การวิเคราะห์งานในโลกของการไม่มีงาน (Job analysis in a “ Jobless” world)
ประเด็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับการสร้างงานหรือการขยายงาน
(1) ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านทำให้เกิดการขยายปริมาณงาน (From specialized
to enlarged jobs) เป็นการขยายงานเพื่อรวมงานที่หลากหลายของแรงงานคนอื่นเข้าด้วยกัน
เป็นทางเลือกหนึ่งที่จะกำหนดความชำนาญเฉพาะด้าน ทำให้พนักงานได้รับโอกาสหา
ประสบการณ์ มีความรู้สึกร่วมในความสำเร็จด้วยความรับผิดชอบ ซึ่งมี 5 วิธีการเพื่อเพิ่ม
ความรับผิดชอบคือ
(a) การสร้างกลุ่มงานโดยธรรมชาติ (Forms natural work groups)
(b) การรวมงาน (Combine tasks)
(c) สร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า (Establish client relationships)
(d) การดำเนินการในแนวดิ่ง (vertical Loading) พนักงานจะวางแผนและ
ควบคุมงานของตนเอง แทนที่จะถูกควบคุมจากผู้อื่น
(e) มีช่องทางการป้อนกลับข้อมูลอย่างเปิดเผย (Open feedback channels)
(2) เหตุผลที่บริษัทต่างๆ ย้อนกลับไปสู่ลักษณะการไม่ระบุงาน (Why companies are
becoming de-jobbed) ความจำเป็นของการโต้ตอบ (the need for responsiveness)
เนื่องจากองค์กรต้องเผชิญแรงผลักดันที่เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยได้รับอิทธิพล
จากปัจจัยต่างๆ เช่น การเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยี การแข่งขันระดับโลก จึงมีการ
เปลี่ยนแปลงรูปแบบขององค์กรดังนี้
(2.1) องค์กรแบบแบน (Flatter_Organizations) มีขั้นการบริหารเพียง 3-4
ขั้น มีการตัดขั้นการบริหารให้น้อยลง โดยจำนวนผู้บริหาร 1 คน มีหน้าที่ในการดูแล
ผู้ใต้บังคับบัญชาจำนวนมากขึ้น ผู้ใต้บังคับบัญชาต้องมีความรับผิดชอบในขอบข่ายงานทั้ง
ทางกว้างและลึกมากขึ้น
(2.2) การทำงานเป็นทีม (Work_Team)
(2.3) องค์กรแบบไร้พรมแดน(The_Boundaryless Organization)
(2.4) การรื้อปรับระบบ(Reengineering)
(1) การวางแผนทรัพยากรมนุษย์ (Strategic Planning) :การออกแบบงาน
(Job Design),การวิเคราะห์งาน (Job Analysis)
(2) การสรรหาบุคลากร (Recruitment)
(3) การคัดเลือก (Selection)
(4) การฝึกอบรมและการพัฒนา (Training & Development)
(5) ผลตอบแทนและผลประโยชน์อื่น (Compensation & Benefit)
(6) ความปลอดภัยและสุขภาพ (Safety & Health)
(7) พนักงานและแรงงานสัมพันธ์ ( Employee & Labor Relation)
