การถูกเลี้ยงดูแบบใช้เหตุผลกับจริยธรรมของบุคคล การอบรมเด็กโดยให้เหตุผลแก่เด็ก หมายถึง การอธิบายให้เด็กฟังถึงผลของพฤติกรรมองเด็กว่าจะกระทบกระเทือนตัวเด็กเองและผู้อื่น หรือทำให้เกิดผลดี หรือความเสียหายอย่างไรได้บ้าง การให้เหตุผลแก่เด็ก เป็นการให้เด็กรู้เกี่ยวกับกฎเกณฑ์ และขนบธรรมเนียมประเพณีทางสังคมต่าง ๆ เพื่อเด็กจะได้ใช้เป็นหลักปฏิบัติต่อไป นอกจากนี้การให้เหตุผลยังเป็นการตีแผ่ความคิด ความเชื่อ และลักษณะต่าง ๆ ของผู้เลี้ยงดูทำให้เด็กเลียนแบบได้ง่าย อีกประการหนึ่ง การอบรมเด็กแบบให้เหตุผลแทนการใช้อารมณ์ซึ่งแสดงถึงการใช้อำนาจข่มเด็ก จะทำให้เด็กรู้สึกว่าผู้เลี้ยงดูมีความรักความหวังดีต่อเด็กอย่างจริงใจ ผู้เลี้ยงจะส่งเสริมหรือห้ามปรามพฤติกรรมใดก็เพื่อประโยชน์ของเด็กเองทั้งสิ้น ทำให้ผู้อบรมไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อเด็กขณะให้การอบรมสั่งสอนเด็ก เคย์ (kay, 1975 หน้า 30) พบว่า ผู้เลี้ยงที่มีการศึกษาและฐานะต่ำขาดความสามารถที่จะให้เหตุผลทุกระดับ เริ่มตั้งแต่บิดามารดา ครูไปจนถึงตำรวจ
นอกจากนี้ การใช้อารมณ์อย่างปราศจากเหตุผล ยังทำให้เกิดการฝึกอบรมเด็กที่ไม่คงเส้นคงวากล่าวคือ เด็กทำความดีในวันนี้แล้วไดรับรางวัล แต่ทำดีซ้ำอีกในสองวันถัดจากนี้อาจถูกเพิกเฉยหรือโดนลงโทษ สาเหตุเพราะผู้เลี้ยงดูอบรมเด็กอารมณ์เสียมาจากที่อื่น การอบรมเด็กแบบไม่คงเส้นคงวา จะทำให้เด็กไม่สามารถจะตัดสินใจได้ว่า คนควรหรือไม่ควรกระทำพฤติกรรมชนิดใด ทำให้เด็กมีความข้องคับใจ ซึ่งเป็นชนวนให้เด็กนิสัยก้าวร้างสูง
การวิจัยหลายเรื่องแสดงผลสอดคล้องกันว่า เด็กที่ถูกเลี้ยงดูแบบให้เหตุผล เป็นเด็กที่ไม่ก้าวร้าว รู้จักผิดชอบชั่วดี มีพัฒนาการทางความรู้สึกละอายผิด (Walters & Parke, 1976, หน้า 207-217) ส่วนเด็กที่เป็นยุวอาชญากรนั้น ส่วนมากกมาจากครอบครัวที่ไม่ใช้เหตุผลในการอบรมเด็ก และขาดความคงเส้นคงวาในการลงโทษ หรือให้รางวัลเด็กด้วย
ส่วนการประมวลผลวิจัยอื่น ๆ ของฮอฟฟ์แมน (Hoffman, 1970, หน้า 291) แสดงว่า การใช้วิธีการให้เหตุผลในการอบรมสั่งสอนเด็กนั้น มีความ สัมพันธ์ทางบวกกับลักษณะทางจริยธรรมของเด็ก โดยเฉพาะในเด็กที่มีอายุมากกว่า 5 ขวบ และเมื่อมารดาเป็นผู้ใช้เหตุผล ส่วนการให้เหตุผลของบิดานั้น ไม่พบว่าสัมพันธ์กับลักษณะทางจริยธรรมของเด็กแต่อย่างใด อาจเป็นไปได้ว่า บิดาไม่ใกล้ชิดสนิทสนมกับลูกเท่ามารดา ฉะนั้น การให้เหตุผลที่ยากเกินระดับของเด็กมากกว่ามารดา ทำให้การใช้เหตุผลของบิดาไม่เกิดประโยชน์เท่ากับเทียมกับมารดา
การอบรมเด็กเพื่อให้เกิดการพัฒนาทางจริยธรรมนั้น ต้องใช้เหตุผลที่เหมาะกับระดับพัฒนาการทางการรู้คิดของเด็ก สิ่งนี้นักทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรม คือ เปียท์และโคลเบอร์ให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง และมีผลการวิจัยหลายเรื่องยืนยันว่า การใช้เหตุผลที่มุ่งเกินระดับพัฒนาการทางการรู้ของเด็กมากนัก จึงมีประสิทธิภาพในการส่งเสริมการพัฒนาทางจริยธรรมของเด็ก (Turiel 1966 ; Glassco,et.al., 1970 and Tracy & Cross, 1973)
การอบรมเลี้ยงดูแบบให้เหตุผลนี้ ควรจะมีความสัมพันธ์โดยตรงกับการพัฒนาจริยธรรมของเด็ก โดยเฉพาะในด้านเหตุผลเชิงจริยธรรม การวิจัยวิธีการอบรมเลี้ยงดูซึ่งเด็กได้รับ แล้วโยงมายังระดับเหตุผลเชิงจริยธรรมของเด็กนั้นไดเริ้มมีขึ้นแล้ว และจะได้กล่าวต่อไป
วิธีการถูกลงโทษกับจริยธรรมของบุคคล ในการฝึกนิสัยของเด็กนั้น ผู้เลี้ยงดูอาจเลือกวิธีการลงโทษได้ 2 ชนิด คือ การลงโทษทางกาย และการลงโทษทางจิต การลงโทษทางกาย หมายถึงการทำให้เด็กเจ็บตัว เช่น หยิก ตี ตบ เตะ โดยผู้ลงโทษใช้อำนาจทางกายของตนซึ่งมีมากกว่าเข้าข่มเด็ก วิธีการลงโทษทางกายจะสามารถหยุดยั้งพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ในทางที่ถูกที่ควร แล้วส่งเสริมพฤติกรรมที่เหมาะสมในเด็ก วิธีการลงโทษทางกายจะให้ผลเพียงครั้งเดียวในการปลูกฝังจริยธรรมในเด็ก
ส่วนการลงโทษทางจิต คือ การแสดงความไม่พอใจ เสียใจ มีการใช้วาจาในการว่ากล่าวติเตียน ผู้ลงโทษจะทำเพิกเฉยไม่สนใจไยดีกับเด็กไปชั่วขณะหนึ่ง นอกจากนี้ ผู้ลงโทษยังอาจตัดสิทธิบางประการที่เด็กเคยได้รับ เช่น ค่าขนม ของขวัญวันเกิด หรืออื่น ๆ และในบางครั้งผู้ลงโทษอาจกล่าวเป็นเชิงขู่ว่าจะมีการพรากไปจากตนเสีย วิธีการนี้ใช้ได้ผลดี ถ้าผู้ลงโทษเป็นที่ของเด็กอย่างมาก จึงมีความสำคัญต่อเด็ก และเด็กพร้อมที่จะเลียนแบบการสะกดอารมณ์ของผู้เลี้ยงดูโดยผู้เลี้ยงไม่แสดงกริยาก้าวร้างทางกายให้เด็กเห็น นักจิตวิทยาพัฒนาการเน้นว่า การทำตนให้เป็นที่รักของเด็ก จะทำให้บุคคลนั้นมี่ประสิทธิภาพในการใช้วิธีการลงโทษเด็กแทบทุกวิธี แม้แต่วิธีการลงโทษทางกาย เพราะวิธีนี้ก็มีความหมายแฝงให้เด็กเข้าใจได้ว่า เมื่อผู้ที่ตนรักและรักตนทำให้ตนเจ็บกายแสดงว่าบุคคลนั้นลดความรักตนลงในขณะนั้น
การพิจารณาลักษณะต่าง ๆ ของวิธีการลงโทษทางกาย เปรียบเทียบกับวิธีการลงโทษทางจิตจะทำให้เห็นว่าการลงโทษทางจิตจะเป็นเครื่องมือในการปลูกฝังจริยธรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพกว่าวิธีการลงโทษทางกาย ลักษณะต่าง ๆ ของการลงโทษทั้งสองประเภทที่จะนำมาพิจารณา คือ ปริมาณและคุณภาพของการให้ความรู้เชิงจริยธรรมขณะลงโทษ ลักษณะของตัวแบบผู้ทำการลงโทษเด็ก ระยะเวลาในการลงโทษ และเลาขณะลงโทษแล้ว
