Custom Search

MBA Holiday

วันพฤหัสบดีที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2556



ความเสี่ยงในการลงทุน หมายถึง การที่ผู้ลงทุนได้รับผลตอบแทนจริงจากการลงทุน เบี่ยงเบนไปจากผลตอบแทนที่คาดหวังไว้ว่าจะได้รับเมื่อแรกเริ่มลงทุน ไม่ว่าผลตอบแทนที่ได้รับจริงจะมากกว่า หรือน้อยกว่าที่คาดหวัง ถือว่าเป็นความเสี่ยงทั้งสิ้น ดังนั้น จึงไม่มีการลงทุนประเภทใดที่ไม่มีความเสี่ยงความเสี่ยงจากการลงทุนในตราสารทุน

ผู้ลงทุนสามารถลดความเสี่ยงในการลงทุนในตราสารทุนได้ในระดับหนึ่ง โดยการกระจายการลงทุนในหลักทรัพย์ของหลายอุตสาหกรรมและหลายภาคธุรกิจ ทั้งยังควรคัดเลือกตราสารที่จะลงทุนอย่างพิถีพิถัน โดยพิจารณาจากปัจจัยทางพื้นฐานของบริษัทผู้ออกตราสารทุนนั้น ๆ เป็นสำคัญ เช่น 
กิจการที่มีฐานะทางการเงินมั่นคง มีผลกำไรในการประกอบการอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอทุกปี และถ้าเป็นกิจการที่จัดตั้งขึ้นใหม่ ก็ต้องมีศักยภาพในการดำเนินธุรกิจสูง
กิจการที่มีแนวโน้มในการเจริญเติบโตที่ชัดเจนมีส่วนแบ่งตลาดสูง มีความสามารถในเชิงแข่งขันสูง 
กิจการที่มีคณะผู้บริหารที่มีคุณภาพ และไม่มีประวัติการปฏิบัติงานที่ด่างพร้อยหรือส่อในทางไม่สุจริต
กิจการที่มีข้อมูลประกอบธุรกิจที่ชัดเจนโปร่งใส เป็นประโยชน์ในการตัดสินใจของผู้ลงทุน
กิจการที่มีงบแสดงฐานะทางการเงินที่ครบถ้วนตามมาตรฐานบัญชีที่มีคุณภาพ 

ความเสี่ยงของตราสารทุน สามารถแยกออกเป็น 3 ประเภทที่สำคัญได้ ดังนี้ คือ
  1. Company Risk หรือ Credit Risk
    • ความเสี่ยงที่เกี่ยวกับบริษัทนั้น อันเกิดจากสาเหตุทั้งภายในและภายนอก ที่ผู้ลงทุนไม่สามารถคาดการณ์ หรือรับรู้มาก่อนได้ เช่น 
    • การเปลี่ยนแปลงคณะจัดการหรือผู้บริหารสำคัญ ซึ่งอาจมีผลให้มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายในการดำเนินงานของกิจการ 
    • ความผิดพลาดในการบริหาร จนทำให้เกิดความเสียหายและความสูญเสียต่อผู้ถือหุ้น 
    • การแข่งขันในเชิงการตลาดของคู่แข่ง ที่มีผลกระทบต่อปริมาณการขาย และรายได้ของกิจการ 
    • ความนิยมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป และมีผลกระทบต่อปริมาณการขายและรายได้ของกิจการ
    • ความเสียหายจากภัยพิบัติ ทำให้ขบวนการผลิตและการจัดการหยุดชะงัก และกระทบต่อกระแสรายได้ของกิจการ
    • การถูกฟ้องร้องดำเนินคดี อันนำมาซึ่งความเสื่อมเสียชื่อเสียง และค่านิยม (goodwill) 
    • การล้มละลาย ความสูญเสียทั้งมวลของผู้ถือหุ้น

  2. Sector Risk หรือ Industry Risk
    ความเสี่ยงที่เกิดจากคุณสมบัติเฉพาะของภาคธุรกิจหรืออุตสาหกรรมนั้น ๆ เอง เช่น ธุรกิจ หรือ อุตสาหกรรมที่มีการผลิตหรือเสนอขายสินค้าหรือบริการเฉพาะเจาะจงเพียงไม่กี่ประเภท เช่น บริษัทสายการบิน บริษัททำเหมืองแร่ บริษัทคอมพิวเตอร์และ softwares เป็นต้น ธุรกิจหรืออุตสาหกรรมประเภทนี้ ตลอดจนราคาหุ้นของบริษัทเหล่านี้สามารถพุ่งสูงขึ้น และสามารถตกต่ำได้ในชั่วพริบตา หากมีเหตุการณ์อันไม่คาดฝันเกิดขึ้น
  3. Market Risk
    ความเสี่ยงที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสภาวการณ์ลงทุนในตลาดหุ้น ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของราคาหุ้น โดยที่ปัจจัยทางพื้นฐานของหุ้นนั้นไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปเลย กรณีเช่นนี้ มักจะเกิดขึ้นในขณะที่ ตลาดหุ้นอยู่ในสภาพร้อนแรง (bull market) หรือ ซบเซา (bear market) อันมีผลมาจากกระแสความรู้สึกโดยรวมของผู้ลงทุน (market sentiment) ในขณะนั้น ๆ สภาพเศรษฐกิจ การเมือง และ การเงิน ทั้งภายในและภายนอกประเทศ จะมีส่วนกำหนด market sentiment ของผู้ลงทุนด้วย

0 Comments:

Post a Comment



บทความที่ได้รับความนิยม