(8) การประเมินผลการปฏิบัติงาน (Performance Appraisal)
นอกจากนั้นผู้บริหารต้องรู้เกี่ยวกับสิ่งอื่นที่เกี่ยวข้องกับการบริหารทรัพยากรมนุษย์
เช่น การให้โอกาสที่เท่าเทียมกันกับพนักงาน, การกระทำที่ยุติธรรม การเน้นด้านมนุษย์
สัมพันธ์ที่ดีกับพนักงาน และการสร้างบรรยากาศที่ดีในการทำงาน
Management Process : กระบวนการบริหารประกอบด้วย 5 หน้าที่พื้นฐาน คือ
Planning , Organizing , staffing, Leading, and Controlling
Human Resource Management การบริหารทรัพยากรมนุษย์คือเป็นการปฏิบัติ
และเป็นนโยบายในการใช้ทรัพยากรมนุษย์ ของธุรกิจเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การ
รวมถึงการสรรหาบุคลากร,การคัดเลือก, การฝึกอบรมและพัฒนา, การให้รางวัลและ
ประเมินผลการปฏิบัติงานเป็นสิ่งสำคัญและมีความจำเป็นที่ต้องกระทำเพื่อให้ทรัพยากรมนุษย์
ที่มีอยู่ในองค์การสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลตลอดจนเพื่อความอยู่
รอดและความเจริญก้าวหน้าขององค์การ การบริหารทรัพยากรมนุษย์มีความสำคัญต่อ
ผู้บริหารทุกคน เพราะผู้บริหารทุกคนไม่ต้องการให้มีความผิดพลาดเกิดขึ้นในการบริหารงาน
ซึ่งความผิดพลาดที่ผู้บริหารไม่ต้องการมีดังนี้
(1) การจ้างคนไม่เหมาะสมกับงาน
(2) อัตราการออกจากงานสูง
(3) การพบว่าพนักงานไม่ตั้งใจที่จะทำงานให้ดีที่สุด
(4) การเสียเวลากับการสัมภาษณ์ที่ไม่ไห้ประโยชน์
(5) ทำให้บริษัทต้องขึ้นศาลเนื่องจากความไม่เป็นธรรมของผู้บริหาร
(6) ทำให้บริษัทถูกฟ้องจากการจัดสภาวะแวดล้อมการทำงานที่ไม่ปลอดภัย
(7 ) การทำให้พนักงานคิดว่าเงินเดือนที่เขาได้รับไม่ยุติธรรม
(8) ไม่ยอมให้มีการฝึกอบรมและการพัฒนา ซึ่งเป็นการทำลายประสิทธิภาพ
และประสิทธิผลของหน่วยงาน
(9) การกระทำที่ไม่ยุติธรรม และความสัมพันธ์ที่ตึงเครียดกับพนักงาน ความรู้
ที่ศึกษาจากการบริหารทรัพยากรมนุษย์ จะช่วยให้สามารถหลีกเลี่ยงข้อผิดพลาดดังกล่าวได้
สิ่งสำคัญยิ่งไปกว่านั้นคือ ผู้บริหารควรจะมีเหตุผลและกระทำในสิ่งที่ถูกต้องได้แก่การ
วางแผนที่เหมาะสม การจัดแผนภูมิองค์กรและการกำหนดสายการทำงานให้ชัดเจน รวมถึง
การใช้การควบคุมด้วยความชำนาญแต่อย่างไรก็ตาม ผู้บริหารก็อาจล้มเหลวได้ในทาง
กลับกันก็มีผู้บริหารบางคนที่ประสบความสำเร็จถึงแม้จะไม่ได้มีการวางแผนที่เหมาะสม เพราะ
พวกเขามีความชำนาญในการจ้างคนได้ถูกต้องเหมาะสมกับงาน มีการจูงใจการประเมิน การ
ฝึกอบรมและการพัฒนาที่เหมาะสม