ฮอฟฟ์แมน (Hoffman, 1970, หน้า 283-285) ได้พิจารณาเปรียบเทียบการลงโทษทั้งสองประเภทอย่างละเอียด ประมวลแล้วได้ความดังนี้ การลงโทษทางกายนั้นผู้ลงโทษจะใช้วาจาว่ากล่าวสั่งสอนน้อยหรือไม่ใช้เลย ทำให้เด็กได้ความรู้แต่เพียงว่า ขณะนั้นตนได้กระทำสิ่งซึ่งไม่เป็นที่พอใจของผู้เลี้ยงดู แต่เด็กอาจไม่ทราบเหตุผลว่า ทำไมการกระทำของตนจึงไม่เป็นที่พอใจของผู้เลี้ยงดู และในบางกรณีเด็กอาจไม่ทราบว่า พฤติกรรมใดที่ตนได้กระทำไปแล้วนั้น เป็นสาเหตุให้ตนถูกลงโทษทางกายอยู่ในขณะนั้น แต่การลงโทษทางจิตนั้น คือ การว่ากล่าวอบรม ซึ่งเป็นการชี้แจงให้เห็นถึงความเหมาะสมของพฤติกรรมแก้แด็กจะทำให้เด็กได้หลักในการปฏิบัติ และเป็นการกระตุ้นให้เด็กรู้จักใช้หลักจริยธรรมในการควบคุมความประพฤติของตนเองในอนาคต นั่นคือ เปิดโอกาสให้เด็กเพาะลักษณะละอายใจตนเองซึ่งเป็นจริยธรรมขั้นสูง ส่วนการลงโทษทางกายนั้น เป็นการทำให้เด็กเคยชินกับการอยู่ภายใต้การควบคุมจากผู้อื่นที่สามารถลงโทษตนได้ วิธีการนี้จึงเป็นการปลูกฝังจริยธรรมขั้นต่ำให้เด็กเท่านั้น
ผู้เลี้ยงดูขณะที่ลงโทษเด็ก กำลังเป็นตัวแบบให้แก่เด็ก โดยแสดงว่าเมื่อเกิดความไม่พอใจในผู้อื่นตนควรจะทำอย่างไร ผู้ที่ใช้วิธีการลงโทษทางกาย เป็นผู้มีพฤติกรรมก้าวร้าวต่อผู้อื่นอย่างเห็นได้ชัด จึงอาจทำให้เด็กเลียนแบบลักษณะก้าวร้าวทางกายนี้ได้มาก ส่วนผู้ที่ใช้วิธีการลงโทษทางจิตอาจมีลักษณะก้าวร้าวทางวาจาได้บ้าง แต่ก็แสดงว่าเป็นผู้สามารอดกลั้น ไม่ก้าวร้าวทางกายกับผู้ที่ทำให้ตนไม่พอใจ ถ้าเด็กเลียนแบบผู้ใช้วิธีการลงโทษทางจิต เด็กก็จะเป็นผู้ที่มีลักษณะความก้าวร้าวทางวาจา ซึ่งสังคมไม่รังเกียจมากเท่าการก้าวร้าวทางกาย ซึ่งอาจทำให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นได้มาก
ระยะเวลาในการลงโทษทางกายและทางจิต ส่วนใหญ่แล้วจะแตกต่างกันมาก กล่าวคือ การลงโทษทางกายนั้นจะใช้เวลาสั้น ๆ แล้วก็เลิกรากันไป ทำให้เด็กเกิดความวิตกกังวล และมีแรงจูงใจที่จะทำดีในระยะสั้น ๆ แล้วก็ยุติลง ส่วนการลงโทษทางจิตนั้นอาจกินเวลาได้นานต่าง ๆ กัน เช่น การด่าว่าอาจใช้เวลานานนัก แต่การแสดงความเฉยเมยของผู้เลี้ยงดูอาจติดต่อกันเป็นวัน ๆ ซึ่งจะทำให้เด็กมีความวิตกกังวลอยู่นาน และพยายามทำตนเป็นคนดี เพื่อลบล้างความรู้สึกไม่พอใจของผู้เลี้ยงได้มากกว่า
เบคเคอร์ (Backer, 1964, หน้า 186-189) และฮอฟฟ์แมน (Hoffman, 1970, หน้า 290-292,) ได้ประมวลผลการวิจัยเปรียบเทียบลักษณะต่าง ๆ ทางจริยธรรมของเด็กที่ถูกลงโทษทางกายและทางจิต ผลปรากฏว่า วิธีการลงโทษทางกายนั้น ยิ่งใช้มากเท่าใดก็จะทำให้เด็กขาดลักษณะต่าง ๆ ทางจริยธรรมมากยิ่งขึ้นเท่านั้น ผลที่พบนี้มีในบุคคลอายุตั้งแต่ 4 ปี ถึง 20 ปี ส่วนวิธีการลงโทษทางจิใจโดยเฉพาะการเพิกถอนความรักนั้น ยังไม่พบความสัมพันธ์อย่างแน่ชัดกับลักษณะทางจริยธรรมของบุคคลในบางการ
วิจัยกลับพบว่า เด็กที่ถูกเลี้ยงดูแบบลงโทษทางกาย มีลักษณะทางจริยธรรมบางด้านสูงกว่าเด็กที่ถูกลงโทษทางจิต และบางการวิจัยพบว่า เด็กที่มาจากครอบครัวฐานะปานกลางถ้าถูกเลี้ยงดูแบบลงโทษทางจิต จะมีความรู้สึกผิดได้เร็วกกว่าเด็กที่ถูกลงโทษทางกาย แต่ความแตกต่างนี้ไม่ปรากฏในเด็กที่มาจากครอบครัวที่มีฐานะต่ำ ผลขัดแย้งในการวิจัยทั้งสองนี้อาจอธิบายได้ว่าการพิจารณาวิธีการลงโทษแยกต่างหากจากวิธีการเลี้ยงดูแบบให้ความรัก อาจทำให้ไม่ได้ผลที่เป็นรายละเอียด เพราะคาดว่าการลงโทษทางจิตจะให้ผลทางจิตก็จะไม่ได้ผล ฉะนั้น การลงโทษทางจิตจะให้ผลดีกว่าการลงโทษทางกาย ต่อเมื่อผู้ลงโทษนั้นเลี้ยงดูแบบให้ความรักมากด้วย
ทฤษฏีให้ความสำคัญของการได้รับความรักต่อการพัฒนาลักษณะต่างๆทางสังคมของบุคคลนั้นมีหลายทฤษฏีด้วยกันเช่น ทฤษฏีพัฒนาการบุคลิกภาพอีริคสันกล่าวว่า การที่บิดามารดาให้ความอบอุ่นแก่ลูกอย่างเพียงพอจะทำให้ลูกมีความมั่นคงทางอารมณ์ และเกิดความรู้สึกมั่นใจในความดีงามในโลกนี้ ซึ่งจะเพียงพอ ฐานของการอาทรในความต้องการของบุคคลอื่นต่อไป เมื่อเด็กมีความไว้วางใจบิดามารดาในขั้นเริ่มต้นของชีวิตแล้ว จะทำให้เด็กมีความเชื่อถือในผู้อื่นเติบโตขึ้นด้วย
ส่วนนักทฤษฏีอีกกลุ่มหนึ่งได้ใช้ทฤษฏีจิตวิเคราะห์เป็นรากฐานในการอธิบาย การที่เด็กยอมรับลักษณะของบิดามารดามาเป็นของตน เซียร์สและคณะ (Sears, maccoby&Levin 1957,หน้า 372)ได้กล่าวไว้ว่าอย่างชัดเจนว่า ความรักของบิดามารดาเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาจริยธรรมในเด็กถ้าในช่วงแรกเกิดเด็กได้รับความรักความอบอุ่น โดยได้รับการบำบัดความต้องการต่างๆทางร่างกายอย่างเพียงพอ เด็กจะมีความรู้สึกพอใจและมีความสุขพอใจและมีความสุข ความรู้สึกนี้จะเกิดขึ้นทุกครั้งที่มีผู้มาบำบัดความต้องการให้เด็ก จนในที่สุดผู้บำบัดความต้องการให้เด็กจะกระตุ้นให้เด็กมีความพอใจ และมีความสุขเมื่อได้อยู่ใกล้ชิดตน ในขณะที่ผู้เลี้ยงดูอยู่ใกล้ชิดกับเด็กนั้น เขาก็ได้อบรมสั่งสอนเด็ก และได้แสดงลักษณะได้อยู่ใกล้ชิดตน ในขณะที่ผู้เลี้ยงดูอยู่ใกล้ชิดกับเด็กนั้น เขาก็ได้อบรมสั่งสอนพอใจ และได้เกิดความว้าเหว่และวิตกกังวล เด็กสามารถจะแก้ความรู้สึกนี้ของตนได้ด้วยการแสดงลักษณะและการกระทำที่คล้ายคลึงกับผู้เลี้ยงดูเป็นเครื่องทดแทนตัวผู้เลี้ยงดูเอง ฉะนั้น การกระทำตามคำสั่งสอนของผู้เลี้ยงดูหรือเรียนแบบลักษณะต่างๆ ของผู้เลี้ยงดู จะทำให้เด็กรู้สึกพอใจและมีความสุข เด็กจึงทำเช่นนี้บ่อยครั่งจนติดเป็นนิสัยได้ตามทฤษฏีของเซีนร์สและคณะนี้ เด็กจะต้องเรียนรู้ที่จะเกิดความรักความเข้าใจในผู้เลี้ยงดูตนก่อนที่เด็กจะยอมรับการถ่ายทอดลักษณะทางสังคมจากบุคคลนั้น นอกจากนี้เด็กจะต้องเกิดความรักในผู้เลี้ยงดูตนเป็นอันดับแรกก่อนที่จะสามารถรักบุคคลอื่นๆและยอมขึ้นไม่ได้ถ้าเด็กไม่ยอมทำตามกฎเกณฑ์ภายในบ้านเสียก่อน
