติการทิ้งหมดหรือการกระทำทั้งหมด ที่ทำโดยกลุ่มหรือใน นามกลุ่มนั้น กระทำฝานองค์การ (organization) ดังนั้นองค์การจะต้องเป็นเสมือนตัวนำให้บรรลุถึงความเปลี่ยนแปลงได้ (ยุพาพร รูปงาม, 2545, หน้า 5)
Erwin (อ้างอิงใน ยุพาพร รูปงาม5 2545, หน้า 6) ไต้ให้ความหมายเกี่ยวกับการมี ส่วนร่วมไว้ว่า คือ กระบวนการให้บุคคลเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องในการดำเนินงานพัฒนา ร่วมคิด ตัดสินใจ แก้ไขปัญหาด้วยตนเอง เน้นการมีส่วนร่วมเกึ่ยวข้องอย่างแข็งขันของ บุคคล แก้ไขปัญหาร่วมกับการใช้วิทยาการที่เหมาะสมและสนับสนุน ติดตามการ ปฏิบัติงานขององค์การและบุคคลที่เกึ่ยวข้อง
ทฤษฎีที่เกี่ยวกับการมีส่วนร่วมมี 5 ทฤษฎี ซึ่ง อคิน รพีพัฒน์ (อ้างถึงใน ยุพาพร รูปงาม, 2545, หน้า 7-9) ได้สรุปไว้ดังนี้
1. ทฤษฎีการเกลี้ยกล่อมมวลชน (Mass Persuation)
Maslow (อ้างถึงใน อคิน รพีพัฒน์, 2527, หน้า 7-8) กล่าวว่า การเกลี้ยกล่อม หมายถึง การใช้คำพูดหรือการเขียน เพื่อมุ่งให้เกิดความเชื่อถือและการกระทำ ซึ่งการ เกลี้ยกล่อมมีประโยชน์ในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในการปฏิบัติงานและถ้าจะให้ เกิดผลดีผู้เกลี้ยกล่อมจะต้องมีศิลปะในการสร้างความสนใจในเรื่องที่จะเกลี้ยกล่อม
โดยเฉพาะในเรื่อง ความต้องการของคนตามหลักทฤษฎีของ Maslow ที่เรียกว่าสำดับขั้น ความต้องการ (hierarchy of needs) คือ ความต้องการของคนจะเป็นไปตามสำดับจาก น้อยไปมาก มีทั้งหมด 5 ระดับ ดังนี้
1.1 ความต้องการทางด้านสรีระวิทยา (physiological needs) เป็นความต้องการ ขั้นพื้นฐานของมนุษย์ (survival needร) ได้แก่ ความต้องการทางต้านอาหาร ยา เครื่องน่งห่ม ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค และความต้องการทางเพศ
1.2 ความต้องการความมั่นคงปลอดภัยของชีวิต (safety and security needs) ได้แก่ ความต้องการที่อยู่อาศัยอย่างมีความปลอดภัยจากการถูกทำร้ายร่างกาย หรือถูก ขโมยทรัพย์สิน หรือความมั่นคงในการทำงานและการมีชีวิตอยู่อย่างมั่นคงในสังคม
1.3 ความต้องการทางด้านสังคม (social needs) ไต้แก่ ความต้องการความรัก ความต้องการที่จะให้สังคมยอมรับว่าตนเป็นส่วนหนึ่งของสังคม
1.4 ความต้องการที่จะมีเกียรติยศชื่อเสียง (self-esteem needs) ไต้แก่ ความภาคภูมิใจ ความต้องการดีเด่นในเรื่องหนึ่งที่จะให้ไต้รับการยกย่องจากบุคคลอื่น ความต้องการ ต้านนี้เป็นความต้องการระดับสูงที่เกึ่ยวกับความมั่นใจในตัวเองในเรื่องความเความสามารถ และความสำคัญของบุคคล
1.5 ความต้องการความสำเร็จแห่งตน (self-actualization needs) เป็นความ ต้องการในระบบสูงสุด ที่อยากจะให้เกิดความสำเร็จในทุกสิ่งทุกอย่างตามความนึกคิด ของตนเองเพื่อจะพัฒนาตนเองให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ความต้องการนี้จึงเป็นความต้องการ พิเศษของบุคคลที่จะพยายามผลักดันชีวิตของตนเองให้เป็นแนวทางที่ดีที่สุด
2. ทฤษฎีการระดมสร้างขวัญของคนในชาติ (National Morale)