เพื่อก่อให้เกิดกำไร ถ้าจะจัดเงินทุนให้อยู่ในรูปสินทรัพย์ถาวร
การลงทุนในสินทรัพย์ถาวรเป็นการลงทุนที่ใช้เงินจำนวนมาก ระยะเวลาคืนทุนยาวนาน
การลงทุนในสินทรัพย์ถาวรต้องทำงบประมาณจ่ายลงทุน การตัดสินใจในงบประมาณจ่ายลงทุน
ประกอบด้วยการวิเคราะห์ 2 ด้าน
1. การวิเคราะห์ผลตอบแทนที่คาดหวัง โดยการคำนวณ
NPV IRR
2. การวิเคราะห์ผลตอบแทนที่ต้องการ โดยการคำนวณ WACC
การพิจารณางบการลงทุนในโครงการ จะทำได้โดยการคำนวณ cash flow
แล้วนำมาประเมินการตัดสิน เวลาจะคำนวณเรื่องงบประมาณจ่ายลงทุน
จะต้องคำนวณต้นทุนของเงินทุนก่อนและคำนวณผลตอบแทนที่ต้องการก่อน โดยคำนวณ WACC
ออกมาก่อนว่าต้นทุนของเงินทุนเป็นเท่าไร
แล้วเอาเงินนี้ไปลงทุนเสร็จแล้วได้รับผลตอบแทนที่คาดหวัง (expected rate)
เป็นเท่าไร ผลตอบแทนที่คาดหวังนี้น่าจะมากกว่าผลตอบแทนที่ได้จากการคำนวณ WACC
คือผลตอบแทนที่ได้สูงกว่าต้นทุนทางการเงินของเรา เราจึงยอมรับโครงการนั้น
การคำนวณจะประกอบไปด้วยการทำ 3 ขั้นตอน
1. Initial Investment Outlay
เป็นการคำนวณเงินลงทุนเริ่มต้นโครงการ เช่น เงินลงทุนซื้อสินทรัพย์ถาวรที่เป็นอาคาร
ที่ดิน อุปกรณ์หรือเครืองจักร และเงินลงทุนหมุนเวียนสุทธิ NWC--Net Working
Capital
2. Operating Cash flow
เป็นการคำนวณกระแสเงินสดที่ได้จากการดำเนินงานตลอดอายุโครงการ
โดยการคำนวณตามหลักบัญชี
3. Terminal Year Cash flows เป็นขั้นตอนปิดอายุโครงการ
จะมีอยู่ในปีสุดท้ายปีเดียว โดยการคำนวณมูลค่าซากของโครงการ แล้วบวกกลับด้วย NWC
ที่หักไว้ตั้งแต่ต้นในปีเริ่มโครงการแล้วเอา cash flow 5
ปีที่ได้ไปคำนวณหาวิธีการประเมินโครงการว่าจะยอมรับโครงการนี้หรือไม่
โดยการคำนวณ
PB--Payback Period
เป็นการคำนวณระยะเวลาที่ธุรกิจลงทุนในสินทัพย์ถาวรแล้วได้รับผลตอบแทนกลับคืนมาเป็นจำนวนกี่ปี
จึงจะเท่ากับเงินลงทุนที่จ่ายเริ่มแรก (เป็นวิธีการคำนวณที่ง่าย แต่มีข้อเสีย คือ
ไม่ได้คำนึงถึงว่าหลังจากระยะเวลาคืนทุนแล้ว โครงการนั้นจะมีเงินสดเท่าไร)
ส่วนใหญ่จะไม่ได้ใช้
NPV--Net Present Value คือมูลค่าปัจจุบันสุทธิ
เป็นวิธีการประเมินโครงการโดยพิจารณาผลต่างระหว่างกระแสเงินสดที่ได้มาตลอดอายุโครงการ
เมื่อคิดเป็นมูลค่าปัจจุบันกับเงินลงทุนเมื่อเริ่มโครงการ
NPV คือผลต่างของกระแสเงินสดที่ได้รับตลอดอายุโครงการ คือปีที่ 1 2 3 4
เมื่อคิดเป็นมูลค่าปัจจุบันแล้วเอามาลบกับปีที่ 0 ที่เราลงทุนเมื่อเริ่มโครงการไป
คือผลต่างของกระแสเงินสดที่ได้รับตลอดอายุโครงการเมื่อคิดเป็นมูลค่าปัจจุบันแล้ว