ฮอฟฟ์แมน(hoffman,1970,หน้า291) ได้รวบรวมการวิจัยที่ศึกษาการเลี้ยงดูแบบให้ความรักลักษณะที่เกี่ยวข้องกับจริยธรรม4ประการคือ การยึดหลักภายในตน การมีความรู้สึกผิด การต้านทานสิ่งที่ยั่วยวนใจ และการยอมรับและสารภาพผิด ปรากฏว่า เด็กที่ถูกเลี้ยงดูแบบได้รับความรักมาก กล่าวคือผู้เลี้ยงดูรัก เข้าใจ และให้ความสำคัญแก่เด็ก พยายามกล่าวอธิบายสิ่งต่างๆให้เด็กฟัง ใช้การลงโทษให้เจ็บการแต่น้อย และให้เหตุผลในการบังคับเด็กเสมอ เด็กประเภทนี้ทั้งชายและหญิงผู้มีอายุ 4 ถึง13ปี เป็นเด็กที่มีลักษณะทางจริยธรรมทั้ง4ประเภทสูงกว่าเด็กที่ถูกเลี้ยงดูแบบรักน้อย
ส่วนดวงเดือน พันธุมนาวิน (2519) เมื่อประมวลผลการศึกษาภาคสนามในประเทศไทยแล้วได้พบว่า เด็กและวัยรุ่นไทยที่ได้รับความรักจากผู้เลี้ยงดูมากมีลักษณะความรับผิดชอบ วิจัยทางสังคมและความเอื้อเฟื้อ สูงกว่าเยาวชนที่ได้รับความรักน้อยอย่างเชื่อได้ฉะนั้น ผลการวิจัยในประเทศไทยจึงสอดคล้องกับผลการวิจัยในต่างประเทศ และเป็นเครื่องยืนยันว่าความรักของบิดามารดาเป็นสิ่งที่สำคัญมากต่อการมีลักษณะอันดีงามของลูก
ประเพณีของไทยเมื่อสามสิบปีมานี้นิยมการควบคุมบุตรหลานอบ่างใกล้ชิดและเข้มงวดกันชัด แต่บิดามารดาไทยสมัยใหม่กลับมีการควบคุมบุตรหลานน้อยลงไปมาก จึงเป็นที่หน้าสนใจว่า การควบคุมมากจะให้ผลแตกต่างจากการควบคุมน้อยในเรื่องใดบ้างและเพียงใด การเลี้ยงดูแบบควบคุมมาก หมายถึง การบังคับให้เด็กทำตามที่ผู้เลี้ยงดูเห็นดีเห็นชอบ โดยการตรวจตราและขู่เข็ญนอกจากนั้น ยังประกอบด้วยการลงโทษเมื่อเด็กไม่ปฏิบัติตามส่วนการที่เลี้ยงดูแบบควบคุมน้อย หมายถึง การให้อิสระแก่เด็กอย่างมาก ตามใจเด็กไม่สนใจและไม่ลงโทษเด็กอย่างสม่ำเสมอ จากการประมวลผลการวิจัยทางด้านนี้ซึ่งมีอยู่ไม่มากนัก เบคเคอร์ พบว่าเด็กที่ถูกเลี้ยงดูแบบควบคุมมากจะมีลักษณะที่น่าสนใจคือ เชื่อฟัง สุภาพ เอื้อเฟื้อ แต่มีลักษณะขี้อายเก็บตัว ใจน้อยและชอบพึ่งพาผู้ใหญ่ส่วนที่เด็กที่ถูกเลี้ยงดูแบบควบคุมน้อยจะไม่เชื่อฟัง ไม่มีความรับผิดชอบ และขาดสมาธิ
การใช้วิธีการเลี้ยงดูแบบควบคุมมากนั้น สัมพันธ์กับลักษณะที่สังคมยอมรับหลายลักษณะและเกี่ยวโยงกับลักษณะที่สังคมไม่ยินยอมบางลักษณะด้วย ผลเช่นก็ปรากฏในกลุ่มตัวอย่างที่เป็นเด็กไทยเช่นกัน ดวงเดือน พันธุมนาวินได้ประมวลผลการวิจัยต่างๆในประเทศไทยในเรื่องนี้พบว่าลักษณะความเอื้อเฟื้อจะปรากฏในเรื่องรายงานว่าคนถูกควบคุมมาก แต่เด็กที่ถูกเลี้ยงดูแบบควบคุม น้อยนั้น มีวินัยทางสังคมแลมีการควบคุมตนเองสูงกว่าเด็กที่ถูกควบคุมมากอย่างเห็นได้ชัด ฉะนั้นการเลี้ยงดูแบบควบคุมมากเกินไป หรือน้อยไปนั้น ไม่ทำให้เกิดลักษณะที่น่ารังเกียจในเด็กมากเท่าการเลี้ยงดูที่ไม่ให้ความรักเด็กอย่างพอเพียง
นักวิจัยได้นำลักษณะของพฤติกรรมต่างๆ ของมารดามาวิเคราะห์เพื่อหามิติต่างๆของพฤติกรรม ซึ่งเป็นเอกเทศต่อกัน(Factor analysis) และพบมิติสองชนิด คือ รักมาก-รักน้อย กัน ควบคุมมาก-ควบคุมน้อย และจากการประมวลผลการวิจัยเกี่ยวกับปริมาณการควบคุมในครอบครัวที่มีการเลี้ยงดูแบบรักมาก และในครบครัวที่มีการเลี้ยงดูแบบรักน้อย เพื่อดูว่าปริมาณการควบคุมนั้นจะมีความสัมพันธ์กับลักษณะต่างๆของเด็กอย่างไร เบคเคอร์ (Berker, 1964, หน้า193-199) สามารถสรุปผลได้อย่างนี้
เด็กที่อยู่ในครอบครัวที่เลี้ยงดูแบบรักมาก ในขณะเดียวกันก็ควบคุมมากนั้น เป็นเด็กที่ชอบพึ่งพาคนอื่น ไม่ค่อยเป็นมิตร มีความอดทนไม่สูงมากก็ต่ำมาก ความคิดสร้างสรรค์ต่ำและมีความเพ้อฝันแบบมุ่งร้ายมาก นอกจากนี้ เด็กชายยังมีความก้าวร้าวน้อย ชอบยอมตาม และรักษากฎ
ส่วนเด็กที่ถูกเลี้ยงแบบรักมากแต่ควบคุมน้อย นั้น มีความเป็นเอกเทศ ให้ความร่วมมือกับผู้ใหญ่ อดทนทำงานปานกลาง มีความคิดสร้างสรรค์และไม่สู้จะแสดงลักษณะมุ่งร้ายในการวัดทางอ้อมและมีลักษณะก้าวร้าวในทำนองที่ชอบให้ผู้อื่นทำตามความต้องการของตนซึ่งทำได้อย่างดีด้วย เด็กประเภทนี้มีความก้าวร้าวในลักษณะที่สังคมยอมรับและเป็นความก้าวร้าวที่อยู่ในความควบคุมมิใช่การแสดงอารมณ์ร้าย
เด็กที่ถูกเลี้ยงดูแบบรักน้อย แต่ถูกควบคุมมากนั้น มีลักษณะก้าวร้าวต่อตนเอง หลบเลี่ยงสังคม และอาจมีอาการของความขัดแย้งภายใน เด็กที่ต้องโทษทางกฎหมายส่วนมากจะเป็นเด็กที่ได้รับความรักน้อยและในขณะเดียวกันก็ถูกควบคุมไม่มากเกินไปก็น้อยจนเกินไป ซึ่งทำให้เกิดการไม่ยอมตามและความก้าวร้าวสูง
เด็กที่ถูกเลี้ยงดูแบบรักน้อยและเลี้ยงดูน้อย นั้นเป็นเด็กที่ก้าวร้าวมากไม่สามารถจะควบคุมพฤติกรรมของตนได้ และมีลักษณะของยุวอาชญากร บิดามารดาที่มีการเลี้ยงดูแบบนี้ส่วนมากมีฐานะต่ำ มีความรักลูกน้อยและไม่มีเวลาเอาใจสาลูก จึงปล่อยปละละเลยเสียเป็นส่วนมาก
