Custom Search

MBA Holiday

วันจันทร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ทฤษฎีจริยธรรมแบบทุกทฤษฎี จะมีข้อความพาดพิงถึงประสบการณ์ทางสังคมของบุคคลว่าเป็นต้นเหตุของการเริ่มต้นและการเปลี่ยนแปรงจริยธรรมของบุคคลที่สำคัญอย่างยิ่ง ถ้าบุคคลได้รับประสบการณ์ทางสังคมคล้ายคลึงกัน เช่น อยู่ในกลุ่มฐานะเดียวกัน หรือ ได้รับการอบรมเลี้ยงดูมาคล้ายๆกัน

อายุและระดับการศึกษากับจริยธรรมของบุคคล ในปัจจุบันสังคมที่เจริญและมีมาตรฐานใกล้เคียงกัน มีการจัดการการศึกษาภาคบังคับ และวิจัยส่วนใหญ่ก็ใช้นักเรียนและนิสิตนักศึกษาซึ้งเป็นกลุ่มที่เก็บข้อมูลได้ง่ายที่สุด กล่าวคือ กลุ่มตัวอย่างที่อายุน้อยก็มีการศึกษาต่ำ และกลุ่มตัวอย่างที่มีอายุมากก็จะมีการศึกษาสูงไปด้วย ในการประมวนผลวิจัยเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างอายุกับจริยธรรมจึงต้องนำระดับการศึกษาเข้ามาพิจารณาไปพร้อมกันด้วย โคลเบอร์ (Kohlberg, 1976) ได้ประมวนผลการวิจัยเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างอายุกับการพัฒนาจริยธรรมได้ไว้อย่างครบถ้วน ดังนี้

ทางด้านความรู้เชิงจริยธรรม ได้มีผู้พบว่า ความรู้และความเชื่อเกี่ยวกับกฎเกณฑ์ทางจริยธรรมขั้นรากฐานของสังคมนั้น เด็กจะทราบอย่างครบถ้วนตั้งแต่อายุยังน้อย

พฤติกรรมเชิงจริยธรรม การวิจัยต่างๆ เกือบสิบสองเรื่องได้ให้ผลที่สอดคล้องกัน คือ ไม่พบว่าคนที่มีอายุมากจะมีพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับการโกง ขโมย ความชื่อสัตย์ ความรับผิดชอบ และการเห็นแก่ส่วนรวม แตกต่างจากคนที่มีอายุน้อย

อาจเป็นได้ว่า การศึกษาความรู้เกี่ยวกับเชิงจริยธรรมส่วนมากมีเนื้อที่มากเกินไป และ เป็นการวัดความรู้พื้นฐานทางสังคมของบุคคลเท่านั้น ถ้ามีการวัดความรู้เชิงจริยธรรมที่เกี่ยวกับกฎหมายและกฎเกณฑ์ทางศาสนา หรือความรู้เกี่ยวกับหลักสากลแล้ว อาจพบความแตดต่างในคนต่างอายุกันก็ได้

โคลเบอร์ก (Kohlberg, 1964) ได้ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างเหตุเชิงจริยธรรมกับระดับอายุ โดยแบ่งเหตุผลเชิงจริยธรรมออกเป็น 6 ขั้น ผู้วิจัยพบว่าเด็กอเมริกันอายุ 7, 10, 13 และ 16 ปี นิยมใช้เหตุผลในขั้นที่สูงสุดขึ้นตามอายุกล่าวคือ เด็กอายุ 7 ปี แทบทุกคน 90% ใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมในขั้นที่ 1 และ 2 เด็กอายุ 10 ปี แม้จะยังใช้เหตุผลในขั้นที่ 1 และ 2 เสียเป็นส่วนมาก 50% แต่มีอีกพวกหนึ่งที่ใช้เหตุผลในขั้นที่ 3 และ 43% ส่วนวัยรุ่นอายุ 13 ปี ใชเหตุผลในขั้นที่ 3 และ 4 มาก 50% และมีพวกที่ใช้เหตุผลในขั้นที่ 1 และ 2 น้อยกว่า 20% ส่วนวัยรุ่นตอนปลายอายุ 16 ปี แม้จะยังใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมในขั้นที่ 3และ 4 มาก 50% แต่ปรากฏว่า มีผู้ที่ใช้เหตุในขั้นที่ 5 และ 6 มากกว่า 23% กลุ่มเด็กที่มีอายุต่ำกว่าเด็กทุกกลุ่ม ผลการวิจันนี้แสดงให้เห็นเด่นชัดว่า เหตุผลเชิงจริยธรรมของบุคคลมีพัฒนาการตามอายุซึ่งพัฒนาการของจริยธรรมทางด้านนี้ โคลเบอร์ก เชื่อว่า เป็นผลของความสามารถในการนี้มากขึ้นเป็นลำดับ

