Custom Search

MBA Holiday

วันจันทร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2554


การถูกเลี้ยงดูแบบใช้เหตุผลกับจริยธรรมของบุคคล การอบรมเด็กโดยให้เหตุผลแก่เด็ก หมายถึง การอธิบายให้เด็กฟังถึงผลของพฤติกรรมองเด็กว่าจะกระทบกระเทือนตัวเด็กเองและผู้อื่น หรือทำให้เกิดผลดี หรือความเสียหายอย่างไรได้บ้าง การให้เหตุผลแก่เด็ก เป็นการให้เด็กรู้เกี่ยวกับกฎเกณฑ์ และขนบธรรมเนียมประเพณีทางสังคมต่าง ๆ เพื่อเด็กจะได้ใช้เป็นหลักปฏิบัติต่อไป นอกจากนี้การให้เหตุผลยังเป็นการตีแผ่ความคิด ความเชื่อ และลักษณะต่าง ๆ ของผู้เลี้ยงดูทำให้เด็กเลียนแบบได้ง่าย อีกประการหนึ่ง การอบรมเด็กแบบให้เหตุผลแทนการใช้อารมณ์ซึ่งแสดงถึงการใช้อำนาจข่มเด็ก จะทำให้เด็กรู้สึกว่าผู้เลี้ยงดูมีความรักความหวังดีต่อเด็กอย่างจริงใจ ผู้เลี้ยงจะส่งเสริมหรือห้ามปรามพฤติกรรมใดก็เพื่อประโยชน์ของเด็กเองทั้งสิ้น ทำให้ผู้อบรมไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อเด็กขณะให้การอบรมสั่งสอนเด็ก เคย์ (kay, 1975 หน้า 30) พบว่า ผู้เลี้ยงที่มีการศึกษาและฐานะต่ำขาดความสามารถที่จะให้เหตุผลทุกระดับ เริ่มตั้งแต่บิดามารดา ครูไปจนถึงตำรวจ

นอกจากนี้ การใช้อารมณ์อย่างปราศจากเหตุผล ยังทำให้เกิดการฝึกอบรมเด็กที่ไม่คงเส้นคงวากล่าวคือ เด็กทำความดีในวันนี้แล้วไดรับรางวัล แต่ทำดีซ้ำอีกในสองวันถัดจากนี้อาจถูกเพิกเฉยหรือโดนลงโทษ สาเหตุเพราะผู้เลี้ยงดูอบรมเด็กอารมณ์เสียมาจากที่อื่น การอบรมเด็กแบบไม่คงเส้นคงวา จะทำให้เด็กไม่สามารถจะตัดสินใจได้ว่า คนควรหรือไม่ควรกระทำพฤติกรรมชนิดใด ทำให้เด็กมีความข้องคับใจ ซึ่งเป็นชนวนให้เด็กนิสัยก้าวร้างสูง

การวิจัยหลายเรื่องแสดงผลสอดคล้องกันว่า เด็กที่ถูกเลี้ยงดูแบบให้เหตุผล เป็นเด็กที่ไม่ก้าวร้าว รู้จักผิดชอบชั่วดี มีพัฒนาการทางความรู้สึกละอายผิด (Walters & Parke, 1976, หน้า 207-217) ส่วนเด็กที่เป็นยุวอาชญากรนั้น ส่วนมากกมาจากครอบครัวที่ไม่ใช้เหตุผลในการอบรมเด็ก และขาดความคงเส้นคงวาในการลงโทษ หรือให้รางวัลเด็กด้วย