สรุปได้ว่า เด็กที่ได้รับการเลี้ยงดูแบบรักมาก ควบคุมปานกลางนั้นเป็นเด็กที่มีคุณสมบัติที่น่าพอใจมากที่สุด การวิจัยต่างๆในประเทศไทยก็ให้ผลที่คล้ายคลึงกัน กล่าวคือเด็กที่รายงานตนว่าได้รับความรักจากผู้เลี้ยงดูมาก แต่ถูกควบคุมน้อยนั้น เป็นผู้ที่นักวิจัยพบว่า มีลักษณะความรับผิดชอบ และมีวินัยในตนเองสูงที่สุด ส่วนที่รายงานว่าได้รับความรักน้อยและถูกควบคุมมากนั้นมีลักษณะทั้งสองชนิดที่กล่าวมานี้ต่ำที่สุดเพื่อที่จะสรุปผลการวิจัยเกี่ยวกับบทบาทร่วมระหว่างการเลี้ยงดูแบบรักและแบบควบคุมที่มีต่อลักษณะทางสังคมของเด็กทั้งไทยและต่างประเทศ จึงเสนอผลในตาราง1
จากการประมวลทฤษฏีและผลวิจัยต่างๆข้างบนนี้จนได้ข้อสรุปว่า การอบรมเลี้ยงดูแบบรักมากควบคุมน้อย ทำให้เด็กที่ความรักความพอใจผู้เลี้ยงดู พร้อมที่จะยอมรับผู้เลี้ยงดูเป็นแบบอย่าง และเห็นความสำคัญของผู้ดูมากนอกจากนี้ เด็กที่ได้รับความรักมากแต่ถูกควบคุมน้อย ยังโอกาสเป็นตัวของตัวเองมาก สามารถที่จะฝึกบังคับตนเองตั้งแต่ยังเด็ก ทำให้สามารถที่จะยึดมั่นในหลักประจำใจของตนแทนการพึ่งสิ่งควบคุมภายนอก จึงทำให้คาดได้ว่า เด็กที่ได้รับการเลี้ยงดูแบบรักมากควบคุมน้อยมีพัฒนาการทางจริยธรรมสูงกว่าเด็กที่ได้รับการเลี้ยงดูแบบรักน้อยควบคุมมากเห็นได้ชัด
การถูกอบรมเลี้ยงดู คือ การที่บิดามารดาหรือผู้ดูแลเด็กปฏิบัติต่อเด็กและเรียกร้องให้เด็กปฏิบัติต่อตนและต่อผู้อื่นไปในทำนองต่างๆ ฉะนั้น การอบรมเลี้ยงดู คือ การที่ผู้เลี้ยงดูกับเด็กมีการติดต่อเกี่ยวข้องกัน อันเป็นทางให้ผู้เลี้ยงดูสามารถให้รางวัล หรือลงโทษการกระทำต่างๆของเด็กได้นอกจากนี้ เด็กยังมีโอกาสสังเกตลักษณะและการกระทำต่างๆของผู้เลี้ยงดูด้วย ทำให้เด็กเรียนแบบผู้เลี้ยงดูอีกด้วย ส่วนการที่ผู้เลี้ยงดูจะส่งเสริมหรือขัดขวางลักษณะหรือพฤติกรรมใดๆของเด็ก ย่อมขึ้นอยู่กับค่านิยมของสังคมปรือกลุ่มที่เขาเป็นสมาชิกอยู่ นอกจากนี้ลักษณะต่างๆ ของผู้เลี้ยงดู ยังเป็นลักษณะที่คล้ายคลึงกับลักษณะของคนอื่นๆในสังคมนั้นด้วย ฉะนั้น จึงเข้าใจได้ว่าจากวิธีการอบรมเลี้ยงดูลูกนี้ผู้เลี้ยงดูจะถ่ายทอดลักษณะต่างๆในสังคมนั้นให้แก่เด็ก ถ้าผู้เลี้ยงดูมาจากกลุ่มหรือส่วนของสังคมที่แตกต่างกันแน่นอนว่าเขาเหล่านั้นจะใช้วิธีการอบรมเลี้ยงดูเด็กที่แตกต่างกันไปได้ด้วยทั้งนี้ย่อมอยู่กับความเชื่อ ลักษณะนิสัย และความเคยชินของคนในกลุ่มต่างๆซึ่งแตกต่างกันไป
การอบรมเลี้ยงดูซึ่งมีความสัมพันธ์กับลักษณะทางจริยธรรมคือการให้ความรักการควบคุมการให้เหตุผล และการลงโทษ วิธีการอบรมเลี้ยงดูสองประเภทแรก คือการให้ความรักและการควบคุมนั้นมีผู้นำมาศึกษามากมายทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ แต่ยังไม่มีการวิจัยในประเทศไทยในประเทศไทยที่ได้ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างวิธีการอบรมเลี้ยงดูทั้งสองแบบนี้กับจริยธรรมของคนไทย จนกระทั่งการวิจัยเรื่อง จริยธรรมของเยาวชนไทย ได้เป็นจุดเริ่มต้นของการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการอบรมเลี้ยงดูแบบนี้กับจริยธรรมของคนไทย
ทฤษฎีจริยธรรมแบบทุกทฤษฎี จะมีข้อความพาดพิงถึงประสบการณ์ทางสังคมของบุคคลว่าเป็นต้นเหตุของการเริ่มต้นและการเปลี่ยนแปรงจริยธรรมของบุคคลที่สำคัญอย่างยิ่ง ถ้าบุคคลได้รับประสบการณ์ทางสังคมคล้ายคลึงกัน เช่น อยู่ในกลุ่มฐานะเดียวกัน หรือ ได้รับการอบรมเลี้ยงดูมาคล้ายๆกัน
อายุและระดับการศึกษากับจริยธรรมของบุคคล ในปัจจุบันสังคมที่เจริญและมีมาตรฐานใกล้เคียงกัน มีการจัดการการศึกษาภาคบังคับ และวิจัยส่วนใหญ่ก็ใช้นักเรียนและนิสิตนักศึกษาซึ้งเป็นกลุ่มที่เก็บข้อมูลได้ง่ายที่สุด กล่าวคือ กลุ่มตัวอย่างที่อายุน้อยก็มีการศึกษาต่ำ และกลุ่มตัวอย่างที่มีอายุมากก็จะมีการศึกษาสูงไปด้วย ในการประมวนผลวิจัยเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างอายุกับจริยธรรมจึงต้องนำระดับการศึกษาเข้ามาพิจารณาไปพร้อมกันด้วย โคลเบอร์ (Kohlberg, 1976) ได้ประมวนผลการวิจัยเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างอายุกับการพัฒนาจริยธรรมได้ไว้อย่างครบถ้วน ดังนี้
ทางด้านความรู้เชิงจริยธรรม ได้มีผู้พบว่า ความรู้และความเชื่อเกี่ยวกับกฎเกณฑ์ทางจริยธรรมขั้นรากฐานของสังคมนั้น เด็กจะทราบอย่างครบถ้วนตั้งแต่อายุยังน้อย
พฤติกรรมเชิงจริยธรรม การวิจัยต่างๆ เกือบสิบสองเรื่องได้ให้ผลที่สอดคล้องกัน คือ ไม่พบว่าคนที่มีอายุมากจะมีพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับการโกง ขโมย ความชื่อสัตย์ ความรับผิดชอบ และการเห็นแก่ส่วนรวม แตกต่างจากคนที่มีอายุน้อย
อาจเป็นได้ว่า การศึกษาความรู้เกี่ยวกับเชิงจริยธรรมส่วนมากมีเนื้อที่มากเกินไป และ เป็นการวัดความรู้พื้นฐานทางสังคมของบุคคลเท่านั้น ถ้ามีการวัดความรู้เชิงจริยธรรมที่เกี่ยวกับกฎหมายและกฎเกณฑ์ทางศาสนา หรือความรู้เกี่ยวกับหลักสากลแล้ว อาจพบความแตดต่างในคนต่างอายุกันก็ได้
