Custom Search

MBA Holiday

วันจันทร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ทฤษฏีให้ความสำคัญของการได้รับความรักต่อการพัฒนาลักษณะต่างๆทางสังคมของบุคคลนั้นมีหลายทฤษฏีด้วยกันเช่น ทฤษฏีพัฒนาการบุคลิกภาพอีริคสันกล่าวว่า การที่บิดามารดาให้ความอบอุ่นแก่ลูกอย่างเพียงพอจะทำให้ลูกมีความมั่นคงทางอารมณ์ และเกิดความรู้สึกมั่นใจในความดีงามในโลกนี้ ซึ่งจะเพียงพอ ฐานของการอาทรในความต้องการของบุคคลอื่นต่อไป เมื่อเด็กมีความไว้วางใจบิดามารดาในขั้นเริ่มต้นของชีวิตแล้ว จะทำให้เด็กมีความเชื่อถือในผู้อื่นเติบโตขึ้นด้วย

ส่วนนักทฤษฏีอีกกลุ่มหนึ่งได้ใช้ทฤษฏีจิตวิเคราะห์เป็นรากฐานในการอธิบาย การที่เด็กยอมรับลักษณะของบิดามารดามาเป็นของตน เซียร์สและคณะ (Sears, maccoby&Levin 1957,หน้า 372)ได้กล่าวไว้ว่าอย่างชัดเจนว่า ความรักของบิดามารดาเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาจริยธรรมในเด็กถ้าในช่วงแรกเกิดเด็กได้รับความรักความอบอุ่น โดยได้รับการบำบัดความต้องการต่างๆทางร่างกายอย่างเพียงพอ เด็กจะมีความรู้สึกพอใจและมีความสุขพอใจและมีความสุข ความรู้สึกนี้จะเกิดขึ้นทุกครั้งที่มีผู้มาบำบัดความต้องการให้เด็ก จนในที่สุดผู้บำบัดความต้องการให้เด็กจะกระตุ้นให้เด็กมีความพอใจ และมีความสุขเมื่อได้อยู่ใกล้ชิดตน ในขณะที่ผู้เลี้ยงดูอยู่ใกล้ชิดกับเด็กนั้น เขาก็ได้อบรมสั่งสอนเด็ก และได้แสดงลักษณะได้อยู่ใกล้ชิดตน ในขณะที่ผู้เลี้ยงดูอยู่ใกล้ชิดกับเด็กนั้น เขาก็ได้อบรมสั่งสอนพอใจ และได้เกิดความว้าเหว่และวิตกกังวล เด็กสามารถจะแก้ความรู้สึกนี้ของตนได้ด้วยการแสดงลักษณะและการกระทำที่คล้ายคลึงกับผู้เลี้ยงดูเป็นเครื่องทดแทนตัวผู้เลี้ยงดูเอง ฉะนั้น การกระทำตามคำสั่งสอนของผู้เลี้ยงดูหรือเรียนแบบลักษณะต่างๆ ของผู้เลี้ยงดู จะทำให้เด็กรู้สึกพอใจและมีความสุข เด็กจึงทำเช่นนี้บ่อยครั่งจนติดเป็นนิสัยได้ตามทฤษฏีของเซีนร์สและคณะนี้ เด็กจะต้องเรียนรู้ที่จะเกิดความรักความเข้าใจในผู้เลี้ยงดูตนก่อนที่เด็กจะยอมรับการถ่ายทอดลักษณะทางสังคมจากบุคคลนั้น นอกจากนี้เด็กจะต้องเกิดความรักในผู้เลี้ยงดูตนเป็นอันดับแรกก่อนที่จะสามารถรักบุคคลอื่นๆและยอมขึ้นไม่ได้ถ้าเด็กไม่ยอมทำตามกฎเกณฑ์ภายในบ้านเสียก่อน

ฮอฟฟ์แมน(hoffman,1970,หน้า291) ได้รวบรวมการวิจัยที่ศึกษาการเลี้ยงดูแบบให้ความรักลักษณะที่เกี่ยวข้องกับจริยธรรม4ประการคือ การยึดหลักภายในตน การมีความรู้สึกผิด การต้านทานสิ่งที่ยั่วยวนใจ และการยอมรับและสารภาพผิด ปรากฏว่า เด็กที่ถูกเลี้ยงดูแบบได้รับความรักมาก กล่าวคือผู้เลี้ยงดูรัก เข้าใจ และให้ความสำคัญแก่เด็ก พยายามกล่าวอธิบายสิ่งต่างๆให้เด็กฟัง ใช้การลงโทษให้เจ็บการแต่น้อย และให้เหตุผลในการบังคับเด็กเสมอ เด็กประเภทนี้ทั้งชายและหญิงผู้มีอายุ 4 ถึง13ปี เป็นเด็กที่มีลักษณะทางจริยธรรมทั้ง4ประเภทสูงกว่าเด็กที่ถูกเลี้ยงดูแบบรักน้อย