คนเรามีความต้องการทางกายและใจถ้าคนมีขวัญดีพอ ผลของการทำงานจะสูง ตามไปด้วย แด่ถ้าขวัญไม่ดีผลงานก็ตํ่าไปต้วย ทั้งนี้เนื่องจากว่าขวัญเป็นสถานการณ์ทาง จิตใจที่แสดงออกในรูปพฤติกรรมด่าง ๆ นั่นเอง การจะสร้างขวัญให้ดีต้องพยายามสร้าง ทัศนคติที่ดีด่อผู้ร,วมงาน เช่น การไม่เอารัดเอาเปรืยบ การให้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับงาน การเปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็น เป็นต้น และเมื่อใดก็ตามถ้าคนทำงานมีขวัญดีจะ เกิดสำนึกในความรับผิดชอบ อันจะเกิดผลดีแก่หน่วยงานทั้งในส่วนที่เป็นขวัญส่วนบุคคล และขวัญของกลุ่ม ดังนั้น จะเป็นไปได้ว่าขวัญของคนเราโดยเฉพาะคนมีขวัญที่ดีย่อมเป็นปัจจัยหนึ่งที่จะนำไปสู่การมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ ได้เช่นกัน (ยุพาพร รูปงาม, 2545, หน้า 8)
3. ทฤษฎีสร้างความรู้สึกชาตินิยม (Nationalism)
ปัจจัยประการหนึ่งที่นำสู่การมีส่วนร่วมคือ การสร้างความรู้สึกชาตินิยมให้ เกิดขึ้น หมายถึง ความรู้สึกเป็นตัวของตัวเองที่จะอุทิศหรือ เน้นค่านิยมเรื่องผลประโยชน์ ส่วนรวมของชาติ มีความพอใจในชาติของตัวเอง พอใจเกียรติภูมิ จงรักภักดี ผูกพันต่อ ท้องถิ่น (ยุพาพร รูปงาม, 2545, หน้า 8)
4. ทฤษฎีการสร้างผู้นำ (Leadership)
การสร้างผู้นำจะช่วยจูงใจให้ประชาชนทำงานควยความเต็มใจเพื่อบรรลุ เป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ร่วมกัน ทั้งนี้เพราะผู้นำเป็นปัจจัยสำคัญของการร่วมกลุ่มคน จูงใจไปยังเป้าประสงค์โดยทั่วไปแล้วผู้นำอาจจะมีทั้งผู้นำที่ดีเรียกวำ ผู้นำปฎิฐาน (positive leader) ผู้นำพลวัต คือ เคลื่อนไหวทำงานอยู่เสมอ (dynamic leader) และผู้นำไม่มีกิจ ไม่มีผลงานสร้างสรรค์ ที่เรียกว่า ผู้นำนิเสธ (negative leader) ผลของการให้ทฤษฎีการสร้างผู้นำ จึงทำให้เกิดการระดมความร่วมมือปฏิบัติงานอย่างมีขวัญกำลังใจ งานมีคุณภาพ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และร่วมรับผิดชอบ ตังนั้น การสร้างผู้นำที่ดี ยอมจะนำไปสู่ การมีส่วนร่วมใน กิจกรรมต่าง ๆ ดวยดีนั่นเอง (ยุพาพร รูปงาม, 2545, หน้า 8)
5. ทฤษฎีการใช้วิธีและระบบทางการบริหาร (Administration and Method)
การใช้ระบบบริหารในการระดมความร่วมมือเป็นวิธีหนึ่งที่ง่ายเพราะใช้กฎหมาย ระเบียบ แบบแผน เป็นเครื่องมือในการดำเนินการ แต่อย่างใดก็ตามผลของ ความร่วมมือยังไม่มีระบบใดดีที่ชุดในเรื่องการใช้บริหาร เพราะธรรมชาติของคน ถ้าทำงานตามความสมัครใจอยางตั้งใจไม่มีใครบังคับก็จะทำงานด้วยความรัก แต่ถ้าไม่ ควบคุมเลยก็ไม่เป็นไปตามนโยบายและความจำเป็นของรัฐ เพราะการใช้ระบบบริหาร เป็นการให้ปฏิบัติตามนโยบายเพื่อให้บรรลุเป้าหมายเพิ่มความคาดหวังผลประโยชน์ (ยุพาพร รูปงาม, 2545, หน้า 8-9)