โคลเบอร์ก (Kohlberg, 1964) ได้ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างเหตุเชิงจริยธรรมกับระดับอายุ โดยแบ่งเหตุผลเชิงจริยธรรมออกเป็น 6 ขั้น ผู้วิจัยพบว่าเด็กอเมริกันอายุ 7, 10, 13 และ 16 ปี นิยมใช้เหตุผลในขั้นที่สูงสุดขึ้นตามอายุกล่าวคือ เด็กอายุ 7 ปี แทบทุกคน 90% ใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมในขั้นที่ 1 และ 2 เด็กอายุ 10 ปี แม้จะยังใช้เหตุผลในขั้นที่ 1 และ 2 เสียเป็นส่วนมาก 50% แต่มีอีกพวกหนึ่งที่ใช้เหตุผลในขั้นที่ 3 และ 43% ส่วนวัยรุ่นอายุ 13 ปี ใชเหตุผลในขั้นที่ 3 และ 4 มาก 50% และมีพวกที่ใช้เหตุผลในขั้นที่ 1 และ 2 น้อยกว่า 20% ส่วนวัยรุ่นตอนปลายอายุ 16 ปี แม้จะยังใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมในขั้นที่ 3และ 4 มาก 50% แต่ปรากฏว่า มีผู้ที่ใช้เหตุในขั้นที่ 5 และ 6 มากกว่า 23% กลุ่มเด็กที่มีอายุต่ำกว่าเด็กทุกกลุ่ม ผลการวิจันนี้แสดงให้เห็นเด่นชัดว่า เหตุผลเชิงจริยธรรมของบุคคลมีพัฒนาการตามอายุซึ่งพัฒนาการของจริยธรรมทางด้านนี้ โคลเบอร์ก เชื่อว่า เป็นผลของความสามารถในการนี้มากขึ้นเป็นลำดับ
เพศกับจริยธรรมของบุคล ถึงแม้วว่ามีจริยธรรมสูงจะมิใช่ลักษณะที่สังคมกำหนอไว้สำหรับเพศใดเพศหนึ่งโดยเฉพาะ แต่สิ่งหนึ่งที่ได้กระตุ้นความสนใจในการเปรียบเทียบจริยธรรมของชายกับหญิง คือทฤษฎีที่มีชื่อเสียงของ ฟรอยต์ ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของฟรอยต์ระบุไว้อย่างชัดเจนว่าเด็กชายในครอบครัวปกติที่บิดามารดาพร้อมเพรียง จะมีการเปลี่ยนแปลงทางจริยธรรมเมื่ออายุ 5 ขวบ
ทฤษฎีพัฒนาการของลักษณะที่ส่งเสริมจริยธรรม ให้ข้อทำนายที่ตรงข้ามกันกับทฤษฎีจิตวิเคราะห์ ทั้งนี้เพราะผลการวิจัยการพัฒนาลักษณะต่างๆ ของหญิงเปรียบเทียบกับชาย ปรากฏว่าหญิงมีการพัฒนาทางภาษาได้เร็วกว่าชาย ทำให้มีความฉลายและมีมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าชายซึ่งอาจทำให้หญิงเข้าใจกฎเกณฑ์ที่เป็นข้อเรียกร้องทางสังคมได้เร็วและมากกว่าชาย
จากการรวบรวมการวิจัยต่างๆที่เปรียบเทียบจริยธรรมในด้านต่างๆของหญิงกับชายไรท์ (Wright,1971) พบว่า ไม่ว่าจะเป็นการศึกษาพฤติกรรมโกงในการทดสอบหรือพฤติกรรมเอื้อเฟื้อก็ตามส่วนมากแล้วจะไม่พบความแตกต่างแต่การวิจัยบางเรื่องพบว่าหญิงจะโกงน้อยกว่าชาย ส่วนพฤติกรรมโกงของฮาร์ทชอร์นและเมย์(Hartshorne&May,1928) โดยใช้สถานการณ์หลายประเภท พบผลตรงข้ามกับการวิจัยอื่นๆ หญิงได้โกงในสถานการณ์ต่างๆมากกว่าชาย และเบอร์ตัน (Burton,1963) ในนำข้อมูลมาวิเคราะห์ด้วยวิธีการหาสถิติที่ก้าวหน้ากว่าเดิมปรากฏว่าหญิงอยู่ในกลุ่มของผู้ที่มีลักษณะคดโกงเป็นจำนวนมาก และชายอยู่ในกลุ่มของผู้ที่มีความเชื่อสัตย์เป็นจำนวนมากเช่นกัน ส่วนโคลเบอร์ก (Kohlberg, 1964) ได้ศึกษา พบผลที่น่าสนใจว่า ในวัยเด็กเล็กและเด็กโตนั้นชายและหญิงไม่แตกต่างกันในการใช้เหตุเชิงจริยธรรมแต่เมื่อมาถึงวัยรุ่น ชายได้มีการพัฒนาทางจริยธรรมที่ก้าวหน้ากว่าหญิง
ส่วนการศึกษาการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมนั้น โคลเบอร์กและนักวิจัยอื่นๆพบว่า หญิงมีจริยธรรมต่ำกว่าชาย แต่ผลการวิจัยนี้ถูกวิจารณ์ว่าอาจผิดพลาด เนื่องจากในเรื่องที่ใช้เป็นคำถามนั้น ตัวเอกเป็นชายทุกเรื่องจึงอาจทำให้ผู้ตอบแตกต่างไปจากผู้ตอบที่เป็นชายได้
ฐานะของครอบครัวกับจริยธรรมของบุคคล ฐานะของครอบครัว พิจารณาได้จากรายได้รวมของสมาชิกในครอบครัว การศึกษาและอีชีพของหัวหน้าครอบครัวเป็นต้น
เคย์(Key,1975) ได้ให้ความสำคัญอย่างยิ่งแก่ระดับเศรษฐกิจ และสังคมของครอบครัวในอันที่จะช่วยเพิ่มหรือลดความเร็วของการพัฒนาทางจริยธรรมให้เยาวชน เคย์เห็นความสำคัญของลักษณะของครอบครัว ในอันที่จะปลูกฝันลักษณะเบื้องต้นทางจริยธรรมให้แก่เยาวชน นั้นคือ การรับตนเอง การมีเอกลักษณ์ การเทียบเคียง การประสบความสำเร็จและสัมฤทธิ์ผลต่างๆ
นักสังคมวิทยาและนักจิตวิทยาหลายท่านมีความเชื่อ และได้แสดงหลักฐานทางการวิจัยว่าบุคคลที่ฐานะปานกลางนั้น มีค่านิยมแตกต่างกัน กล่าวคือ บุคคลเหล่านี้มีความเชื่อว่าสิ่งใดดีควรทำและสิ่งใดชั่วไม่สมควรกระทำนั้นแตกต่างกันไปมาก
กับจริยธรรมคนประเภทนี้ อักตัวหนึ่งที่เห็นได้ชัด คือ ชาวเกาะเผ่าหนึ่งมีค่าว่าการล่าหัวมนุษย์เป็นสิ่งที่แสดงถึงอำนาจในสังคม ชายฉกรรจ์ทุกคนในเผ่านั้นกระทำเป็นอย่างยิ่ง แต่การบคร่าชีวิตผู้อื่นถึงแม้จะเป็นคนแปลกหน้าหรือมาจากสังคมอื่น กลับเป็นสิ่งที่ถือว่าผิดอย่างร้ายแรงในสังคมหนึ่งดังนั้นการเปรียบเทียบความเจริญทางจิตใจของคนในต่างสังคมหรือต่างฐานะ ย่อมจะใช้วิธีวัดความรู้เชิงจริยธรรมและพฤติกรรมเชิงจริยธรรมเป็นหลักอย่างแน่นอนไม่ได้
สำหรับด้านอื่นของจริยธรรมที่เหมาะสมในการเปรียบเทียบพัฒนาการทางจริยธรรมของคนในต่างสังคม วัฒนธรรม และฐานะ ก็คือการใช้เหตุผลหรือการตัดสินเชิงจริยธรรมโดยอาศัยหลักต่างๆซึ้งไม่ขึ้นกับเนื้อหาหรือค่านิยมในสังคมนั้นโดยตรง โดลเบอร์ก (Kohlberg 1964 a,หน้า405,406)ได้ใช้การวัดเหตุผลเชิงจริยธรรม และสามารถเปรียบเทียบการพัฒนาทางจริยธรรมของคนในสังคมต่างๆทั้งในประเทศทางตะวันตกและตะวันออก ได้อย่างน่าเชื่อถือ เคย์ (kay, 1970,หน้า182)และเบอร์ตัน(burton,1963หน้า496-497)ผู้ประมวลผลงานวิจัยทางด้านนี้ก็พบว่าถ้าเปรียบเทียบการตัดสินเชิงจริยธรรมของเยาวชนผู้มาจากครอบครัวระดับต่างๆแล้ว ผลส่วนมาก คือ เด็กที่มาจากครอบครัวที่มีฐานะต่ำมีพัฒนาการทางด้วนนี้ช้ากว่าเด็ก ที่มาจากครอบครัวฐานะปานกลางหรือสูง
