Custom Search

MBA Holiday

วันอังคารที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2552

องค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน (International Organization for Standardization) หรือ ISO
ได้จัดทำข้อเสนอการกำหนดมาตรฐานระหว่างประเทศในเรื่องความ รับผิดชอบต่อสังคม (Social Responsibility)
ทั้งนี้เพื่อให้มีมาตรฐานสากลเกี่ยวกับกระบวนการ รูปแบบ ระบบการจัดการที่คำนึงถึง กฎระเบียบ หลักจริยธรรม สุขภาพ
สิ่งแวดล้อม ความปลอดภัย รวมทั้งการใช้แรงงาน ฯลฯ และเวียน ข้อเสนอให้ประเทศสมาชิกพิจารณาพร้อมทั้งให้เสนอผู้
เชี่ยวชาญจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ ภาคอุตสาหกรรม ภาคแรงงาน ผู้บริโภค องค์กรพัฒนาเอกชนและอื่นๆ เข้า
ร่วมกำหนด มาตรฐานดังกล่าว โดยจะเริ่มพิจารณาร่างมาตรฐานระหว่างประเทศใน
ต้นปี พศ 2548 (2005) และเร่งรัดจะให้แล้วเสร็จในปี พศ 2550 (2007)

เชื่อว่าการกำหนดมาตรฐานระหว่างประเทศของ ISO ว่าด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม (Social Responsibility)
จะมีผลกระทบ(impacts)ในวงกว้างโดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อการค้าระหว่างประเทศและการนำมาใช้ปฏิบัติในองค์กรที่
เกี่ยวข้องกับภาคธุรกิจทั่วโลก อย่างไรก็ตามเมื่อคำนึงถึงแนวโน้มของโลกในอนาคตแล้ว เห็นว่าการยอมรับมาตรฐานสากล
ว่าด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม (Social Responsibility) ให้เป็นนโยบายสาธารณะของประเทศเป็นสิ่งจำเป็น และ
การเผยแพร่ความรู้ สร้างความเข้าใจในเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคม และการเตรียมความพร้อมให้แก่ผู้เกี่ยวข้องใน
ประเทศและผู้สนใจได้รับทราบสถานการณ์ปัจจุบันและเข้าใจเกี่ยวกับการกำหนดมาตรฐานระหว่างประเทศเรื่องดังกล่าว
ก็มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน

ประเทศไทยจึงควรมีการศึกษาและนำเสนอกลไกและวิธีการที่ดีและมีประสิทธิภาพมากที่สุดในการนำเสนอมาตรฐานสากล
ว่าด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม (Social Responsibility) ให้ได้รับการยอมรับเป็นนโยบายสาธารณะของประเทศ
และเป็นหนึ่งในประเทศผู้นำของโลกที่นำเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคม มาเป็นนโยบายสาธารณะ

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ นอกจากที่ประเทศไทยมีนโยบายสาธารณะด้านความรับผิดชอบต่อสังคม และมีการพัฒนาที่
ยั่งยืนในอนาคตแล้ว ประเทศไทยจะไม่ถูกกีดกันทางการค้าระหว่างประเทศอันเนื่องมาจากการทำธุรกรรมที่ไม่มีความรับ
ผิดชอบต่อสังคม

ประเด็นน่าสนใจอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานว่าด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม
คนที่มีความตั้งใจดี เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมและมีความรับผิดชอบต่อสังคม บางครั้งก็อยากที่จะมีเครื่องแสดง
ให้ผู้อื่นได้รับรู้รับทราบเช่นกัน หรืออย่างน้อยก็ทำให้ตนเองรู้สึกดี
มีบุคคลและองค์กรที่สนใจเรื่องนี้เยอะมาก มองว่าความตั้งใจดี เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมและมีความรับผิดชอบ
ต่อสังคม และการแสดงให้ผู้อื่นได้รับรู้ด้วย เป็นเทรนด์ในยุคสมัยนี้
ปัจจุบันนี้เทรนด์ในเรื่องข้างต้น กำลังเป็นกระแสของโลก องค์การส่วนใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์การทางธุรกิจและการค้า
ต้องการที่จะโปรโมทให้ทุกคนได้รับรู้ รับทราบว่า องค์การของตนกำลังทำในสิ่งที่ดี ที่ถูกต้อง (promoting what they
are doing right) เพื่อต้องการความเชื่อมั่นและไว้วางใจ (trusted) จากสังคม

เพราะอะไร ?