เพศกับจริยธรรมของบุคล ถึงแม้วว่ามีจริยธรรมสูงจะมิใช่ลักษณะที่สังคมกำหนอไว้สำหรับเพศใดเพศหนึ่งโดยเฉพาะ แต่สิ่งหนึ่งที่ได้กระตุ้นความสนใจในการเปรียบเทียบจริยธรรมของชายกับหญิง คือทฤษฎีที่มีชื่อเสียงของ ฟรอยต์ ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของฟรอยต์ระบุไว้อย่างชัดเจนว่าเด็กชายในครอบครัวปกติที่บิดามารดาพร้อมเพรียง จะมีการเปลี่ยนแปลงทางจริยธรรมเมื่ออายุ 5 ขวบ

ทฤษฎีพัฒนาการของลักษณะที่ส่งเสริมจริยธรรม ให้ข้อทำนายที่ตรงข้ามกันกับทฤษฎีจิตวิเคราะห์ ทั้งนี้เพราะผลการวิจัยการพัฒนาลักษณะต่างๆ ของหญิงเปรียบเทียบกับชาย ปรากฏว่าหญิงมีการพัฒนาทางภาษาได้เร็วกว่าชาย ทำให้มีความฉลายและมีมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าชายซึ่งอาจทำให้หญิงเข้าใจกฎเกณฑ์ที่เป็นข้อเรียกร้องทางสังคมได้เร็วและมากกว่าชาย

จากการรวบรวมการวิจัยต่างๆที่เปรียบเทียบจริยธรรมในด้านต่างๆของหญิงกับชายไรท์ (Wright,1971) พบว่า ไม่ว่าจะเป็นการศึกษาพฤติกรรมโกงในการทดสอบหรือพฤติกรรมเอื้อเฟื้อก็ตามส่วนมากแล้วจะไม่พบความแตกต่างแต่การวิจัยบางเรื่องพบว่าหญิงจะโกงน้อยกว่าชาย ส่วนพฤติกรรมโกงของฮาร์ทชอร์นและเมย์(Hartshorne&May,1928) โดยใช้สถานการณ์หลายประเภท พบผลตรงข้ามกับการวิจัยอื่นๆ หญิงได้โกงในสถานการณ์ต่างๆมากกว่าชาย และเบอร์ตัน (Burton,1963) ในนำข้อมูลมาวิเคราะห์ด้วยวิธีการหาสถิติที่ก้าวหน้ากว่าเดิมปรากฏว่าหญิงอยู่ในกลุ่มของผู้ที่มีลักษณะคดโกงเป็นจำนวนมาก และชายอยู่ในกลุ่มของผู้ที่มีความเชื่อสัตย์เป็นจำนวนมากเช่นกัน ส่วนโคลเบอร์ก (Kohlberg, 1964) ได้ศึกษา พบผลที่น่าสนใจว่า ในวัยเด็กเล็กและเด็กโตนั้นชายและหญิงไม่แตกต่างกันในการใช้เหตุเชิงจริยธรรมแต่เมื่อมาถึงวัยรุ่น ชายได้มีการพัฒนาทางจริยธรรมที่ก้าวหน้ากว่าหญิง

ส่วนการศึกษาการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมนั้น โคลเบอร์กและนักวิจัยอื่นๆพบว่า หญิงมีจริยธรรมต่ำกว่าชาย แต่ผลการวิจัยนี้ถูกวิจารณ์ว่าอาจผิดพลาด เนื่องจากในเรื่องที่ใช้เป็นคำถามนั้น ตัวเอกเป็นชายทุกเรื่องจึงอาจทำให้ผู้ตอบแตกต่างไปจากผู้ตอบที่เป็นชายได้