กระแสเงินสดที่จ่ายเมื่อเริ่มต้นโครงการ โดยเราจะพิจารณายอมรับโครงการที่ NPV
มีค่าเป็นบวกและปฏิเสธโครงการที่ NPV ที่มีค่าเป็นลบ
ถ้าโครงการที่มีวัตถุประสงค์เหมือนกันจำเป็นจะต้องเลือกเพียงโครงการเดียว
ให้พิจารณาโครงการที่ NPV ที่มีค่าเป็นบวกสูงที่สุด
ถ้าโครงการที่มีวัตถุประสงค์ต่างกัน สามารถเลือกได้หลายโครงการ
ให้พิจารณาโครงการที่ NPV มีค่าเป็นบวกทุกโครงการ
แต่มีข้อแม้ว่าองค์กรจะต้องมีเงินลงทุนในแต่ละโครงการที่เพียงพอด้วย เช่น มี 10
โครงการที่ NPV มีค่าเป็นบวกแต่ต้องใช้เงินลงทุน 1000 ล้าน แต่มีเงินแค่ 100 ล้าน
จะต้องหาโครงการที่เหมาะสมกับองค์กรใน 100 ล้านให้มากที่สุด
IRR--Internal Rate of Return
คือผลตอบแทนภายในเป็นการประเมินโครงการโดยการพิจารณาอัตราดอกเบี้ยหรือผลตอบแทน
ที่ทำให้กระแสเงินสดที่ได้รับในแต่ละปี
ตลอดอายุโครงการเมื่อคิดเป็นมูลค่าปัจจุบันแล้ว เท่ากับเงินสดเมื่อเริ่มต้นโครงการ
จะยอมรับโครงการที่มีวัตถุประสงค์เหมือนกัน ให้เลือกโครงการที่มี IRR สูงที่สุด
ถ้าเป็นโครงการที่มีวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน ให้เลือกทุกโครงการที่ IRR
มากกว่า WACC แต่ต้องมีเงินลงทุนเพียงพอด้วย
MIRR--Modified Internal Rate of Return อัตราผลตอบแทนที่ปรับปรุงแล้ว
เป็นวิธีการคำนวณเช่นเดียวกับ IRR
คือการคำนวณดอกเบี้ยหรือผลตอบแทนที่ทำให้กระแสเงินสดที่ได้รับตลอดอายุโครงการ
เมื่อคิดเป็นมูลค่าปัจจุบันแล้วเท่ากับเงินลงทุนเมื่อเริ่มโครงการ
แต่กระแสเงินสดที่ได้รับในแต่ละปีนำไปลงทุนต่อ โดยได้รับผลตอบแทนเท่ากับ WACC
MIRR จะมีอยู่ 2 ตัว ที่คิดเหมือนกัน
คือจะหาอัตราผลตอบแทนที่ทำให้กระแสเงินสดที่ได้รับในแต่ละปี
เท่ากับกระแสเงินสดที่ลงทุนเมื่อเริ่มโครงการแต่ว่ากระแสเงินสดที่ได้รับในแต่ละปี
จะเอาไปลงทุนต่อ โดยได้รับผลตอบแทนเท่ากับ WACC
เวลาจะตัดสินใจยอมรับโครงการให้เลือกโครงการที่ MIRR มีค่ามากกว่า WACC
และมีค่าสูงสุด
วิธีการแก้ไข ที่จะทำให้ ROI และ ROE สูงขึ้นได้โดย
1.
ทำให้ยอดขายเพิ่มขึ้น
2. ทำให้กำไรสุทธิเพิ่มขึ้น
3. ลดสินทรัพย์ลง
4.
ใช้การกู้ยืมให้มากขึ้น
หน้าที่ของผู้จัดการทางการเงิน
หน้าที่ของผู้จัดการทางการเงินที่จะบรรลุวัตถุประสงค์ทางการเงินได้
(สร้างความมั่งคั่งสูงสุดให้กับผู้ถือหุ้น โดยการทำให้มูลค่าของธุรกิจสูงสุด
โดยพิจารณาที่หุ้นสามัญที่สูงสุด) ผู้จัดการการเงินจะต้องทำ 3 หน้าที่ คือ
1.
