การวิเคราะห์ภาวะอุตสาหกรรม (Industry Analysis)
การวิเคราะห์หลักทรัพย์จะเกี่ยวข้องกับแหล่งข้อมูล 3 ระดับคือ
- 1. ข้อมูลระดับมหภาค ได้แก่ ภาวะเศรษฐกิจ การเมือง วัฒนธรรม กฎระเบียบและนโยบายต่างๆ เทคโนโลยี ประชากรศาสตร์ รูปแบบการดำเนินชีวิต
- 2. ข้อมูลระดับอุตสาหกรรม ได้แก่ วัฏจักรเศรษฐกิจ โครงสร้างตลาด การเปลี่ยนแปลง
- ของโครงสร้างมหภาค วัฏจักรชีวิตอุตสาหกรรม
- 3. ข้อมูลระดับบริษัท
ซึ่งข้อมูลทั้ง 3 ระดับนี้ต่างมีผลต่อผลประกอบการของบริษัท ซึ่งจะมีผลต่อผลตอบ
แทนของการลงทุนในหลักทรัพย์ของบริษัทนั้นๆ
ในการวิเคราะห์ข้อมูลระดับมหภาคและระดับอุตสาหกรรม จะต้องทำการวิเคราะห์ 2 ด้านด้วยกัน คือ
- 1. Qualitative Analysis เป็นการวิเคราะห์เชิงคุณภาพ เป็นการใช้ความคิดเห็นของนักวิเคราะห์มาพิจารณาอาจเกิดการ bias ได้ ไม่สามารถบอกออกมาเป็นตัวเลขได้ แต่สามารถใช้ได้ดีเมื่อมีข้อมูลใหม่ๆเข้ามาโดยเฉพาะข้อมูลภายใน (inside information)
- 2. Quantitative Analysis การวิเคราะห์เชิงปริมาณ จัดทำง่าย สามารถบอกแนวโน้มได้โดยเฉพาะช่วงสั้นๆ แต่มีโอกาสผิดพลาดได้ หากมีข้อมูลภายในอาจทำให้ยากในการวิเคราะห์
วัฎจักรธุรกิจ
ขึ้นกับแนวโน้มของภาวะเศรษฐกิจเช่นกัน ในช่วงภาวะเศรษฐกิจตกต่ำจนใกล้จุดต่ำสุด Financial stock จะดีขึ้นเนื่องจากมองว่าอนาคตจะ recover เริ่มมีการลงทุนในหุ้นเพิ่มขึ้น เมื่อถึงจุดต่ำสุดของภาวะเศรษฐกิจ Consumer Durable เมื่อถึงช่วงเศรษฐกิจเริ่มโงหัวขึ้น ธุรกิจสินค้าทุนจะเริ่มดี เนื่องจากมีการบริโภคมากขึ้น สินค้าเริ่มมีน้อยลง ต้องมีการผลิตเพิ่ม สินค้าทุนต้องถูกจัดซื้อเพิ่มขึ้น ช่วงเศรษฐกิจเติบโตเต็มที่ Basic industries จะดี