“คน” เป็นหนึ่งในปัจจัยทางการบริหารที่สำคัญและยอมรับกันทั่วไป เรียกย่อ ๆ ว่า “4 M’ s” อันประกอบด้วย บุคลากร หรือทรัพยากรมนุษย์ (Man) เงิน (Money) วัสดุ อุปกรณ์ (Materials) และการจัดการ (Management) จะพบว่าคนเป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุดในการบริหาร เพราะหากขาดกำลังคน ก็จะไม่มีตัวขับเคลื่อนปัจจัยอื่น ๆ นั่นเอง เพราะฉะนั้น ในแต่ละองค์กรจึงหันมาให้ความสำคัญในการบริหารคนในองค์กรเพิ่มมากขึ้น ซึ่งในปัจจุบันคือ การบริหารงานบุคคล
ความหมายของการบริหารงานบุคคล
คำว่า “การบริหารงานบุคคล” มาจากภาษาอังกฤษที่ว่า “Personnel Administration” หรือ “Personnel Management” ซึ่งมีผู้ให้คำจำกัดความไว้อย่างหลากหลาย ดังนี้
เฟอริคซ์ เอ ไนโกร (Felix A. Nigro) ได้ให้นิยมว่า “Personnel Administration is the art of selection new employees and making use of old ones in such manner that the maximum quality and quantity of output and service are obtained from the working force” แปลว่า“ศิลปะในการเลือกคนใหม่และใช้คนเก่า ในลักษณะที่จะให้ได้ผลงาน และบริการจากการปฏิบัติงานของบุคคลเหล่านั้น ทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ”
สมพงศ์ เกษมสิน มีความเห็นว่า “การบริหารงานบุคคลนั้น เป็นการจัดการ เกี่ยวกับบุคคลนับตั้งแต่การสรรหาบุคคลเข้ามาปฏิบัติงาน การดูแลบำรุงรักษา จนกระทั่งพ้นไปจากการปฏิบัติงาน”
ชูศักดิ์ เที่ยงตรง กล่าวว่า “การบริหารงานบุคคล คือ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ โดยมีจุดมุ่งหมาย เพื่อให้ได้คนดี มีคุณวุฒิ และมีความสามารถเหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่ มาทำงานด้วยความสนใจ พึงพอใจ อย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล”
จะเห็นได้ว่า การบริหารงานบุคคลมิใช่เพียงการเลือกและแต่งตั้งคนเข้ามาทำงาน เท่านั้น แต่เป็น การดำเนินกิจกรรมการบริหารคนตั้งแต่เริ่มต้น นับตั้งแต่ก่อนบุคคลนั้นจะเข้าสู่องค์การ จนกระทั่งพ้นจากองค์การไป เพื่อให้สอดคล้องกับการบริหารองค์กรโดยรวม
หลักและระบบบริหารงานบุคคล
ระบบการบริหารงานบุคคลโดยทั่วไปที่นิยมใช้มี 2 ระบบด้วยกัน คือ
1. ระบบอุปถัมภ์ (Patronage System หรือ Spoil System) เป็นระบบดั้งเดิม โดยมีแหล่งกำเนิดมาจากจีนโบราณ ที่มักใช้การสืบทอดทางสายเลือด รวมไปถึง การนำสิ่งของ มาแลกตำแหน่ง ลักษณะที่สำคัญ คือ
1)ไม่คำนึงถึงความรู้ ความสามารถ
2)ไม่เปิดโอกาสที่เท่าเทียมกันในการเลือกสรร
3)มักมีอิทธิพลทางการเมืองเข้ามาแทรกแซงกิจการภายในของหน่วยงาน
ข้อดี - รวดเร็ว แก้ไขสะดวก
- มีความขัดแย้งในการตัดสินใจน้อย
- เหมาะสมกับบางตำแหน่ง
- สอดคล้องกับการปกครองที่มีระบบพรรคการเมือง
ข้อเสีย - ไม่มีหลักประกันว่าจะได้คนที่มีความรู้ ความสามารถ
- มุ่งรับใช้คนมากกว่าหน่วยงาน
- ขวัญกำลังใจของผู้ปฏิบัติงานไม่ดี
- หน่วยงานพัฒนาได้ยาก
2. ระบบคุณธรรม (Merit System) เกิดจากความพยายามที่จะแก้ไขข้อบกพร่อง ของระบบอุปถัมภ์ โดยเป็นระบบการบริหารบุคคลที่อาศัยความรู้ ความสามารถของบุคคลเป็นหลัก ไม่คำนึงถึง ความสัมพันธ์ส่วนตัว มีลักษณะสำคัญดังนี้