ส่วนการประมวลผลวิจัยอื่น ๆ ของฮอฟฟ์แมน (Hoffman, 1970, หน้า 291) แสดงว่า การใช้วิธีการให้เหตุผลในการอบรมสั่งสอนเด็กนั้น มีความ สัมพันธ์ทางบวกกับลักษณะทางจริยธรรมของเด็ก โดยเฉพาะในเด็กที่มีอายุมากกว่า 5 ขวบ และเมื่อมารดาเป็นผู้ใช้เหตุผล ส่วนการให้เหตุผลของบิดานั้น ไม่พบว่าสัมพันธ์กับลักษณะทางจริยธรรมของเด็กแต่อย่างใด อาจเป็นไปได้ว่า บิดาไม่ใกล้ชิดสนิทสนมกับลูกเท่ามารดา ฉะนั้น การให้เหตุผลที่ยากเกินระดับของเด็กมากกว่ามารดา ทำให้การใช้เหตุผลของบิดาไม่เกิดประโยชน์เท่ากับเทียมกับมารดา

การอบรมเด็กเพื่อให้เกิดการพัฒนาทางจริยธรรมนั้น ต้องใช้เหตุผลที่เหมาะกับระดับพัฒนาการทางการรู้คิดของเด็ก สิ่งนี้นักทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรม คือ เปียท์และโคลเบอร์ให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง และมีผลการวิจัยหลายเรื่องยืนยันว่า การใช้เหตุผลที่มุ่งเกินระดับพัฒนาการทางการรู้ของเด็กมากนัก จึงมีประสิทธิภาพในการส่งเสริมการพัฒนาทางจริยธรรมของเด็ก (Turiel 1966 ; Glassco,et.al., 1970 and Tracy & Cross, 1973)

การอบรมเลี้ยงดูแบบให้เหตุผลนี้ ควรจะมีความสัมพันธ์โดยตรงกับการพัฒนาจริยธรรมของเด็ก โดยเฉพาะในด้านเหตุผลเชิงจริยธรรม การวิจัยวิธีการอบรมเลี้ยงดูซึ่งเด็กได้รับ แล้วโยงมายังระดับเหตุผลเชิงจริยธรรมของเด็กนั้นไดเริ้มมีขึ้นแล้ว และจะได้กล่าวต่อไป

วิธีการถูกลงโทษกับจริยธรรมของบุคคล ในการฝึกนิสัยของเด็กนั้น ผู้เลี้ยงดูอาจเลือกวิธีการลงโทษได้ 2 ชนิด คือ การลงโทษทางกาย และการลงโทษทางจิต การลงโทษทางกาย หมายถึงการทำให้เด็กเจ็บตัว เช่น หยิก ตี ตบ เตะ โดยผู้ลงโทษใช้อำนาจทางกายของตนซึ่งมีมากกว่าเข้าข่มเด็ก วิธีการลงโทษทางกายจะสามารถหยุดยั้งพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ในทางที่ถูกที่ควร แล้วส่งเสริมพฤติกรรมที่เหมาะสมในเด็ก วิธีการลงโทษทางกายจะให้ผลเพียงครั้งเดียวในการปลูกฝังจริยธรรมในเด็ก

ส่วนการลงโทษทางจิต คือ การแสดงความไม่พอใจ เสียใจ มีการใช้วาจาในการว่ากล่าวติเตียน ผู้ลงโทษจะทำเพิกเฉยไม่สนใจไยดีกับเด็กไปชั่วขณะหนึ่ง นอกจากนี้ ผู้ลงโทษยังอาจตัดสิทธิบางประการที่เด็กเคยได้รับ เช่น ค่าขนม ของขวัญวันเกิด หรืออื่น ๆ และในบางครั้งผู้ลงโทษอาจกล่าวเป็นเชิงขู่ว่าจะมีการพรากไปจากตนเสีย วิธีการนี้ใช้ได้ผลดี ถ้าผู้ลงโทษเป็นที่ของเด็กอย่างมาก จึงมีความสำคัญต่อเด็ก และเด็กพร้อมที่จะเลียนแบบการสะกดอารมณ์ของผู้เลี้ยงดูโดยผู้เลี้ยงไม่แสดงกริยาก้าวร้างทางกายให้เด็กเห็น นักจิตวิทยาพัฒนาการเน้นว่า การทำตนให้เป็นที่รักของเด็ก จะทำให้บุคคลนั้นมี่ประสิทธิภาพในการใช้วิธีการลงโทษเด็กแทบทุกวิธี แม้แต่วิธีการลงโทษทางกาย เพราะวิธีนี้ก็มีความหมายแฝงให้เด็กเข้าใจได้ว่า เมื่อผู้ที่ตนรักและรักตนทำให้ตนเจ็บกายแสดงว่าบุคคลนั้นลดความรักตนลงในขณะนั้น