ฐานะของครอบครัวกับจริยธรรมของบุคคล ฐานะของครอบครัว พิจารณาได้จากรายได้รวมของสมาชิกในครอบครัว การศึกษาและอีชีพของหัวหน้าครอบครัวเป็นต้น

เคย์(Key,1975) ได้ให้ความสำคัญอย่างยิ่งแก่ระดับเศรษฐกิจ และสังคมของครอบครัวในอันที่จะช่วยเพิ่มหรือลดความเร็วของการพัฒนาทางจริยธรรมให้เยาวชน เคย์เห็นความสำคัญของลักษณะของครอบครัว ในอันที่จะปลูกฝันลักษณะเบื้องต้นทางจริยธรรมให้แก่เยาวชน นั้นคือ การรับตนเอง การมีเอกลักษณ์ การเทียบเคียง การประสบความสำเร็จและสัมฤทธิ์ผลต่างๆ

นักสังคมวิทยาและนักจิตวิทยาหลายท่านมีความเชื่อ และได้แสดงหลักฐานทางการวิจัยว่าบุคคลที่ฐานะปานกลางนั้น มีค่านิยมแตกต่างกัน กล่าวคือ บุคคลเหล่านี้มีความเชื่อว่าสิ่งใดดีควรทำและสิ่งใดชั่วไม่สมควรกระทำนั้นแตกต่างกันไปมาก



กับจริยธรรมคนประเภทนี้ อักตัวหนึ่งที่เห็นได้ชัด คือ ชาวเกาะเผ่าหนึ่งมีค่าว่าการล่าหัวมนุษย์เป็นสิ่งที่แสดงถึงอำนาจในสังคม ชายฉกรรจ์ทุกคนในเผ่านั้นกระทำเป็นอย่างยิ่ง แต่การบคร่าชีวิตผู้อื่นถึงแม้จะเป็นคนแปลกหน้าหรือมาจากสังคมอื่น กลับเป็นสิ่งที่ถือว่าผิดอย่างร้ายแรงในสังคมหนึ่งดังนั้นการเปรียบเทียบความเจริญทางจิตใจของคนในต่างสังคมหรือต่างฐานะ ย่อมจะใช้วิธีวัดความรู้เชิงจริยธรรมและพฤติกรรมเชิงจริยธรรมเป็นหลักอย่างแน่นอนไม่ได้

สำหรับด้านอื่นของจริยธรรมที่เหมาะสมในการเปรียบเทียบพัฒนาการทางจริยธรรมของคนในต่างสังคม วัฒนธรรม และฐานะ ก็คือการใช้เหตุผลหรือการตัดสินเชิงจริยธรรมโดยอาศัยหลักต่างๆซึ้งไม่ขึ้นกับเนื้อหาหรือค่านิยมในสังคมนั้นโดยตรง โดลเบอร์ก (Kohlberg 1964 a,หน้า405,406)ได้ใช้การวัดเหตุผลเชิงจริยธรรม และสามารถเปรียบเทียบการพัฒนาทางจริยธรรมของคนในสังคมต่างๆทั้งในประเทศทางตะวันตกและตะวันออก ได้อย่างน่าเชื่อถือ เคย์ (kay, 1970,หน้า182)และเบอร์ตัน(burton,1963หน้า496-497)ผู้ประมวลผลงานวิจัยทางด้านนี้ก็พบว่าถ้าเปรียบเทียบการตัดสินเชิงจริยธรรมของเยาวชนผู้มาจากครอบครัวระดับต่างๆแล้ว ผลส่วนมาก คือ เด็กที่มาจากครอบครัวที่มีฐานะต่ำมีพัฒนาการทางด้วนนี้ช้ากว่าเด็ก ที่มาจากครอบครัวฐานะปานกลางหรือสูง

ส่วนในประเทศไทยก็ได้มีการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมตามทฤษฏีของโคลเบอร์ก ในเยาว์ชนไทยผู้มีลักษณะทางสังคมแตกต่างกัน แต่ก็ยังไม่ปรากฏผลเป็นที่แน่ชัดว่าเยาวชนไทยผู้มีเพศ อายุ ถิ่นที่อยู่ และระดับทางเศรษฐกิจสังคมต่างกัน มีระดับการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมที่แตกต่างกันทั้งนี้อาจเป็นเพราะการวิจัยในประเทศไทยได้ใช้วิธีวัดการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมที่ต่างออกไป และใช้วิธีการวิเคราะห์ทางสถิติที่เข้มงวดกว่าที่ใช้ในการวิจัยส่วนใหญ่ที่โคลเบอร์กล่าวถึง