1) หลักความสามารถ (Competence) เป็นการถือความสามารถของบุคคลเป็นสำคัญ เพื่อให้เหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่ และต้องสามารถใช้ความรู้มาปฏิบัติงานให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวม ได้อย่างเต็มที่
2) หลักความเสมอภาค (Equality Opportunity) เป็นการให้โอกาสที่เท่าเทียมกัน แก่บุคคลทั้งในการเข้าสู่การเป็นราชการและอยู่ในระหว่างการเป็นข้าราชการ ซึ่งเป็นแนวคิดตามหลัก ประชาธิปไตยที่ให้สิทธิเสมอภาคแก่บุคคลภายในขอบเขตของกฏหมาย โดยถือว่าทุกคน จะต้องได้รับการปฏิบัติอย่างเสมอภาคด้วยคุณสมบัติและหลักเกณฑ์ที่อยู่ในมาตรฐานเดียวกัน
3) หลักความมั่นคงในตำแหน่งหน้าที่ (Security of Tenure) ซึ่งต้องได้รับการยอมรับ และคุ้มครองตามกฎหมาย คือจะไม่ถูกปลดออกหรือไล่ออกจากงานโดยไม่มีเหตุที่พิสูจน์ได้ หลักการนี้ มุ่งให้ข้าราชการเกิดความมั่นคงถาวรในอาชีพและเกิดความรู้สึกมั่นคงที่จะแสวงหาความเจริญก้าวหน้า ในหน้าที่ของตน โดยไม่ต้องคำนึงถึงเหตุผลส่วนตัวหรือทางการเมือง
4) หลักความเป็นกลางทางการเมือง (Political Neutrality) คือ การที่ข้าราชการประจำต้องเป็นกลางทางการเมืองและสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ตามนโยบายของรัฐบาลอย่างเต็มความสามารถโดยไม่ขึ้นอยู่กับอิทธิพลของพรรคการเมืองหนึ่งพรรคการเมืองใด แต่ยังคงสิทธิทางการเมือง เช่นเดียวกับประชาชนทั่วไป
ข้อดี - สอดคล้องกับระบบประชาธิปไตยที่เน้นความเสมอภาค
- ได้คนดีมีความรู้ ความสามารถเข้ามาทำงาน
- สร้างขวัญกำลังใจในการทำงาน
- ช่วยหน่วยงานมีประสิทธิภาพ
ข้อเสีย - ล่าช้า
- ค่าใช้จ่ายในการสอบแข่งขันสูง
- สร้างความสัมพันธ์แบบเป็นทางการมากเกินไป
- ทำได้ยาก เพราะต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่ายอย่างจริงจัง
ทิพย์รัตน์:
วิวัฒนาการการบริหารงานบุคคลภาครัฐ
การบริหารงานบุคคลแบ่งออกเป็น 2 ยุคกว้าง ๆ ดังนี้
1.ยุคโบราณ หรือยุคดั้งเดิม แนวความคิดรูปแบบนี้ ได้รับอิทธิพล จากนักวิชาการหลายคน โดยมีจุดเริ่มต้นจากงานเขียนเรื่อง “The study of Administration” ของ วู้ดโร วิลสัน (Woodrow Wilson) ในปี ค.ศ. 1887 ซึ่งพยายามแยกการบริหารบุคคลออกจากกิจกรรม ทางการเมืองอย่างเด็ดขาด และหลังจากนั้นก็มีงานเขียนของนักวิชาการอีกหลายคน โดยแนวคิดในยุคนี้ จะเป็นการมองการบริหารงานบุคคล ในวงแคบ คือ เกี่ยวกับกระบวนการบริหารงานตั้งแต่การสรรหา การคัดเลือก การสอบ การเลื่อนขั้นการจำแนกตำแหน่งการฝึกอบรม การออกจากราชการ และประโยชน์เกื้อกูลต่าง ๆ เป็นต้น โดยไม่สนใจกับสิ่งแวดล้อมภายนอกมองการบริหารงานบุคคล เป็นกลไกของฝ่ายบริหารที่มีสำหรับการควบคุมบุคคล (Management Control Activity) มากกว่าจะมองครอบคลุม ถึงความสัมพันธ์ของสมาชิกในองค์การ (People - connected Activity)