การพิจารณาลักษณะต่าง ๆ ของวิธีการลงโทษทางกาย เปรียบเทียบกับวิธีการลงโทษทางจิตจะทำให้เห็นว่าการลงโทษทางจิตจะเป็นเครื่องมือในการปลูกฝังจริยธรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพกว่าวิธีการลงโทษทางกาย ลักษณะต่าง ๆ ของการลงโทษทั้งสองประเภทที่จะนำมาพิจารณา คือ ปริมาณและคุณภาพของการให้ความรู้เชิงจริยธรรมขณะลงโทษ ลักษณะของตัวแบบผู้ทำการลงโทษเด็ก ระยะเวลาในการลงโทษ และเลาขณะลงโทษแล้ว

ฮอฟฟ์แมน (Hoffman, 1970, หน้า 283-285) ได้พิจารณาเปรียบเทียบการลงโทษทั้งสองประเภทอย่างละเอียด ประมวลแล้วได้ความดังนี้ การลงโทษทางกายนั้นผู้ลงโทษจะใช้วาจาว่ากล่าวสั่งสอนน้อยหรือไม่ใช้เลย ทำให้เด็กได้ความรู้แต่เพียงว่า ขณะนั้นตนได้กระทำสิ่งซึ่งไม่เป็นที่พอใจของผู้เลี้ยงดู แต่เด็กอาจไม่ทราบเหตุผลว่า ทำไมการกระทำของตนจึงไม่เป็นที่พอใจของผู้เลี้ยงดู และในบางกรณีเด็กอาจไม่ทราบว่า พฤติกรรมใดที่ตนได้กระทำไปแล้วนั้น เป็นสาเหตุให้ตนถูกลงโทษทางกายอยู่ในขณะนั้น แต่การลงโทษทางจิตนั้น คือ การว่ากล่าวอบรม ซึ่งเป็นการชี้แจงให้เห็นถึงความเหมาะสมของพฤติกรรมแก้แด็กจะทำให้เด็กได้หลักในการปฏิบัติ และเป็นการกระตุ้นให้เด็กรู้จักใช้หลักจริยธรรมในการควบคุมความประพฤติของตนเองในอนาคต นั่นคือ เปิดโอกาสให้เด็กเพาะลักษณะละอายใจตนเองซึ่งเป็นจริยธรรมขั้นสูง ส่วนการลงโทษทางกายนั้น เป็นการทำให้เด็กเคยชินกับการอยู่ภายใต้การควบคุมจากผู้อื่นที่สามารถลงโทษตนได้ วิธีการนี้จึงเป็นการปลูกฝังจริยธรรมขั้นต่ำให้เด็กเท่านั้น

ผู้เลี้ยงดูขณะที่ลงโทษเด็ก กำลังเป็นตัวแบบให้แก่เด็ก โดยแสดงว่าเมื่อเกิดความไม่พอใจในผู้อื่นตนควรจะทำอย่างไร ผู้ที่ใช้วิธีการลงโทษทางกาย เป็นผู้มีพฤติกรรมก้าวร้าวต่อผู้อื่นอย่างเห็นได้ชัด จึงอาจทำให้เด็กเลียนแบบลักษณะก้าวร้าวทางกายนี้ได้มาก ส่วนผู้ที่ใช้วิธีการลงโทษทางจิตอาจมีลักษณะก้าวร้าวทางวาจาได้บ้าง แต่ก็แสดงว่าเป็นผู้สามารอดกลั้น ไม่ก้าวร้าวทางกายกับผู้ที่ทำให้ตนไม่พอใจ ถ้าเด็กเลียนแบบผู้ใช้วิธีการลงโทษทางจิต เด็กก็จะเป็นผู้ที่มีลักษณะความก้าวร้าวทางวาจา ซึ่งสังคมไม่รังเกียจมากเท่าการก้าวร้าวทางกาย ซึ่งอาจทำให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นได้มาก