ได้กล่าวมาแล้วในตอนต้นว่า อิทธิพลของสังคมที่มีต่อจริยธรรมของบุคคลนั้น ที่เห็นได้ชัดมักจะมีต่อค่านิยมและทัศนคติเชิงจริยธรรมของบุคคล ฉะนั้น การวิจัยที่ศึกษาทัศนคติเชิงจริยธรรมของบุคคลจึงได้เปรียบเทียบลักษณะเหล่านี้ของผู้ที่มาจากภูมิลำเนาต่างกัน ระดับทางเศรษฐกิจและสังคมต่างกัน ระดับการศึกษา อาชีพต่างกัน ศาสนาและความเห็นทางการเมืองที่ต่างกัน มีการวิจัยค่านิยม ไทยที่น่าสนใจมากเรื่องหนึ่ง (สุนทรี โคมิน และคณะ,2521และ2522)ได้ศึกษาค่านิยมไทยอย่างกว้างขวางมนหลายแง่มุม ศึกษาคนไทยทั้งในกรุงเทพ และต่างจังหวัดรวม 2,500คน ผู้วิจัยได้สร้างเรื่องมือสัดจากแนวทฤษฏีของโรมีช โดยแบ่งค่านิยมไทยออกเป็น2ประเภทคือ ค่านิยม ที่เป็นเรื่องมือให้บรรลุจุดประสงค์ที่ต้องการ และค่านิยมที่เป็นจดหมายในตัวแล้ว แบบวัดที่ใช้ประกอบด้วยค่านิยมประเภทเครื่องมือ 20เรื่อง และก็มีค่านิยมประเภทจุดมุ่งหมายอีก 23เรื่อง รวมกับแบบวัด ทัศนคติและแบบรายงานพฤติกรรมทางสังคมอีกหลายด้าน ค่านิยมที่ใช้ในการวิจัยนี้มีเนื้อหาที่กว้างขวางกว่าค่านิยมเชิงจริยธรรม แต่ก็มีเป็นจำนวนมากที่เป็นค่านิยมและทัศนคติที่เกี่ยวกับจริยธรรม ผู้ตอบจะต้องเรียงลำดับค่านิยมทั้งหมด นี้จากที่ตนเห็นว่าสำคัญน้อยที่สุด ในการวิเคราะห์ความแตกต่างของลำดับค่านิยมและการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของการเรียงค่านิยมเหล่านี้ ทำให้พบผลวิจัยที่น่าสนใจเกี่ยวกับผู้ใหญ่ไทยหลายประการ โดยผู้วิจัยได้เปรียบเทียบลำดับค่านิยมของคนที่มีเพศต่างกัน ระดับการศึกษาต่างกัน และถิ่นที่อยู่ต่างกัน ในการวิเคราะห์ข้อมูลขั้นแรกลปรากฏว่า ในหารศึกษาค่านิยมประเภทจุดมุ่งหมาย ในชีวิตนั้น ผู้ตอบในต่างจังหวัดให้ความสำคัญแก่ค่านิยมเกี่ยวกับความมั่นคงของชาติ และการมีหลักธรรมและศาสนาเป็นที่พึ่งมากที่สุด ในขณะที่คนในเมืองให้ความสำคัญแก่ความสุขในชีวิตครอบครัว และความสำเร็จในชีวิตมากที่สุด ซึ่งคล้ายคลึงกับค่านิยมของผู้ตอบหญิงโดยทั่วไปส่วนผู้ชายให้ความสำคัญแก่ความมั่นคงของชาติ และความเสมอภาคมากที่สุด จะเห็นได้ว่าผู้ตอบที่อยู่ในแง่บทบาทความรับผิดชอบของคนไทยที่ต่างเพศกัน และแง่การส่งเสริมทางสังคมที่แตกต่างกัน เช่น ให้หมู่ผู้ตอบรับในต่างจังหวัดอาจได้รับการอบรมลูกเสือชาวบ้านให้ยึดหลัก ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ส่วนผู้ตอบรับในกรุงเทพอานได้รับเข้าการอบรมนี้น้อยกว่า