หน้าที่ในการจัดหาเงินทุน
1.1 แหล่งเงินทุน จะแบ่งออกเป็น 2 แหล่ง
(ทางขวามือของงบดุล)
- แหล่งเงินทุนระยะสั้น
- แหล่งเงินทุนระยะยาว
1.2
ต้นทุนของเงินทุน ต้องเฉลี่ยและถ่วงน้ำหนักเพราะมาจากแห่งไม่เท่ากัน WACC
ต้องรู้ต้นทุนของเงินทุนก่อน ว่าใช้จากหนี้สินเป็นเท่าไร
จากส่วนผู้ถือหุ้นเป็นเท่าไร
1.3 โครงสร้างเงินทุน (capital structure)
หมายถึงโครงสร้างเงินทุนที่เหมาะสมที่สุดสำหรับองค์กร
คือเรื่องการใช้หนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น
โครงสร้างทางการเงิน
คือการใช้สัดส่วนของหนี้สินและใช้สัดส่วนของผู้ถือหุ้นที่เหมาะสมที่จะทำให้ต้นทุนของเงินทุน
(WACC) ต่ำที่สุด
2. หน้าที่ในการจัดการเงินทุน
2.1
จัดสรรให้อยู่ในรูปสินทรัพย์หมุนเวียน โดยการใช้ ทฤษฎีการจับคู่
(หนี้สินระยะสั้นใช้กับสินทรัพย์หมุนเวียน /
หนี้สินระยะยาวใช้กับสินทรัพย์ถาวร)
2.2 จัดสรรให้อยู่ในรูปสินทรัพย์ถาวร (fix
asset) โดยพิจารณางบประมาณการลงทุนซึ่งงบลงทุนจะพิจารณาเรื่อง NPV IRR MIRR
PB
3. นโยบายเงินปันผล คือจะเอากำไรสะสมไปลงทุน
หรือจะเอากำไรสะสมไปจ่ายเป็นเงินปันผล
อัตราส่วนหนี้สินแบ่งเป็น 2 ตัว คือ
3.1 หนี้สินต่อทรัพย์สิน (debt
ratio)
ถ้าอัตราส่วนหนี้สินต่อทรัพย์สินสูงแสดงว่า
องค์กรมีภาระผูกพันธ์ทางการเงินมากองค์กรจะระดมทุนจากการก่อหนี้ได้ยาก
หรือเจ้าหนี้อาจไม่พิจารณาให้เงินกู้กับองค์กร
ดังนั้นองค์กรจะต้องระดมทุนด้วยวิธีการอย่างอื่นแทนการกู้ เช่น
การระดมทุนจากผู้ถือหุ้นหรือการให้เช่า
ถ้าอัตราส่วนหนี้สินต่ำ
แสดงว่าองค์กรมีภาระผูกพันธ์ทางการเงินต่ำ จึงมีความเสี่ยงต่ำ
แต่ต้องพิจารณาว่าโครงสร้างเงินทุนขององค์กรมีความเหมาะสมหรือไม่
ซึ่งถ้าใช้หนี้สินน้อยอาจจะไม่มีความเหมาะสมก็ได้
ถ้าหนี้สินน้อยอยู่ต้นทุนทางการเงิน (WACC) จะสูงขึ้น
ดังนั้นต้องพิจารณาความเหมาะสมของต้นทุนทางการเงินด้วย
อัตราส่วนหนี้สินต่อทรัพย์สินควรมีค่าอยู่ในระดับต่ำ
เพราะจะทำให้องค์กรระดมเงินทุนด้วยการกู้ได้
3.2 ความสามารถในการชำระดอกเบี้ย
Time Interest Earned--TIE
เป็นอัตราส่วนที่ใช้พิจารณาว่า
องค์กรมีกำไรเป็นกี่เท่าของดอกเบี้ยจ่าย TIE ควรมีค่าสูง
จะแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพขององค์กรในการหากำไขเพื่อชำระดอกเบี้ย
อัตราส่วนหนี้สินต่อสินทรัพย์ต้องใช้คู่กับ
TIE หากอัตราส่วนหนี้สินสูงและ TIE สูงด้วย
แสดงว่าองค์กรมีโอกาสในการระดมเงินทุนด้วนวิธีการกู้เงินเพิ่มขึ้น