ระยะเวลาในการลงโทษทางกายและทางจิต ส่วนใหญ่แล้วจะแตกต่างกันมาก กล่าวคือ การลงโทษทางกายนั้นจะใช้เวลาสั้น ๆ แล้วก็เลิกรากันไป ทำให้เด็กเกิดความวิตกกังวล และมีแรงจูงใจที่จะทำดีในระยะสั้น ๆ แล้วก็ยุติลง ส่วนการลงโทษทางจิตนั้นอาจกินเวลาได้นานต่าง ๆ กัน เช่น การด่าว่าอาจใช้เวลานานนัก แต่การแสดงความเฉยเมยของผู้เลี้ยงดูอาจติดต่อกันเป็นวัน ๆ ซึ่งจะทำให้เด็กมีความวิตกกังวลอยู่นาน และพยายามทำตนเป็นคนดี เพื่อลบล้างความรู้สึกไม่พอใจของผู้เลี้ยงได้มากกว่า

เบคเคอร์ (Backer, 1964, หน้า 186-189) และฮอฟฟ์แมน (Hoffman, 1970, หน้า 290-292,) ได้ประมวลผลการวิจัยเปรียบเทียบลักษณะต่าง ๆ ทางจริยธรรมของเด็กที่ถูกลงโทษทางกายและทางจิต ผลปรากฏว่า วิธีการลงโทษทางกายนั้น ยิ่งใช้มากเท่าใดก็จะทำให้เด็กขาดลักษณะต่าง ๆ ทางจริยธรรมมากยิ่งขึ้นเท่านั้น ผลที่พบนี้มีในบุคคลอายุตั้งแต่ 4 ปี ถึง 20 ปี ส่วนวิธีการลงโทษทางจิใจโดยเฉพาะการเพิกถอนความรักนั้น ยังไม่พบความสัมพันธ์อย่างแน่ชัดกับลักษณะทางจริยธรรมของบุคคลในบางการ

วิจัยกลับพบว่า เด็กที่ถูกเลี้ยงดูแบบลงโทษทางกาย มีลักษณะทางจริยธรรมบางด้านสูงกว่าเด็กที่ถูกลงโทษทางจิต และบางการวิจัยพบว่า เด็กที่มาจากครอบครัวฐานะปานกลางถ้าถูกเลี้ยงดูแบบลงโทษทางจิต จะมีความรู้สึกผิดได้เร็วกกว่าเด็กที่ถูกลงโทษทางกาย แต่ความแตกต่างนี้ไม่ปรากฏในเด็กที่มาจากครอบครัวที่มีฐานะต่ำ ผลขัดแย้งในการวิจัยทั้งสองนี้อาจอธิบายได้ว่าการพิจารณาวิธีการลงโทษแยกต่างหากจากวิธีการเลี้ยงดูแบบให้ความรัก อาจทำให้ไม่ได้ผลที่เป็นรายละเอียด เพราะคาดว่าการลงโทษทางจิตจะให้ผลทางจิตก็จะไม่ได้ผล ฉะนั้น การลงโทษทางจิตจะให้ผลดีกว่าการลงโทษทางกาย ต่อเมื่อผู้ลงโทษนั้นเลี้ยงดูแบบให้ความรักมากด้วย

0 Comments:

Post a Comment



บทความที่ได้รับความนิยม