ส่วนดวงเดือน พันธุมนาวิน (2519) เมื่อประมวลผลการศึกษาภาคสนามในประเทศไทยแล้วได้พบว่า เด็กและวัยรุ่นไทยที่ได้รับความรักจากผู้เลี้ยงดูมากมีลักษณะความรับผิดชอบ วิจัยทางสังคมและความเอื้อเฟื้อ สูงกว่าเยาวชนที่ได้รับความรักน้อยอย่างเชื่อได้ฉะนั้น ผลการวิจัยในประเทศไทยจึงสอดคล้องกับผลการวิจัยในต่างประเทศ และเป็นเครื่องยืนยันว่าความรักของบิดามารดาเป็นสิ่งที่สำคัญมากต่อการมีลักษณะอันดีงามของลูก

ประเพณีของไทยเมื่อสามสิบปีมานี้นิยมการควบคุมบุตรหลานอบ่างใกล้ชิดและเข้มงวดกันชัด แต่บิดามารดาไทยสมัยใหม่กลับมีการควบคุมบุตรหลานน้อยลงไปมาก จึงเป็นที่หน้าสนใจว่า การควบคุมมากจะให้ผลแตกต่างจากการควบคุมน้อยในเรื่องใดบ้างและเพียงใด การเลี้ยงดูแบบควบคุมมาก หมายถึง การบังคับให้เด็กทำตามที่ผู้เลี้ยงดูเห็นดีเห็นชอบ โดยการตรวจตราและขู่เข็ญนอกจากนั้น ยังประกอบด้วยการลงโทษเมื่อเด็กไม่ปฏิบัติตามส่วนการที่เลี้ยงดูแบบควบคุมน้อย หมายถึง การให้อิสระแก่เด็กอย่างมาก ตามใจเด็กไม่สนใจและไม่ลงโทษเด็กอย่างสม่ำเสมอ จากการประมวลผลการวิจัยทางด้านนี้ซึ่งมีอยู่ไม่มากนัก เบคเคอร์ พบว่าเด็กที่ถูกเลี้ยงดูแบบควบคุมมากจะมีลักษณะที่น่าสนใจคือ เชื่อฟัง สุภาพ เอื้อเฟื้อ แต่มีลักษณะขี้อายเก็บตัว ใจน้อยและชอบพึ่งพาผู้ใหญ่ส่วนที่เด็กที่ถูกเลี้ยงดูแบบควบคุมน้อยจะไม่เชื่อฟัง ไม่มีความรับผิดชอบ และขาดสมาธิ

การใช้วิธีการเลี้ยงดูแบบควบคุมมากนั้น สัมพันธ์กับลักษณะที่สังคมยอมรับหลายลักษณะและเกี่ยวโยงกับลักษณะที่สังคมไม่ยินยอมบางลักษณะด้วย ผลเช่นก็ปรากฏในกลุ่มตัวอย่างที่เป็นเด็กไทยเช่นกัน ดวงเดือน พันธุมนาวินได้ประมวลผลการวิจัยต่างๆในประเทศไทยในเรื่องนี้พบว่าลักษณะความเอื้อเฟื้อจะปรากฏในเรื่องรายงานว่าคนถูกควบคุมมาก แต่เด็กที่ถูกเลี้ยงดูแบบควบคุม น้อยนั้น มีวินัยทางสังคมแลมีการควบคุมตนเองสูงกว่าเด็กที่ถูกควบคุมมากอย่างเห็นได้ชัด ฉะนั้นการเลี้ยงดูแบบควบคุมมากเกินไป หรือน้อยไปนั้น ไม่ทำให้เกิดลักษณะที่น่ารังเกียจในเด็กมากเท่าการเลี้ยงดูที่ไม่ให้ความรักเด็กอย่างพอเพียง

นักวิจัยได้นำลักษณะของพฤติกรรมต่างๆ ของมารดามาวิเคราะห์เพื่อหามิติต่างๆของพฤติกรรม ซึ่งเป็นเอกเทศต่อกัน(Factor analysis) และพบมิติสองชนิด คือ รักมาก-รักน้อย กัน ควบคุมมาก-ควบคุมน้อย และจากการประมวลผลการวิจัยเกี่ยวกับปริมาณการควบคุมในครอบครัวที่มีการเลี้ยงดูแบบรักมาก และในครบครัวที่มีการเลี้ยงดูแบบรักน้อย เพื่อดูว่าปริมาณการควบคุมนั้นจะมีความสัมพันธ์กับลักษณะต่างๆของเด็กอย่างไร เบคเคอร์ (Berker, 1964, หน้า193-199) สามารถสรุปผลได้อย่างนี้