ส่วนในประเทศไทยก็ได้มีการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมตามทฤษฏีของโคลเบอร์ก ในเยาว์ชนไทยผู้มีลักษณะทางสังคมแตกต่างกัน แต่ก็ยังไม่ปรากฏผลเป็นที่แน่ชัดว่าเยาวชนไทยผู้มีเพศ อายุ ถิ่นที่อยู่ และระดับทางเศรษฐกิจสังคมต่างกัน มีระดับการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมที่แตกต่างกันทั้งนี้อาจเป็นเพราะการวิจัยในประเทศไทยได้ใช้วิธีวัดการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมที่ต่างออกไป และใช้วิธีการวิเคราะห์ทางสถิติที่เข้มงวดกว่าที่ใช้ในการวิจัยส่วนใหญ่ที่โคลเบอร์กล่าวถึง
ได้กล่าวมาแล้วในตอนต้นว่า อิทธิพลของสังคมที่มีต่อจริยธรรมของบุคคลนั้น ที่เห็นได้ชัดมักจะมีต่อค่านิยมและทัศนคติเชิงจริยธรรมของบุคคล ฉะนั้น การวิจัยที่ศึกษาทัศนคติเชิงจริยธรรมของบุคคลจึงได้เปรียบเทียบลักษณะเหล่านี้ของผู้ที่มาจากภูมิลำเนาต่างกัน ระดับทางเศรษฐกิจและสังคมต่างกัน ระดับการศึกษา อาชีพต่างกัน ศาสนาและความเห็นทางการเมืองที่ต่างกัน มีการวิจัยค่านิยม ไทยที่น่าสนใจมากเรื่องหนึ่ง (สุนทรี โคมิน และคณะ,2521และ2522)ได้ศึกษาค่านิยมไทยอย่างกว้างขวางมนหลายแง่มุม ศึกษาคนไทยทั้งในกรุงเทพ และต่างจังหวัดรวม 2,500คน ผู้วิจัยได้สร้างเรื่องมือสัดจากแนวทฤษฏีของโรมีช โดยแบ่งค่านิยมไทยออกเป็น2ประเภทคือ ค่านิยม ที่เป็นเรื่องมือให้บรรลุจุดประสงค์ที่ต้องการ และค่านิยมที่เป็นจดหมายในตัวแล้ว แบบวัดที่ใช้ประกอบด้วยค่านิยมประเภทเครื่องมือ 20เรื่อง และก็มีค่านิยมประเภทจุดมุ่งหมายอีก 23เรื่อง รวมกับแบบวัด ทัศนคติและแบบรายงานพฤติกรรมทางสังคมอีกหลายด้าน ค่านิยมที่ใช้ในการวิจัยนี้มีเนื้อหาที่กว้างขวางกว่าค่านิยมเชิงจริยธรรม แต่ก็มีเป็นจำนวนมากที่เป็นค่านิยมและทัศนคติที่เกี่ยวกับจริยธรรม ผู้ตอบจะต้องเรียงลำดับค่านิยมทั้งหมด นี้จากที่ตนเห็นว่าสำคัญน้อยที่สุด ในการวิเคราะห์ความแตกต่างของลำดับค่านิยมและการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของการเรียงค่านิยมเหล่านี้ ทำให้พบผลวิจัยที่น่าสนใจเกี่ยวกับผู้ใหญ่ไทยหลายประการ โดยผู้วิจัยได้เปรียบเทียบลำดับค่านิยมของคนที่มีเพศต่างกัน ระดับการศึกษาต่างกัน และถิ่นที่อยู่ต่างกัน ในการวิเคราะห์ข้อมูลขั้นแรกลปรากฏว่า ในหารศึกษาค่านิยมประเภทจุดมุ่งหมาย ในชีวิตนั้น ผู้ตอบในต่างจังหวัดให้ความสำคัญแก่ค่านิยมเกี่ยวกับความมั่นคงของชาติ และการมีหลักธรรมและศาสนาเป็นที่พึ่งมากที่สุด ในขณะที่คนในเมืองให้ความสำคัญแก่ความสุขในชีวิตครอบครัว และความสำเร็จในชีวิตมากที่สุด ซึ่งคล้ายคลึงกับค่านิยมของผู้ตอบหญิงโดยทั่วไปส่วนผู้ชายให้ความสำคัญแก่ความมั่นคงของชาติ และความเสมอภาคมากที่สุด จะเห็นได้ว่าผู้ตอบที่อยู่ในแง่บทบาทความรับผิดชอบของคนไทยที่ต่างเพศกัน และแง่การส่งเสริมทางสังคมที่แตกต่างกัน เช่น ให้หมู่ผู้ตอบรับในต่างจังหวัดอาจได้รับการอบรมลูกเสือชาวบ้านให้ยึดหลัก ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ส่วนผู้ตอบรับในกรุงเทพอานได้รับเข้าการอบรมนี้น้อยกว่า
ส่วนการศึกษาค่านิยมประเภทเครื่องมือประเภทเครื่องมือนำไปจุดประสงค์บางประการนั้น ทั้งชายและหญิงให้ความสำคัญแก่การเป็นตัวของตัวเอง ความซื้อสัตย์และความรับผิดชอบมากที่สุดคล้ายคลึงกัน ค่านิยมเหล่านี้มีลักษณะที่เป็นค่านิยมเชิงจริยธรรมด้วย ส่วนผู้มีระดับการศึกษาและระดับเศรษฐกิจต่างกันนั้น มีความแตกต่างทางในค่านิยมทางด้านมนุษย์สำพันธ์ด้านการมุ่งงาน และด้านความเชื่อโชคชะตาราศี มากกว่าที่จะแตกต่างกันในค่านิยมเชิงจริยธรรม
การวิจัยที่พยายามดึงค่านิยมกับการใช้เหตุผลทางจริยธรรมให้มาใกล้เคียงกัน เช่น การวิจัยที่เสนอในการประชุมนักวิจัยวิทยาระหว่างวัฒนธรรม ณ มหาวิทยาลัยฮ่องกง (Keats 1979) โดยผู้วิจัย ได้ศึกษาค่านิยมของคนในสังคมต่างๆ (มาเลเซีย และออสเตรเลีย) และใช้ค่านิยมหลายประเภท คือ ค่านิยมทางศาสนา ค่านิยมเกี่ยวกับความสนุกสนานและนันทนาการ ตลอดจนค่านิยมเกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการงาน ในวัยรุ่นอายุ 11,15และ 17ปี โดยเทียบเนื้อหาการใช้เหตุผลเกี่ยวกับค่านิยมเหล่านี้กับขั้นตอนการคิด ตามทฤษฏีสองวัฒนธรรม มีลำดับคล้ายคลึงกันแต่มีแบบแผนบางประการที่แตกต่างกัน วิธีใหม่นี้ทำให้นักวิชาการสามารถจำศึกษาพัฒนาการทางการคิดเกี่ยวกับค่านิยมต่างๆได้เป็นอย่าดี
นักทฤษฏีและผู้ค้นคว้าทางด้านจริยธรรมส่วนมากจะเชื่อว่า ประสบการณ์ของเด็กที่มาจากครอบครัวระดับต่างๆกันย่อมจะแตกต่างกัน อันเป็นเหตุให้จริยธรรมของเด็กเหล่านี้ตกต่างกันอย่างมากด้วย ประสบการณ์ในครอบครัวนั้นมีหลายชนิด นับตั้งแต่สภาพทางการไปจนถึงสภาพจิตใจการปฏิบัติของบิดามารดาต่อผู้อื่นซึ่งเด็กสังเกตเห็นและรับรู้มา จนถึงการปฏิบัติของบอดามารดาต่อเด็กเอง ฮอฟฟ์แมน เชื่อว่าอิทธิพลของครอบครัวที่แผ่มายังเด็กนั้นส่วนมากแล้วจะผ่านวิธีการอบรมเลี้ยงดูที่เด็กได้รับจากผู้ปกครองนั่นเอง ฉะนั้นฐานะของครอบครัวจึงอาจมีอิทธิพลต่อการเลือกใช้วิธีการอบรมเลี้ยงดูเกของพ่อแม่ และการอบรมเลี้ยงดูเด็กด้วยวิธีการที่แตกต่างกันอาจเป็นต้นเหตุที่สำคับ ของการพัฒนาทางจริยธรรมของเด็กได้ อย่างไรก็ดี เราไม่สามารถจะศึกษาถึงความเป็นเหตุผลต่อกันระหว่างวิธีการถูกอบรมเลี้ยงดูกับพัฒนาการทางจริยธรรมของเด็กแต่เราสามารถจะศึกษาความสำพันธ์ระหว่างตัวแปรประเภทนี้ และเปิดโอกาสให้แก่ข้อคิดที่ว่า ทั้งวิธีการที่ถูกอบรมเลี้ยงดูและจริยธรรมของเด็กนั้นเป็นผลของสาเหตุอื่นด้วยกันทั้งคู่