ส่วนการศึกษาค่านิยมประเภทเครื่องมือประเภทเครื่องมือนำไปจุดประสงค์บางประการนั้น ทั้งชายและหญิงให้ความสำคัญแก่การเป็นตัวของตัวเอง ความซื้อสัตย์และความรับผิดชอบมากที่สุดคล้ายคลึงกัน ค่านิยมเหล่านี้มีลักษณะที่เป็นค่านิยมเชิงจริยธรรมด้วย ส่วนผู้มีระดับการศึกษาและระดับเศรษฐกิจต่างกันนั้น มีความแตกต่างทางในค่านิยมทางด้านมนุษย์สำพันธ์ด้านการมุ่งงาน และด้านความเชื่อโชคชะตาราศี มากกว่าที่จะแตกต่างกันในค่านิยมเชิงจริยธรรม

การวิจัยที่พยายามดึงค่านิยมกับการใช้เหตุผลทางจริยธรรมให้มาใกล้เคียงกัน เช่น การวิจัยที่เสนอในการประชุมนักวิจัยวิทยาระหว่างวัฒนธรรม ณ มหาวิทยาลัยฮ่องกง (Keats 1979) โดยผู้วิจัย ได้ศึกษาค่านิยมของคนในสังคมต่างๆ (มาเลเซีย และออสเตรเลีย) และใช้ค่านิยมหลายประเภท คือ ค่านิยมทางศาสนา ค่านิยมเกี่ยวกับความสนุกสนานและนันทนาการ ตลอดจนค่านิยมเกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการงาน ในวัยรุ่นอายุ 11,15และ 17ปี โดยเทียบเนื้อหาการใช้เหตุผลเกี่ยวกับค่านิยมเหล่านี้กับขั้นตอนการคิด ตามทฤษฏีสองวัฒนธรรม มีลำดับคล้ายคลึงกันแต่มีแบบแผนบางประการที่แตกต่างกัน วิธีใหม่นี้ทำให้นักวิชาการสามารถจำศึกษาพัฒนาการทางการคิดเกี่ยวกับค่านิยมต่างๆได้เป็นอย่าดี

นักทฤษฏีและผู้ค้นคว้าทางด้านจริยธรรมส่วนมากจะเชื่อว่า ประสบการณ์ของเด็กที่มาจากครอบครัวระดับต่างๆกันย่อมจะแตกต่างกัน อันเป็นเหตุให้จริยธรรมของเด็กเหล่านี้ตกต่างกันอย่างมากด้วย ประสบการณ์ในครอบครัวนั้นมีหลายชนิด นับตั้งแต่สภาพทางการไปจนถึงสภาพจิตใจการปฏิบัติของบิดามารดาต่อผู้อื่นซึ่งเด็กสังเกตเห็นและรับรู้มา จนถึงการปฏิบัติของบอดามารดาต่อเด็กเอง ฮอฟฟ์แมน เชื่อว่าอิทธิพลของครอบครัวที่แผ่มายังเด็กนั้นส่วนมากแล้วจะผ่านวิธีการอบรมเลี้ยงดูที่เด็กได้รับจากผู้ปกครองนั่นเอง ฉะนั้นฐานะของครอบครัวจึงอาจมีอิทธิพลต่อการเลือกใช้วิธีการอบรมเลี้ยงดูเกของพ่อแม่ และการอบรมเลี้ยงดูเด็กด้วยวิธีการที่แตกต่างกันอาจเป็นต้นเหตุที่สำคับ ของการพัฒนาทางจริยธรรมของเด็กได้ อย่างไรก็ดี เราไม่สามารถจะศึกษาถึงความเป็นเหตุผลต่อกันระหว่างวิธีการถูกอบรมเลี้ยงดูกับพัฒนาการทางจริยธรรมของเด็กแต่เราสามารถจะศึกษาความสำพันธ์ระหว่างตัวแปรประเภทนี้ และเปิดโอกาสให้แก่ข้อคิดที่ว่า ทั้งวิธีการที่ถูกอบรมเลี้ยงดูและจริยธรรมของเด็กนั้นเป็นผลของสาเหตุอื่นด้วยกันทั้งคู่

0 Comments:

Post a Comment



บทความที่ได้รับความนิยม