เด็กที่อยู่ในครอบครัวที่เลี้ยงดูแบบรักมาก ในขณะเดียวกันก็ควบคุมมากนั้น เป็นเด็กที่ชอบพึ่งพาคนอื่น ไม่ค่อยเป็นมิตร มีความอดทนไม่สูงมากก็ต่ำมาก ความคิดสร้างสรรค์ต่ำและมีความเพ้อฝันแบบมุ่งร้ายมาก นอกจากนี้ เด็กชายยังมีความก้าวร้าวน้อย ชอบยอมตาม และรักษากฎ

ส่วนเด็กที่ถูกเลี้ยงแบบรักมากแต่ควบคุมน้อย นั้น มีความเป็นเอกเทศ ให้ความร่วมมือกับผู้ใหญ่ อดทนทำงานปานกลาง มีความคิดสร้างสรรค์และไม่สู้จะแสดงลักษณะมุ่งร้ายในการวัดทางอ้อมและมีลักษณะก้าวร้าวในทำนองที่ชอบให้ผู้อื่นทำตามความต้องการของตนซึ่งทำได้อย่างดีด้วย เด็กประเภทนี้มีความก้าวร้าวในลักษณะที่สังคมยอมรับและเป็นความก้าวร้าวที่อยู่ในความควบคุมมิใช่การแสดงอารมณ์ร้าย

เด็กที่ถูกเลี้ยงดูแบบรักน้อย แต่ถูกควบคุมมากนั้น มีลักษณะก้าวร้าวต่อตนเอง หลบเลี่ยงสังคม และอาจมีอาการของความขัดแย้งภายใน เด็กที่ต้องโทษทางกฎหมายส่วนมากจะเป็นเด็กที่ได้รับความรักน้อยและในขณะเดียวกันก็ถูกควบคุมไม่มากเกินไปก็น้อยจนเกินไป ซึ่งทำให้เกิดการไม่ยอมตามและความก้าวร้าวสูง

เด็กที่ถูกเลี้ยงดูแบบรักน้อยและเลี้ยงดูน้อย นั้นเป็นเด็กที่ก้าวร้าวมากไม่สามารถจะควบคุมพฤติกรรมของตนได้ และมีลักษณะของยุวอาชญากร บิดามารดาที่มีการเลี้ยงดูแบบนี้ส่วนมากมีฐานะต่ำ มีความรักลูกน้อยและไม่มีเวลาเอาใจสาลูก จึงปล่อยปละละเลยเสียเป็นส่วนมาก

สรุปได้ว่า เด็กที่ได้รับการเลี้ยงดูแบบรักมาก ควบคุมปานกลางนั้นเป็นเด็กที่มีคุณสมบัติที่น่าพอใจมากที่สุด การวิจัยต่างๆในประเทศไทยก็ให้ผลที่คล้ายคลึงกัน กล่าวคือเด็กที่รายงานตนว่าได้รับความรักจากผู้เลี้ยงดูมาก แต่ถูกควบคุมน้อยนั้น เป็นผู้ที่นักวิจัยพบว่า มีลักษณะความรับผิดชอบ และมีวินัยในตนเองสูงที่สุด ส่วนที่รายงานว่าได้รับความรักน้อยและถูกควบคุมมากนั้นมีลักษณะทั้งสองชนิดที่กล่าวมานี้ต่ำที่สุดเพื่อที่จะสรุปผลการวิจัยเกี่ยวกับบทบาทร่วมระหว่างการเลี้ยงดูแบบรักและแบบควบคุมที่มีต่อลักษณะทางสังคมของเด็กทั้งไทยและต่างประเทศ จึงเสนอผลในตาราง1

จากการประมวลทฤษฏีและผลวิจัยต่างๆข้างบนนี้จนได้ข้อสรุปว่า การอบรมเลี้ยงดูแบบรักมากควบคุมน้อย ทำให้เด็กที่ความรักความพอใจผู้เลี้ยงดู พร้อมที่จะยอมรับผู้เลี้ยงดูเป็นแบบอย่าง และเห็นความสำคัญของผู้ดูมากนอกจากนี้ เด็กที่ได้รับความรักมากแต่ถูกควบคุมน้อย ยังโอกาสเป็นตัวของตัวเองมาก สามารถที่จะฝึกบังคับตนเองตั้งแต่ยังเด็ก ทำให้สามารถที่จะยึดมั่นในหลักประจำใจของตนแทนการพึ่งสิ่งควบคุมภายนอก จึงทำให้คาดได้ว่า เด็กที่ได้รับการเลี้ยงดูแบบรักมากควบคุมน้อยมีพัฒนาการทางจริยธรรมสูงกว่าเด็กที่ได้รับการเลี้ยงดูแบบรักน้อยควบคุมมากเห็นได้ชัด

0 Comments:

Post a Comment



บทความที่ได้รับความนิยม