โดยทฤษฎีนี้ระบุว่า เด็กเล็ก ๆ จะเรียนรู้ว่าอะไรดีอะไรชั่วจากผู้อื่นที่อยู่ใกล้ชิด ซึ่งเป็นตัวแทนของสังคมด้วยกระบวนการเทียบเคียง เด็กเล็ก ๆ จะใช้วิธีการเลียนแบบผู้ที่มีอำนาจและผู้ที่ตนรัก จนในที่สุดเด็กจะยอมรับกฎเกณฑ์ของสังคมมาเป็นหลักปฏิบัติโดยอัตโนมัติ นักทฤษฎีต่าง ๆ ยอมรับว่าการปลูกฝังจริยธรรมเริ่มตั้งแต่วัยทารก ส่วนวัยเด็กเล็กจะเป็นการเตรียมตัวเพื่อเข้าเป็นสมาชิกของสังคมใหญ่ กลุ่มบุคคลที่รับผิดชอบในการปลูกฝังจริยธรรมให้แก่เด็กมากที่สุดคือสมาชิกในครอบครัวของเด็กเอง รองลงมาคือโรงเรียนอนุบาลละปฐมศึกษา เมื่อครอบครัวเป็นแหล่งที่สำคัญที่สุดในการปลูกฝักจริยธรรมให้แก่เด็กแล้ว จึงอาจพิจารณาได้ต่อไปว่า สมาชิกในครอบครัวตระหนักในหน้าที่เพียงใด และวิธีใดในการอบรมสั่งสอน
ทฤษฎีอิทธิพลของสังคมต่อการพัฒนาการทางจริยธรรมส่วนใหญ่ จะกล่าวถึงความสัมพันธ์ของครอบครัวและการควบคุมของกลุ่มต่างๆ ในสังคมที่มีต่อบุคลิกภาพ และ และทัศนคติเชิงจริยธรรมของมนุษย์ มีการวิจัยหลายเรื่องทั้งในประเทศและต่างประเทศที่ได้รับการศึกษาอิทธิพลของสังคมต่อจริยธรรมของบุคคล
ทฤษฎีพัฒนาการของลักษณะที่ส่งเสริมจริยธรรม จิตลักษณะเชิงจริยธรรมบางชนิด โดยเฉพาะใช้เหตุผมเชิงจริยธรรมนั้น จะเกิดและพัฒนาไปตามปกติได้ ต้องการอาศัยการนำทางด้านอื่นๆในจิตใจของบุคคลด้วย โคลเบอร์ก (Kohlberg, 1976) ได้กล่าวว่า จิตลักษณะหลายชนิดเป็นปัจจัยสำคัญต่อการพัฒนาการของการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมของบุคคล จิตลักษณะเหล่านี้คือ สติปัญญาการเรียนรู้และการคิด อารมณ์ – สังคม และบุคลิกภาพ และความสามารถในการหยั่งรู้บทบาทของผู้อื่นจิตลักษณ์ที่กล่าวมานี้เป็นลักษณะที่บุคคลอาจพัฒนาได้จากขั้นต่ำสุดไปยังขั้นสูงสุด
ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม คือ ทฤษฎีที่อธิบายวิธีการและกระบวนการที่บุคคลได้รับอิทธิพลจากสังคม ทำให้เกิดการยอมรับลักษณะและกฎเกณฑ์ทางสังคมเป็นลักษณะของตน ทฤษฎีประเภทนี้ได้นำเอาหลักการเสริมแรง (principle of reinforcement) และ หลักการเชื่อมโยง (principle of association) มาใช้อธิบายปรากฏการณ์ทางสังคม
การเลียนแบบลักษณะและการทำงานของผู้อื่น เป็นบ่อเกิดการยอมรับลักษณะทั้งดีและไม่ดีจากบุคคลอื่นได้อย่างง่ายดายและเกิดได้อย่างกว้างขวางในสถานการณ์ทั่วไป ตั้งแต่เด็กเลียนแบบบิดามารดาของตนไปจนถึงวันรุ่นเลียนแบบดาราภาพยนตร์ เป็นต้น การเลียนแบบนี้เกิดจากการที่บุคคลสังเกตการกระทำของบุคคลอื่นเซียร์สและคณะ(sears,Maccoby&Levin,1957) ได้อธิบายว่า เด็กจะเลียนแบบผู้เลี้ยงดูที่ตนรักใคร่ เพราะการเลียนแบบหรือทำตนคล้ายผู้เลี้ยงดูจะทำให้เด็กเกิดความพอใจเหมือนกับว่าตัวเองได้ใกล้ชิดผู้เลี้ยงดูในขณะนั้น
การเลียนแบบเพื่อน ก็สามารถนำทฤษฎีความคล้ายคลึงกันมาอธิบายได้ว่า เนื่องจากคนวัยเดียวกันมีลักษณะต่างๆที่คล้ายคลึงกันมาก นับตั้งแต่อายุ ความคิดอ่าน ความอยาก ความต้องการ เป็นต้น ซึ่งจะเกิดขึ้นเมื่อตนมีลักษณะที่แตกต่างไปจากคนประเภทเดียวกันกับตนความรู้สึกขัดแย้งในจิตใจเป็นอาการที่ไม่พึงปรารถนา บุคคลจะป้องกันมิให้เกิดความขัดแย้งในจิตใจด้วยการเลียนแบบคนที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับตนเสีย
การเลียนแบบคนแปลกหน้า ซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกับตนน้อยมากนั้น ทฤษฎีการเสริมแรงตัวแบบทำชนิดหนึ่ง แล้วตัวแบบได้รับประโยชน์หรือได้รับความพอใจต่างๆ ผู้สังเกตเห็นก็ย่อมอยากได้รับความพอใจนั้นด้วย
การพิจารณาผลการวิจัยต่างๆ จะได้เรียงลำดับความคิดจากทฤษฎีที่อ่านแล้ว โดยเริ่มการพิจารณาตัวแปรทางสังคมที่เกี่ยวกับจริยธรรม เช่น อายุและระดับการศึกษา เพศ ระดับเศรษฐกิจ และสังคม และอื่นๆ นอกจากนั้น จะได้พิจารณาผลการวิจัยที่เกี่ยวกับอบรมเลี้ยงดูที่สัมพันธ์กับการพัฒนาจริยธรรมของเยาวชน
ความฉลาดทางอารมณ์ ที่ประกอบด้วยปัจจัยสำคัญ ๓ ประการคือ
- ความดี
- ความเก่ง
- ความสุข
ดี หมายถึง ความสามารถในการควบคุมอารมณ์และความต้องการของตนเองรู้จักเห็นใจผู้อื่น และมีความรับผิดชอบต่อส่วนรวม ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
ความสามารถในการควบคุมอารมณ์และความต้องการของตนเอง
- รู้อารมณ์และความต้องการของตนเอง
- ควบคุมอารมณ์และความต้องการได้
- แสดงออกอย่างเหมาะสม
ความสามารถในการเห็นใจผู้อื่น
- ใส่ใจผู้อื่น
- เข้าใจและยอมรับผู้อื่น
- แสดงความเห็นใจอย่างเหมาะสม
ความสามารถในการรับผิดชอบ
- รู้จักการให้ รู้จักการรับ
- รู้จักรับผิด รู้จักให้อภัย
- เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม
เก่ง หมายถึง ความสามารถในการรู้จักตนเอง มีแรงจูงใจ สามารถตัดสินใจแก้ปัญหาและแสดงออกได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนมีสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น
ความสามารถในการรู้จักและสร้างแรงจูงใจให้ตนเอง
- รู้ศักยภาพของตนเอง
- สร้างขวัญและกำลังใจให้ตนเองได้
- มีความมุ่งมั่นที่จะไปให้ถึงเป้าหมาย
ความสามารถในการตัดสินใจและแก้ปัญหา
