Custom Search

MBA Holiday

วันพฤหัสบดีที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

การวิเคราะห์บริษัทและหลักการวิเคราะห์งบการเงิน
ในการวิเคราะห์บริษัทใช้ข้อมูล 2 ด้าน คือ

  • 1. ข้อมูลเชิงคุณภาพ เป็นข้อมูลที่เป็นข้อความในลักษณะบรรยาย อาจเป็นข้อมูลอดีตปัจจุบัน หรือแนวโน้มในอนาคตเกี่ยวกับบริษัท ได้แก่ ประวัติความเป็นมา ลักษณะการดำเนินงานแผนงานในอนาคต ผลกระทบของภาวะเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้าง เป็นต้น
  • 2. ข้อมูลเชิงปริมาณ เป็นข้อมูลที่วัดได้ในเชิงตัวเลขที่มาจากกิจกรรมด้านต่างๆ ของบริษัทข้อมูลเชิงปริมาณที่สำคัญ คือ งบการเงิน ซึ่งเป็นรายงานผลประกอบการทางการเงินของบริษัท ซึ่งต้องมีการวิเคราะห์งบการเงิน โดยใช้อัตราส่วนทางการเงิน วิเคราะห์ตามแนวดิ่งวิเคราะห์ Common Size มีการประมาณการงบการเงิน 3-5 ปี พร้อมกับมีการจัดทำงบกระแสเงินสดเพื่อทำการประเมินมูลค่าหลักทรัพย์ต่อไป
การประเมินมูลค่าหลักทรัพย์
เราประเมินมูลค่าหลักทรัพย์เพื่อหามูลค่าที่เหมาะสม (Intrinsic value หรือ V0) เพื่อนำไปเปรียบเทียบกับราคาตลาด (P0) ถ้า P0 < V0 หลักทรัพย์นั้นถือว่า Undervalue นักลงทุนควรซื้อ ถ้า P0 > V0 หลักทรัพย์นั้นถือว่า Overvalue นักลงทุนควรขายหรือไม่ซื้อหลักทรัพย์นั้น
การประเมินมูลค่าหลักทรัพย์ เป็นการหาว่ามีการไม่เท่ากันของมูลค่าที่เหมาะสมกับราคาตลาดหรือไม่ ซึ่งภาวะที่มีการไม่เท่ากันของราคา ถือเป็นภาวะตลาดที่ไม่มีประสิทธิภาพ ซึ่งการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานจะสามารถช่วยให้นักลงทุนมีข้อมูลในการตัดสินใจเลือกหลักทรัพย์ที่จะลงทุนได้ โดยเริ่มจากการวิเคราะห์เศรษฐกิจ วิเคราะห์อุตสาหกรรม วิเคราะห์บริษัท แล้วจึงทำการประเมินมูลค่าเพื่อหาหลักทรัพย์ที่มีราคาตลาดต่างจากมูลค่าที่เหมาะสม
การหามูลค่าของกิจการ จะหาจากสินทรัพย์ของกิจการ โดยพิจารณาได้สองทางคือ
ทางที่ 1 จากสินทรัพย์สุทธิของกิจการ ได้แก่
  • - มูลค่าตามบัญชี
  • - Replacement value
  • - Liquidation value
  • - Net Asset Value
ทางที่ 2 ผลประโยชน์ที่ได้จากสินทรัพย์ ได้แก่
  • - ยอดขาย (sales)
  • - กำไรสุทธิ (net income)
  • - กระแสเงินสด (cash flow)
  • - เงินปันผล (dividend)
  • - กระแสเงินสดอิสระ (free cash flow)
แบบจำลองการประเมินมูลค่า
  • 1. แบบจำลองการคิดลดกระแสเงินสด (DCF)
  • 1.1 การคิดลดเงินปันผล
  • 1.2 การคิดลด กระแสเงินสดอิสระ
  • 1.3 กำไรคงเหลือ
  • 2. แบบจำลองการประเมินมูลค่าด้วยค่าสัมพัทธ์
  • 3. แบบจำลองการประเมินมูลค่า โดยใช้ตัวแบบออปชัน ด้วยค่าสัมพัทธ์

0 Comments:

Post a Comment



บทความที่ได้รับความนิยม