Custom Search

MBA Holiday

วันจันทร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2554


โดยทฤษฎีนี้ระบุว่า เด็กเล็ก ๆ จะเรียนรู้ว่าอะไรดีอะไรชั่วจากผู้อื่นที่อยู่ใกล้ชิด ซึ่งเป็นตัวแทนของสังคมด้วยกระบวนการเทียบเคียง เด็กเล็ก ๆ จะใช้วิธีการเลียนแบบผู้ที่มีอำนาจและผู้ที่ตนรัก จนในที่สุดเด็กจะยอมรับกฎเกณฑ์ของสังคมมาเป็นหลักปฏิบัติโดยอัตโนมัติ นักทฤษฎีต่าง ๆ ยอมรับว่าการปลูกฝังจริยธรรมเริ่มตั้งแต่วัยทารก ส่วนวัยเด็กเล็กจะเป็นการเตรียมตัวเพื่อเข้าเป็นสมาชิกของสังคมใหญ่ กลุ่มบุคคลที่รับผิดชอบในการปลูกฝังจริยธรรมให้แก่เด็กมากที่สุดคือสมาชิกในครอบครัวของเด็กเอง รองลงมาคือโรงเรียนอนุบาลละปฐมศึกษา เมื่อครอบครัวเป็นแหล่งที่สำคัญที่สุดในการปลูกฝักจริยธรรมให้แก่เด็กแล้ว จึงอาจพิจารณาได้ต่อไปว่า สมาชิกในครอบครัวตระหนักในหน้าที่เพียงใด และวิธีใดในการอบรมสั่งสอน

ทฤษฎีอิทธิพลของสังคมต่อการพัฒนาการทางจริยธรรมส่วนใหญ่ จะกล่าวถึงความสัมพันธ์ของครอบครัวและการควบคุมของกลุ่มต่างๆ ในสังคมที่มีต่อบุคลิกภาพ และ และทัศนคติเชิงจริยธรรมของมนุษย์ มีการวิจัยหลายเรื่องทั้งในประเทศและต่างประเทศที่ได้รับการศึกษาอิทธิพลของสังคมต่อจริยธรรมของบุคคล

ทฤษฎีพัฒนาการของลักษณะที่ส่งเสริมจริยธรรม จิตลักษณะเชิงจริยธรรมบางชนิด โดยเฉพาะใช้เหตุผมเชิงจริยธรรมนั้น จะเกิดและพัฒนาไปตามปกติได้ ต้องการอาศัยการนำทางด้านอื่นๆในจิตใจของบุคคลด้วย โคลเบอร์ก (Kohlberg, 1976) ได้กล่าวว่า จิตลักษณะหลายชนิดเป็นปัจจัยสำคัญต่อการพัฒนาการของการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมของบุคคล จิตลักษณะเหล่านี้คือ สติปัญญาการเรียนรู้และการคิด อารมณ์ – สังคม และบุคลิกภาพ และความสามารถในการหยั่งรู้บทบาทของผู้อื่นจิตลักษณ์ที่กล่าวมานี้เป็นลักษณะที่บุคคลอาจพัฒนาได้จากขั้นต่ำสุดไปยังขั้นสูงสุด

ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม คือ ทฤษฎีที่อธิบายวิธีการและกระบวนการที่บุคคลได้รับอิทธิพลจากสังคม ทำให้เกิดการยอมรับลักษณะและกฎเกณฑ์ทางสังคมเป็นลักษณะของตน ทฤษฎีประเภทนี้ได้นำเอาหลักการเสริมแรง (principle of reinforcement) และ หลักการเชื่อมโยง (principle of association) มาใช้อธิบายปรากฏการณ์ทางสังคม

การเลียนแบบลักษณะและการทำงานของผู้อื่น เป็นบ่อเกิดการยอมรับลักษณะทั้งดีและไม่ดีจากบุคคลอื่นได้อย่างง่ายดายและเกิดได้อย่างกว้างขวางในสถานการณ์ทั่วไป ตั้งแต่เด็กเลียนแบบบิดามารดาของตนไปจนถึงวันรุ่นเลียนแบบดาราภาพยนตร์ เป็นต้น การเลียนแบบนี้เกิดจากการที่บุคคลสังเกตการกระทำของบุคคลอื่นเซียร์สและคณะ(sears,Maccoby&Levin,1957) ได้อธิบายว่า เด็กจะเลียนแบบผู้เลี้ยงดูที่ตนรักใคร่ เพราะการเลียนแบบหรือทำตนคล้ายผู้เลี้ยงดูจะทำให้เด็กเกิดความพอใจเหมือนกับว่าตัวเองได้ใกล้ชิดผู้เลี้ยงดูในขณะนั้น

การเลียนแบบเพื่อน ก็สามารถนำทฤษฎีความคล้ายคลึงกันมาอธิบายได้ว่า เนื่องจากคนวัยเดียวกันมีลักษณะต่างๆที่คล้ายคลึงกันมาก นับตั้งแต่อายุ ความคิดอ่าน ความอยาก ความต้องการ เป็นต้น ซึ่งจะเกิดขึ้นเมื่อตนมีลักษณะที่แตกต่างไปจากคนประเภทเดียวกันกับตนความรู้สึกขัดแย้งในจิตใจเป็นอาการที่ไม่พึงปรารถนา บุคคลจะป้องกันมิให้เกิดความขัดแย้งในจิตใจด้วยการเลียนแบบคนที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับตนเสีย

การเลียนแบบคนแปลกหน้า ซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกับตนน้อยมากนั้น ทฤษฎีการเสริมแรงตัวแบบทำชนิดหนึ่ง แล้วตัวแบบได้รับประโยชน์หรือได้รับความพอใจต่างๆ ผู้สังเกตเห็นก็ย่อมอยากได้รับความพอใจนั้นด้วย

การพิจารณาผลการวิจัยต่างๆ จะได้เรียงลำดับความคิดจากทฤษฎีที่อ่านแล้ว โดยเริ่มการพิจารณาตัวแปรทางสังคมที่เกี่ยวกับจริยธรรม เช่น อายุและระดับการศึกษา เพศ ระดับเศรษฐกิจ และสังคม และอื่นๆ นอกจากนั้น จะได้พิจารณาผลการวิจัยที่เกี่ยวกับอบรมเลี้ยงดูที่สัมพันธ์กับการพัฒนาจริยธรรมของเยาวชน

0 Comments:

Post a Comment



บทความที่ได้รับความนิยม