- รับรู้และเข้าใจปัญหา
- มีขั้นตอนในการแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสม
- มีความยืดหยุ่น
ความสามารถในการมีสัมพันธภาพกับผู้อื่น
- รู้จักการสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น
- กล้าแสดงออกอย่างเหมาะสม
- แสดงความเห็นที่ขัดแย้งได้อย่างสร้างสรรค์
สุข หมายถึง ความสามารถในการดำเนินชีวิตอย่างเป็นสุข มีความภูมิใจในตนเอง พอใจในชีวิต และมีความสุขสงบทางใจความภูมิใจในตนเอง
- เห็นคุณค่าในตนเอง
- เชื่อมันในตนเอง
ความพึงพอใจในชีวิต
- รู้จักมองโลกในแง่ดี
- มีอารมณ์ขัน
- พอใจในสิ่งที่ตนมีอยู่
ความสงบทางใจ
- มีกิจกรรมที่เสริมสร้างความสุข
- รู้จักผ่อนคลาย
- มีความสงบทางจิตใจ
ความหมายของคำว่า “การเรียนรู้” มีนักจิตวิทยาได้ให้ความหมายของการเรียนรู้ไว้หลายท่านในที่นี้จะสรุปพอเป็นแนวทางให้เข้าใจดังนี้คือ
การเรียนรู้ หมายถึง การที่มนุษย์ได้รับรู้ถึงสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบตัวเขา โดยเริ่มต้นตั้งแต่การมีปฏิสนธิอยู่ในครรภ์มารดาเรื่อยไป จนกระทั่งคลอดมาเป็นทารกแล้วอยู่รอด ซึ่งบุคคลก็ต้องปรับตัวเพื่อให้ตนเองอยู่รอดกับสิ่งแวดล้อมทั้งภายในครรภ์มารดาและเมื่อออกมาอยู่ภายนอกเพื่อให้ชีวิตดำรงอยู่รอดทั้งนี้ก็เพราะการเรียนรู้ทั้งสิ้น
การเรียนรู้ มีความหมายลึกซึ้งมากกว่าการสั่งสอน หรือการบอกเล่าให้เข้าใจและจำได้เท่านั้น ไม่ใช่เรื่องของการทำตามแบบ ไม่ได้มีความหมายต่อการเรียนในวิชาต่างๆเท่านั้น แต่ความหมายคลุมไปถึง การเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมอันเป็นผลจากการสังเกตพิจารณา ไตร่ตรอง แก้ปัญหาทั้งปวงและไม่ชี้ชัดว่าการเปลี่ยนแปลงนั้นเป็นไปในทางที่สังคมยอมรับเท่านั้น การเรียนรู้เป็นการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม การเรียนรู้เป็นความเจริญงอกงาม เน้นว่าการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่เป็นการเรียนรู้ต้องเนื่องมาจากประสบการณ์ หรือการฝึกหัด และพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปนั้นควรจะต้องมีความคงทนถาวรเหมาะแก่เหตุเมื่อพฤติกรรมดั้งเดิมเปลี่ยนไปสู่พฤติกรรมที่มุ่งหวัง ก็แสดงว่าเกิดการเรียนรู้แล้ว
การเรียนรู้ หมายถึง กระบวนการเปลี่ยนแปลงของกิจกรรมในการแสดงปฏิกิริยาตอบสนองต่อสถานการณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง
การเรียนรู้ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอันมีผลมาจากการได้มีประสบการณ์
การเรียนรู้ หมายถึง กระบวนการที่ทำให้เกิดกิจกรรม หรือ กระบวนการที่ทำให้กิจกรรมเปลี่ยนแปลงไปโดยเป็นผลตอบสนองจากสภาพการณ์หนึ่งซึ่งไม่มช่ปฏิกิริยาธรรมชาติไม่ใช่วุฒิภาวะและไม่ใช่สภาพการเปลี่ยนแปลงของร่างกายชั่วครั้งชั่วคราวที่เนื่องมาจากความเหนื่อยล้าหรือฤทธิ์ยา
การเรียนรู้ หมายถึง กระบวนการที่เนื่องมาจากประสบการณ์ตรงและประสบการณ์อ้อมกระทำให้อินทรีย์เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมค่อนข้างถาวร
การเรียนรู้ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงค่อนข้างถาวรในพฤติกรรม ซึ่งเป็นผลของการฝึกหัด
จากความหมายของการเรียนรู้ข้างต้นอาจสรุปได้ว่า การเรียนรู้ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอันเป็นผลจากการที่บุคคลทำกิจกรรมใดๆ ทำให้เกิดประสบการณ์และเกิดทักษะต่างๆ ขึ้นยังผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมค่อนข้างถาวร
ธรรมชาติของการเรียนรู้
ธรรมชาติของการเรียนรู้โดยทั่วไปนักจิตวิทยาเชื่อว่ามนุษย์จะมีการเรียนรู้ได้ก็ ต่อเมื่อมนุษย์
ได้ทำกิจกรรมใดๆ แล้วเกิดประสบการณ์ ประสบการณ์ที่สะสมมามากๆ และหลายๆ ครั้งทำให้มนุษย์เกิดการเรียนรู้ขึ้นและเกิดการพัฒนาสิ่งที่เรียนรู้จนเกิดเป็นทักษะ และเกิดเป็นความชำนาญ ดังนั้นการเรียนรู้ของมนุษย์ก็จะอยู่กับตัวของมนุษย์เรียกว่าการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ค่อนข้างถาวร ดังนั้นหัวข้อที่น่าศึกษาต่อไปคือธรรมชาติของการเรียนรู้ของมนุษย์มีอะไรบ้าง ในที่นี้ขออธิบายเป็นข้อๆ คือ
1. การเรียนรู้คือการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมค่อนข้างถาวร
2. การเรียนรู้ย่อมมีการแก้ไข ปรับปรุงและเปลี่ยนแปลง โดยการเปลี่ยนแปลงนั้นๆ จะต้องเนื่องมาจากประสบการณ์
3. การเปลี่ยนแปลงชั่วครั้งชั่วคราวไม่นับว่าเป็นการเรียนรู้
4. การเรียนรู้ในสิ่งใดสิ่งหนึ่งย่อมต้องอาศัยการสังเกตพฤติกรรม
5. การเรียนรู้เป็นกระบวนการที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม และกระบวนการเรียนรู้เกิดขึ้นตลอดเวลาที่บุคคลมีชีวิตอยู่ โดยอาศัยประสบการณ์ในชีวิต
6. การเรียนรู้ไม่ใช่วุฒิภาวะแต่อาศัยวุฒิภาวะ วุฒิภาวะคือระดับความเจริญเติบโตสูงสุดของพัฒนาการทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญาของบุคคลในแต่ละช่วงวัยที่เป็นไปตามธรรมชาติ แต่การเรียนรู้ไม่ใช่วุฒิภาวะแต่ต้องอาศัยวุฒิภาวะประกอบกัน
7. การเรียนรู้เกิดได้ง่ายถ้าสิ่งที่เรียนเป็นสิ่งที่มีความหมายต่อผู้เรียน
8. การเรียนรู้ของแต่ละคนแตกต่างกัน
9. การเรียนรู้ย่อมเป็นผลให้เกิดการสร้างแบบแผนของพฤติกรรมใหม่
การเรียนรู้อาจจะเกิดขึ้นโดยการตั้งใจหรือเกิดโดยบังเอิญก็ได้