แนวความคิดในยุคนี้เป็นการรวมแนวความคิดในเรื่องการแยกการเมืองออกจากการบริหารอย่างเด็ดขาด เน้นความเป็นกลางทางการเมือง มีระบบคุณธรรมเป็นหัวใจในการบริหาร เป็นการบริหารที่มีลักษณะปราศจากค่านิยมเน้นแต่เทคนิคและประสิทธิภาพในการบริหารงาน และเป็นปัญหาทางการบริหารเท่านั้น ซึ่งแนวความคิดแบบโบราณนี้ ได้รับการท้าทาย และโจมตี จากนักวิชาการหลายท่าน นับแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา ซึ่งเป็นวิวัฒนาการไปสู่แนวทางที่ 2
2. ยุคใหม่ หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 นักวิชาการเริ่มเขียนบทความ โดยตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับ การแยกการบริหารออกจากการเมืองอย่างเด็ดขาดว่าทำได้จริงหรือไม่ นักวิชาการรุ่นใหม่ พยายามอธิบายว่าจริง ๆ แล้ว การบริหารนั้นจะมีค่านิยมทางการเมือง เข้าไปเกี่ยวข้องอยู่ตลอดเวลา ปัญหาการบริหารงานน่าจะพิจารณาในแง่การเมืองมากกว่าเทคนิค นอกจากนี้อีกประเด็นหนึ่งที่โดนโจมตีเป็นอย่างมากคือ เรื่องของ หลักประสิทธิภาพ โดยในงานเขียนของเฟอริคซ์ เอ ไนโกร และลอยด์ จี ไนโกร ที่มีชื่อว่า “The New Public Personnel Administration” กล่าวว่า หลักประสิทธิภาพมีจุดอ่อนในตัวมันเอง 2 ประการคือ จะเป็นตัวทำลาย มากกว่าเป็นตัวช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติงาน และหลักประสิทธิภาพมุ่งเน้นแต่เฉพาะกรรมวิธี และเทคนิคในการทำงานโดยมองข้ามความเป็นมนุษย์ในองค์การใดโดยสิ้นเชิง
แนวความคิดที่ 2 นี้ จะมีมิติใหม่ของการบริหารงานบุคคล 3 ประการ คือ
1) เน้นหนักในการบริหารงานบุคคลในฐานะที่เป็นการเมืองมากขึ้น
2) ให้ความสำคัญกับค่านิยม
3) การจัดการเกี่ยวกับทรัพยากรมนุษย์ในองค์การ
อาจกล่าวได้ว่า แนวความคิดในยุคนี้มองการบริหารงานบุคคล เป็นระบบย่อย ของระบบการเมืองจึงอยู่ภายใต้สภาพแวดล้อมทางการเมือง ซึ่งพฤติกรรมของบุคลากร ในระบบจะถูกกำหนดโดยพลัง ในทางการเมือง ทั้งจากภายนอกและภายใน ระบบการคัดเลือกคน เข้าสู่ระบบราชการก็จะมุ่งเน้นเรื่อง ความเสมอภาคและความยุติธรรมเป็นสำคัญ
ส่วนคุณสมบัติหรือทักษะความสามารถของพนักงานที่บริษัทต้องการนั้น ได้แก่
1. มีคุณวุฒิตรงกับที่นายจ้างต้องการ
ข้อนี้ดูเหมือนจะเป็นคำตอบที่เป็นกำปั้นทุบดินเลยก็ว่าได้ เพราะการจะจ้างพนักงานสักคน นายจ้างก็คงจะเลือกตามคุณวุฒิที่เขาต้องการอยู่แล้ว การมีคุณวุฒิตรงตามที่นายจ้างต้องการนั้น หมายรวมไปถึงการมีคุณสมบัติทุกอย่างเพียบพร้อมตรงตามที่ระบุไว้ในประกาศรับสมัครงานทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นความรู้ ความสามารถ อายุ ประสบการณ์ หรือบางทีก็อาจจะระบุเพศที่ต้องการรับสมัครมาพร้อมเสร็จสรรพ
ถ้าลองเปรียบเทียบกันดูแล้ว คนที่มีคุณสมบัติตรงตามที่บริษัทระบุทุกอย่างย่อมได้เปรียบกว่าคนที่ขาดคุณสมบัติข้อใดข้อหนึ่งไปอยู่แล้ว ที่เขียนมา ก็เพื่ออยากจะปลอบใจคุณๆ ที่มีคุณวุฒิไม่ตรงตามที่บริษัทต้องการ อย่าเพิ่งถอดใจเสียแต่ครั้งแรก วันหนึ่งคุณอาจจะได้เจอบริษัทที่ต้องการคนที่มีคุณวุฒิ คุณสมบัติแบบคุณก็ได้