แต่ถ้าอัตราส่วนหนี้สินสูงแต่ TIE ต่ำ
แสดงว่าองค์กรจะระดมทุนด้วยการก่อหนี้ด้ยากเจ้าหนี้จะไม่พิจารณาปล่อยเงินกู้ให้กับองค์กร
ถ้าอัตราหนี้สินต่ำและ
TIE ต่ำ
การระดมทุนด้วยการก่อหนี้ได้หรือไม่แล้วแต่เจ้าหนี้และต้องดูตัวอื่นประกอบด้วย
เช่นนำเงินไปทำอะไร
หรือดูวิธีการใช้เงิน
ถ้าหนี้ระยะยาวต้องเอาไปใช้กับสินทรัพย์ถาวร
ส่วนหนื้ระยะสั้นต้องใช้กับสินทรัพย์หมุนเวียน
4. อัตราส่วนกำไร (profitability ratios)
แสดงให้เห็นประสิทธิภาพของผู้บริหารในการควบคุมต้นทุนในด้านต่างๆ
เพื่อก่อให้เกิดกำไร
4.1 อัตราส่วนกำไรขั้นต้น (gross profit)
แสดงให้เห็นประสิทธิภาพของผู้บริหารในการควบคุมต้นทุนการผลิต
ถ้าอัตราส่วน gross
profit เพิ่มมากขึ้น
แสดงว่าผู้บริหารมีประสิทธิภาพในการควบคุมต้นทุนการผลิตให้ต่ำลงได้
ต้นทุนการผลิตคือ ต้นตุนที่เกิดจากของเสียระหว่างการผลิต เวลาการผลิต
การซ่อมแซมเครื่องจักรและการบำรุงรักษา ซึ่งถ้าควบคุมต้นทุนการผลิตทั้ง 3 ตัวนี้ได้
จะทำให้กำไรขั้นต้นสูงขึ้น
4.2 Net Profit
เป็นประสิทธิภาพของผู้บริหารในการควบคุมต้นทุนค่าใช้จ่ายในการขายและในการบริหาร
เพื่อทำให้กำไรสุทธิเพิ่มมากขึ้น
ถ้า Net Profit Margin สูง
แสดงว่าผู้บริหารสามารถควบคุมต้นทุนค่าใช้จ่ายในการขายและค่าใช้จ่ายในการบริหารให้ต่ำลงได้
ต้นทุนค่าใช้จ่ายในการขาย
ต้นทุนส่วนใหญ่อยู่ที่สินค้าคงคลัง
ต้นทุนในการบริหารอยู่ที่ management
เรื่องของการติดต่อสื่อสารที่ไม่มีประสิทธิภาพเรื่องของการใช้แรงจูงใจ
เรื่องของการมีผู้บริหารระดับกลางมากเกินไป ดังนั้นจะต้องทำให้องค์กรแบนราบลง
ซึ่งถ้าองกรแบนราบลงแล้วใช้ Empowerment แล้วจะทำให้สายบังคับบัญชาสั้นลง แต่ span
of control (ขนาดของการควบคุม) ก็จะกว้างขึ้น
จะทำให้ประหยัดต้นทุนในการบริหารได้
4.3 ROA หรือ ROE (Return on Assets ;
Return on Equity) คือการใช้สินทรัพย์ทั้งหมดให้เกิดกำไรสุทธิ
จะแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพของผู้บริหารในการใช้สินทรัพย์เพื่อก่อให้เกิดกำไรสุทธิ
ถ้าอัตราส่วน
ROA หรือ ROI สูงแสดงว่าผู้บริหารสามารถใช้สินทรัพย์ทั้งหมดให้เกิดกำไรสุทธิได้ดี
จะทำให้ ROI กับROA สูงขึ้นได้ จะต้องให้มีกำไรมากๆซึ่งจะมีกำไรได้จะต้องมาก
และใช้สินทรัพย์ให้น้อยลง
4.4 ROE--Return on Equity
ประสิทธิภาพของผู้บริหารในการใช้ส่วนของผู้ถือหุ้นให้เกิดกำไรมากที่สุด
หรือประสิทธิภาพของผู้บริหารในการตอบแทนผู้ถือหุ้นให้ได้มากที่สุด