จากการสำรวจในหลายประเทศในยุโรป พบว่าประชาชนส่วนใหญ่ (ถึงร้อยละ 89) นิยมซื้อสินค้าและบริการจากองค์กร
ทางธุรกิจที่แสดงตัวชัดเจนว่าทำประโยชน์ให้แก่สังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการบริจาคให้แก่การกุศล (Charity) และมีคน
กว่าร้อยละ 50 ที่สนใจซื้อสินค้าและบริการจากองค์กรธุรกิจที่ให้ความสำคัญต่อการพิทักษ์สิ่งแวดล้อม เฉพาะในสหรัฐ ฯ
ประเทศเดียว จำนวนเงินที่องค์กรต่าง ๆ บริจาคให้แก่การกุศล รวมถึงในรูปของเงินสนับสนุน (sponsorship) มีจำนวน
มากถึง 40,000 ล้านบาทต่อปี

ดังนั้นคำถาม หรือสิ่งที่ประชาชนทั่วไป ต้องการรู้จากองค์กรต่าง ๆ โดยเฉพาะองค์กรทางธุรกิจในปัจจุบัน จะไม่จำกัดอยู่
เพียงแค่ "องค์กรของคุณปฏิบัติตามกฎหมายและเสียภาษีหรือเปล่า ?" แต่จะรวมไปถึง "องค์กรของคุณ
ปฏิบัติต่อลูกจ้างพนักงาน ดีแค่ไหน? ใส่ใจลูกค้า ผู้บริโภค หรือเปล่า? กิจกรรมขององค์กรมีผลกระทบ
ด้านดี หรือเสียหายต่อสังคมประชาคม? คุณใส่ใจที่จะปกป้องดูแลสภาพแวดล้อมหรือไม่? ธุรกิจของ
คุณโปร่งใสแค่ไหน? องค์กรของคุณให้คุณค่าต่อสังคมและมีความรับผิดชอบต่อสังคมมากน้อยเพียงใด? ฯลฯ"

คำถามข้างต้นเป็นที่มาของความต้องการมาตรฐานของ "ความรับผิดชอบต่อสังคม"

ปัจจุบันมีเอกสารแนะนำ (Guidance document) และมาตรฐาน (Standards) เรื่องความรับผิดชอบต่อสังคม ที่ใช้
ปฏิบัติอยู่ในประเทศและองค์การต่าง ๆ มากมาย

ปัญหาก็คือ เนื่องจากความแตกต่างกันของเอกสารแนะนำ และมาตรฐานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมมีอยู่หลากหลาย ดัง
นั้น เมื่อใครหรือองค์กรใด อ้างว่า "ดำเนินกิจกรรมโดยมีความรับผิดชอบต่อสังคม" ก็จะมีคำถามตามมาว่าใช้มาตรฐานใด
เป็นตัวชี้วัดในการอ้างอย่างนั้น ก็จึงมีความจำเป็นที่องค์การมาตรฐานโลกอย่าง ISO ต้องเข้ามากำหนดมาตรฐานสากลใน
เรื่องนี้

และโดยที่มาตรฐานสากลในเรื่อง "ความรับผิดชอบต่อสังคม" จะเป็นเอกสารแนะนำที่หน่วยงานและองค์การทั่วโลกรับไป
ใช้ในอนาคตอันใกล้ (เช่นเดียวกับมาตรฐานสำคัญอื่น ๆ ที่จัดทำโดย ISO เช่น ISO 9000 หรือ ISO 14000) ประเทศ
ไทย จึงควรเตรียมความพร้อมและติดตามเข้าร่วมการกำหนดมาตรฐานสากลในเรื่องนี้โดยใกล้ชิด เพื่อมิให้การกำหนด
มาตรฐานสากลในเรื่องดังกล่าวส่งผลกระทบเสียหายต่อประเทศ (โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านที่จะเป็นอุปสรรคต่อการค้า
ระหว่างประเทศ) ได้

สมอ จึงสนับสนุนและส่งเสริมการจัดกิจกรรม สัมมนา ประชุมเชิงปฏิบัติการ ฯลฯ เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจที่ตรงกัน
(Common understanding) ในเรื่องมาตรฐานความรับผิดชอบต่อสังคม และจะจัดทำเอกสารเป็นภาษาไทย แนะนำ
การปฏิบัติ (Practical guidance) ที่นำไปสู่ความรับผิดชอบต่อสังคม สำหรับองค์กรต่าง ๆ (ทั้งขนาดเล็กและขนาด
ใหญ่) โดยใช้คำพูดที่ง่าย ชัดเจน นำไปปฏิบัติได้จริง และเห็นผล (results and performance improvement)
เป็นรูปธรรม โดยเอกสารดังกล่าวจะสอดคล้องกับมาตรฐานที่องค์การระหว่างประเทศ (ISO) กำหนด

นอกจากนี้สมอ เห็นควรมีการกำหนดนโยบายสาธารณะ (Public policy) เรื่องการยอมรับมาตรฐานสากลว่าด้วยความรับ
ผิดชอบต่อสังคมด้วย

0 Comments:

Post a Comment



บทความที่ได้รับความนิยม