2. มีเชาว์ปัญญา มีไหวพริบสติปัญญาในการแก้ปัญญา
ในวันหนึ่งๆ นั้น คุณอาจจะต้องเตรียมใจเอาไว้เลยว่า อย่างน้อยคุณต้องพบเจอปัญหากันบ้างละ เพราะฉะนั้น คุณเองก็ต้องเตรียมตัว เตรียมใจเอาไว้รับมือกับปัญหา สามารถใช้สติปัญญาในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้ นี่แหละคือพนักงานที่เจ้านายต้องการ เพราะถ้าคุณไม่สามารถแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้ พอมีปัญหาทีไร ก็ต้องวิ่งปรึกษาเจ้านายทุกครั้งไป แบบนี้เจ้านายของคุณเอง ก็ไม่รู้จะจ้างคุณไว้ทำไม สู้เอางานมาทำเสียเอง แก้ปัญหาเองไม่ดีกว่าเหรอ
3. มีมนุษย์สัมพันธ์ดี
ข้อนี้ถือว่าเป็นอีก 1 ข้อที่เป็นสิ่งที่แน่นอนอยู่แล้ว เพราะไม่ว่าบริษัทไหนๆ ก็ต้องการคนที่มีมนุษย์สัมพันธ์ดีกันทั้งนั้น อย่าว่าแต่ในบริษัทเลย หรือแม้แต่คนเราเองก็ชอบคนที่มีมนุษย์สัมพันธ์ดี คนที่มีมนุษย์สัมพันธ์ดีนั้น จะสามารถเข้ากับคนได้ง่าย ปรับตัวได้ง่าย ไม่ว่าจะต้องอยู่ในสังคมใดก็ตาม เจ้านายของคุณเองก็ไม่ต้องมานั่งหงุดหงิดรำคาญใจกับปัญหาการเข้ากันไม่ได้ของพนักงานในบริษัท
4. มีความรู้เกี่ยวกับอุปกรณ์เครื่องใช้ในสำนักงาน
ถึงแม้ข้อนี้จะเป็นคุณสมบัติที่หยุมหยิม ไม่ใช่คุณสมบัติที่จำเป็นมากนัก แต่ถ้าคุณมีความรู้ในการใช้เครื่องใช้ในสำนักงาน ก็คงจะดีกว่าคนที่ไม่มีเอาเสียเลย อย่างเช่น ถ้ารู้ว่าแฟกซ์เขาใช้งานอย่างไร การต่อโทรศัพท์ต่างๆ ไปยังแผนกต่างๆ ต้องทำอย่างไรบ้าง เหล่านี้เป็นต้น แต่ก็อย่างที่บอกนั่นแหละว่า คุณสมบัติข้อนี้ ถ้าคุณไม่มีก็คงไม่เป็นอะไร เพราะมันสามารถเรียนรู้กันได้นี่นา และอีกอย่างหนึ่ง แต่ละที่ แต่ละบริษัท อาจจะมีอุปกรณ์ที่ไม่เหมือนกันก็ได้
5. ใช้คอมพิวเตอร์เป็น
เดี๋ยวนี้ทักษะทางด้านการใช้คอมพิวเตอร์ กลายเป็นคุณสมบัติที่พนักงานทุกคนต้องมีไปเสียแล้ว ถ้าเราลองสังเกตจากตำแหน่งงานต่างๆ ที่ประกาศรับสมัครนั้น ทุกตำแหน่งล้วนแต่ระบุว่า ต้องสามารถใช้คอมพิวเตอร์ได้ทั้งนั้น ก็เดี๋ยวนี้มันเข้าสู่ยุคเทคโนโลยีล้ำหน้ากันแล้ว จะมัวมานั่งใช้เครื่องพิมพ์ดีด เก็บเอกสารเข้าแฟ้มอย่างเมื่อก่อนก็ดูล้าสมัยไปเสียแล้ว
เดี๋ยวนี้ข้อมูลสำคัญของบริษัท เขาก็จะนิยมในแผ่นดิสก์หรือ CD Rom กันแล้ว แต่คุณไม่ต้องกังวลไปว่า คุณต้องมีความรู้ลึกขนาดโปรแกรมเมอร์เลยหรือเปล่า เพราะโดยทั่วไปแล้ว บริษัทเขาต้องการแค่ความรู้ขนาดโปรแกรมพื้นฐานเท่านั้น อย่างเช่น ไมโครซอฟท์เวิร์ด โปรแกรมออฟฟิศ บางแห่งที่ต้องการติดต่อกับลูกค้าต่างประเทศ ก็อาจจะต้องการคนที่สามารถรับส่งอี-เมล์ได้ ซึ่งโปรแกรมพื้นฐานเหล่านี้ก็ฝึกได้ไม่ยาก ยิ่งเมื่อคุณไปทำงาน ต้องใช้โปรแกรมเหล่านี้บ่อยขึ้น คุณก็จะชำนาญไปเองนั่นแหละ
นอกจากโปรแกรมเหล่านี้ที่คุณควรใช้ให้เป็นแล้ว ก็มีการพิมพ์ดีด ทั้งภาษาไทย ภาษาอังกฤษอีกด้วยที่ควรฝึกเอาไว้ให้ชำนาญ เพราะอย่าลืมว่า ยิ่งคุณมีความชำนาญมากพิเศษเท่าไหร่ โอกาสที่คุณจะได้งานทำนั้นก็มากขึ้นด้วย
6. มีบุคลิดดี
