Custom Search

MBA Holiday

วันพฤหัสบดีที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

การวิเคราะห์หลักทรัพย์นั้นแบ่งได้เป็น 3 แนวทาง ได้แก่


  • 1.การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน (Fundamental Analysis)
  • 2.การวิเคราะห์ปัจจัยทางเทคนิค (Technical Analysis)
  • 3.อื่นๆ เช่น Random Walk, Mythology ฯลฯ
ถึงแม้จะมีหลายแนวทางให้วิเคราะห์แต่มีเพียง 2 แนวทางแรกเท่านั้น ที่นักวิชาการส่วนใหญ่นำมาวิเคราะห์ บางท่านคิดว่า ตลาดหุ้นนั้นเหมือนการเสี่ยงดวง วัดดวงหรือเหมือนการพนันแต่ความจริงแล้ว ตลาดหุ้นนั้น มีศาสตร์และศิลป์ที่สามารถหาคำตอบได้ทางวิยาศาสตร์และทุกอย่างที่เกิดขึ้นมีทั้งเหตุและผลครับ มีมหาวิยาลัยชื่อดังหลายแห่งที่มี หลักสูตรการสอนเรื่องตลาดหุ้นโดยเฉพาะครับ อย่างเมืองไทยเราก็มี มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ ส่วนของต่างประเทศดังๆก็มี Massachusetts Institute 0f Technology, Baruch College of The City of New York เป็นต้น

การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน (Fundamantal Analysis)
การวิเคราะห์หลักทรัพย์โดยใช้ปัจจัยพื้นฐาน ประกอบไปด้วย



  • 1. การวิเคราะห์ภาวะเศรษฐกิจ
  • 2. การวิเคราะห์อุตสาหกรรม
  • 3. การวิเคราะห์บริษัท
การวิเคราะห์ภาวะเศรษฐกิจ (Economic Analysis)

ต้องวิเคราะห์ทั้งภาวะเศรษฐกิจโลกและในประเทศ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของภาวะเศรษฐกิจโลกจะมีผลต่อประเทศไทยของเราเช่นกัน ปัจจัยที่ต้องพิจารณา ได้แก่ การพยากรณ์เกี่ยวกับอัตราการเติบโตของรายได้ประชาชาติของแต่ละประเทศ การพยากรณ์เกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ย ฯ
นอกจากนี้ยังต้องติดตามภาวะเศรษฐกิจของประเทศใหญ่ๆ โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกาที่มีสัดส่วนการบริโภคในโลกนี้มากที่สุด
ในการวิเคราะห์ภาวะเศรษฐกิจในประเทศ จะต้องศึกษาถึงภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันเป็นอย่างไร ซึ่งวิทยากรเห็นว่าปัจจุบัน



  • -ไทยมีการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด แต่ยังไม่น่าเป็นห่วง ควรเร่งการลงทุน ซึ่งภาค
  • เอกชนได้มีการลงทุนกันเป็นจำนวนมาก ยังเหลือแต่ภาครัฐที่ยังไม่ลงทุนมากนัก
  • - สำหรับการบริโภคของคนในประเทศ มีการชลอตัวเนื่องจากการปรับตัวเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมัน ที่ทำให้ราคาสินค้าปรับตัวสูงขึ้น
  • - นโยบายการเงิน มีแนวโน้มที่จะมีการปรับอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องอีกในอนาคต หากมีการปรับอัตราดอกเบี้ยสูงขึ้น ก็จะมีผลต่อภาวะการซื้อขายหลักทรัพย์
  • - ภาวะการซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ ของประเทศไทยมีผลการ
  • ดำเนินงานที่ต่ำกว่าประเทศต่างๆ ทั่วโลก และดัชนีตลาดหลักทรัพย์ก็ไม่ค่อยมีการเติบโตนัก การลงทุนของนักลงทุนต่างชาติเป็นการเคลื่อนย้ายทุนมาจากประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นส่วนใหญ่ อัตราดอกเบี้ยที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นส่งผลการเติบโตของตลาดหลักทรัพย์
หลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อเปรียบเทียบกับตลาดอื่นๆแล้ว มูลค่ายังต่ำมาก เมื่อพิจารณาจากค่า P/E Ratio ในขณะที่บริษัทจดทะเบียนต่างมีงบดุลที่ดีขึ้น นั่นคือมีสัดส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้นลดลง (มีการใช้เงินทุนจากส่วนของผู้ถือหุ้นเพิ่มขึ้น) ทำให้มีอัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้นสูงขึ้น ปัญหาที่อาจเกิดขึ้น เนื่องจากบริษัทต่างๆมีการใช้เงินทุนจากผู้ถือหุ้นมากแล้ว ผลตอบแทนก็เริ่มโตมาก การจะเพิ่มผลตอบแทนเริ่มยากขึ้น อาจทำให้ ROE/ROA ปรับตัวลดลง บริษัทเหล่านี้จะทำอย่างไร มีทางแก้อยู่ 2 ทางคือ 


  • 1. เร่งขยายกิจการโดยลงทุนเพิ่มขึ้น 
  • 2. เร่งจ่ายเงินปันผลให้มากๆ

0 Comments:

Post a Comment



บทความที่ได้รับความนิยม