คงปฏิเสธไม่ได้ว่า คนที่มีบุคลิกดีนั้น ย่อมได้เปรียบกว่าคนอื่นๆ การเป็นคนมีบุคลิกดีนั้นไม่จำเป็นว่าคุณต้องเป็นคนสวย คนเก่ง ฉลาดเลิศเลอ แต่การเป็นคนบุคลิกดีในที่นี้ หมายถึง การเป็นตัวของตัวเอง เป็นธรรมชาติ เป็นคนมีความมั่นใจในแบบฉบับของตัวเอง พูดจาฉะฉาน มีไหวพริบ คนที่มีบุคลิกดี ย่อมเด่นสะดุดตาผู้ที่สัมภาษณ์หรือนายจ้าง และโอกาสที่คุณจะได้งานที่คุณสมัครนั้นก็มีสูงด้วย
7. เรียนรู้งานได้เร็วมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีความรอบคอบ กระตือรือร้น
คนที่สามารถเรียนรู้งานได้เร็วและกระตือรือร้นในการทำงาน ย่อมก้าวหน้าเร็วกว่าคนที่ทำงานด้วยความเบื่อหน่าย หรือทำงานไปวันๆ แบบเช้าชามเย็นชาม นอกจากตัวเองจะก้าวหน้าแล้ว ยังพาบริษัทก้าวหน้าอีกด้วย เพราะคนลักษณะนี้ มักจะมีความคิด มีแผนใหม่ๆ มานำเสนอเพื่อให้บริษัทพัฒนาขึ้นเสมอๆ
8. ตรงต่อเวลา ซื่อสัตย์ มีวินัยต่อหน้าที่การงาน
ขึ้นชื่อว่าตรงต่อเวลาแล้วละก็ อย่าว่าแต่นายจ้างเลยที่ต้องการ ไม่ว่าใครก็ชอบคนที่ตรงต่อเวลาด้วยกันทั้งนั้น เพราะถ้าเขาเป็นคนที่ตรงต่อเวลาแล้วละก็ สรุปได้เลยว่า เขาเป็นคนที่มีวินัยต่อตนเองแน่นอน มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่การงานที่ได้รับมอบหมายเป็นอย่างดี
คนที่ตรงต่อเวลา การทำงานก็จะมีประสิทธิภาพ เช้าเข้างานตรงต่อเวลา เย็นก็เลิกงานตรงต่อเวลา แบบนี้ไม่มีใครได้เปรียบหรือเสียเปรียบใคร การทำงานก็ดูเป็นระบบระเบียบเรียบร้อยดี ทำงานให้บริษัทอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย เป็นใครก็ชอบทั้งนั้นใช่ไหมล่ะ
9. มีทักษะด้านการบริหารข้อมูล
คุณสมบัติข้อนี้เป็นอีก 1 ข้อที่ไม่ค่อยสำคัญมากนัก แต่ถ้ามีก็ถือว่าดี เพราะคนที่รู้จักบริหารข้อมูล ก็จะรู้ว่าข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องไหนควรจะเก็บไว้ที่ใด เรื่องไหนควรจะทิ้งไปบ้าง เวลาเจ้านายเรียกหาข้อมูลเรื่องไหนจะได้ค้นได้สะดวก รวดเร็วทันใจ แถมบนโต๊ะยังดูสะอาดตา เป็นระเบียบเรียบร้อยอีกด้วย
10. มีความรู้เฉพาะด้านในงานที่ทำเป็นอย่างดี
การที่คุณไปสมัครงานในตำแหน่งใดนั้น คุณควรมีพื้นฐานความรู้เกี่ยวกับงานนั้นๆ อยู่บ้าง บางครั้งตำแหน่งที่คุณไปสมัครนั้นอาจจะไม่ได้เกี่ยวข้องกับสาขาที่คุณเรียนมาโดยตรง คุณอาจจะไม่มีความรู้ด้านนั้นเลยก็ได้ ข้อแนะนำก็คือ คุณอาจจะลองไปหาหนังสือสักเล่มที่เกี่ยวกับงานที่คุณกำลังจะทำมาอ่าน พอให้รู้ว่าตำแหน่งนั้นเขาทำอะไรกันบ้าง มันต้องใช้ความรู้ด้านไหนบ้าง รู้ไว้ใช่ว่า ได้เปรียบออกจะตาย
11. มีความรู้ด้านภาษา ยิ่งรู้หลายๆ ภาษาก็ได้เปรียบ
คนที่พูดได้หลายภาษามักจะได้เปรียบ เพราะสมัยนี้คนที่พูดภาษาอังกฤษได้ ก็มีเพิ่มมากขึ้นเยอะ การรู้ภาษาอังกฤษหรือพูดภาษาอังกฤษได้อย่างเดียวนั้นดูจะไม่พอแล้ว เพราะเราเองก็เรียนภาษาอังกฤษมาตั้งแต่ประถมฯ มัธยมฯ กันแล้ว แต่ถ้าคุณพูดภาษาอื่นได้ อย่างเช่นภาษาจีน ภาษาญี่ปุ่นหรือภาษาเยอรมัน หรือฝรั่งเศสได้ด้วย คุณก็จะมีตัวเลือกทางด้านอาชีพเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย
12. สื่อสารกับคนอื่นรู้เรื่อง
กล่าวถึงการสื่อสาร คุณๆ ก็คงจะคิดถึงการพูดจา และแน่นอน ทุกคนสามารถพูดจาได้มาตั้งแต่เกิดแล้ว แต่การพูดในที่นี้หมายถึง ความสามารถที่จะพูดให้คนอื่นเข้าใจ สื่อความหมายได้ตามวัตถุประสงค์ที่เราต้องการ นั่นแหละ จึงเรียกได้ว่าเป็นการสื่อสารที่สามารถคุยกับผู้อื่นได้รู้เรื่อง และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง คนที่คุณจะสื่อสารแล้วรู้เรื่องและเข้าใจมากที่สุดก็คือ ?เจ้านาย? ของคุณนั่นเอง เพราะการไม่เข้าใจกัน สื่อสารกันไม่รู้เรื่อง เวลาเจ้านายคุณสั่งงานอะไรมา แต่คุณกลับทำอีกอย่าง นอกจากทำให้เจ้านายหงุดหงิดแล้ว ยังเสียงานอีกต่างหากนะ
13. มีความอดทนต่อการทำงาน
คุณสมบัติอีกข้อ 1 ที่ไม่ว่าคุณจะทำงานในตำแหน่งอะไรแล้วคงจะต้องมีคุณสมบัติข้อนี้ ความอดทนเป็นสิ่งสำคัญต่อชีวิตของคนเรา ไม่เพียงแค่การทำงานเท่านั้น เพราะหลายต่อหลายสถานการณ์ ต้องอาศัยความอดทนของคนเราเป็นตัวแก้ปัญหา ถ้าคุณมีความอดทนเสียอย่าง ไม่ว่าอะไรจะผ่านเข้ามาในชีวิตของคุณ คุณก็สามารถผ่านไปได้อย่างสบายๆ
หันมาดูกันบ้างดีกว่าว่า ความอดทนนั้นสำคัญไฉนกับชีวิตการทำงานของคุณ
เริ่มแรก มันแน่นอนอยู่แล้วที่คุณจะต้องอดทนต่อการทำงาน ไม่ว่างานนั้นมันจะหนักหนาสาหัสแค่ไหน คุณก็ต้องอดทน ไม่ย่อท้อต่อความเหนื่อยยาก อย่างที่เขาเรียกกันว่า เป็นคนหนักเอาเบาสู้นั่นแหละ พนักงานคนใด ที่มีคุณสมบัติแบบนี้ย่อมเป็นที่หมายปองของบริษัท ห้างร้านต่างๆ ไม่ว่าจะต้องเจอะกับงานชนิดไหน ประเภทไหน ก็สามารถทำได้หมด
นอกจากนี้ คนที่มีความอดทน ก็จะเป็นคนทำงานได้นานด้วย ไม่ใช่ว่าเจองานยากๆ หรืองานหนักๆ เข้าหน่อย ก็อยากเปลี่ยนงานใหม่ แบบนี้ก็คงจะแย่เหมือนกัน เพราะนอกจากตัวเองจะไม่สู้แล้ว ยังทำให้บริษัทเดือดร้อน ต้องพลอยเปลี่ยนพนักงานบ่อยๆ ไปด้วย
14. การปรับตัวได้ทันตามยุคสมัยที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว
เดี๋ยวนี้ยุคสมัยเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วอย่างกับติดจรวด ถ้ามัวแต่ทำตัวเชย ล้าหลัง ไม่ทันโลกกับเขาเลย ก็คงจะแย่อยู่เหมือนกัน
หมั่นอัพเดทข้อมูลใหม่ๆ เข้าตัวบ้าง ให้รู้บ้างว่าเดี๋ยวนี้โลกเขาไปถึงไหนกันแล้ว วิธีง่ายๆ ในการอัพเดทข้อมูลก็ได้แก่ การดูข่าวทางโทรทัศน์ หรืออ่านจากหนังสือพิมพ์ก็ได้ ข่าวก็ไม่มีข้อจำกัดหรอกนะว่าต้องเป็นข่าวการเมือง เศรษฐกิจ หรืออะไรก็ตามที่มันหนักๆ
ข่าวเบาๆ เช่นข่าวบันเทิงก็พอได้อยู่ รู้เอาไว้ เผื่อจะได้เอาไปคุยกับคนที่ทำงานได้ เวลาเข้าวงสนทนา คุณจะได้มีเรื่องพูดคุยกัน
พูดถึงการพูดคุยกัน ก็มีข้อดีอยู่เหมือนกันนะ เพราะการคุยกันนี่ ทำให้คุณได้รู้อุปนิสัย ใจคอ ของฝ่ายตรงกันข้าม ทำให้คุณได้รู้จักพูด รู้จักคิดมากขึ้น และที่สำคัญ ทำให้รู้จักฝ่ายตรงกันข้ามดีขึ้นอีกด้วยละ เหมือนสุภาษิตจีนโบราณที่เขากล่าวกันไว้อย่างไรละว่า ?รู้เขารู้เรา รบร้อยครั้ง ชนะร้อยครั้ง?